มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราช มงคล ธัญบุรี ศูนย์ รังสิต มี คณะ อะไร บ้าง

ปริญญาตรี

วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย สาขาสุขภาพความงามและสปา

วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย สาขาสุขภาพความงามและสปา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดีไหม?

อยากเรียนด้านอาชีพต้องเรียนที่ราชมงคล

สาขาสุขภาพความงาม ไม่ต้องจบวิทย์คณิตก็เรียนได้ใช่รึเปล่าคะ อยากเรียนสาขานี้มาก ค่าเทอมที่นี่ก็ไม่แพงด้วย

ไอยรินทร์ ไทยธรรม

บุคคลทั่วไป

03 ต.ค. 59 11:59 น.

แนวโน้มอาชีพด้านนี้ต้องดีแน่ๆ

สาขาน่าสนใจค่ะ อยากเรียนอะไรที่เป็นงานเฉพาะ จบแล้วทำอาชีพนั้นๆได้เลย

Wann Teeranat

บุคคลทั่วไป

03 ต.ค. 59 11:53 น.

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

ปริญญาตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีชื่อย่อคติพจน์สถาปนาประเภทอธิการบดีนายกสภาฯจำนวนอาจารย์จำนวนผู้ศึกษาที่ตั้งสีประจำสถาบันเพลงเว็บไซต์
Rajamangala University of Technology Thanyaburi

พระมหาพิชัยมงกุฎ
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

มทร.ธัญบุรี / RMUTT
ราชมงคลสร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี
18 มกราคม พ.ศ. 2548; 17 ปีก่อน
สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
ผศ. ดร.สมหมาย ผิวสอาด
วีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ[1]
1,511 คน [2] (ปีการศึกษา 2564)
25,480 คน[3] (ปีการศึกษา 2564)
คลองหก
เลขที่ 39 หมู่ที่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก(คลองหก) ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
ศูนย์รังสิต
เลขที่ 8 ถนนพหลโยธิน 87 ซอย 2 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
██ สีน้ำเงิน
มาร์ชมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
www.rmutt.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Thanyaburi) ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548[4] โดยรวม 2 หน่วยงานหลักเข้าไว้ด้วยกัน คือ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและวิทยาเขตปทุมธานี จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม เกษตรศาสตร์ บริหารธุรกิจ คหกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาศาสตร์ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ศิลปศาสตร์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและสาขาวิชาทางด้านนาฏศิลป์ ดุริยางค์และพยาบาลศาสตร์ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสายวิชาชีพที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับการพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการจัดการเรียนด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย การผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทะนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม โดยให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อ ด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีสถานที่ตั้ง 2 แห่ง คือ ศูนย์กลางมหาวิทยาลัย ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี และวิทยาเขตปทุมธานี ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี

ประวัติ[แก้]

สืบเนื่องมาจากวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นวันที่พระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา[5] ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี เนื่องจากขณะนั้นวิทยาลัยฯ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีให้สามารถดำเนินการได้อย่างประหยัดทั้งเวลา และทรัพยากรทุกประเภท วิทยาลัยฯ จึงได้พยายามที่จะจัดให้คณะต่าง ๆ ที่เปิดสอนในระดับปริญญาได้มารวมกันอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพื่อให้สามารถขยายการเรียนการสอนระดับปริญญาด้านเทคโนโลยีออกไปให้กว้างขึ้น แต่การดำเนินงานต้องเจอกับปัญหาอุปสรรคทางด้านนโยบายและแนวทางการปฏิบัตินานาประการ จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถจัดตั้งศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญาขึ้นได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

จนกระทั่ง พ.ศ. 2527 วิทยาลัยฯ ได้รับการอนุเคราะห์จากกรมธนารักษ์ โดยการจัดสรรที่ดินคลองหกฝั่งตะวันตก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โฉนดเลขที่ 706 เนื้อที่ 610-3-40 ไร่ และแปลงเลขที่ 109-3-04 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 720-2-45 ไร่ ให้ใช้เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยฯ

แต่สถานการณ์ไม่คาดคิดได้เกิดขึ้นเนื่องจากที่ดินผืนนี้ กรมประชาสงเคราะห์ได้แสดงความจำนงขอใช้จัดสรรที่ดินเพื่อการเคหะต่อเนื่องจากหมู่บ้านใช้ทำนาอยู่จึงไม่สามารถเข้าไปปรับปรุงพื้นที่ได้ ต่อมาทางวิทยาลัยฯ ร่วมกับกรมธนารักษ์ดำเนินการเจรจากับกรมประชาสงเคราะห์ใหเอนการใช้ที่ดินผืนนี้ให้แก่วิทยาลัยฯ ต้องเวลาในการดำเนินการถึง 6 เดือน วิทยาลัยฯ จึงเริ่มเข้าไปใช้สิทธิในที่ดินผืนนี้ได้ แต่ปัญหายังไม่สิ้นสุด เนื่องจากชาวบ้านยังมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ และที่ดินส่วนใหญ่ยังใช้ปลูกข้าวอยู่ ทางวิทยาลัยฯ พยายามหาข้อยุติโดยแต่งตั้งคณะกรรมการเข้าไปเจรจากับชาวบ้านและผู้ที่ทำนา จึงได้ข้อตกลงร่วมกัน โดยวิทยาลัยฯ จะเข้าไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น ชดเชยค่าเสียหายในการขนย้ายข้าวของ พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกไว้ ตลอดจนยินดีรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่เป็นพนักงานพร้อมจัดหาที่พักให้ตามสมควร นอกจากนี้วิทยาลัยฯ ยังให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่บุตรหลานของผู้ที่อยู่อาศัยในที่ดินนั้นด้วย

การดำเนินการก่อสร้างได้เริ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา จนกระทั่งเมื่อดำเนินการต่อเนื่องมาจนปลายปี พ.ศ. 2530 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้ขอพระราชทานอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญา ซึ่งสำนักราชเลขาธิการได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ วางศิลาฤกษ์ศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เวลา 16.09 น. ยังความปลาบปลื้มปิติยินดีมาสู่คณจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยฯ เป็นล้นพ้น

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล[6] อันมีความหมายว่า "สถาบันอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา" และสืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยบริหารจัดการได้โดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและยกระดับสถานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับสูง ปริญญาโท เอก จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งขึ้น โดยมีการรวมวิทยาเขตที่อยู่ใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548

รายชื่ออธิการบดี[แก้]

ลำดับ รายชื่ออธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1 รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (วาระที่ 1) [7]
15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (วาระที่ 2) [8]
2 รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (วาระที่ 1) [9]
27 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (วาระที่ 2) [10]
3 รองศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด 8 มีนาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน [11]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

  • ตราประจำมหาวิทยาลัย

  • บัวเหล็ก

  • โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล

ตราประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี[แก้]

ตราประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเป็นตรารูปวงกลมมีรูปดอกบัวบาน 8 กลีบล้อมรอบดอกบัวบาน 8 กลีบ หมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ มรรค 8 และความสดชื่นเบิกบาน ก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศ ภายใต้ดอกบัวเป็นดวงตราพระราชลัญจกรบรรจุอยู่อันเป็นสัญลักษณ์ และเครื่องหมายประจำองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9ซึ่งพระองค์ได้เป็นผู้พระราชทาน นามว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” บนตรารูปวงกลมมีพระมหาพิชัยมงกุฎครอบและมีเลข 9 บรรจุอยู่ซึ่งหมายถึงรัชกาลที่ 9 ด้านล่างของตราวงกลมทำเป็นกรอบโค้งรองรับมีชื่อ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” คั่นปิดหัวท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้พิมพ์ประจำยามทั้งสองข้าง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง แจ่มใส เบิกบาน

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นบัวสวรรค์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gustavia gracillima Miers

ชื่อวงศ์ : Lecythidaceae

ต้นบัวสวรรค์ เป็นไม้พุ่มสูง 2 - 5 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบเวียนเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบเป็นมัน ไม่ผลัดใบ กลีบดอกหนา ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกคล้ายดอกบัวหลวงแต่ใหญ่และสวยกว่ามาก ดอกมักออกซ่อนอยู่ภายในทรงพุ่ม นักศึกษาสามารถสัมผัสกับความสวยงามได้ที่บริเวณลานอนันต์รังสรรค์ด้านหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัย จะออกดอกในช่วงฤดูหนาว

สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

น้ำเงิน

ประติมากรรมประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

บัวเหล็ก ประติมากรรมสัญลักษณ์รูปดอกบัว เป็นเครื่องหมายแห่งความคิดความรู้สึกร่วมในอันที่จะ ช่วยกันพัฒนาการศึกษาด้านวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า รูปดอกบัวซ้อนกัน 3 ชั้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกโปร่งเบาและยังมีกลีบบัว 8 เส้น หมายถึง มรรค 8 ประการ ส่วนยอดแหลมแทรกขึ้นสู่ฟ้า หมายถึง ผู้จะพบความสำเร็จได้จะต้องใช้ความพยายามอย่างสูงสุดในการผ่านแต่ละขั้นตอนการเรียนรู้

การจัดการศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการศึกษาทางวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยฯ มีหน่วยงานรับผิดชอบจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยคณะต่าง ๆ 12 คณะ ดังต่อไปนี้

คณะ[แก้]

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • คณะการแพทย์บูรณาการ
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์(โครงการจัดตั้ง)

โรงเรียนสาธิต[แก้]

  • โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 - ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6)
  • โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคลธัญบุรี (ระดับอนุบาลปีที่ 1-3)

พื้นที่จัดการศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีพื้นที่จัดการศึกษา 3 แห่งคือ

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศูนย์คลองหก
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศูนย์รังสิต
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศูนย์นวัตกรรมและความรู้

การเดินทาง[แก้]

ระบบขนส่งมวลชน[แก้]

  • รถประจำทางสาย 538 มทร.ธัญบุรี - รพ.สงฆ์ ให้บริการโดย บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด

  • รถมินิบัสสาย 1156 ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต - มทร.ธัญบุรี (ประตู 1) ให้บริการโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด

  • รถตู้สาย 1156 ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต - มทร.ธัญบุรี (ประตู 3) ให้บริการโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด

  • รถ Shuttle Bus เชื่อมระหว่างศูนย์คลองหกกับศูนย์รังสิต (ให้บริการเฉพาะบุคลากร มทร.ธัญบุรี (รวมถึงนักศึกษา) เท่านั้น)

มีรถโดยสารประจำทางหลายสายที่ผ่านบริเวณถนนเลียบคลองหก รถเมล์ สาย 538 รถตู้โดยสารร่วม ขสมก. สาย ต.153 จาก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และรถตู้โดยสารชานเมือง สาย 1156 จาก ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และภายในประตู 3 รถมินิบัส สาย 1156 จาก ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต รวมไปถึงรถ Shuttle Bus เชื่อมระหว่างศูนย์คลองหกกับศูนย์รังสิต (ให้บริการเฉพาะบุคลากร มทร.ธัญบุรี (รวมถึงนักศึกษา) เท่านั้น) มีให้บริการฝั่งละ 4 เที่ยว ดังนี้ ศูนย์คลองหก 06.30 น. / 07.30 น. / 12.00 น. / 17.00 น. และศูนย์รังสิต 07.30 น. / 12.00 น. / 17.00 น. / 18.30 น.

บุคคลจากมหาวิทยาลัย[แก้]

ด้านศาสนา
  • สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
ด้านวงการบันเทิง
  • อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา (กอล์ฟ) นักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์
  • ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2550, นางแบบ, นักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี ที่คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
  • ธงไชย แมคอินไตย์ (เบิร์ด) นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง
  • ชนัทธา สายศิลา (แน็ป retrospect) นักร้อง
  • ปทิตตา อัธยาตมวิทยา นักแสดง พิธีกร จบการศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
  • พรวิทย์ โสนุตมางค์ มือกลอง วง Air Borne
  • สุรชัย อุตสาหะเพียรกิจ (แอมแปร์) ผู้เข้าประกวด TheDesignerSeason2
  • มรกต หทัยวสีวงศ์ นักแสดง พิธีกร
  • ชัชฎาภรณ์ ธนันทา (ต่าย) นักแสดง ผู้ประกาศ
  • สมพล รุ่งพาณิชย์ (แหลม) นักร้องนำวง 25 hours จบการศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาจิตรกรรม
  • ชัชฎาภรณ์ ธนันทา นักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาสารสนเทศส่วนกลาง
  • เลซีล็อกซี นักร้อง แร็ปเปอร์ชาวไทย จบการศึกษาปริญญาตรีคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดนตรีสากล
  • ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
ด้านการเมือง
  • ดร.เกียรติศักดิ์ ส่องแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี
  • ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ
  • เรวดี รัศมิทัต เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ
  • สมัคร ชาลีกุล อดีตสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11
  • สัมพันธ์ แป้นพัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 สมัย จบการศึกษาปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการโรงแรม
ด้านบุคคลากรทางการศึกษา
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร อดีตอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ (สิ้นพระชนม์แล้ว)
  • รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ศาสตราจารย์ อนันต์ กรุแก้ว อดีตอธิการบดี
  • สุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ธีรเดช กลิ่นจันทร์ นาฏยศิลปิน กรมศิลปากร
  • อนุชา สุมามาลย์ นาฎยศิลปิน กรมศิลปากร
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
ด้านวงการผู้ประกาศข่าว
  • สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ผู้ประกาศข่าว
ด้านวงการพิธีกร
  • จีระพันธ์ เพชรขาว (หมอปลา มือปราบสัมภเวสี) มืชื่อเสียงจากรายการ เรื่องจริงผ่านจอ ทางช่อง 7 ที่ได้ช่วยเหลือคนเจ็บป่วยจากวิทยาศาสตรืและสิ่งเหนือธรรมชาติ จบการศึกษาปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทาง YOUTUBER ช่อง หมอปลา [Official Channel]
ด้านวงการเอกชน
  • นุสรา ทองบ่อ (ครูนุส) ครูสอนสถาบันบางกอกแดนซ์
  • สิริพรรณ มาลีแย้ม (ครูอิ๋ว) ครูสอนสถาบันบางกอกแดนซ์
  • คุณนวพร อังสนารักษ์ (ครูลินดา) ครูสอนสถาบันบางกอกแดนซ์
  • นพรัตน์ กุลหิรัญ ครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
บุคคลทั่วไป
  • ประกายฟ้า พูลด้วง (ฟ้า) อดีตนักร้องนำวง Pastel Season Band, พิธีกร, ยูทูบเบอร์ช่อง Prakaifa Channel จบการศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์ (เสียชีวิตจากการโดดตึกฆ่าตัวตายชั้น 3 B สูง 18 เมตร บริเวณอาคารจอดรถด้านหลัง ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านบางเขน ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 17.00 น.)

อ้างอิง[แก้]

  1. //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/013/2.PDF
  2. จำนวนอาจารย์ มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2564. [1]
  3. จำนวนนักศึกษาที่มีสถานภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564. [2]
  4. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘
  5. พระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๘
  6. พระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๓๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย Archived 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม 2548
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ราชกิจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 120ง วันที่ 24 สิงหาคม 2552
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ราชกิจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 14 สิงหาคม 2556
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ราชกิจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 219ง วันที่ 5 กันยายน 2560
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ราชกิจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 14 สิงหาคม 2556

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มหาลัยราชมงคลมีกี่คณะ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการศึกษาทางวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานรับผิดชอบจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย ...

คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี มีสาขาอะไรบ้าง

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.
ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business).
การตลาด (Marketing).
การจัดการทั่วไป (General Management).
การจัดการวิศวกรรมธุรกิจ (Business Engineer).
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources).
การบัญชี (Accounting).
ระบบสารสนเทศ (Information Systems).
[การเงิน (Finance).

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี มีสาขาอะไรบ้าง

1. สาขาวิชาศิลปศึกษา รายละเอียดหลักสูตร.
2. สาขาวิชาจิตรกรรม รายละเอียดหลักสูตร.
3. สาขาวิชาทัศนศิลป์ รายละเอียดหลักสูตร.
4. สาขาวิชาศิลปะไทย รายละเอียดหลักสูตร ติดต่อ ข่าวล่าสุด Social. สถิติผู้เข้าชม.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita