หลักฐานเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟปรากฏในหลักฐานอะไร



ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย 2556

           จังหวัดสุโขทัย ร่วมกับกรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน “งานประเพณี ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2556” ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2556 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

           ประเพณีลอยกระทง ไม่ปรากฏหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีลอยกระทงนี้ได้สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียง" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียน เล่นไฟ ว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุด ของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทง จังหวัดสุโขทัย ร่วมกับกรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เพื่อเป็นการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ประเพณีลอยกระทงและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้ชื่องานตามคำในหลักศิลาจารึกว่า "งานเผาเทียนเล่นไฟ" โดยกำหนดจัดขึ้นทุกปีในวันเพ็ญเดือน 12 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) หรือประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

           โดยภายในงานจะมีพิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน, พิธีบวงสรวงบุรพกษัตริย์สุโขทัยทุกพระองค์ ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง โคมชักโคมแขวน, การประกวดนางนพมาศ, การจัดกิจกรรมชุมชนโบราณ ตลาดโบราณ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรมไทย, การแสดงและจัดจำหน่ายสินค้าสหกรณ์และ OTOPและการแสดงแสง เสียง และกิจกรรมจำลองวิถีชีวิตสมัยสุโขทัย เป็นต้น


กำหนดการ

         

กำหนดการงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไป จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2556
         
การโอนเงินค่าบัตรลอยกระทง และบัตรข้าวขวัญวันเล่นไฟ
         
การแสดงประกอบเสียง-เสียง & กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ
         
แบบฟอร์มการโอนเงิน

           ทั้งนี้ ท่านที่สนใจมาเที่ยวงานสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 5561 1619, 0 5501 4304, 0 5561 0530 หรือ ททท.สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228-9, 0 5561 6366 และ เฟซบุ๊ก งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2556

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
sukhothai.go.th , เฟซบุ๊ก งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2556

ช่วงเวลา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี

ความสำคัญ

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีว่า ประเพณีลอยกระทงเกิดขึ้น ณ เมืองสุโขทัยเมื่อ ๗๐๐ ปีเศษล่วงมาแล้ว ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้กล่าวไว้ว่า ...เมืองสุโขทัยมีสี่ปากประตูหลวง เทียรย่อมคนเสียดกันมาดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก... ประเพณีนี้ยังคงสืบทอดต่อมาจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๒๐ จังหวัดสุโขทัยร่วมกับกรมศิลปากรและการท่องเที่ยว จึงได้ฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงขึ้นมาใหม่ เรียกว่างานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จนมีชื่อเสียงและได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างสูง

กิจกรรม
ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายได้แก่
- การประดิษฐ์กระทง พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ โคมชัก โคมแขวน
- การประดับประทีปโคมไฟตามสถูป โบราณสถานและตะพัง (สระน้ำ) นับแสนดวง
- การจัดขบวนแห่ของอำเภอต่าง ๆ และเล่นพื้นบ้าน
- การจุดพลุตะไลไฟพะเนียงและดอกไม้ไฟ
- การลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมทานที และเพื่อแสดงความสำนึกในคุณของแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมทั้งขอขมาลาโทษที่อาจกระทำ การใด ๆอันเป็นเหตุให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่สะอาด ซึ่งการสำนึกคุณและขออภัยถือ เป็นวัฒนธรรมอันดีงามอย่างหนึ่งของไทย


                    วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอนในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏ กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐาน ว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศพระสนมของพระร่วงได้คิดทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล พระร่วงเจ้าทรงพอพระราชหฤทัยกระทงดอกบัวของนางนพมาศมาก จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และปฏิบัติสืบต่อกันมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนี้ กระทงรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนทุกวันนี้ แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า "ลอยกระทงประทีป" ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงตัดพิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าสิ้นเปลืองออก ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้อีก ปัจจุบันนี้ การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำกันอยู่เป็นประจำตลอดมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita