มอนอเมอร์ของเซลลูโลสคืออะไร

เซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสเป็นโพลีแซคคาไรด์สองชนิดที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์พืช เซลลูโลสประกอบด้วยโมโนเมอร์กลูโคสในขณะที่เฮมิเซลลูโลสประกอบด้วยโพลีเมอร์หลายชนิด เซลลูโลสเป็นโพลิเมอร์เชิงเส้นในขณะที่เฮมิเซลลูโลสเป็นพอลิเมอร์เชื่อมโยง ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสคือบทบาทของโพลีแซคคาไรด์แต่ละชนิดในผนังเซลล์พืช

วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ยุคปัจจุบันล้วนเกี่ยวข้องกับ พอลิเมอร์ และมันได้แทรกเข้าไปอยู่ในทุกกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่ถุงพลาสติก ไปจนถึงลิ้นหัวใจเทียมที่ช่วยให้ผู้ป่วยยังมีชีวิตต่อไปได้

พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบโมเลกุลใหญ่ที่ประกอบขึ้นจาก “มอนอเมอร์” (Monomer) หรือหน่วยเล็ก ๆ ของสารจำนวนหลายพันหลายหมื่นหน่วยที่มีลักษณะซ้ำ ๆ กันเชื่อมต่ออยู่ภายในโมเลกุลด้วยพันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond) โดยมอนอเมอร์แต่ละชนิดจะเชื่อมต่อกันเป็นสารขนาดใหญ่ได้ ต้องผ่านกระบวนการสร้างสารหรือปฏิกิริยาที่เรียกว่า Polymerization ภายใต้สภาวะแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ เช่น ตัวเร่งการเกิดปฏิกิริยา อุณหภูมิ และความดัน เป็นต้น

แหล่งกำเนิดพอลิเมอร์

1. พอลิเมอร์จากธรรมชาติ (Natural Polymer) คือ สารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งสารอินทรีย์ อย่างแป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส หรือสารอนินทรีย์ อย่างแร่ซิลิเกต หรือทรายซิลิกา

2. พอลิเมอร์จากกระบวนการสังเคราะห์ (Synthetic Polymer) คือ สารประกอบที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ของมนุษย์ผ่านปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ เช่น พลาสติก ยางสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น

เส้นใยผ้า / ภาพถ่าย : aisvri

พอลิเมอร์สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ตามชนิดของมอนอเมอร์ในโมเลกุล ดังนี้

1. โฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด เช่น แป้ง และเซลลูโลส ซึ่งเกิดจากมอนอเมอร์กลูโคสที่เชื่อมต่อกันเป็นสารโมเลกุลใหญ่ หรือพอลิเอทิลีน (Polyethylene) ที่เกิดจากเอทิลีนทั้งหมด

2. โคพอลิเมอร์ (Co-Polymer) คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์มากกว่า 1 ชนิด เช่น โปรตีน ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโนหลายชนิดเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ทำให้โปรตีนแต่ละชนิดมีองค์ประกอบ โครงสร้างรูปร่าง และความยาวของสายพอลิเมอร์ที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของกรดอะมิโนหรือมอนอเมอร์ภายในโมเลกุล

ภาพประกอบ : ByJu’s.com

โครงสร้างหลักของพอลิเมอร์

1. โครงสร้างแบบสายยาวหรือโซ่ตรง (Linear Polymer) คือ โครงสร้างของสารประกอบที่เกิดจากการสร้างพันธะเรียงต่อกันเป็นเส้นตรงของมอนอเมอร์ ซึ่งทำให้โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากว่าโครงสร้างอื่น ๆ สารประกอบจึงมีจุดหลอมเหลวสูง มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน แต่มีความยืดหยุ่นสูง อีกทั้ง เมื่อได้รับความร้อน สารโครงสร้างนี้สามารถอ่อนตัวลง ก่อนกลับมาแข็งตัวขึ้นอีกครั้งหลังอุณหภูมิลดลง โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อสมบัติของพอลิเมอร์ เช่น พีวีซี (PVC) พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน เป็นต้น

2. โครงสร้างแบบสาขาหรือแขนง (Branch Polymer) คือ โครงสร้างของสารประกอบที่เกิดจากการยึดกันและแตกกิ่งก้านสาขาของมอนอเมอร์ออกจากโซ่พอลิเมอร์สายหลัก ซึ่งทำให้โซ่พอลิเมอร์ไม่สามารถเรียงชิดติดกันได้หนาแน่นเมื่อโครงสร้างแรก สารประกอบจึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำ อีกทั้ง โครงสร้างของสารยังสามารถเปลี่ยนรูปได้ง่าย เมื่อได้รับความร้อน เช่น พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ

3. โครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห (Network Polymer/Crosslinked Polymer) คือ โครงสร้างของสารประกอบที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันเป็นร่างแหของมอนอเมอร์ มีกิ่งก้านสาขามาก ซึ่งทำให้สารมีความแข็งแรงทนทาน แต่เปราะหักง่าย ไม่ยืดหยุ่น เช่น เมลามีนที่นำใช้ทำถ้วยชาม

โครงสร้างของพอลิเมอร์ / ภาพประกอบ : MechanicalBASE.com

ตัวอย่างของพอลิเมอร์ในชีวิตประจำวัน

1. พลาสติก (Plastics) ที่ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย จากการมีคุณสมบัติที่ทั้งแข็งแรงทนทาน แต่ยืดหยุ่นได้ดีและยังมีน้ำหนักเบา อีกทั้ง ยังไม่ทำปฏิกิริยากับอากาศ กรด-เบส และสารเคมีต่าง ๆ สามารถเป็นทั้งฉนวนความร้อนและฉนวนไฟฟ้าที่ดี แล้วในกระบวนการผลิตยังขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่ายอีกด้วย

พลาสติกหลากสีที่นำไปผลิตเป็นของเล่นเด็ก / ภาพถ่าย Rupert Kittinger-Sereinig

2. ยางธรรมชาติ (Natural Rubber) เกิดจากมอนอเมอร์ที่เรียกว่า “ไอโซพรีน” (Isoprene) มีความทนทานและมีความยืดหยุ่น ไม่ละลายน้ำ แต่ยางธรรมชาติมีข้อด้อยจากความแข็งแรงที่เปราะบาง แตกหักได้ง่าย ซึ่งไม่ทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์และน้ำมันเบนซิน ดังนั้น ยางธรรมชาติจึงต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพยาง (Vulcanization Process) ก่อนนำไปใช้ประโยชน์

3. เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Fiber) คือ เส้นใยที่ผ่านการปรับปรุงจากเส้นใยเซลลูโลสในธรรมชาติ ในขณะที่ ความเหนียวแน่นและความแข็งแรงจะลดลงเมื่อสัมผัสกับน้ำและแสงแดด

4. ซิลิโคน (Silicone) มีหลายชนิดตามมอนอเมอร์ตั้งต้น จึงมีสมบัติที่เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์มากกว่ายาง เช่น สลายตัวได้ยาก ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ อีกทั้ง ยังทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีและไม่มีปฏิกิริยา ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ในทางการแพทย์จึงนำมาใช้ทำอวัยวะเทียม

มอนอเมอร์ของเซลลูโลสและแป้งคืออะไร

โฮโมพอลิเมอร์ ( Homopolymers ) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันมาเชื่อมต่อกัน เช่น แป้ง และเซลลูโลส ซึ่งเกิดจากมอนอเมอร์กลูโคสมาเชื่อมต่อกัน

มอนอเมอร์ มีอะไรบ้าง

ตาราง แสดงสมบัติบางประการของพลาสติกบางชนิด.

มอนอเมอร์ของแป้งคืออะไร

2.monomer ของแป้งคืออะไร กลูโคส glucose.

โพลิเมอร์หมายถึงอะไร

พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วย หน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยเล็ก ๆ ของสารในพอลิเมอร์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita