อุบาสกธรรม 7 ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

                                                              อุบาสกธรรม 7

                อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน หรือข้อปฏิบัติสำหรับชาวพุทธที่จะพึงปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนา มี 7 ประการ คือ

1. ไปวัดเป็นนิจ เพื่อประกอบกิจทางพระศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ไปเพื่อพบพระสงฆ์ผู้ทรงศีลเพื่อสนทนาธรรม หรือสอบถามถึงสารทุกข์สุขดิบของพระภิกษุสามเณรว่าขาดเหลือสิ่งใด มีอะไรที่ตนพอจะช่วยเหลือเกื้อกูลทางวัดได้บ้าง
2. ฟังธรรมสม่ำเสมอ การฟังธรรมอาจทำได้หลายทาง เช่น ไปฟังธรรมที่วัด หรือติดตามรับฟังจากสถานีวิทยุ โทรทัศน์ เปิดเทปธรรมะหรือซีดีธรรมะฟังอยู่ที่บ้าน ไปฟังการบรรยายธรรม เสวนาธรรม อภิปรายธรรมที่จัดขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ก็ได้เช่นกัน
3. ศึกษาหาความรู้ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไป ชาวพุทธที่ดีนอกจากหมั่นเข้าวัดฟังธรรมแล้ว ควรศึกษาหาความรู้เรื่องหลักการทางพระพุทธศาสนา และศึกษาถึงข้อวัตรปฏิบัติที่จะทำให้ตนเองมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น คอยติดตามข่าวสารบ้านเมือง อ่านหนังสือธรรมหรือหนังสือความรู้ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
4. มีความเสื่อมใสในพระสงฆ์อย่างเสมอภาคกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชังว่าเป็นพระเถระหรือเป็นพระภิกษุหนุ่มสารเณรน้อย การให้ความอุปถัมภ์บำรุงหรือการปฏิบัติต่อพระสงฆ์จึงควรปฏิบัติให้เสมอภาคกัน ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือยึดถือตามยศถาบรรดาศักดิ์ เพราะพระภิกษุ สามเณรถือว่าเป็นผู้ที่สละเพศฆราวาสและฐานะทางสังคมเข้ามาสู่พระธรรมวินัยด้วยความเสมอภาคกัน
5. ตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ คือ ไม่ลบหลู่หรือคอยเพ่งโทษจับผิด หรือตำหนิติเตียนพระสงฆ์ ซึ่งนอกจากจะทำให้จิตเศร้าหมองแล้ว ยังทำให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เป็นที่ชิงชังรังเกียจของผู้อื่นที่มีความเลื่อมใสศรัทธา เสียประโยชน์ที่พึงมีพึงได้โดยใช่เหตุ
6. ไม่แสวงหาบุญเขตหรือผู้วิเศษนอกหลักคำสอนพระพุทธศาสนา เช่น การไปหาเจ้าพ่อเจ้าแม่ การทรงเจ้าเข้าผี เป็นต้น เพราะพระพุทธศาสนาได้วางหลักแห่งการทำบุญ หรือที่เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุไว้ถึง 10 วิธีด้วยกัน การทำบุญทั้ง 10 วิธีนั้น ถือว่าเป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยมที่ชาวพุทธควรยึดถือปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
7. เอาใจใส่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สิ่งที่พึงปฏิบัติของชาวพุทธที่ดีอีกประการหนึ่งก็คือ เอาใจใส่ทำนุบำรุงและปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา เช่น ช่วยกันเผยแผ่หลักธรรมคำสอน สงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์สามเณร หรืออุปถัมภ์บำรุงวัดวาอารามต่างๆ เมื่อพระพุทธศาสนามีภัยคุกคาม ช่วยกันปกป้องคุ้มครอง เป็นต้น

อ้างอิง://krujiraporn.wordpress.com/2011/07/05/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97-5/

อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก คือ ถ้าปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ถึงขั้นเป็นอุบาสกอุบาสิกา คือผู้ใกล้ชิดพระศาสนาอย่างแท้จริง ควรตั้งตนอยู่ในธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก มี 7 ประการคือ

1. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
2. ไม่ละเลยการฟังธรรม
3. ศึกษาในอธิศีล คือฝึกอบรมตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป
4. พรั่งพร้อมด้วยความเลื่อมใส ในพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็น เถระ (ภิกษุบวชครบ 10 พรรษาขึ้นไป) ปานกลาง (ภิกษุบวชครบ
5 พรรษาแต่ไม่เต็ม 10 พรรษา) และนวกะ (ภิกษุบวชไม่ครบ 5 พรรษา)
5. ฟังธรรมโดยมิใช่จะตั้งใจคอยจ้องจับผิด หรือหาช่องทางที่จะติเตียน
6. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสดงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา หรือไม่ทำบุญกับบุคคลนอกศาสนา
7. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ช่วยทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา

อริยสัจ 4 : มรรค : มงคล 38 : มีศิลปวิทยา

ศิลปวิทยา

ศิลปะ หมายถึง ความเป็นผู้ฉลาดหรือสามารถในทางหัตถกรรม
ศิลปวิทยา หมายถึง ความรู้ความสามารถจัดแจง หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความละเอียดบรรจง งดงามสะดุดตาสะดุดใจเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป ศิลปะ จึงหมายถึง การฝีมือ มีฝีมือทางการช่าง การแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาให้ปรากฏได้อย่างงดงามน่าดูน่าชม และทำให้เกิดความซาบซึ้งตรึงใจ สะเทือนใจ ประทับใจ หรือการละเล่นหรือการแสดงต่าง ๆ ที่ผู้เล่นหรือแสดงออกมาได้อย่างอ่อนซ้อยสวยงาม ตลอดจนความเชี่ยวชาญในการงานต่าง ๆ นั่นคือ การฝีมืออย่างยอดเยี่ยมศิลปวิทยามี 2 อย่าง

1. ศิลปวิทยาสำหรับพระภิกษุสงฆ์ เช่น การตัดเย็บจีวร กลยุทธในการแนะนำสั่งสอน เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริง
2. ศิลปวิทยาสำหรับคฤหัสถ์ เช่น การวาดภาพ การก่อสร้างอาคารสถานที่ การปกครอง งานช่างต่าง ๆ เป็นต้นศิลปะ เกิดจากการใช้ความนึกคิด ใช้ฝีมือของผู้มีอัธยาศัยที่ละเอียดอ่อน รักความดี รักความสวยงาม เพื่อสร้างความดีงามและความพึงพอใจให้เกิดมีขึ้น ศิลปะมี 3 ลักษณะคือ

1. ศิลปทางกาย คือ เชี่ยวชาญชำนาญทำสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม เช่น ช่างเขียนภาพ ช่างปั้น ช่างทอผ้า ช่างก่อสร้าง ช่างออกแบบ เป็นต้น
2. ศิลปทางวาจา คือ มีความเชี่ยวชาญในการพูด ทำให้เกิดความสุขใจเศร้าใจ และสะเทือนใจได้ตามสภาพการณ์ในขณะนั้น ๆ คือ มีวาทะศิลป์ที่ยอดเยี่ยม
3. ศิลปทางใจ คือ ฉลาดในการคิดพิจารณาอย่างมีสติปัญญา สามารถควบคุมความนึกคิดให้ดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างถูกต้องและมีประโยชน์
การมีศิลปะ เป็นการบ่งบอกถึงความเป็นคนมีบุญกุศลในตัวเอง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้รับเกียรติยศ การยกย่องสรรเสริญ และความสุขความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตัวเอง ทำให้เกิดความประทับใจ พึงพอใจแก่ตัวเองและผู้อื่น การมีศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ต้องการ
ของทุกคน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเมื่อใช้ให้เหมาะสมและใช้อย่างถูกต้องใช้อย่างก่อให้เกิดประโยชน์ ใช้อย่างคนมีสติปัญญาคอยควบคุม ไม่ใช้
ไปตามอารมณ์ที่ชั่วร้าย ซึ่งจะเป็นพิษ เป็นภัย เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสว่า ความเป็นผู้มีศิลปะ เป็นมงคลสูงสุด

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita