สื่อกลางแบบไร้สาย มีอะไรบ้าง

งานนำเสนอเรื่อง: "สื่อกลางการสื่อสาร สื่อกลางแบบมีสาย 2. สื่อกลางแบบไร้สาย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สื่อกลางการสื่อสาร สื่อกลางแบบมีสาย 2. สื่อกลางแบบไร้สาย

2 1. สื่อกลางแบบมีสาย

3 1. สายโคแอกเชียล (Coaxcial Cable)
เป็นสายสัญญาณที่ประกอบด้วย ลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่นแล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่ง ข้อมูล 350 Mbps ระยะทาง 2-3 Mile

4 2. สายคู่ตีเกลียว (Twist Pair)
สายคู่ตีเกลียว แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก สายคู่ตีเกลียวสามารถส่งข้อมูลในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร และเนื่องจาก สายคู่ตีเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่าง คือ สายโทรศัพท์ สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ

5 สายคู่เกลียวบิดที่ใช้กับเครือข่าย LAN แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. STP (Shielded Twisted Pairs) สายคู่ตีเกลียวมี Shield 2. UTP (Unshielded Twisted Pairs) สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มี Shield

6 STP (Shielded Twisted Pairs)
สายคู่เกลียวบิดแบบมีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน มีส่วนที่ เพิ่มมาคือ ส่วนที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ซึ่งชั้นที่ป้องกันจะเป็นโลหะบาง ๆ หรือใยโลหะที่ถักเป็น ตาข่าย จุดประสงค์ของการเพิ่มชั้นห่อหุ้มเพื่อป้องกันการรบกวน จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุจากแหล่งต่าง ๆ

7 UTP (Unshielded Twisted Pairs)
เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เนื่องจากราคาถูก การใช้สายนี้ความยาวต้องไม่เกิน 100 เมตร โดยการเชื่อมต่อโดยใช้ Star Topology โดยต่อเข้ากับ หัวต่อสัญาณแบบ RJ-45 แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub สาย UTP มีหลายเกรด (Category) ถ้าในมารฐาน BASE T จะใช้สาย UTP CAT-5

8 3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optical Cable )
Fiber Optics ลักษณะภายนอกจะเหมือนกับสาย โคแอกเชียล แต่โครงสร้างภายในจะเป็นใยแก้ว ส่งสัญญาณโดยใช้ลำแสง แทนไฟฟ้า สามารถส่งได้ไกลหลายกิโลเมตร สายใยแก้วนำแสงจะมี 2 ชนิด คือ 1. แบบส่งเป็นลำแสงตรง (Single Mode) 2. แบบส่งเป็นลำแสงสะท้อนหักเหภายในสาย (Multi Mode)

9 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)

10 2. สื่อกลางแบบไร้สาย Wireless

11 เครือข่าย LAN ไร้สาย (Wireless LAN)
คือ เครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล เช่น ที่บ้านอาจเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องที่ทำหน้าที่ เชื่อมต่อผ่านโมเด็มได้จากทุกห้อง ในบ้าน เนื่องจากคลื่นวิทยุนี้มีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางต่างๆ ได้ดี

12 2.1 ระบบคลื่นไมโครเวฟ

13

14 มีอุปกรณ์ระบบทวนสัญญาณ (Repeater)
2.2 ดาวเทียม  (Satellite) Up-link Down-link มีอุปกรณ์ระบบทวนสัญญาณ (Repeater)

15 ระบบดาวเทียม (Satellite System)
ใช้หลักการคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในส่วนของการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายโดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ขั้นตอน คือ 1. การ Up-Link 2. ตรวจสอบสถานีปลายทาง Down-Link อัตราความเร็วในการส่ง 1-2 Mbps

16 โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular)
จะอาศัยการส่งสัญญาณของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูล ประเทศไทยนำเข้ามาใช้ในราว ๆ ปี พ.ศ เป็นแบบอะนาล็อก หรือที่เรียกว่าระบบ 800

17 คลื่นวิทยุ (Radio Wave)
การใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อนำสัญญาณในการรับ-ส่งข้อมูล มีข้อดี คือ สามารถส่งได้รอบทิศทางโดยไม่ต้องใช้สาย คลื่นสามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางได้ จะมีปัญหากับการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่

18 อินฟราเรด (Infrared Wave)
คลื่นอินฟราเรดถูกนำไปใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ เช่น ในรีโมตคอนโทรลของทีวี วิทยุ เป็นต้น เพราะราคาถูก มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสะท้อนกลับวัตถุได้ ข้อเสีย มีพลังงานต่ำ และเดินทางในแนวเส้นตรง ไม่สามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางได้ และข้อจำกัดของแสง

           การสื่อสารทุกชนิดต้องอาศัยสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทาง เช่น การคุยโทรศัพท์อาศัยสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณคลื่นเสียงไปยังผู้รับ เป็นต้น สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์อาจใช้สายเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อหรืออาจใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สายเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อก็ได้ สื่อกลางในการสื่อสารมีความสำคัญเพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดประสิทธิภาพในการสื่อสาร เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ปริมาณของข้อมูลที่สามารถนำไปได้ในหนึ่งหน่วยเวลา รวมถึงคุณภาพของการส่งข้อมูล เราจะกล่าวถึงสื่อกลางในการสื่อสารทั้งในแบบใช้สายและแบบไร้สายดังนี้

  • สื่อกลางแบบใช้สาย

         1) สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable) สายนำสัญญาณแบบนี้แต่ละคู่สายที่เป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกลได้หลายกิโลเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงนิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง

             สายคู่บิดเกลียวมี ชนิด คือ
           – สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายยูทีพี (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายใช้ในระบบโทรศัพท์ ต่อมาได้มีการรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น จนสามารถใช้กลบสัญญาณความถี่สูงได้ ทำให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น

           – สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายเอสทีพี (Shielded Twisted Pair: STP) เป็นสายที่หุ้มด้วยตัวกั้นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวนได้ดียิ่งขึ้น สายเอสทีพีรองรับความถี่ของการส่งข้อมูลสูงกว่าสายยูทีพี แต่มีราคาแพงกว่า

ในปัจจุบันการติดตั้งสายสัญญาณภายในอาคารนิยมใช้สายยูทีพีเป็นหลัก เพราะมีราคาถูกกว่าสายเอสทีพี และมีการพัฒนามาตรฐานให้มีคุณภาพสูงสามารถส่งข้อมูลความเร็วสูงได้ดีขึ้น

        2) สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายนำสัญญาณที่เรารู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรืสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อกเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ภาพและเสียง (audio-video devices) ต่างๆ ภายในบ้านและสำนักงาน ตัวอย่างสายโคแอกซ์

       3) สายไฟเบอร์ออพติก (fiber-optic cable) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core) ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง(cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาด ตัวอย่างสายไฟเบอร์ออพติก

  • สื่อกลางแบบไร้สาย 

          การสื่อสารแบบไร้สายอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีหลายชนิด แบ่งตามช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน การสื่อสารแบบไร้สายมีผู้นิยมใช้มากขึ้น เนื่องจากมีความคล่องตัวสูงและสะดวกสบาย มักนิยมใช้กันในพื้นที่ที่การติดตั้งสายนำสัญญาณทำได้ลำบากหรือค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงเกินไป สื่อกลางของการสื่อสารแบบนี้ เช่น อินฟราเรด ( Infrared : IR ) ไมโครเวฟ ( microwave ) คลื่นวิทยุ (radio wave) และดาวเทียมสื่อสาร (communications satellite )

           1.อินฟราเรด สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งและตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรศัพท์หรือวิทยุการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ (The Infrared Data Association : IrDA ) :ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

         2.ไมโครเวฟ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกลโดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับส่งข้อมูลเป็นระยะ และส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ และไม่สะดวกในการวางสายสัญญาณ ซึ่งเสาสัญญาณแต่ละเสาสามารถวางห่างไกลได้ถึง 80 กิโลเมตร

           3.คลื่นวิทยุ เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะทางได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM ) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ ( Wi-Fi ) และบลูทูท (ฺBluetooth)

             4.ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับส่งไมโครเวฟบนผิวโลกโดยเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 กิโลเมตร โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยคามเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียม และการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลก เป็นไปอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานดาวเทียมในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกเรียกว่าระบบจีพีเอส โดยบอกพิกัดเส้นรุ้งและเส้นแวงของผู้ใช้งานเพื่อใช้ในการนำทาง

สื่อกลางแบบไร้สายมีกี่แบบ

สื่อกลางประเภทไร้สาย (Wireless Media).
คลื่นวิทยุ (Radio Wave) ... .
สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) ... .
แสงอินฟราเรด (Infrared) ... .
ดาวเทียม (satilite) ... .
บลูทูธ (Bluetooth).

สื่อกลางมีอะไรบ้าง

ในปัจจุบัน สามารถแบ่งสื่อกลางได้เป็น 2 ประเภท คือ.
คลื่นวิทยุ (Radio Wave) ... .
สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) ... .
แสงอินฟราเรด (Infrared) ... .
ดาวเทียม (satilite) ... .
บลูทูธ (Bluetooth).

สื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบใช้สายมีอะไรบ้าง

สื่อกลางประเภทมีสาย (Wired Media).
สายคู่บิดเกลียว(twisted pair) ... .
สายโคแอกเชียล (coaxial) ... .
เส้นใยนำแสง (fiber optic).

ข้อใดคือสื่อกลางประเภทสายสัญญาณ

สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย (Conducted Media) สื่อกลางแบบใช้สาย เปรียบเสมือนกับท่อส่ง ท าหน้าที่ส่งข้อมูล ผ่านท่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายเคเบิล ไม่ว่าจะเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล หรือสายไฟเบอร์ออปติก โดยสัญญาณจะเดินทางไปตาม สื่อกลางที่เชื่อมต่อโดยตรง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita