สถิติศาสตร์(Statistics) มีความหมายตรงกับข้อใด

สถิติศาสตร์, สถิติศาสตร์ หมายถึง, สถิติศาสตร์ คือ, สถิติศาสตร์ ความหมาย, สถิติศาสตร์ คืออะไร

ถ้าพูดถึงบทเรียนคณิตศาสตร์เรื่องสถิติและข้อมูล ม.6 เพื่อน ๆ อาจจะนึกถึงกราฟ แผนภูมิ และตัวเลขชวนปวดหัว (แค่ฟังก็อยากจะขนที่นอนหมอนมุ้งมาเตรียมหลับเลยทีเดียว) แต่จริง ๆ แล้วสถิติไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวเราขนาดนั้นเลย อย่างการถามเพื่อนในกลุ่มว่าวันนี้จะไปกินข้าวร้านไหนดี การพยากรณ์อากาศ ไปจนถึงการทำนายจำนวนผลผลิตทางการเกษตร ก็นับเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถิติ แต่จะเกี่ยวกันยังไงนั้น เราไปดูกันเลยดีกว่า

เพื่อน ๆ สามารถเรียนเรื่องสถิติและข้อมูลกันได้ในรูปแบบแอนิเมชันที่แอปพลิเคชัน StartDee ได้เลย หรือจะลองทำโจทย์ก็ได้นะ คลิกที่บทความนี้เลย

สถิติ คืออะไร

คำว่า สถิติ (Statistics) มีความหมาย 2 แบบด้วยกัน ความหมายแรก คือ ‘สถิติศาสตร์’ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอข้อมูล เพื่อนำข้อมูลไปใช้สำหรับการตัดสินใจ หรือการคาดคะเนข้อมูลบางอย่าง และเป็นความหมายที่เราจะมาพูดถึงกันในบทความนี้ ส่วนสถิติ ในอีกความหมายหนึ่ง คือ ตัวเลขที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้บ่งบอกข้อเท็จจริงบางอย่างที่เราสนใจ แต่ก็มีบางครั้งที่ผู้พูดอาจจะนำข้อมูลสถิติไปใช้เป็นกลยุทธ์ลวงตาเรา จนทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องสถิติ ตกเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อได้ เช่น “80% ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้บอกว่าผิวกระจ่างใสขึ้นทันตาเห็น !” แต่คำว่า 80% ในที่นี้อาจจะมาจากผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แค่ 5-10 คน ซึ่งไม่สามารถเป็นตัวแทนของผู้ใช้จริงทั้งหมด

ดังนั้น สถิติเลยไม่ใช่เรื่องของตัวเลขบนกราฟหรือแผนภูมิเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่ช่วยให้เรารู้เท่าทันตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ ในชีวิตจริงว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน และนำไปใช้วิเคราะห์อะไรได้บ้าง โดยเฉพาะในยุคที่โลกโซเชียลมีข่าวสารเยอะแยะไปหมดในปัจจุบัน

ประชากรและตัวอย่าง

ประชากร (population) คือ กลุ่มของหน่วยทั้งหมดในเรื่องที่สนใจศึกษา หน่วยในที่นี้อาจเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ เช่น ถ้าสนใจศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประชากรก็จะหมายถึงนักเรียนทุกคนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ถ้าประชากรมีจำนวนมาก อย่างการสอบถามความคิดเห็นของคนไทยทั้งประเทศ คงเป็นเรื่องที่เก็บข้อมูลได้ยากและใช้เวลานาน ดังนั้น เราเลยต้องสุ่มเลือกประชากรบางส่วน (เหมือนเป็นตัวแทนหมู่บ้าน) ออกมาเพื่อสอบถามแล้วสรุปผลความคิดเห็นของประชากรทั้งหมด ซึ่งตัวแทนของประชากรที่เราสุ่มออกมานั้นเรียกว่า กลุ่มตัวอย่าง (sample)

ภาพแสดงประชากร (ซ้าย) และกลุ่มตัวอย่าง (ขวา)  (ขอบคุณภาพจาก OMNICONVERT)

แต่ข้อควรระวังของการสุ่มตัวอย่าง คือ หากเกิดความลำเอียงอาจทำให้สรุปผลผิดพลาดได้ เช่น การสอบถามความคิดเห็นของวัยรุ่น มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ อาจจะทำให้ผลออกมา ไม่ตรงกับคำตอบของคนทั้งประเทศได้ ดังนั้น การสุ่มตัวอย่างที่ดี ควรกระจายให้ทั่วทุกกลุ่มประชากร อาจใช้วิธีแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นหลาย ๆ ช่วงอายุ แล้วค่อยสุ่มมาจากแต่ละกลุ่มอายุตามอัตราส่วน และหลังจากสุ่มตัวอย่างแล้ว ลักษณะต่าง ๆ ที่เราสนใจศึกษาจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ว่า ตัวแปร (variable) และเรียกค่าที่ได้ของตัวแปรนี้ว่า ข้อมูล 

ตัวอย่างสำรวจคณะที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องการศึกษาต่อ โดยการสุ่มถามนักเรียนจำนวน 40 คน พบว่ามีผู้สนใจศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 10 คน คณะแพทยศาสตร์ จำนวน 10 คน คณะนิติศาสตร์จำนวน 5 คน คณะอื่น ๆ อีกจำนวน 15 คน 

  • ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมด

  • กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คนที่ถูกสุ่มถาม

  • ตัวแปร คือ คณะที่นักเรียนสนใจศึกษาต่อ 

  • ข้อมูล คือ คณะที่นักเรียนตอบว่าสนใจศึกษาต่อ เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ประเภทของข้อมูล

1.การแบ่งประเภทตามแหล่งที่มา

  • ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เรารวบรวมมาเอง หรือนำมาจากต้นกำเนิดของข้อมูลโดยตรง มีความน่าเชื่อถือสูง แต่อาจมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอง เช่น พี่สาวคนโตตกลงกับน้อง ๆ ว่าวันหยุดยาวนี้ไปเที่ยวที่ไหนดี ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลปฐมภูมิสำหรับพี่สาว
  • ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งอื่นอีกที เช่น พี่สาวคนโต รวบรวมความคิดเห็นของน้อง ๆ มาบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าแต่ละคนอยากไปเที่ยวที่ไหนกันบ้าง ข้อมูลนี้จะกลายเป็นข้อมูลทุติยภูมิสำหรับคุณพ่อคุณแม่

2.การแบ่งประเภทตามระยะเวลาที่เก็บข้อมูล

  • ข้อมูลอนุกรมเวลา คือ ข้อมูลที่เก็บค่าต่อเนื่องในแต่ละเวลา เช่น รายจ่ายของแต่ละวันในหนึ่งเดือน
  • ข้อมูลแบบตัดขวาง คือ ข้อมูลที่เจาะจงเวลาลงไปว่าสนใจค่าของเวลาไหน เช่น ข้อมูลปริมาณน้ำฝนของวันนี้ในแต่ละจังหวัด

3.การแบ่งประเภทตามลักษณะของข้อมูล

  • ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เก็บเป็นค่าตัวเลข นำไปบวกลบคูณหารกันได้ เช่น ส่วนสูง อายุ คะแนนสอบ แต่ไม่ใช่ตัวเลขทั้งหมดจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ อย่างการวัดระดับความพึงพอใจ แม้จะมีเรต 1-5 แต่ตัวเลขเหล่านี้ เป็นตัวแทนของความพอใจน้อยไปหามาก ไม่ได้หมายถึงตัวเลขที่นำมาคำนวณได้จริง ๆ ดังนั้น ข้อมูลระดับความพึงพอใจที่ว่านี้จึงเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
  • ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่บ่งบอกลักษณะ ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้ เช่น เพศ อาชีพ อาหารที่ชอบ และระดับความพึงพอใจอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น

สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน

การนำสถิติไปใช้งานนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • สถิติเชิงพรรณา 

คำว่าพรรณนา แปลว่าบรรยายหรืออธิบาย ดังนั้นสถิติเชิงพรรณนาจึงหมายถึง การบรรยายหรือวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือคุณภาพก็ได้ โดยมักจะใช้เพื่อสรุปผลข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมาก เช่น การหาอายุเฉลี่ยของลูกค้าประจำร้าน A เป็นต้น

  • สถิติเชิงอนุมาน 

คำว่า อนุมาน หมายถึง ทำนายหรือคาดการณ์ ดังนั้น สถิติเชิงอนุมานจึงหมายถึง การใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำนายลักษณะของข้อมูลประชากรทั้งหมด อย่างการสอบถามกิจกรรมยามว่างของนักเรียนทั้งโรงเรียน การที่เราเลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนบางห้อง มาสอบถามแล้วสรุปผล โดยคาดว่าน่าจะเป็นกิจกรรมที่นักเรียนส่วนใหญ่ชอบทำในเวลาว่าง เรียกว่าเป็นการใช้สถิติเชิงอนุมานนั่นเอง

ตัวอย่างการใช้งานสถิติ


(ขอบคุณภาพจาก Techsauce)

จากกราฟข้างต้นเป็นสถิติอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีน โดยแบ่งตามช่วงอายุ ซึ่งหากเรานำสิ่งที่เรียนรู้ไปข้างต้นมาอธิบายกราฟนี้ จะได้ว่า

ข้อมูลทั้งหมดไม่ได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง แต่สำรวจจากประชากร คือผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตทั้งหมด 44,415 คน ส่วนประเภทของข้อมูลเป็นแบบตัดขวาง เพราะศึกษาเจาะจงช่วงเวลา ไม่ได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง คือ เฉพาะช่วงเริ่มต้นการระบาดจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2020 โดยเป็นสถิติแบบพรรณนา เพราะเป็นการสรุปผลจากข้อมูลทั้งหมด มีตัวแปร คือ อัตราการเสียชีวิตในแต่ละช่วงอายุ และเป็นข้อมูลทุติยภูมิเพราะเราไม่ได้เป็นคนสำรวจเอง

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเนื้อหาในบทเรียนและตัวอย่างที่เพื่อน ๆ สามารถนำไปปรับใช้กับการดูข้อมูลสถิติจากแหล่งอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ดูข่าวหรือเจอบนหน้าฟีดเฟซบุ๊ก ซึ่งถ้าอยากจะทบทวนให้เข้าใจมากขึ้น ก็สามารถโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาเรียนเรื่องสถิติและข้อมูล ม.6 กันต่อ หรือถ้าอยากจะอ่านวิชาอื่นเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ภาษาไทย ฟิสิกส์ และอีกหลาย ๆ วิชา ก็คลิกอ่านใน Blog StartDee ของเรากันได้เลย ส่วนใครที่เรียนจบแล้ว ไปทำโจทย์คณิตศาสตร์เรื่องสถิติและข้อมูลกัน

Did you know ?

นอกจากสถิติจะเป็นบทเรียนแล้ว ยังมีอาชีพ ‘นักสถิติ’ ด้วยนะ ซึ่งอาชีพนี้มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ สรุปผล และทำนายข้อมูลต่าง ๆ และในระดับมหาวิทยาลัย ยังมีสาขาวิชาสถิติโดยเฉพาะซึ่งมักจะอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะวิทยาศาสตร์ 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita