ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้จากอะไร

ในส่วนความหมายของคำนี้ก็หมายถึงคนธรรมดา มนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ นี่เอง แต่ถ้าในด้านของภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาก็จะเป็น ประเภทของผู้เสียภาษี ในบางกรณีก็อาจจะไม่ใช่มนุษย์ก็ได้ เช่น คนที่เสียชีวิตไปแล้วบางคนก็ยังเสียภาษีอยู่ก็เรียกว่าภาษีบุคคลธรรมดาเหมือนเดิมตามประมวลรัษฎากร เรามีดูกันว่าประเภทของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีแบบไหนบ้างดังนี้

1. มนุษย์ธรรมดา

มนุษย์ที่ยังตัวเป็น ๆ เลยยังมีชีวิตอยู่ ทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้ในประเทศนี้คือมนุษย์เหมือนกันไม่ว่าจะเพศไหนวัยใดก็ตาม รวมถึงไม่ว่าจะอาชีพไหนก็ตามหากมีเงินได้เข้ามายังไงก็ต้องเสียภาษี แน่นอนว่าแม่ชี พระ นักบวช พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์สำหรับทรัพย์สินส่วนพระองค์ ก็เสียภาษี ซึ่งทรัพย์สินส่วนนี้จะคนละส่วนกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คนละอย่างกันนะ

2. คนที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษี

ทุกคนที่มีรายได้เข้ามาก็ย่อมต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดานั่นเอง ซึ่งก็ยังมีภาษีบุคคลธรรมดาประเภทที่คนที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย ซึ่งเขาเสียชีวิตระหว่างปีภาษี ซึ่งก็จะมีผู้จัดการมรดก ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตเป็นคนเสีย

ทุกคนที่มีรายได้เข้ามาก็ย่อมต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดานั่นเอง ซึ่งก็ยังมีภาษีบุคคลธรรมดาประเภทที่คนที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย ซึ่งเขาเสียชีวิตระหว่างปีภาษี ซึ่งก็จะมีผู้จัดการมรดก ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตเป็นคนเสียภาษีแทน 

กรณีนี้ก็คือคนที่เสียชีวิตหากมีเงินได้ระหว่างปีภาษีก็นับเป็นผู้เสียภาษีเช่นกัน หากตีความเป็นผู้เสียชีวิตจะสิ้นสภาพแล้วจึงไม่ใช่คนธรรมดาอีก เงินได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้นก็ไม่มีภาระภาษี ซึ่งการตีความแบบนี้มันไม่ถูก กฎหมายเลยออกมาให้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยแม้จะเสียไปแล้วก็ตาม หากเสียในปีภาษี

3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

อาจจะต่อเนื่องมาจากคนที่เสียชีวิตไประหว่างปีภาษีที่ผ่านมาแล้วมรดกที่มียังไม่ได้แบ่ง จนผ่านมาครบอีกปีภาษีกองมรดกนั้นยังมีรายได้เข้ามา แม้ว่าเจ้าของจะจากไปแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ยังได้รับค่าเช่า ได้ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น กฎหมายเลยให้กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งนี้อยู่ในประเภทของผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาด้วย เพื่อความรอบคอบของกฎหมายภาษีจะไม่ตีความว่าเป็นผู้ที่สิ้นสภาพไปแล้ว

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

ในส่วนนี้จะเป็นห้างหุ้นส่วนแบบไม่มีการจดทะเบียน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อแสวงหาผลกำไร ทำให้มีรายได้เกิดขึ้นโดยตกลงแบ่งกำไรกัน ฉะนั้นแล้วพอมีเงินได้ภาษีก็จะต้องเสียอย่างแน่นอน แต่เพราะว่าไม่ได้จดทะเบียนเลยไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายไทย ประมวลรัษฎากรเลยจัดให้อยู่ในบุคคลธรรมดา

5. คณะบุคคล

โดยจะเป็นกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ได้ตกลงกันทำกิจกรรมหรือทำอะไรสักอย่างที่เป็นการหารายได้เข้ามา แต่ว่าจะไม่ได้แบ่งกำไรกัน ซึ่งต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญและแน่นอนว่าพอมีเงินได้เข้ามาก็ต้องเสียภาษีไปตามหน้าที่เช่นกัน และคณะบุคคลไม่ใช่นิติบุคคลก็เลยเป็นประเภทภาษีบุคคลธรรมดา แม้ว่าจะเรียกว่าคณะก็ตาม แต่เมื่อไหร่ที่มีการแบ่งกำไรกันก็จะกลายเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเอง

  • หน้าแรก

  • News & Events

  • บทความ

  • การเงินและบัญชี

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?

มาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นภาษีที่คนอย่างเรา ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้สำหรับการทำหน้าที่ตามกฎหมาย "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" คือ จำนวนเงินที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยจะจัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท และจะเรียกเก็บจากผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา 

โดยมีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

       1.บุคคลธรรมดา จะเสียภาษีจากการได้รับเงินดังนี้

  • เงินได้จากการจ้างงาน เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
  • เงินได้จากค่าสิทธิ หรือเรียกว่าค่าตอบแทนจากการใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์
  • เงินได้จากการลงทุนในทรัพย์สิน คือผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้
  • เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ 
  • เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ และ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ทนาย นักแสดง ฯลฯ 
  • เงินได้จากการธุรกิจ หรือเงินได้อื่นๆ

       

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สำหรับ "ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล" จะหมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ทำกิจการร่วมกัน โดยจะใช้การแบ่งปันกำไรจากกิจการนั้นๆ ส่วน "คณะบุคคล" หมายถึง บุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไป กระทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำ

       3. สำหรับผู้ที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษี ในกรณีนี้จะให้ผู้จัดการมรดก หรือทายาทผู้ที่ได้รับมรดก เป็นผู้ทำหน้าที่ยื่นรายการและเสียเงินภาษีได้แทน โดยการยื่นรายการเงินได้ของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้ทั้งหมดของผู้ตายตลอดในปีภาษี

       4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ซึ่งจะเป็นการเสียภาษีในปีถัดไป หลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ชีวิต โดยให้ผู้จัดการกองมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์ แล้วแต่กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสียเงินได้ในนามของกองมรดกนั้น

       นอกเหนือจากนี้ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรืออย่างน้อย 180 วัน (6เดือน) ไม่ว่าจะมีสัญชาติใด หรือจะมีรายได้ที่ได้รับจากในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องชำระตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และจะมีการจัดเก็บเป็นรายปี ผู้ที่มีรายได้จะต้องแสดงรายการภาษีที่กรมสรรพากร ในเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีรายได้ในบางกรณี ก็สามารถยื่นแบบฯเสียภาษีครึ่งปีได้ สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการทยอยการชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นได้อีกด้วย

บทความโดย : money.sanook.com
ประกาศบทความโดย : //www.prosmes.com

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita