ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ มีอะไรบ้าง

ปกติถ้าพูดถึงวงการค้าปลีก จะมี 2 คำที่เป็นท่ามาตรฐานในการอธิบายคือ “ออฟไลน์” (offline) กับ “ออนไลน์” (Online)

  • ค้าปลีกออฟไลน์ คือการซื้อของจากหน้าร้าน เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • ค้าปลีกออนไลน์ คือการซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น (รู้จักกันดีในนาม “อีคอมเมิร์ซ”)

แต่ในยุคนี้ แค่ออฟไลน์หรือออนไลน์อย่างเดียวไม่พอ เพราะต่างก็มีจุดแข็ง-จุดอ่อนกันทั้งคู่ ลองนึกภาพว่าถ้าลูกค้าหาซื้อสินค้าบนออนไลน์ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องออกไปหาซื้อสินค้าจากร้านค้าออฟไลน์อยู่ดี หรือถ้ามองในมุมของคนขาย การมีหน้าร้านออฟไลน์อย่างเดียว ก็ทำให้ไม่สามารถติดตามและจัดเก็บข้อมูลการซื้อของลูกค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการทำธุรกิจได้

พูดง่ายๆ คือ การแบ่งโลกของค้าปลีกออกเป็น “ออฟไลน์ กับ ออนไลน์” คือโลกเก่าไปแล้ว

ค้าปลีกยุคนี้ต้อง New Retail

คำถามก็คือ New Retail คืออะไร?

New Retail แนวคิดยุคใหม่ที่อาจเป็นอนาคตของวงการค้าปลีก

New Retail เป็นคำที่ใช้ครั้งแรกและคิดค้นโดยแจ๊ค หม่า เจ้าพ่อแห่ง Alibaba ผู้เตรียมส่งไม้ต่อกิจการให้กับทายาทตัวจริงอย่างแดเนียล จาง ซีอีโอคนปัจจุบัน ซึ่งอันที่จริงแล้ว New Retail เป็น 1 ใน 5 กลยุทธ์ของ Alibaba ที่ประกอบไปด้วย New Finance, New Manufacturing, New Technology และ New Energy

แต่บทความนี้จะพูดถึงเฉพาะเรื่อง “New Retail” เท่านั้น

นิยามคำว่า New Retail ของ Alibaba คือการนำเอาค้าปลีกแบบออฟไลน์และออนไลน์มาผสมผสานกัน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ เพื่อทำให้ค้าปลีกไร้เส้นแบ่งระหว่างออฟไลน์กับออนไลน์อีกต่อไป

เราอาจเรียก New Retail ในภาษาไทยได้ว่า “ค้าปลีกยุคใหม่” หรือ “ค้าปลีกรูปแบบใหม่”

อธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น ค้าปลีกยุคใหม่ที่ Alibaba เสนอ คือการนำเอาเทคโนโลยีเข้าไปเสริมพลังให้กับร้านค้าออฟไลน์แบบเดิม ทำให้ลูกค้าเมื่อเดินเข้าไปเลือกซื้อสินค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของ Alibaba คือร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตเหอหม่า โดยภายในร้านได้มีการนำเอาออฟไลน์กับออนไลน์เข้ามาผสมผสานกัน ดังนี้

  • มีการนำเอา QR Code มาใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถ track ตัวสินค้ากลับไปยังที่มาของจุดผลิต องค์ประกอบของสินค้า หรือรายละเอียดต่างๆ เช่น วันหมดอายุของสินค้า หรือถ้าเป็นส่วนประกอบอาหาร อาจแสดงตัวอย่างเมนูพร้อมกับสูตรในการทำอาหารขึ้นมาในสมาร์ทโฟน
  • มีการใช้ระบบอัตโนมัติในหลายขั้นตอน อย่างเช่น ระบบนำสินค้ามาเงินอัตโนมัติ ไม่ต้องพึ่งแรงงานมนุษย์ในการคิดเงินสินค้า นอกจากนั้น ลูกค้าของเหอหม่าก็ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด เพราะจ่ายเงินได้ด้วย QR Code หรือล้ำหน้าไปกว่านั้น ลูกค้าก็สามารถจ่ายเงินได้ด้วยใบหน้า (Face Payment)
  • มีป้ายราคาแบบดิจิทัล ทำให้ทางร้านปรับเปลี่ยนราคา หรือโปรโมชั่นได้อย่างเรียลไทม์
  • มีการทำระบบโลจิสติกส์ที่ครบวงจร ลูกค้าของร้านเหอหม่า เมื่อเดินเข้ามาในร้าน (ออฟไลน์) เพื่อเลือกซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ของสด สามารถสั่งให้ทางร้านส่งของแบบเดลิเวอรี่ไปให้ถึงหน้าบ้าน (ออนไลน์) ได้เลย ซึ่งร้านเหอหม่ารับประกันว่าส่งถึงบ้านภายใน 30 นาที (แต่บ้านของลูกค้าต้องอยู่ห่างจากสาขาไม่เกินรัศมี 3 กิโลเมตร)

ลองดูคลิปด้านล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตเหอหม่าของ Alibaba ที่เป็นหนึ่งในต้นแบบแนวคิดของ New Retail (3 นาทีจบ)

  • จะเห็นได้ว่า New Retail หรือค้าปลีกยุคใหม่คือ การผสมผสานของค้าปลีกออฟไลน์กับออนไลน์เข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ พูดง่ายๆ คือในออฟไลน์มีออนไลน์ ส่วนในออนไลน์ก็มีออฟไลน์ ผสานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อตอบโจทย์ค้าปลีกในโลกยุคใหม่ที่ไร้เส้นแบ่งระหว่างโลกออฟไลน์กับออนไลน์

เบื้องหลังของ New Retail

การผสมผสานออฟไลน์กับออนไลน์ตามแนวคิด New Retail เอาเข้าจริงแล้วเบื้องหลังของเรื่องนี้คือ เทคโนโลยี และการจัดการข้อมูล

ถ้าดูจากต้นขั้วแนวคิดอย่าง Alibaba นอกเหนือจากร้านซุปเปอร์มาเก็ตเหอหม่าที่ทาง Alibaba จัดการเองทั้งหมด ตั้งแต่หน้าร้าน การจัดการสินค้า โลจิสติกส์ ไปจนถึงเรื่องการตลาด แนวคิดแบบ New Retail ยังได้มีการนำไปใช้กับร้านค้าปลีกรายเล็ก-รายย่อย (คนไทยเรียกว่า ร้านโชห่วย) ในชุมชนด้วย

สิ่งที่ Alibaba ทำกับร้านโชห่วยในจีน คือการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ใส่ในร้านออฟไลน์แบบเดิม ตั้งแต่ระบบการคิดเงิน การสต็อคสินค้า การสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึงการเก็บ “ข้อมูล” ของลูกค้าที่เดินเข้ามาซื้อของในร้านแบบเรียลไทม์

ร้านโชห่วยที่นำเอาแนวคิด New Retail ของ Alibaba มาใช้ จึงไม่จำเป็นต้องสต็อคสินค้าจำนวนมากอีกต่อไป เพราะมีข้อมูลในมือแบบเรียลไทม์ และสามารถติดตามการขายได้ตลอดเวลา ทำให้ทางร้านลดต้นทุนไปได้มาก

ดังนั้น พูดได้เลยว่า การจัดการข้อมูลและเทคโนโลยี คือหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลง จากค้าปลีกยุคเก่าให้กลายมาเป็นค้าปลีกยุคใหม่ตามแนวคิดแบบ New Retail

ลองดูคลิปด้านล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจการนำแนวคิด New Retail ของ Alibaba ไปใช้ในร้านโชห่วยจีน (บรรยายภาษาอังกฤษ)

ความ “ใหม่” ในมุมผู้ประกอบการ

  • New Retail คือการเพิ่มพลังให้กับผู้ประกอบการในโลกค้าปลีกยุคใหม่

แน่นอนว่า เทคโนโลยีและการจัดการข้อมูลคือเบื้องหลังความสำเร็จ และถือเป็น “เครื่องมือ” ที่จะทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าวิ่งตามทันโลกค้าปลีกยุคใหม่

เครื่องมือต่างๆ ที่ผู้ประกอบการจะนำไปใช้ในการปรับตัวให้เข้าสู่ New Retail มีตั้งแต่การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อยอดการขายสินค้า (Consumer Analytics) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนั้น การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในร้านค้าค้าปลีก ยังจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการการขายได้อย่างครบวงจรด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในร้านขายเครื่องสำอางที่ตั้งอยู่ห้างสรรพสินค้าของจีน มีการนำเอากระจกวิเศษ (Magic Mirror) ซึ่งเป็นกระจกที่ใช้เทคโนโลยี VR มาติดตั้ง โดยลูกค้าสามารถเข้ามาทดลองแต่งหน้าของตัวเองผ่านกระจกวิเศษได้แบบเรียลไทม์ และเมื่อลูกค้าสนใจสินค้าตัวนั้นๆ ก็สามารถซื้อที่หน้าร้านออฟไลน์ได้เลย หรือหากสินค้าที่หน้าร้านหมด ลูกค้าก็สามารถสั่งสินค้าตัวนั้นผ่านออนไลน์ให้ไปส่งที่บ้านได้เลยเช่นเดียวกัน

ด้วยแนวคิดของ New Retail นี้ จะทำให้ผู้ประกอบการร้านค้ามีประสิทธิภาพในการจัดการสินค้า และมีความแม่นยำในการขายมากขึ้นเพราะมีข้อมูลลูกค้า และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์จำนวนมากอีกแล้ว

ค้าปลีกยุคใหม่ที่นำเอาเทคโนโลยี Magic Mirror มาใช้ในการขายสินค้า Photo: Alibaba

ความ “ใหม่” ในมุมผู้บริโภค

  • New Retail คือการเติมประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคในโลกค้าปลีกยุคใหม่

ผู้บริโภคยุคก่อน เมื่อต้องการสินค้า ต้องวิ่งเข้าไปหาในร้านค้าออฟไลน์เพื่อเลือกซื้อสินค้า ในยุคถัดมาเมื่อมีอินเทอร์เน็ต รวมถึงบริการบนออนไลน์เริ่มได้รับความนิยมและแพร่หลาย การซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นเป็นหนึ่งในทางเลือกนอกเหนือจากการซื้อจากร้านค้าออฟไลน์

แต่ไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์มีจุดอ่อนทั้งคู่ ยกตัวอย่างเช่น หากหน้าร้านออฟไลน์ไม่มีสินค้า ลูกค้าซื้อวันนั้นไม่ได้ วันหน้าก็ต้องกลับมาซื้อใหม่ ทำให้ประสบการณ์ขาดตอน หรือในออนไลน์ที่ pain point หลักของผู้บริโภคส่วนใหญ่คือความไม่มั่นใจในตัวสินค้า เพราะไม่ได้จับ ไม่ได้สัมผัส หรือทดลองใช้สินค้าจริงก่อน

แนวคิดแบบ New Retail จึงตอบโจทย์ เพราะจะเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์การซื้อสินค้าผ่านออฟไลน์และออนไลน์ให้กับผู้บริโภคอย่างไร้รอยต่อ เพราะหากหน้าร้านออฟไลน์ไม่มีสินค้า ทางร้านอาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาเติมเต็มประสบการณ์ ให้ลูกค้าทดลองสินค้าในร้านแบบเรียลไทม์ หลังจากนั้นเมื่อลูกค้าพึงพอใจ ก็สั่งสินค้าให้ไปส่งที่บ้านแบบเดลิเวอรี่ ส่วนการขายผ่านออนไลน์ หากลูกค้าไม่มั่นใจในตัวสินค้า อาจมีการทำหน้าร้านในบางสาขา (ไม่จำเป็นต้องมีสาขาเยอะก็ได้) เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสได้ไปสัมผัสและทดลองใช้ตัวสินค้า และเมื่อต้องการสินค้าตัวนั้น จะทำการสั่งซื้อสินค้าจากหน้าร้านออฟไลน์ หรือสั่งผ่านออนไลน์ให้มาส่งที่บ้านก็ได้ทั้งนั้น

  • นี่คือประสบการณ์ใหม่ของผู้บริโภคในโลกยุคใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องแยกระหว่าง “ออฟไลน์” กับ “ออนไลน์” อีกต่อไป เพราะการซื้อสินค้าจากออฟไลน์หรือออนไลน์ย่อมได้สินค้าและประสบการณ์ที่เหมือนกันแทบทุกประการ

ทั้งหมดนี้คือภาพของ New Retail หรือค้าปลีกยุคใหม่ ที่นับวันจะยิ่งทวีคูณความสำคัญ และอาจเป็นอนาคตของวงการค้าปลีก

ลองดูคลิปด้านล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจแนวคิด New Retail ของ Alibaba เพิ่มเติม (คำบรรยายภาษาอังกฤษ)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Share this:

  • Tweet

Related

  • TAGS
  • ecommerce
  • New Retail
  • Retail
  • The future of Retail
  • ค้าปลีก
  • ค้าปลีกยุคใหม่
  • วงการค้าปลีก
  • อีคอมเมิร์ซ

Thongchai Cholsiripong

//medium.com/@thongchaicholsiripong

บอย ธงชัย ชลศิริพงษ์ | นักข่าว นักเขียน และพิธีกรรายการ Brand Inside TALK ติดต่องาน Th.cholsiripong@gmail.com

ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่คืออะไร

ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เน้นความสะดวกทั้งด้านทำเลที่ตั้ง มีสาขาจำนวนมาก และเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง สินค้าที่ขายเน้นประเภทอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค สนองความต้องการซื้อแบบเร่งด่วน ร้านค้า ประเภทนี้ได้ขยายตัวเข้ามาทดแทนร้านค้าปลีกขนาดเล็กทั้งนี้โดยอาศัยรูปแบบที่สะอาด สะดวก มีการจัดการดี

ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่แตกต่างกันอย่างไร

สมัยใหม่หรือห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ร้านค้าปลีกดั้งเดิม ขาดการจัดสินค้าให้เป็นระบบ ไม่มีป้ายบอกราคาที่แน่นอนชัดเจน รวมถึงไม่มีสิ่งอำนวยความ สะดวก เช่น เครื่องบันทึกเงินสดที่จอดรถและอื่นๆ ราคาสินค้าสูงกว่าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และ

ธุรกิจค้าปลีกมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ประเภทของร้านค้าปลีก.
1. ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (Grocery Store) ... .
2. ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง (Specialty Store) ... .
3. ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ... .
4. ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) ... .
5. ห้างสรรพสินค้า (Department Store) ... .
6. ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store, Hypermarket).

ธุรกิจร้านค้าปลีกมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างประเภทของธุรกิจร้านค้าปลีกในไทย.
1. ห้างสรรพสินค้า (Department Store) ... .
2. ช็อปปิ้งมอลล์ (Shopping Mall) ... .
3. ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) ... .
4. ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) ... .
5. ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) ... .
6. ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ... .
7. มินิมาร์ท (Mini-mart) ... .
8. ร้านขายของชำ (Grocery Store).

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita