ลดหย่อนภาษี 2 เท่า มีอะไรบ้าง

เงินบริจาคทั่วไป ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้ หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินบริจาค

โดยบริจาคให้กับ วัด สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล หรือ มูลนิธิต่างๆ
ที่อยู่ในประเทศไทย

บริจาคแบบไหน ได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่า ? 

เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีได้พิเศษ โดยสามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่า ของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่น ๆ ซึ่งเงินบริจาคพิเศษ ประกอบด้วย

  • เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา
  • เงินบริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐ
  • เงินบริจาคพิเศษอื่น ๆ

ทั้งนี้ ผู้ที่บริจาคสนับสนุนการศึกษาเพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2 เท่าจะต้องบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) เท่านั้น

บริจาคผ่านระบบ e-Donation ทำอย่างไร ? 

ผู้บริจาค แจ้งความประสงค์จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 ช่องทาง 

1. ถ้าบริจาคเงินสด ให้แจ้งหน่วยรับบริจาค บันทึกข้อมูลการบริจาค บน e-Donation ได้ทันที เพื่อส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต่อไป
2. ถ้าบริจาคผ่านช่องทางออนไลน์ QR Code ที่ใช้สแกน ต้องมีคำว่า e-Donation เมื่อสแกน QR Code แล้ว จะมีข้อความแจ้งความประสงค์ ให้ธนาคารส่งข้อมูลการบริจาค ของเราให้กรมสรรพากร เพื่อขอหักลดหย่อนภาษี

บริจาคหลายคน ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?

การบริจาคเงินร่วมกันหลายคน ถ้ามีชื่อทุกคนในใบเสร็จรับเงินบริจาค จะถือว่าเป็นการบริจาคเงินคนละเท่า ๆ กัน โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่หารเฉลี่ยแล้ว



อะไรเอ่ย ทำแล้วได้บุญ แล้วยังได้ลดหย่อนภาษีแบบคูณ 2? สิ่งนั้นก็คือสิทธิลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาค แต่ก็ไม่ใช่ว่าบริจาคที่ไหนก็ได้ลดหย่อน เท่าเหมือนกันทั้งหมด เดี๋ยววันนี้เรามาพูดคุยกันว่า บริจาคที่ไหน ลดหย่อนภาษีได้ เท่ากันบ้าง

เงื่อนไขการลดหย่อน 2 เท่าจากการบริจาค

  • สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มบริจาค
  • การบริจาคบางรายการเท่านั้นที่ได้รับลดหย่อนภาษี เท่า ในขณะที่บางการบริจาคก็จะได้รับลดหย่อนเท่าที่ได้บริจาคจริงตามปกติ

สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ. คลิก //finno.me/open-plan

บริจาคที่ไหน ได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่าบ้าง?

  • สถานศึกษา: ไม่ว่าเป็นโรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษา โดยจะต้องเป็นการบริจาคเพื่อใช้จ่ายสำหรับอาคารสถานที่ สื่อการเรียนการสอน และบุคลากร โดยจะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะลดหย่อนได้แค่เท่าเดียว 
  • สถานพยาบาลของรัฐ: โดยทั่วไป ถ้าเป็นการบริจาคให้ โรงพยาบาล โดยตรง กรณีนี้จะลดหย่อนภาษีได้ เท่า แต่ถ้าเป็นการบริจาคให้ มูลนิธิโรงพยาบาล” กรณีนี้จะลดหย่อนภาษีได้เท่าเดียว แนะนำให้เช็กจากใบเสร็จที่ได้จะชัวร์สุด
  • หน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย / กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก / สถานพักฟื้น บำบัด และฟื้นฟูเด็ก / กองทุนยุติธรรม / เงินบริจาคเพื่อคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ แล้วก็สภากาชาด ที่จะลดหย่อน เท่าได้ ต่อเมื่อบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น
  • การจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน: สามารถบริจาคให้ทั้งโรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หอสมุด ห้องสมุด หรือแหล่งหนังสืออื่น ๆ ที่ให้บริการแก่ประชาชน ไปจนถึงห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่าง ๆ ด้วย

การบริจาคให้แต่ละหน่วยงาน ในแต่ละปี อาจจะลดหย่อนภาษีได้ไม่เท่ากัน

  • อย่างการบริจาคให้สถานศึกษา หลายปีก่อนหน้านี้ก็บริจาคแล้วลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต่อมาก็มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้นำมาลดหย่อนภาษีได้ เท่าไปจนถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งก็อาจมีการขยายอายุออกไปอีกก็ได้
  • แนะนำว่า ในแต่ละปีถ้าอยากจะเช็กว่าบริจาคที่ไหนลดหย่อนได้ เท่าบ้าง แนะนำให้เข้าไปตรวจสอบรายชื่อองค์กรรับบริจาคที่เว็บไซต์สรรพากร www.rd.go.th จะชัวร์ที่สุด

การบริจาคที่ลดหย่อนได้ 2 เท่า อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เราบริจาคเงินให้อย่างเดียว แต่อยู่ที่วิธีการด้วย

  • อย่างเช่น การบริจาคให้สถานศึกษา และสภากาชาด จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น ถ้าบริจาคด้วยวิธีการปกติ ก็จะลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริงเท่านั้น เป็นต้น

แล้ว e-Donation คืออะไร?

  • e-Donation เป็นระบบบริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่สรรพากรใช้รองรับข้อมูลการรับบริจาคของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกผู้บริจาคให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคอีกต่อไป และทำให้ได้รับเงินคืนภาษีเร็วขึ้นอีกด้วย
  • เราสามารถเช็กรายชื่อหน่วยงานทีรับบริจาคผ่าน e-Donation ได้ ผ่านทางเว็บไซต์ edonation.rd.go.th  

หลักฐานที่ต้องเก็บ ในกรณีบริจาคด้วยวิธีการทั่วไป

  • ใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงิน ที่มีข้อความระบุชื่อหน่วยงานที่บริจาคเงินให้ วันเดือนปีที่บริจาค ชื่อผู้บริจาค และจำนวนเงินที่บริจาค

วิธีการคำนวณภาษีจากการลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

  • การคำนวณภาษีจะเริ่มจากการนำเงินได้พึงประเมินทั้งปี มาหักค่าใช้จ่าย แล้วหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคออกก่อน เรียบร้อยแล้วถ้ามีค่าลดหย่อนเงินบริจาค ซึ่งก็ต้องแยกเป็น กลุ่ม คือกลุ่มที่บริจาคแล้วลดหย่อนได้ เท่า และกลุ่มที่ลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง โดยจะต้องเริ่มคำนวณจากกลุ่มที่ลดหย่อนได้ เท่าก่อน
  • ตัวอย่าง สมมติมีเงินเดือน ล้านบาท ค่าลดหย่อนสมมติว่ามีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท กับค่าบริจาคให้โรงพยาบาลที่ลดหย่อนได้ เท่าอีก 10,000 บาท แล้วก็บริจาคให้วัดลดหย่อนได้ตามจริงอีก 10,000 บาท
  • เริ่มต้นคือ นำเงินเดือน ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 หักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 เหลือ 900,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนอื่นที่ไม่ใช่ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ในที่นี้ก็คือค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 เหลือ 840,000
  • จาก 840,000 ให้ลองคูณ 10% แล้วตั้งพักไว้ก่อน ก็จะได้ 84,000 เป็นเพดานการลดหย่อนด้วยเงินบริจาค เท่า อย่างถ้าเราบริจาคให้โรงพยาบาล 10,000 จะนำมาลดหย่อนได้ 20,000 ซึ่งไม่เกินเพดาน 84,000 แปลว่าหักลดหย่อนได้ทั้ง 20,000 เหลือ 820,000
  • ทีนี้เอา 820,000 คูณ 10% อีกที จะได้เพดานการลดหย่อนด้วยเงินบริจาคทั่วไปที่ลดหย่อนได้ตามจริงก็คือ 82,000 อย่างถ้าเราบริจาคให้วัด 10,000 ซึ่งไม่เกินเพดาน 82,000 อยู่แล้ว ก็แปลว่าลดหย่อนได้ทั้ง 10,000 เหลือ 810,000 
  • 810,000 ก็จะเป็นจำนวนสุดท้ายก่อนนำไปคำนวณค่าภาษตามอัตราภาษีขั้นบันไดต่อไปนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ. คลิก //finno.me/open-plan

แท็ก:

ArticleBasicFINNOMENA CHANNELKnowledgePersonalFinance101Provident FundTAX เพื่อนๆVideoบริจาคภาษียื่นภาษีลดหย่อนภาษี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita