การหมักทางชีวภาพ มีอะไรบ้าง

การหมัก (Fermentation)

Life Science

การหมัก คือ กระบวนการแปลงสภาพทางชีวเคมี เพื่อให้วัตถุดิบเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ของจุลินทรีย์

การหมัก (Fermentation)

          การหมัก คือ กระบวนการแปลงสภาพทางชีวเคมี เพื่อให้วัตถุดิบเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ของจุลินทรีย์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมัก เช่น ไวน์ เบียร์ ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว ยาปฏิชีวนะ เอทานอล กรดซิตริก เป็นต้น ในกระบวนการหมักต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตซึ่งเรียกว่า จุลินทรีย์ (Microorganisms)  ซึ่งมีมากมายหลายชนิด อาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในดิน น้ำ อากาศ รวมทั้งในร่างกาย หรือในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ยีสต์ ฟังไจ เซลล์สัตว์ หรือ เซลล์พืช

           ในกระบวนการหมักต้องอาศัยจุลินทรีย์ เพื่อให้จุลินทรีย์ทำในสิ่งที่ต้องการ เช่น ผลิตสารเคมีบางชนิด หรือเพิมจำนวนเซลล์มากๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของเซลล์จุลินทรีย์ การเจริญเติบโตของเซลล์ (Growth) คือการเพิ่มจำนวนหรือการสร้างเซลล์ใหม่ สิ่งมีชีวิตจะนำโมเลกุลที่เป็นส่วนประกอบในอาหารมาสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์ โดยกระบวนการสังเคราะห์เกือบทั้งหมดเป็นปฏิกิริยาชีวเคมี ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการทำงานของเอนไซม์ต้องมีสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรดเบส และโคแฟคเตอร์ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยพลังงานเพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ เกิดขึ้นได้ ดังนั้นในกระบวนการหมักจึงจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้เหมาะสมต่อจุลินทรีย์นั้นๆ ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ประกอบด้วย

          1. พลังงาน พลังงานที่จุลินทรีย์ใช้ในการเจริญเติบโตมาจากสองแหล่ง คือ พลังงานแสง และพลังงานจากปฏิกิริยาออกซิเดชันขององค์ประกอบในอาหาร  จุลินทรีย์พวกที่ใช้แสงได้ เช่น สาหร่าย (Algae) และแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) โดยอาศัยรงควัตถุ (pigments) จึงสามารถดึงพลังงานแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์โมเลกุลสารประกอบต่างๆ ส่วนแบคทีเรียบางชนิดจะใช้พลังงานจากการออกซิไดซ์สารอนินทรีย์ พวกที่เหลือรวมทั้งยีสต์และโมลด์ไม่สามารถออกซิไดซ์สารอนินทรีย์จึงจำเป็นต้องออกซิไดซ์จากสารอินทรีย์ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไลปิด โปรตีน และไฮโดรคาร์บอน เป็นต้น พลังงานที่ได้จะสะสมอยู่ในรูปของโมเลกุล ATP และสามรถนำไปใช้สังเคราะห์โมเลกุลและเซลล์ใหม่ต่อไป

          2. อาหาร เป็นแหล่งวัตถุดิบที่จุลินทรีย์นำไปใช้สร้างเซลล์ ดังนั้นอาหารจึงควรประกอบด้วยธาตุต่างๆ ในปริมาณที่สอดคล้องกับธาตุที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์จุลินทรีย์ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และแร่ธาตุอื่นๆ โดยทั่วไปธาตุไฮโดรเจนมีอยู่ในสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบเกือบทุกชนิด ออกซิเจนก็เช่นเดียวกัน นอกจากนี้จุลินทรีย์สามารถใช้ออกซิเจนจากอากาศที่ละลายในสารละลายได้อีกด้วย แหล่งคาร์บอนควรเป็นโมเลกุลสารที่จุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ได้ง่าย เช่น กลูโคส ฟรุคโตส ซึ่งปกติเป็นสารที่อยู่ในเมแทบอลิซึม นอกจากนี้ยังมีสารประกอบคาร์บอนอื่นๆ เช่น แป้ง น้ำมัน เป็นต้น สำหรับแหล่งไนโตรเจนจุลินทรีย์ส่วนใหญ่สามารถใช้ในรูปแอมโมเนีย หรือเกลือแอมโมเนีย หรือในรูปสารอินทรีย์เช่น กรดอะมิโน โปรตีน ยูเรีย หรือสารสกัดจากยีสต์ เนื้อวัว ปลา ถั่วลิสง เป็นต้น แหล่งแร่ธาตุจำเป็นที่ต้องการมากได้แก่  ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม ซัลเฟอร์ แมกนีเซียม โซเดียม แคลเซียม และคลอรีน ส่วนแร่ธาตุที่ต้องการในปริมาณน้อยได้แก่ โคบอลต์ ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบดีนัม และสังกะสี นอกจากนี้ในอาหารควรมีโคเอนไซม์และสารกระตุ้นการเจริญที่จำเป็นได้แก่พวก วิตามิน ต่างๆ เช่น Biotin, Calcium pantothenate, Thiamine ฯลฯ


          3. อุณหภูมิ ปฏิกิริยาชีวเคมีของเอนไซม์ในจุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความทนทานต่ออุณหภูมิไม่เหมือนกัน สิ่งนี้จึงเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมอุณหภูมิที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์จึงไม่เท่ากัน ถ้าเป็นจุลินทรีย์ที่แยกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็จะเจริญเติบโตได้ดีที่ 37 oC  จุลินทรีย์บางพวกอาศัยอยู่ในน้ำพุร้อนก็มักจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตประมาณ 40-45 oC เป็นต้น

          4. ความเป็นกรดเบส เหตุผลเดียวกันกับอุณหภูมิเอนไซม์เป็นโปรตีนมีช่วงการเร่งปฏิกิริยาภายใต้สภาวะ pH ที่เหมาะสมต่างกัน โดยทั่วไปแบคทีเรียมักเจริญได้ดีที่ pH เป็นกลาง ยีสต์และฟังไจเจริญได้ดีใน pH ที่เป็นกรด เป็นต้น การจะทำให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ดี ก็ควรปรับ pH ของอาหารตรงกับความชอบของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ

           นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกประการคือ จุลินทรีย์ที่สนใจมีการเจริญเติบโตแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic)  หรือ แบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic) แบคทีเรียส่วนใหญ่และยีสต์สามารถเจริญได้ทั้งสองสภาวะ (Facultative aerobic) ซึ่งการเจริญในแต่ละสภาวะมักไม่เท่ากัน ส่วนพวกรา (Fungi) สาหร่าย (Algae) และแบคทีเรียบางพวกต้องการออกซิเจนในการเจริญ สำหรับแบคทีเรียบางชนิดเจริญได้ในสภาวะไร้ออกซิเจนเท่านั้น (Strict anaerobic)

X




  • We've sent an email to with a link to reset your password. if you have any question, please contact customer support. 02 2748331-4 or email

  • ระบบได้ส่งอีเมล์ไปที่ พร้อมลิงค์เพื่อรีเซตรหัสผ่านของคุณ หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า 02 2748331-4 หรืออีเมล์

การหมักมีอะไรบ้าง

การหมัก คือ กระบวนการแปลงสภาพทางชีวเคมี เพื่อให้วัตถุดิบเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ของจุลินทรีย์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมัก เช่น ไวน์ เบียร์ ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว ยาปฏิชีวนะ เอทานอล กรดซิตริก เป็นต้น ในกระบวนการหมักต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตซึ่งเรียกว่า จุลินทรีย์ (Microorganisms) ซึ่งมี ...

การหมัก(Fermentation) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ประเภทของการหมัก.
Septic fermentation เป็นการหมักในสภาพเปิด ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อจุลินทรีย์.
Semi-septic fermentation เป็นการหมักในสภาพปิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากภายนอก แต่ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ.
Aseptic fermentation เป็นการหมักในสภาพปิดที่ปราศจากการปนเปื้อนเชื้อทั้งหมด.

Fermentation เกิดขึ้นที่ส่วนใด

สรุปกระบวนการหมัก การหมักเป็นการปลดปล่อยพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน เกิดขึ้นในไซโทพลาสซึม โดยใช้ไพรูเวตจากไกลโคลิซีสเป็นสารตั้งต้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการหมักจะมีการสร้าง NAD+ ขึ้นมาใหม่ แต่จะไม่มีการสร้าง ATP เพิ่มอีก ดังนั้นการสลายกลูโคสแบบไม่ใช้ออกซิเจนจึงสร้าง ATP ได้เพียง 2 โมเลกุล จากไกลโคลิซีสเท่านั้น

Anaerobic Fermentation มีอะไรบ้าง

Anaerobic Fermentation หรือกระบวนการหมักแบบไม่ใช่ออกซิเจน เป็นกระกวนการหมักที่เมล็ดกาแฟไม่ได้สัมผัสถึงออกซิเจนเช่น การหมักในน้ำ หมักในที่ๆไม่มีอากาศ หรือการหมักในถังที่มี คาร์บอนไดออกไซน์ (Carbonic Maceration) กระบวนการหมักแบบนี้จะทำให้ได้กรด Lactic ทำให้กาแฟมี Body ที่สูงขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita