ปัจจัยใดของวัฒนธรรมที่จะทำให้องค์การบรรลุประสิทธิผล?

                กล่าวโดยสรุป วัฒนธรรมแต่ละแบบสามารถสร้างความสำเร็จให้แก่องค์การได้ทั้งสิ้น การยึดวัฒนธรรมแบบใดหรือผสมผสานมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับจุดเน้นด้านกลยุทธ์ขององค์การ และความจำเป็นของเงื่อนไขแวดล้อมภายนอกเป็นสำคัญ จึงเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้นำที่ต้องมิให้องค์การหยุดชะงักอยู่กับวัฒนธรรมเดิม ซึ่งอาจเหมาะสมกับอดีต แต่ไม่อาจทำให้องค์การประสบความสำเร็จได้อีกต่อไป     
                การระบุความเสี่ยง คือการระบุหรือว่าคาดการณ์เดาเหตุการณ์ที่เป็นเชิงลบซึ่งจะทำให้องค์กรเสียคุณค่าหรือขัดขวางทำให้องค์กรทำงานไม่บรรลุผล สาเหตุไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กรควรควบคุมได้ เช่น วัฒนธรรมโครงสร้างองค์กร บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และสถานที่ภายนอก เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม สามารถแก้ปัญหาได้ถ้ารู้วิธีดำเนินการ เรียกว่าสร้างแบบแผนหรือสร้างแนวกำหนด
             ทิศทาง นโยบายการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีความสอดคล้องกับกับทิศทาง นโยบายการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและกรอบภารกิจในความรับผิดชอบ เช่น

               การจัดการความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมองค์การเป็นหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งการจัดการความรู้จะช่วยให้เกิดการวิเคราะห์องค์การในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์การ และมีการนำองค์ความรู้หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างๆ มาปรับให้สอดคล้องกับการพัฒนาบุคลากรและการปฏิบัติงานของบุคลากร อันส่งผลให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หัวเรื่อง (Topics)

                3.1 ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ

                3.2 ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์การ

                3.3 ประโยชน์ของวัฒนธรรมองค์การ

                3.4 องค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมองค์การ

                3.5 การสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การ

                3.6 ลักษณะของวัฒนธรรมที่ทำให้องค์การเกิดประสิทธิผล

                3.7 วัฒนธรรมองค์การกับการบริหารองค์การ

                3.8 การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เข้มแข็ง

                3.9 ปัจจัยที่เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ

                3.10 วัฒนธรรมที่เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การ

แนวคิด (Main Idea)

                วัฒนธรรมองค์การเป็นรากฐานที่กำหนดทัศนคติ แนวคิด พฤติกรรมในการทำงาน เป็นแบบแผนที่เป็นเอกภาพและเป็นเอกลักษณ์ขององค์การ เป็นเสมือนแกนกลางของทุกสิ่งทุกอย่างในการดำเนินงานของมนุษย์ในองค์การและเป็นสิ่งสำคัญในการนำพาองค์การไปสู่ความสำเร็จ

สมรรถนะย่อย (Element of Competency)

แสดงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ

3.1 ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ

        กอร์ (Gordon, 1999 :342) กล่าวว่า  วัฒนธรรมองค์การ คือ สิ่งที่อธิบายสภาพแวดล้อมภายใน องค์การที่รวมเอาข้อสมมุติ ความเชื่อ และค่านิยมที่สมาชิกขององค์การมีร่วมกันและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับโครงสร้างอย่างเป็นทางการในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรม

         วิรัช สงวนวงศ์วาน (2547 : 20) กล่าวคือ วัฒนธรรมองค์การ คือ ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้นวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน “บุคลิกภาพ” หรือ “จิตวิญญาณ” ขององค์การ

          สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ (2540 : 11)  กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง สิ่งต่างๆ อันประกอบด้วยสิ่งประดิษฐ์ แบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐาน ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ความเข้าใจ และข้อสมมุติพื้นฐานของคนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ภายในองค์การ

           พร ภิเศก (2546 :27) สรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การ คือ กลุ่มของค่านิยมร่วมที่ได้รับการยอมรับในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของสมาชิก และช่วยให้สมาชิกในองค์การเข้าใจว่าการปฏิบัติใดที่ได้รับการพิจารณาว่ายอมรับได้ เกิดแนวการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา อีกทั้งค่านิยมเหล่านี้มักจะถูกถ่ายทอดผ่านทางเรื่องราว และสื่อทางสัญลักษณ์ต่างๆ

           วัฒนธรรมองค์การ (Moorhead & Griffin,1995 :440) หมายถึง การแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ความรู้ ความคิด ศีลธรรม ประเพณี เทคโนโลยี ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ความเชื่อถือศรัทธาร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การนั้นๆ และทั้งแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ปรัชญา ตำนาน นิยาย เรื่องราว และภาษาพิเศษ ฯลฯ

            สรุป วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หรือ วัฒนธรรมบริษัท (Corporate Culture)

หมายถึง แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติกันในองค์การ ซึ่งวัฒนธรรมองค์การจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ หรือหมายถึงโครงร่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Framework ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้

                3.1 บ่งชี้ถึงกลุ่มของค่านิยม (Set of  Values)

                       บ่งชี้ถึงกลุ่มของค่านิยม ซึ่งบุคคลที่อยู่ในองค์การนั้นยึดถือร่วมกัน ค่านิยมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์เพื่อตัดสินว่า พฤติกรรมใดเป็นสิ่งที่ดีและสามารถยอมรับได้ พฤติกรรมใดบ้างที่ไม่ดี และไม่อาจยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น ในบ้างองค์การยึดถือค่านิยมว่า “การตำหนิลูกค้าไม่ว่ากรณีใดเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้” ดังนั้นถึงมักพบข้อความที่เขียน เพื่อเตือนใจพนักงานขององค์การให้ปฏิบัติต่อลูกค้าเป็นกฎ 2 ข้อ

                                1. The customer is always right.

                                2. lf the customer is ever wrong go back to see rule #1.

                                องค์การต่างๆ อาจมีค่านิยมเชิงลบหรือเชิงบวกในการปฏิบัติงานก็ได้ เช่น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมักจะโยนความผิดไปให้ลูกค้า การลงโทษพนักงานทุกกรณีที่ทำผิดหรือการปฏิบัติต่อพนักงานในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า (Valuable Assets) สูงสุดขององค์การ เป็นต้น ในแต่ละกรณีดังกล่าว ค่านิยมจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สมาชิกองค์การรู้ว่า ตนควรปฏิบัติอย่างไร ในองค์การนั้น                                 

                3.1.2 ค่านิยมขององค์การส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดมาจากข้อสมมุติพื้นฐาน (Basic Assumption) ของพนักงานในบริษัทร่วมกัน

                      จึงเป็นเรื่องยากถ้าจะให้ฝ่ายบริษัทเองกำหนดข้อสมมุติเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อและค่านิยมส่วนบุคคลของพนักงาน ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งและมีพลังของหน่วยงานใดๆควรสะท้อนถึงค่านิยมและความเชื่อของพนักงานร่วมกัน อย่างไรก็ตามองค์การบางแห่งได้พยายามระบุค่านิยมที่จำเป็นบางประการขึ้น เพื่อให้กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การโดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน

                3.1.3 การใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อบ่งบอกความหมายของค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การ

                         ตัวอย่าง เช่น สัญลักษณ์กากบาทสีแดงบนพื้นสีขาว เป็นเครื่องหมายแทนองค์การกาชาด ซึ่งแสดงค่านิยมเรื่องความเมตตากรุณา หรือสัญลักษณ์ช่อใบมะกอก (ใบโอลีฟ) ภายใต้แผนที่โลกเป็นเครื่องหมายขององค์การสหประชาชาติ แสดงถึงค่านิยมด้านการรักษาสันติภาพของโลก เป็นต้น บริษัทและองค์การส่วนใหญ่จะพยายามสร้างตราสัญลักษณ์ที่แฝงด้วยค่านิยมหรือวัฒนธรรมองค์การของตนนอกจากสัญลักษณ์แล้ว คำขวัญ (Slogan) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนค่านิยมหรือความเชื่อซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์การ เช่น บริษัทผลิตรถยนต์วอลโว่ ใช้คำขวัญว่า “ทุกชีวิตปลอดภัยในวอลโว่” เป็นต้น

                3.2 ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์การ

                       อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นรากฐานที่กำหนดทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม องค์การซึ่งจัดว่าเป็นสังคมย่อยย่อมมีวัฒนธรรมเป็นหลักในการดำรงชีวิต หรือวิถีชีวิต หรือเป็นแผนสำหรับพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ โดยที่สมาชิกในสังคมหรือมนุษย์ไม่รู้ตัว เป็นแบบหรือวิถีการดำรงชีวิตที่ทำให้องค์การมีเอกลักษณ์ของตนองต่างไปจากองค์การอื่น และสามารถแลกเปลี่ยนกันและกันกระจายออกไปได้ในหมู่สมาชิกของสังคม เปรียบเสมือนเป็นกาวหรือที่ยึดองค์การหรือหน่วยงานให้กลมเกลียวไม่แตกสลายลงไป

                ความสำคัญของวัฒนธรรมต่อองค์การ มีหลักฐานการศึกษาวิจัยได้ 3 ประการ คือ

                3.2.1 วัฒนธรรมองค์การสามารถกำหนดรูปแบบพฤติกรรมขององค์การได้

                          วัฒนธรรมองค์การสามารถกำหนดรูปแบบพฤติกรรมขององค์การได้ เช่น วัฒนธรรมองค์การที่คนส่วนมากมักวางเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ เมื่อวิถีชีวิตทั่วไปสร้างแบบแผนการวางเฉยต่อปัญหาพฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลในองค์การก็จะซึมซับเรียนรู้แพร่กระจายในเรื่องการวางเฉยต่อปัญหาพฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลในองค์การก็จะซึมซับเรียนรู้แพร่กระจายในเรื่องการวางเฉย กลายเป็นวัฒนธรรมการวางเฉย และเป็นแบบแผนพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การนั้นต่อไป


รูปที่ 3.1 วัฒนธรรมองค์การ

                3.2.2 รูปแบบพฤติกรรมองค์การที่เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมองค์การอาจเป็นได้ทั้งปัจจัยเกื้อกูลหรืออุปสรรคต่อการดำเนินงานขององค์การ

                          โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินแก้ไขปัญหาการบริหารงาน กล่าวคือ วัฒนธรรมจะส่งผลต่อรูปแบบและความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การ เช่น ไม่มีความกล้าหาญในการริเริ่มแก้ไขปัญหา ถ้าผู้นำไม่เป็นผู้ริเริ่มต้นก่อนคือมีวัฒนธรรมยอมตามอย่างไม่ยั้งคิด (Subordination Culture) พฤติกรรมเช่นนี้จะเป็นอุปสรรคในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ วัฒนธรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญควรแก่การระลึกถึงในการศึกษาปัญหาขององค์การทั้งโครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมในองค์การ

                3.2.3 วัฒนธรรมองค์การมีอำนาจชักนำให้เกิดภาวการณ์เรียนรู้ต่างๆ

                          ผลงานการศึกษาของ พอล เบท และ เอ็มอีพี สลิกแมน (Paul Bate M.E.P. Seligman) พบว่าวัฒนธรรมจะมีอำนาจชักนำให้เกิดสภาวการณ์เรียนรู้ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความสำคัญกับองค์การ คือ การเรียนรู้ภาวะช่วยตนเองไม่ได้ (Learned Helpessness) ซึ่งเป็นสถานภาพทางจิตที่คนจะมีเมื่อเข้ารับรู้ว่าเขาไม่สามารถควบคุมเป้าหมายในชีวิตของเขาเองได้ และถ้าการรับรู้เช่นนี้ได้รับการยืนยันโดยผู้นั้นมีประสบการณ์ตรง โดยเขาผู้นั้นพบกับตัวเองว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็จะทำให้การจูงใจในการตอบโต้กับปัญหาหายไป กลายเป็นคนย่อท้อต่ออุปสรรคหรือไม่ต่อสู้ให้เป้าหมายขององค์การบรรลุผล วัฒนธรรม การยอมตามผู้บังคับบัญชาโดยไม่ยั้งคิดจึงก่อให้เกิดพฤติกรรมสิ้นหวังในองค์การ

                3.3 ประโยชน์ของวัฒนธรรมองค์การ

                            3.3.1 ช่วยในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมภายนอก (External Adaptation)

                                      ช่วยในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จวิธีการที่ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวิธีการของการกำหนดขอบเขตของความสำเร็จและความล้มเหลวนั้นโดยเฉพาะพนักงานจะต้องพัฒนาวิธีการที่ยอมรับและค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด และแต่ละบุคคลจะต้องทราบถึงสาเหตุที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว

                               3.3.2 ช่วยในการประสมประสานภายใน (Internal Integration)

                                        ช่วยในการประสมประสานภายใน จะเกี่ยงข้องกับการสร้างสรรค์การรวมกลุ่ม โดยการค้นหาวิธีการ ปรับตัวในการทำงาน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน จะเริ่มต้นด้วย การกำหนดลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์โดยการรวบรวมแต่ละบุคคลและวัฒนธรรมกลุ่มย่อยภายในองค์การ การพัฒนาลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์การใช้สนทนาและปฏิกิริยาระหว่างกัน ประกอบด้วยการค้นหาโอกาสหรืออุปสรรคความก้าวหน้าเกี่ยวกับนวัตกรรมซึ่งเกิดจากการร่วมมือกัน

                                3.3.3 วัฒนธรรมองค์การ

                                         วัฒนธรรมองค์การ คือ สิ่งที่หล่อหลอมให้คนในองค์การมีและเข้าใจกฎกติกาในการร่วมกันทำหน้าที่หลอมให้คนในองค์การมีความเชื่อและพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกัน วัฒนธรรมทำให้คนในองค์การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและลดความขัดแย้ง

                                3.3.4 วัฒนธรรมองค์การช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมายขององค์การได้โดยง่าย

                                          เนื่องจากช่วยหล่อหลอมให้คนในองค์การมีความเชื่อและพฤติกรรมไปในทางเดียวกัน ก็คือ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การนั่นเอง อีกทั้งการมีความขัดแย้งภายในระดับต่ำ ย่อมทำให้องค์การสามารถพัฒนาได้รวดเร็วกว่าองค์การที่มีความขัดแย้งสูง เพราะทุกคนในองค์การจะช่วยร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่องค์การ ไม่ใช่ขัดผลประโยชน์กัน

                                3.3.5  วัฒนธรรมองค์การเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งขององค์การ

                                          วัฒนธรรมองค์การเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งขององค์การ เช่น บริษัท 3M มีวัฒนธรรมหลักขององค์การ คือ การสร้างนวัตกรรมใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นพนักงานทุกคนในบริษัท 3M แม้กระทั่งพนักงานทำความสะอาด จะเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ ทำให้บริษัท 3M มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเสมอ และยกให้บริษัท 3M เป็นบริษัทแห่งนวัตกรรม

                3.4 องค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมองค์การ

                       องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การแต่ละแห่งก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์หรือทิศทางของบริษัท ตัวอย่าง เช่น ในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการร่วมหุ้นกับบริษัทข้ามชาติมีเป้าหมายองค์การที่จะเป็นผู้นำในด้านใดด้านหนึ่งในระดับนานาชาติ อาจจะต้องกำหนดวัฒนธรรมองค์การให้พนักงานในองค์การพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา และส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับพนักงานในองค์การพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา และส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับพนักงานอย่างเต็มที่ องค์ประกอบหลักๆ ของวัฒนธรรมองค์การที่เป็นสากล และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับแทบทุกธุรกิจ ดังต่อไปนี้

                                3.4.1 คุณค่าในองค์การ (Core Value)

                                          คุณค่าองค์การนั้นอาจเป็นแก่นวิธีคิด ความเชื่อ หรือหลักการสำคัญที่กำหนดขึ้นมาโดยองค์การให้ทุกคนยึดถือเป็นหลักสำคัญ เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมในองค์การ อาจจะเริ่มจากถามก่อนว่าองค์การให้น้ำหนักสำคัญเรื่องอะไรเป็นเรื่องใหญ่ เช่น เน้นเรื่องความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า เน้นเรื่องความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหรือเน้นการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้ก้าวหน้าเร็วกว่าคนอื่นตลอดเวลา เป็นต้น และให้นำหลักคิดนั้นมาประยุกต์และปรับใช้ในทุกๆเรื่อง ในการทำงานและตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ นอกเหนือจากคุณค่าองค์การที่ใช้ในการทำงานบางครั้งก็อาจจะรวมไปถึงความปลอดภัยในการทำงานและใช้ชีวิต แม้ในขณะที่อยู่นอกบริษัท องค์การคาดหวังว่าพนักงานจะยังคงยึดถือคุณค่าเรื่องความปลอดภัยตลอดเวลา เป็นต้น คุณค่าขององค์การนี้ปลูกฝังให้กับพนักงานทุก ๆ คนให้เข้าใจและรับทราบตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงาน พร้อมทั้งบอกวิธีการปรับใช้ในชีวิตประจำวันวันเพื่อไม่ให้คุณค่าเหล่านี้เป็นเพียงคำพูดลอย ๆ ที่ทุกคนจำได้ แต่ไม่มีความหมายใด ๆ

                    3.4.2 สร้างความผูกพันระหว่างพนักงานทุกฝ่าย

                             กิจกรรมสันทนาการถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในกาสร้างความผูกพันในองค์การ เพื่อทำให้การทำงานและการใช้ชีวิตในที่ทำงานดำเนินไปอย่าราบรื่นและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้คนในองค์การเกิดความสนิทสนมกันมากขึ้นโดยกิจกรรมที่ว่าอาจไม่ใช่แค่ตัวพนักงานแต่รวมถึงคนในครอบครัวของพนักงานแต่ละคนให้เข้ามามีส่วนร่วมอีกด้วย

3.4.3 ชื่นชมคนทำดี

          กำลังใจถือเป็นแรงผลักดันให้คนที่ตั้งใจทำงานเดินหน้าต่อไปโดยไม่ย่อท้อ หมั่นสังเกตบ่อย ๆ ว่ามีใครในองค์การที่ทำงานได้ดี ซึ่งเพียงแค่คำชมหรือรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ถือเป็นกำลังใจที่สามารถทำให้พวกเขาพยายามได้ดีขึ้นต่อไปได้อีกในครั้งต่อ ๆ ไป โดยการประกวดพนักงานดีเด่นประจำเดือนหรือประจำปี ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้คนในองค์การพยายามทำงานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา

รูปที่ 3.2 การชื่นชมด้วยการให้รางวัล

3.4.4 สร้างภาพลักษณ์ให้กับชุมชน

          กุญแจสำคัญขององค์การที่ประสบความสำเร็จคือการเชื่อมโยงกับชุมชน และตอบแทนบางสิ่งที่ให้กับสังคมบ้าง กุญแจสำคัญขององค์การที่ประสบความสำเร็จคือการเชื่อมโยงกับชุมชนและตอบแทนบางสิ่งให้กับชุมชนบ้าง ตัวอย่างเช่น ถ้ามีโรงงานติดแม่น้ำ ควรรับผิดชอบต่อสังคมโดยการไม่ปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลองที่อยู่ในละแวกชุมชนเหล่านั้น การจัดกิจกรรมทางการกุศล เช่น บริจาคเลือดหรือเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ก็เข้าไปให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะสร้างความประทับใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชนแล้ว ยังทำให้พนักงานในองค์การภูมิใจที่ได้ทำอะไรเพื่อชุมชนด้วย

3.4.5 เอาใจใส่พนักงาน

          ปัจจัยหนึ่งของความภักดีของพนักงานขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ของหัวหน้า มีหลากหลายวิธีสามารถแสดงให้เห็นว่าพนักงานสำคัญต่อองค์การขนาดไหน การทำบันทึกเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ของพนักงานทุกคนไว้ในระบบ ตัวอย่างเช่น วันเกิด วันแต่งงาน วันรับปริญญา หรือวันสำคัญอื่น ๆ  ในชีวิตเพื่อนแสดงความยินดีหรือกิจกรรมฉลองเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับพนักงานเหล่านั้น ซึ่งการเอาใจใส่นั้นไม่สำคัญว่าจะอยู่ตำแหน่งไหน ไม่ว่าสูงกว่าหรือต่ำกว่า ก็ควรทำความรู้จักกับคนอื่น ๆ ในทุก ๆ ระดับขององค์การ และเอาใจใส่ให้กับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมเท่าที่จะทำได้

3.4.6 ส่งเสริมการเรียนรู้

         พนักงานทุกคนไม่ว่าตำแหน่งไหน ๆ ก็ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งการที่จะเติบโตขึ้นไปได้ต้องอาศัยการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอยู่เสมอ องค์การแข็งแรงจึงควรสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการพัฒนาตัวเองให้กับพนักงาน เพื่อช่วยผลักดันให้พนักงานกระตือรือร้นที่จะเพิ่มศักยภาพของตัวเองให้มาขึ้น เช่น การเชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ ส่งเสริมโดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมภายนอก เช่น คอร์สเรียนภาษาต่างประเทศ คอร์สพัฒนาทักษะการเจรจาต่อรอง การวางแผนการตลาด การบริหารต่าง ๆ หรือแม้แต่ระบบการเรียนออนไลน์ที่ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า ซึ่งการอำนวยความสะดวกทั้งหมดนี้จะช่วยให้พนักงานมองเห็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง และเป็นการช่วยออกแบบให้การเรียนรู้มีรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

3.4.7 สร้างความต่อเนื่อง

         อีกหนึ่งคุณลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมองค์การที่ควรต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ว่าองค์การจะมีโครงการอะไร สิ่งสำคัญที่ควรทำคือสร้างความต่อเนื่องให้กับโครงการหรือกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้นมา เพราะการทำแบบฉาบฉวยมักจะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ตามมา เช่น การจักอบรมต่าง ๆ ต้องมีการป้อนกิจกรรมและมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของกิจกรรม และดึงดูดให้คนเข้าร่วมอยู่ตลอดเวลา หรือแม้แต่กิจกรรมการกุศลก็เช่นกัน ควรมีความต่อเนื่องและไม่ควรทำเพื่อเกาะกระแสสังคมต่าง ๆ เท่านั้น

3.4.8 รับรู้ประวัติความเป็นมา

         ประวัติความเป็นมาจะทำให้พนักงานเกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมและแนวทางในการทำงานต่าง ๆ ในองค์การมากขึ้น เพื่อให้เดินไปสู่จุดมุงหมายที่ชัดเจนในองค์การ มีน้อยคนนักที่จะทราบประวัติความเป็นมาขององค์การ ถ้าพนักงานได้รับรู้ว่าองค์การเกิดขึ้นมาด้วยอุดมการณ์ความตั้งใจแบบไหน ต้องผ่านอะไรมา และสร้างชื่อเสียงอะไรมาบ้าง พนักงานคงภูมิใจไม่น้อยที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในองค์การ นอกจากนี้ประวัติความเป็นมาจะทำพนักงานเกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมและแนวทางในการทำงานต่าง ๆ ในองค์การมากขึ้น เพื่อให้เดินไปสู่จุดมุงหมายที่ชัดเจนในองค์การ โดยสิ่งเหล่านี้เริ่มได้โดยการแบ่งเวลาส่วนหนึ่งเป็นปฐมนิเทศเพื่อให้ทราบว่าพนักงานเป็นกำลังส่วนหนึ่งที่สำคัญของอะไรอยู่

รูปที่ 3.3 การปฐมนิเทศพนังงาน

3.3 ประโยชน์ของวัฒนธรรมองค์การ

      การสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การก็เหมือนกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อขายให้กับลูกค้า แตกต่างกันที่กระบวนการของการสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การ คือ กระบวนการที่แท้จริงในการเชื่อมโยงค่านิยมเชิงกลยุทธ์ กับ ค่านิยมทางวัฒนธรรมกระบวรการของการสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์การมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

        3.5.1 การกำหนดค่านิยมเชิงกลยุทธ์

                  ค่านิยมเชิงกลยุทธ์ คือ ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การซึ่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ที่ได้พิจารณากลั่นกรองของสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อประเมินทางด้านเศรษฐกิจประชากร นโยบายสาธารณะ เทคโนโลยี และสังคม

       3.5.2 พัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรม

                 พัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรม คือ ค่านิยมที่พนักงานต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินตามค่านิยมเชิงกลยุทธ์ได้ ซึ่งอยู่บนฐานความเชื่อขององค์การที่ว่าองค์การสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างไร และเมื่อใด ถ้าองค์การไม่พยายามที่จะพัฒนาค่านิยมทางวัฒนธรรมเชื่อมโยงกับการกำหนดค่านิยมทางกลยุทธ์

       3.5.3 การสร้างวิสัยทัศน์

                การสร้างวิสัยทัศน์ คือ ภาพขององค์การว่าจะอยู่จุดใดเมื่อมีการพัฒนาค่านิยมทางกลยุทธ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมแล้ว องค์การจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การทีใช้เป็นแนวทางร่วมกันระหว่างค่านิยมเชิงกลยุทธ์กับค่านิยมทางวัฒนธรรม

        3.5.4 การเริ่มดำเนินกลยุทธ์

                 การเริ่มดำเนินกลยุทธ์ คือ การสร้างค่านิยมและปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ การเริ่มต้นดำเนินการเป็นกลยุทธ์มักจะครอบคลุมหลายปัจจัย ตั้งแต่การพัฒนาการออกแบบองค์การไปจนถึงการสรรหาและการฝึกอบรมพนักงานที่มีค่านิยมร่วมและการดำเนินการตามค่านิยมร่วมนั้น โดยมีค่านิเชิงกลยุทธ์และค่านิยมทางวัฒนธรรมเป็นตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ

        3.5.5 การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรม

                 การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรม คือ การเสริมแรงพฤติกรรมทางวัฒนธรรมสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้

                รูปแบบที่  1 การจัดระบบการให้รางวัลอย่างเป็นทางการในองค์การที่จะต้องตอบสนองความต้องการทางพฤติกรรมในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้เกิดค่านิยมแก่พนักงาน

                รูปแบบที่ 2 องค์การจะต้องบอกเรื่องราวต่าง ๆ ไปยังพนักงานทุกคนเพื่อเสริมสร้างค่านิยมทางวัฒนธรรม

                รูปแบบที่  3 องค์การจะต้องเน้นให้พนักงานทำสิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ เพื่อให้การกำเนินการเป็นไปตามวิสัยทัศน์ขององค์การ และการให้เกิดผลปฏิบัติได้อย่างจริงจัง

3.6 ลักษณะของวัฒนธรรมที่ทำให้องค์การเกิดประสิทธิผล

                จากการศึกษาของเดเนียล อาร์ เดนิสัน (Daniel R. Denison, 1990) ในเรื่องปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิภาพ (Effectiveness) ขององค์การเป็นอย่างมาก เมื่อวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิดสิ่งต่อไปนี้

                  3.6.1 การผูกพัน (Involvement)

                           การผูกพันและการมีส่วนร่วมในองค์การ

                   3.6.2 การปรับตัว (Adaptability)

                             การปรับตัวที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ

                   3.6.3 การพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ (Consistency)

                            การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้การทำงานที่ประสานกันและสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้

                    3.6.4 มีวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การที่เหมาะสม

                               มีวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การที่เหมาะสม ทำให้องค์การมีกรอบทิศทางการดำเนินที่ชัดเจน

                                ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนข้างต้น จะทำให้องค์การสามารถบรรลุสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) ตามที่ต้องการได้ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การจึงมีความสำคัญที่จะสนับสนุนให้องค์การบรรลุสู่วิสัยทัศน์ และภารกิจที่กำหนดอย่างเหมาะสมได้ ดังแผนภูมิรูปที่ 3.4

รูปที่ 3.4 ลักษณะของวัฒนธรรมที่จะทำให้องค์การบรรลุประสิทธิผล

3.7 วัฒนธรรมองค์การกับการบริหารองค์การ

       วัฒนธรรมองค์การที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารภายในองค์การโดยตรงที่อยู่หลายประการ

        3.7.1 ภาษา (Language)

                  การบริหารงานจะง่ายขึ้น อยู่ที่การใช้ภาษา ถ้าบุคคลการใช้ภาษาเดียวกันและเข้าใจความหมายของภาษาไทยในแนวเดียวกัน ทั้งที่เป็นคำพูดและกิริยาท่าทางล้วนมีความสัมพันธ์กับการบริหารของกลุ่มทั้งสิ้น ถ้าสมาชิกไม่สามารถติดต่อกันได้ด้วยความเข้าใจตรงกัน การทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้  ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาความอยู่รอดขององค์การ

        3.7.2 วัฒนธรรมใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มในหมู่สมาชิกองค์การ (Boundaries)

                 การแบ่งกลุ่มในหมู่สมาชิกจะต้องมีความเป็นเอกฉันท์ร่วมกับภายในกลุ่ม มีความชัดเจนว่าใครเป็นสมาชิกในกลุ่มใด สมาชิกกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กลุ่มตั้งขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในวัฒนธรรมองค์การซึ่งเป็นเรื่องของการจัดองค์การและการบริหารงานบุคคล

        3.7.3 เอกฉันท์ในการแบ่งสรรอำนาจ (Allocation of  Power) และสถานภาพของสมาชิก

                  อำนาจและสถานภาพการบริหารงานภายในองค์การจะราบรื่นได้เมื่อสมาชิกของกลุ่มมีมติเป็นเอกฉันท์ร่วมกันในเรื่องการแบ่งสรรอำนาจ (Allocation of  Power) และสถานภาพของสมาชิก กล่าวคือ ทุกองค์การจะต้องจัดลำดับความสำคัญของสมาชิกในองค์การว่าใครเป็นผู้บังคับบัญชา ใครเป็นลูกน้องบังคับบัญชาลดหลั่นกันไปอย่างชัดเจน

        3.7.4  ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Intimacy)

                   องค์การจะดำเนินงานได้อย่างราบรื่นเพียงใดขึ้นอยู่กับความเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน ความเป็นเพื่อนสนิทและความรัก

        3.7.5 การให้รางวัลและการลงโทษ (Rewards and Punishment)

                 องค์การต้องจูงใจสมาชิกให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยการมีมติเอกฉันท์ร่วมกันในหมู่สมาชิก เรื่องเกณฑ์การจัดสรรรางวัลและการลงโทษ ทุกกลุ่มจะต้องรู้ชัดเจนว่าพฤติกรรมแบบใดจะได้รับรางวัลที่เป็นทรัพย์สิน สถานภาพ และอำนาจ พฤติกรรมแบบใดถ้าปฏิบัติจะถูกลงโทษคือไม่ได้รับรางวัล

        3.7.6 อุดมการณ์ (Ideology)

                 บางครั้งอุดมการณ์และศาสนาสามารถเข้าช่วยอธิบายปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายหรือควบคุมได้เพื่อสมาชิกจะไม่วิตกกังวลจนเกินเหตุจ่อเหตุการณ์นั้น ทุกองค์การจะพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งสามารถสร้างเอกลักษณ์ในการรับรู้ คิด และรู้สึกต่อปัญหาของแต่ละองค์การได้ หากองค์การแก้ไขปัญหาไม่ได้ มักไม่ส่งผลดีต่อการบรรลุเป้าหมายการบริหารที่กำหนด

3.8 การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เข้มแข็ง

      องค์การถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มบุคคลและมีการสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความหมายในกิจกรรมต่างๆ วัฒนธรรมองค์การ คือ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ค่านิยม และบรรยากาศที่สร้างได้ “ เป็นวิถีทางที่กระทำสิ่งต่างๆ ให้บรรลุความสำเร็จ”

      ทุกบริษัทจะมีวัฒนธรรมองค์การ และวัฒนธรรมจะนำทางสิ่งที่ดำเนินอยู่ และจะมีอิทธิพลต่อวิธีการตัดสินใจของผู้บริหาร มุมมองต่อสภาพแวดล้อมและกลยุทธ์ของบริษัท วัฒนธรรมสามารถจะเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนก็ได้ จะเป็นจุดแข็งเมื่อทำให้การติดต่อสื่อสารประหยัดและง่าย เอื้ออำนวยต่อการตัดสินใจและการควบคุม ส่งเสริมการวางแผนและการดำเนินกลยุทธ์ และเพิ่มระดับความร่วมมือความผูกพันภายในบริษัทจะเป็นจุดอ่อนเมื่อความเชื่อและค่านิยมร่วมที่สำคัญแทรกแซงความต้องการของธุรกิจ กลยุทธ์ของบริษัทและบุคคลที่ทำงาน

      วัฒนธรรมที่เข้มแข็งมีความสำคัญต่อองค์การเพราะทำให้องค์การสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ง่ายขึ้น วัฒนธรรมของบริษัทดีเด่นจะแสดงให้เห็นถึงลักษณะต่อไปนี้

                1. การมุ่งกระทำ : ความเป็นทางการน้อย และความคล่องตัวสูง

                2. การอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้า : การรับเอาแนวความคิดทางการตลาด และความหลงใหลกับคุณภาพความไว้วางใจได้ และ/หรือการบริการ

                3. ความเป็นอิสระและการเป็นผู้ประกอบการ : การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเสี่ยงภัย

                4. การเพิ่มประสิทธิภาพโดยคน : การรักษาบรรยากาศที่ไว้วางใจและติดต่อสื่อสารแบบสองทางที่ไหลเวียนอย่างเสรีเอาไว้

                5. การบริการแบบสัมผัสและผลักดันด้วยค่านิยม : การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ

                6. การกระจายธุรกิจอย่างระมัดระวัง : การหลีกเลี่ยงจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวพันกัน

                7. โครงสร้างที่เรียบง่ายและสายงานที่ปรึกษาน้อย : โครงสร้างองค์การที่มีระดับการบริหารน้อยระดับและสายงานที่ปรึกษาน้อย

                8. การควบคุมอย่างเข้มงวดและผ่อนปรนในขณะเดียวกัน : การควบคุมค่านิยมแกนกลางอย่างเข้มงวด แต่ความเป็นอิสระ การเป็นผู้ประกอบการ และการคิดค้นสิงใหม่ๆจะถูกผลักดันไปยังระบบล่าง

3.9 ปัจจัยที่เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ

      ปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่มีส่วนช่วยในการสร้างหลักฐานและความต่อเนื่องของวัฒนธรรมองค์การ คือ

                3.9.1 บทบาทผู้ก่อตั้ง

                         วัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะสะท้อนค่านิยมของผู้ก่อตั้งองค์การ วัฒนธรรมอาจจะถูกกำหนดรูปร่างอย่างเข้มแข็งโดยผู้บริหาร โดยปกติวัฒนธรรมจะเริ่มต้นเลียนแบบสิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงให้ความสนใจ บางครั้งวัฒนธรรมก็เริ่มต้นโดยผู้ก่อตั้งสามารถสร้างความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารระดับสูงต้องการเห็นองค์การเปลี่ยนแปลงทิศทางได้

                3.9.2 การขัดเกลาทางสังคม

                        การขัดเกลาทางสังคมเป็นปัจจัยที่ร่วมสร้างวัฒนธรรมที่ปรากฏขึ้นในองค์การ เนื่องจากการขัดเกลาทางสังคมจะเป็นวิธีการสร้างการเรียนรู้ทางความเชื่อ ค่านิยม และสมมุติฐานทางวัฒนธรรม

3.10 วัฒนธรรมที่เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การ

         โครงสร้างและระบบการบริหารองค์การหากสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การแล้ว ย่อมนำพาองค์การนั้นไปสู่ความสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามหากระบบการบริหารไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การย่อมนำพาองค์การนั้นไปสู่ความหายนะได้

          3.10.1 วัฒนธรรมองค์การที่สามารถนำพาองค์การสู่ความสำเร็จ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพฤติกรรมของผู้บริหารหรือผู้นำ ดังต่อไปนี้

                1. รู้จักสัมมาคารวะต่อผู้อื่น

                2. รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน

                3. มีความอุตสาหะ วิริยะ

                4. รู้จักทำงานเป็นระบบ

                5. รู้จักทำงานเป็นทีม

                6. มีความคิดสร้างสรรค์

                7. ยึดมั่นในคุณธรรม

                8. เป็นความเป็นเลิศ

                9. มีความรักสามัคคี

                10. เชื่อถือศรัทธาในธุรกิจของตน

                11. มีความซื่อสัตย์สุจริต

                12. ตรงต่อเวลา

                13. รู้จักนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้

                14. พยายามขยายตลาดให้กว้างขวาง

                15. ขายสินค้าให้ได้มากขึ้น

                16. เป็นผู้นำองค์การที่เป็นแบบอย่างแกผู้อื่น

                17. ประหยัด ขยัน อดทน

                18. ยึดมั่นในสิ่งที่ดี

                19. พยายามให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงให้น้อยที่สุด

                20. ปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์การ

      3.10.2 วัฒนธรรมองค์การที่สามารถนำพาธุรกิจไปสู่ความล้มเหลว ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยทางพฤติกรรมของผู้บริหารหรือผู้นำ ดังต่อไปนี้

                1. ผู้นำไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองและองค์การ

                2. ทุจริต ช่อโกง

                3. มีนิสัยฟุ่มเฟือย หูเบา ชอบประจบ สรรเสริญ

                4. นิยมของต่างประเทศ

                5. ทำลายขนบธรรมเนียมที่ดีงาม เช่น เล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์ที่ไม่สุภาพ

       6. วางเป้าหมายและนโยบายไว้แต่ไม่ปฏิบัติตาม

       7. ไม่รักษากฎระเบียบทำตามใจตนเอง

       8. ผู้บริหารมีความคิดไม่รอบคอบเปลี่ยนวิธีการบ่อยๆทำงานไม่ต่อเนื่อง

       9. ชอบความสนุก ไม่ตั้งใจทำงาน

      10. ผู้บริหารกลัวสูญเสียอำนาจ ยึดติดในตำแหน่งมากกว่าทำงาน

      11. การรวบธุรกิจที่มีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกันทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้

      12. ผู้นำไม่เข้าใจปรัชญาของงาน เป็นต้นว่าในองค์การมีนโยบายให้มีการประกันคุณภาพ แต่ผู้นำไม่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว

      13. การยึดมั่นในวัฒนธรรมเดิมไม่ได้สนใจต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

      14. ไม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆและการเปลี่ยนแปลง

      15. มีวิสัยทัศน์ที่ไม่ยาวไกล

      16 ยึดหลักการบริหารที่ให้คนในองค์การแตกแยก ง่ายแก่การปกครอง

      17. มีการบริหารที่สวนทางกับคนอื่น

      18. ไม่มีความจริงใจต่อองค์การ

      19. ไม่มีภาวะผู้นำ

      20. ไม่มีความริเริ่มสร้างสรรค์

ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การจะเป็นจุดแข็งที่สำคัญของธุรกิจ เมื่อวัฒนธรรมองค์การนั้นสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริหารและกลยุทธ์ขององค์การนั้นๆ

ข้อใด เป็น ปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญที่มีผลต่อวัฒนธรรมขององค์การ

ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การ เนื่องจากวัฒนธรรมองค์การก่อตัวจากการทางานของสมาชิกองค์การ องค์การที่ปฏิบัติงาน อย่างหนึ่งย่อมมีวัฒนธรรมองค์การต่างไปจากองค์การปฏิบัติงานลักษณะอื่น ๆ ดังนั้น ลักษณะของ อุตสาหกรรมขององค์การ จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การ เช่น องค์การที่ผลิต สินค้าอุปโภคภายใน ...

วัฒนธรรมองค์การมีความสําคัญอย่างไร

ที่สำคัญ วัฒนธรรมองค์กรที่มีความชัดเจน จะช่วยดึงดูดคนที่เหมาะกับองค์กรนั้นๆ ให้เข้ามาร่วมงาน และยังช่วยคัดกรองให้เราได้เห็นว่า คนแบบไหนที่ช่วยนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือคนแบบไหนที่องค์กรควรหลีกเลี่ยง

วัฒนธรรมที่สังเกตได้คืออะไร

1. วัฒนธรรมที่สังเกตได้ หรือ วัฒนธรรมทางกายภาพ (Observable Culture) เป็นวัฒนธรรมใน ระดับบน/ระดับพื้นผิว ที่สามารถเห็นได้เป็นการแสดงถึงวิธีในการแสดงพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ และเป็นแนวทางที่องค์การถ่ายทอดให้แก่สมาชิกใหม่ เพื่อให้มีพฤติกรรมสอดคล้องกับองค์การ วัฒนธรรม ในระดับนี้จะเป็นผลของการแสดงออกของสิ่งที่อยู่ภายใน ...

วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งมีลักษณะอย่างไร

หมายถึง วัฒนธรรมที่มีน้าหนักมาก คนเห็นพ้องต้องกันและยอมรับมากจึงเปลี่ยนแปลงยาก วัฒนธรรมที่ เข้มแข็งจะมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมได้มาก และทาให้สมาชิกขององค์การมีแรงยึดเหนี่ยวกันสูง มีความ จงรักภักดีและผูกพันต่อองค์การมาก ในองค์การทางการทหารหรือในองค์การของชาวเกาหลีและญี่ปุ่น จะมี วัฒนธรรมองค์การที่มีน้าหนักและมีความ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita