หนังสือ จดหมายเหตุ มี ชื่อ เรียก อีก อย่าง หนึ่ง ว่า อย่างไร

จดหมายเหตุ คืออะไร
จดหมายเหตุ(Archives) ตามหลักวิชาการสากลของการ
ดำเนินงานจดหมายเหตุมีความหมายคือ เอกสารฉบับ
(Original) ซึ้งสิ้นกระแสการปฎิบัติงานของส่วนราชการหรือ
สถาบันเอกชนที่ผ่านการวินิจฉัยว่ามีคุณค่าสมควรเก็บรักษา
ไว้ตลอดไปเอกสารสำคัญนี้ เรียกว่า  เอกสารจดหมายเหตุ
(Archives Materials) (กรมศิลปากร, 2542)

จดหมายเหตุ คือ เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน
ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฎิบัติงาน
และยังหมายรวมถึงหนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไปรายงานหรือ
บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (พจนานุกรมราชบัณฑิตย
สถาน, 2542)

เอกสารจดหมายเหตุ คืออะไร
เอกสารจดหมายเหตุคือเอกสารทุกชนิดที่สิ้นกระแสอายุการ
ใช้งานแล้วโดยจะมีอายุประมาณ 20-30 ปีย้อนหลังและจำเป็น
ที่จะต้องเก็บตลอดไป  ไม่สามารถทำลายได้พร้อมทั้งมีความ
สำคัญต่อประวัติพัฒนาการของหน่วยงานนั้น ๆ  ซึ่งเอกสาร
จดหมายเหตุสามารถจำแนก ออกได้เป็น

  • เอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์อักษร
    (Textual Archives) คือ เอกสารที่สื่อข้อความเป็นลาย
    ลักษณ์อักษรไม่ว่าจะเขียนด้วยมือ หรือ พิมพ์ เช่นใบบอก
    สารตรา หนังสือโต้ตอบ เอกสารการประชุม
  • เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives)คือ เอกสารที่สื่อโดยเสียงหรือภาพเช่นภาพ
    ถ่ายเนกาตีฟสไลด์ โปสเตอร์ การ์ด ฯลฯ
  • เอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ แผนผัง (Cartographic Archives)  ได้แก่  แผนที่ พิมพ์เขียว
    แผนผังต่าง ๆ
  • เอกสารจดหมายเหตุประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์ (Machine - Readable Archives)   เป็นเอกสารที่
    บันทึกข้อมูล และ ค้นคืนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เอกสารของแต่ล่ะหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน จะมีลักษณะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับภารกิจหน้าที่ของ
    หน่วยงานนั้น ๆ จึง มีลักษณะแตกต่างกันออกไป แต่
    อย่างไรก็ตามโดยหลักแล้วแต่ละหน่วยงานจะมีเอกสาร
    3 กลุ่มที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่
         - เอกสารเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป
         - เอกสารบริหารงานบุคคล
         - เอกสารบริหารการเงิน

ทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยของเราตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2387 – 2388 และอีกครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2407 – 2411 ชื่อว่า    “ บางกอกรีคอร์เดอร์ “ (The Bangkok Recorder) หรือชื่อไทย “หนังสือจดหมายเหตุ” ซึ่งถูกเขียนและพิมพ์โดยหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ในช่วงแรกเริ่มตีพิมพ์ออกมาเป็นฉบับรายเดือน แล้วต่อมาก็เปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือเรียกกันว่ารายครึ่งเดือน

ประวัติความเป็นมา

เริ่มจากหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันได้มีความประสงค์อยากตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ที่บอกเล่าเรื่องราวในประเทศไทย จึงได้เข้ากราบทูลขอพระบรมราชานุญาติกับรัชกาลที่ 3 และเหล่าบรรดาอำมาตย์มุขมนตรีต่างให้การสนับสนุนแล้ว หนังสือบางกอก รีคอร์เดอร์จึงได้ถือกำเนิดขึ้นด้วยความที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักคิดว่าเป็นเพียงแค่จดหมายเหตุธรรมดาทำให้ออกมาแค่เพียงปีเดียวก็ยกเลิกไปเพราะรัฐบาลไม่ให้การสนับสนุนอีกแล้ว สาเหตุมาจากการทำหนังสือพิมพ์แนวอเมริกันจะเป็นรูปแบบการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ทำให้ผู้แทนในรัผฐบาลหลายคนเกิดความไม่พอใจประกอบกับหมอบรัดเลย์เกิดปัญหาส่วนตัวจึงทำให้เลิกพิมพ์ไปในระยะช่วงหนึ่ง

พอมาถึงในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการรับอารยธรรมตะวันตกมากขึ้น ทั้งพระองค์เองก็เคยเป็นสมาชิกของบางกอก รีคอร์เดอร์มาก่อน และเมื่อหมอบรัดเลย์ได้ออกตีพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์อีกครั้ง ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิกอีก แต่ด้วยความที่หมอบรัดเลย์เขียนบทความทำนองยกศาสนาและประเทศของตนขึ้นข่มคนไทย รวมทั้งเขียนโจมตีพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงเขียนตอบโต้ในทันที ถึงแม้จะไม่มีการลงพระปรมาภิไธย แต่คนทั่วไปก็ทราบดีว่าบทความที่ว่ามาจากใคร หลังจากนั้นก็เกิดความไม่พอใจมากขึ้นเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ไม่มีการบอกรับสมาชิกเพิ่มขึ้นและสมาชิกเดิมก็ไม่จ่ายเงิน จึงทำให้หนังสือบางกอก รีคอร์เดอร์ได้ถูกปิดตัวลงเพราะยากที่จะยืนหยัดได้ในสถานการณ์เช่นนี้

รูปแบบของหนังสือ

มีการจัดพิมพ์ขึ้นทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ออกปักษ์ละ 2 ใบ มี 4 หน้า โดยในฉบับที่เป็นภาษาไทยจะมีขนาด 6” x 9” ส่วนฉบับภาษาอังกฤษจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าคือ 12” x 18” มีรูปแบบในการจัดหน้าแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ ในนั้นมีทั้งภาพประกอบ คือภาพวาดขยายปลีกใบละสลึงเฟื้อง แต่ถ้าซื้อแบบพิมพ์เป็นเล่มรวมปลายปีขายเล่มละ 5 บาท เล่มหนึ่งจะมี 26 ใบ

โดยเนื้อหาภายในจะเป็นลักษณะตำรา ข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศ ราคาสินค้า ส่วนการนำเสนอจะเน้นเป็นการรายงานข่าว รวมทั้งการเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งหมอบรัดเลย์ต้องการให้คนเห็นว่า หนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และมีคุณค่าต่อบ้านเมืองมากแค่ไหน สะท้อนแสงสว่างของบ้านเมือง แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายหนังสือบางกอก รีคอร์เดอร์ได้ถูกปิดตัวลงเมื่อปีพ.ศ 2411

Post navigation

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita