สิทธิมนุษยชนมีความหมายว่าอย่างไร

สิทธิมนุษยชน (๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔)

สิทธิมนุษยชน

          คำว่า สิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยคำว่า สิทธิ กับ มนุษยชน. สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม. มนุษยชน หมายถึง บุคคลทั่วไป. สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิของแต่ละบุคคลในฐานะมนุษย์ เช่น สิทธิในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมนุษย์ สิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัย และได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย.

          สิทธิมนุษยชนเกิดจากมุมมองที่ว่าทุกชีวิตมีคุณค่าเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นคนปรกติ หรือคนพิเศษ เช่น คนพิการ คนชรา ฯลฯ มีสิทธิได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน สามารถดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือต่อศีลธรรมอันดีของสังคม.

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

ความหมายของ"สิทธิมนุษยชน"

มีผู้ให้คำนิยาม " สิทธิมนุษยชน " ไว้หลายความหมาย เช่น

           จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ข้อ ที่ระบุไว้ว่า บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดามีที่ระบุไว้ในปฏิญาณนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด1

           หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกันเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข มีศักดิ์ศรี มีเสรีภาพ มีไมตรีจิต และมีความเมตตาต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกาย หรือสุขภาพ2

           หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการคุ้นครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฏหมายไทยหรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี3

           หมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ ผู้ที่เป็นมนุษย์ย่อมมีสิทธิดังกล่าว ตั้งแต่เกิดจนตายโดยปราศจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีสิทธินี้ และสิทธินี้เกิดขึ้นโดยติดตัวมนุษยตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย4

           หมายถึง สิทธิของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครอง โดยหลักบังคับของกฏหมายภายใต้หลักการเกียรติศักดิ์ สิทธิที่เท่าเทียมกัน ความเสมอภาค ที่จะเป็นการส่งเสริมให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข5

           หมายถึง สิทธิที่ทุกคนมีอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ ทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในส่วนบุคคลและสิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคม สิทธิในความเป็นมนุษย์นั้น มีทั้งสิทธิตามกฏหมายและสิทธิที่มีอยู่โดยไม่ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฏหมาย แต่เป็นสิทธิที่เกิดจากมาตรฐานเพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรม แต่เดิมสิทธิมนุษยชนจะกล่าวถึงในชื่ออื่น เช่น สิทธิในธรรม สิทธิในธรรมชาติ เป็นต้น6

           หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษาศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพรวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้7

ลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ
           ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
           1. สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน(Primary Right) มนุษย์ที่เกิดมาในโลก ต่างมีความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
           2. สิทธิส่วนบุคคล(Personal Right) เป็นสิทธิส่วนตัวของบุคคลที่ผู้อื่นจะล่วงละเมิดมิได้ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเเต่ละบุคคล
           3. สิทธิของพลเมือง(Civil Right) เป็นสิทธิของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองเเห่งรัฐ เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องตามกฏหมาของรัฐ ซึ่งสิทธิพลเมืองได้เเก่
               3.1 สิทธิทางสังคม (Social Rigth) เป็นสิทธิของประชาชนทางสังคมที่จะได้รับบริการจากสังคม ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม เช่น สิทธิการเข้าถึงการบริการสาธารนะ เป็นต้น
               3.2 สิทธิทางสวัสดิการสังคม (Social Welfare Right) เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่จะได้รับสวัสดิการทางสังคม เช่น สิทธิการได้รับการศึกษา ฯลฯ
               3.3 สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Right) ได้เเก่ สิทธิเข้าร่วมในพิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ของประชาคมในด้านศิลปะต่างๆ6


ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
          สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอารยะธรรมโลก (World Civilzation) ของมนุษย์ที่พยายามวางระบบความคิดเพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความระลึกรู้ คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิตั้งแต่กำเนิด โดยให้ความสำคัญกับคำว่าชีวิต (Life) 7(ชะวัชชัย ภาติณธุ,2548:3) นอกจากนี้แล้วสิทธิมนุษยชนยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความเป็นมนุษย์สิทธิและ เสรีภาพ และสภาวะโลกปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่เรื่องประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องของสิทธิมนุษยชนยังได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางการฑูต การงดการทำการค้าด้วย หรือกรณีการส่งกองกำลังทหารของสหประชาชาติเพื่อเข้าไปยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวิน่า และในโคโซโว ของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย เป็นต้น (กุมพล พลวัน, 2547:2-3) ด้วยสาเหตุและความสำคัญดังกล่าวมาข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะมีความสำคัญทั้งในด้านสังคมโลกและการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย

สิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมสิทธิต่างๆในการดำรงชีวิตของมนุษย์
           เพื่อให้มีชีวิตที่ดีในสังคม ดังนี้
           - สิทธิในชีวิต ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ไม่วาจะเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอยู่เป็นพิเศษจากผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชรา ฯลฯ ดังนั้นทุกคนควรปฏิบัติต่อบุคคลด้อยโอกาส ให้ความสำคัญ ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพื่อให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด
           - สิทธิในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง คนในสังคมต้องให้โอกาสกับคนที่เคยกระทำไม่ถูกต้อง ให้โอกาสคนเหล่านี้ได้รับการอบรมแก้ไขและพัฒนาตนเองใหม่ ให้สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
           - สิทธิในการยอมรับนับถือ หมายถึง การที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันด้วยการยอมรับซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน6


สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
           พัฒนาการการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์/สิทธิมนุษยชนในสังคมนั้นมีมายาวนาน สถานการณ์สำคัญของสังคมไทยที่ถือว่าเป็นมิติการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ตั้งแต่ในยุคเริ่มเปิดประเทศภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง,เหตุการณ์ร.ศ.103 ที่ชนชั้นสูงบางกลุ่มเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง เหตุการณ์ร.ศ. 130ที่คณะทหารหนุ่มก่อการกบฏเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง
           การปฎิวัติ 2475 ที่ปรากฏพร้อมหลัก 6 ประการของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งกล่าวถึงหลักสิทธิเสมอภาคและความเป็นอิสรเสรีภาพ,การต่อสู้ในยุคเผด็จการทหารนับหลังจากรัฐประหาร 2490 จนถึงยุคของระบบปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ นับตั้งแต่ปี 2501 เรื่อยมา (จรัญ โฆษณานันท์, 2545:519) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ไทยจะให้การรับรองปฎิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ปี 2491 แต่แนวคิดสิทธิมนุษยชนแบบอุดมการณ์เสรีนิยมตะวันตกก็เติบโตอย่างเชื่องช้าในสังคมไทย ท่ามกลางบริบททางการเมืองที่ล้าหลังเป็นเผด็จการ แม้จะมีการต่อสู้และเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพอย่างเข้มข้น เช่นในช่วง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หลังเหตุการณ์ 6ตุลาคม 2519ซึ่งต่อมาเรื่องของมนุษยชนเป็นปรากฏการณ์ความสนใจและมีการถกเถียงกันอย่างมาก จนกระทั่งมีการก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อศึกษากฎหมายหรือร่าง พ.ร.บ.ที่แย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งปัญหาภายในและภายนอกประเทศ ในสมัยของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ แต่ก็ล้มเหลวเพราะความไม่ต่อเนื่องของอายุของสภาผู้แทนราษฎร และความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการทำงาน รวมทั้งเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองและแม้ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ที่ถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงครั้งสำคัญของไทย ซึ่งชัยชนะของประชาชนมีผลผลักดันสร้างสำนึกสิทธิมนุษยชนที่จริงจังในสังคมไทย และการสร้างกลไกต่างๆเพื่อป้องกันอำนาจเผด็จการทางทหาร และรัฐบาลของนายอานันท์ ปัณยารชุนได้บริหารประเทศได้นำประเทศเข้าสู่สมาชิกของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง จนถึงการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับบปี 2540 ที่ดูจะเป็นความหวังของผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ไร้อำนาจที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นหนึ่งกลไกสำคัญของรัฐที่มีบทบาทในระดับหนึ่งในด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย ซึ่งยังมีอาชีพอื่นอีกที่ทำหน้าที่นี้ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เป็นต้น แต่ดูเหมือนรากเหง้าและปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย อันเป็นผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเผด็จการ อำนาจนิยม ระบบทุนนิยม หรือวิถีพัฒนาที่มิได้เอาความเป็นมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นที่ตั้ง วัฒนธรรมความเชื่อที่ล้าหลังจนก่อมายาคติผิดๆที่ไม่ศรัทธาคุณค่าความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียม เป็นผลให้เกิดความรุนแรงและสนับสนุนการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนจนฝังรากลึกมาถึงปัจจุบัน (จรัญ โฆษณานันท์, 2545:522-526)
           สังคมไทยปัจจุบันเน้นความสำคัญของภาคเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาดได้ครอบงำเศรษฐกิจโลก และภายใต้ระบบตลาดเศรษฐกิจทุนนิยมดังกล่าว ได้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มาพร้อมกับเศรษฐกิจในระบบตลาด ภายใต้เงื่อนไขของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นโดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นผลมาจากการพยายามก้าวไปสู่ความทันสมัย รัฐบาลได้ใช้กฎหมายโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับชุมชน เห็นได้จากการจัดการทรัพยากรในภาคอีสาน เช่น การประกาศเขตวนอุทยานกับที่ดินทำกินของชาวบ้าน การให้สัมปทานป่าแก่กลุ่มอิทธิพลภายนอกชุมชน ด้วยการส่งเสริมการปลูกพืชพาณิชย์และการพัฒนาอุตสาหกรรม (เสน่ห์ จามริก, 2546:35-40)
           ตัวอย่างหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชน คือ กรณีเขื่อนปากมูล ที่หลังจากการสร้างเขื่อนได้ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไป ระบบนิเวศที่ลุ่มน้ำมูลก็ถูกเปลี่ยนแปลง เกิดวิกฤตในการทำมาหากิน ชาวบ้านบางส่วนต้องอพยพไปใช้แรงงานที่อื่น จำนวนป่าลดน้อยลง ชาวบ้านจับปลาไม่ได้พอเพียงแก่การเลี้ยงชีพ ทั้งที่เมื่อก่อนระบบนิเวศนี้สมบูรณ์ ปลามีมากชาวบ้านจึงจับปลาขายและเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัว (ชลธิรา สัตยาวัฒนา, 2546:154-164)
           นอกจากนี้แล้วยังมีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆอีก เช่น การฆ่าตัดตอนปราบปรามยาเสพติดในสมัยรัฐบาลทักษิณ ปัญหาการค้าประเวณี การก่อการร้าย และความยากจนเป็นต้นยังเป็นปัญหาของสังคมไทยจนปัจจุบัน 

สิทธิ เป็นเสมือนทั้งเกราะในการคุ้มกันประชาชนให้พ้นจากภัยคุกคามของกำลังอิทธิพลและอำนาจที่ไม่ยุติธรรม และเป็นเสมือนกุญแจให้ประชาชนสามารถใช้ไขไปสู่ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้ โดยในที่นี้จะเน้นเฉพาะสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติรับรองไว้ ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุมถึงผลประโยชน์จากโอกาสและทางเลือกอันพึงมี พึงกระทำ และพึงได้ โดยที่สิ่งนั้นไม่ถูกโต้แย้งและขัดขวางโดยกฎหมาย องค์กรรัฐเจ้าหน้าที่รัฐ และคนอื่น ทั้งนี้โดยที่ประชาชนมีอิสระตามเสรีภาพในการใช้สิทธินั้นได้ตามเจตจำนงอิสระของตนเองหรือตามความสามารถในการตกลงใจของตนเองได้ด้วย ไม่อยู่ภายใต้การบังคับกะเกณฑ์โดยอิทธิพลอย่างอื่น ทั้งนี้สามารถจำแนกสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ คือ สาระสำคัญของสิทธิ พันธะของรัฐที่มีต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการใช้ประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สาระสำคัญของสิทธิ ได้แก่

        1) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิ เสรีภาพ เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ความคิด จิตใจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งถือเป็นสิทธิจะอยู่ จะเป็น หรือเป็นสิทธิที่ติดมากับตัวของประชาชนทั้งหลาย ตั้งแต่เกิดมาเป็นคน โดยที่รัฐไม่อาจปฏิเสธความเป็นคน และศักดิ์ศรีความเป็นคนของประชาชนด้วยการกระทำที่เป็นการล่วงล้ำเกิน คุกคาม หรือละเมิดได้ เช่น การไม่ถูกลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม การมีเสรีภาพในเคหสถานส่วนตัว เสรีภาพการเดินทาง การนับถือศาสนา การสื่อสาร คมนาคม การแสดงความคิดเห็น การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และการเลือกถิ่นที่อยู่ เป็นต้น (ตามมาตรา 4 มาตรา 26 และมาตรา 28) ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะอยู่ จะเป็น หรือ เป็นสิทธิที่ติดมากับตัวประชาชน ก็เพราะเป็นสิทธิที่เป็นส่วนควบติดอยู่กับความเป็นคนตามธรรมชาติ โดยที่ทุกคนมีอยู่เหมือนกัน รัฐไม่อาจเข้าไปแทรกแซงให้เกิดความแตกต่าง หรือ สูญสิ้นสิทธิอันเป็นเสมือนองค์ประกอบของชีวิต จิตใจ และร่างกายนั้นได้ ดังนั้น สิทธิ เสรีภาพในความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิทธิของคนที่ห้ามไม่ให้รัฐกระทำซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐ

                   2) สิทธิ เสรีภาพในความเป็นพลเมือง เป็นสิทธิ เสรีภาพเกี่ยวกับการที่สามารถเรียกร้องความต้องการขั้นพื้นฐานจากรัฐในฐานะที่เป็นราษฎรของรัฐได้ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ให้การสนองตอบในรูปของบริการสาธารณะ ถือเป็นสิทธิที่จะเรียกขอได้ จะรับเอาได้ หรือเป็นสิทธิที่ตามมากับตัวโดยที่งอกขึ้นมาจากความเป็นพลเมืองหรือเป็นราษฎรของรัฐ โดยที่รัฐไม่อาจจะปฎิเสธความรับผิดชอบหรือความช่วยเหลือด้วยการเพิกเฉยไม่กระทำการตอบสนองตามความเรียกร้องต้องการของประชาชนซึ่งรัฐมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองได้ เช่น
                - สิทธิในการรับการศึกษา (ตามมาตรา 43)
                - สิทธิของผู้บริโภค
                - เสรีภาพในการชุมนุม
                - เสรีภาพในการรวมตัวเป็นหมู่คณะ
                - สิทธิการรับข้อมูลข่าวสารจากรัฐ
                - เสรีภาพการจัดตั้งพรรคการเมือง
                - สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
                - สิทธิการฟ้องหน่วยราชการ
                - สิทธิมีส่วนร่วมกับรัฐ
                - สิทธิคัดค้านการเลือกตั้ง
                - สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น
                - สิทธิการเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
         ทั้งนี้ ในการใช้สิทธิเสนอกฎหมายนั้นมีขอบเขตจำกัดเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพตามหมวด 3 และเกี่ยวกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามหมวด 5 เท่านั้น เป็นต้น
         ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะเรียกขอได้ หรือจะรับเอาได้ หรือเป็นสิทธิที่ตามมากับตัวโดยที่งอกขึ้นมาจากความเป็นพลเมืองของรัฐ เพราะเป็นสิทธิที่ขึ้นอยู่กับความเป็นพลเมืองของรัฐ โดยที่การได้รับความยุติธรรมจากการใช้สิทธิสำคัญกว่าการได้รับประโยชน์จากสิทธิที่เท่ากัน เช่น พลเมืองที่เด็กได้รับสิทธิการศึกษาภาคบังคับฟรี แต่พลเมืองที่เป็นผู้ใหญ่ได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และสมัครรับเลือกตั้ง ขณะที่พลเมืองที่ด้อยโอกาสจะได้รับสิทธิการสงเคราะห์จากรัฐ ทั้งที่คนปกติทั่วไปไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว
         ดังนั้นสิทธิเสรีภาพในความเป็นพลเมืองจึงเป็นสิทธิของพลเมืองที่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์เท่ากัน แต่หากเป็นสิทธิอะไรของใครก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องรับผิดชอบในการสนองตอบต่อการใช้สิทธินั้น กล่าวคือ พลเมืองที่เป็นเด็กย่อมสามารถเรียกร้องการศึกษาฟรีในภาคบังคับจากรัฐได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ก็ย่อมสามารถเรียกร้องการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ ดังนั้นสิทธิเสรีภาพของพลเมืองจึงเป็นสิทธิที่สงวนไว้ให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดหาให้ประชาชน หรือบังคับให้รัฐจะต้องกระทำซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นปฏิฐานกับรัฐ

        3) สิทธิในความเสมอภาค เป็นสิทธิ เสรีภาพเกี่ยวกับการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันจากรัฐ หรือการไม่เลือกปฏิบัติ เว้นแต่การเลือกปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสียเปรียบ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับสิทธิโอกาสเท่าเทียมกับคนอื่นได้ ซึ่งถือเป็นสิทธิที่จะมีจะเหมือนหรือเป็นสิทธิ เสรีภาพที่ดำรงอยู่นอกตัวของประชาชน (มาตรา 30) โดยที่รัฐไม่อาจปฏิเสธความเป็นกลาง หรือความเป็นธรรมด้วยการละเลยเพิกเฉยไม่ยื่นมือเข้าไปช่วย หรือ หยิบยื่นโอกาสอันพึงมีพึงได้ให้กับประชาชนได้รับอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยที่ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะความแตกต่างตามธรรมชาติ และเพราะการกระทำหรือละเว้นการกระทำของรัฐที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น
                -การเสมอกันในกฎหมาย
                - การไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน
                - การได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
                - การได้รับความคุ้มครองโดยรัฐ และ
                - สิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ เป็นต้น
        ที่กล่าวว่าเป็นสิทธิที่จะมีจะเหมือนหรือเป็นสิทธิ เสรีภาพที่ดำรงอยู่นอกตัวของประชาชน ก็เพราะเป็นสิทธิที่ช่วยชดเชย ความแตกต่างตามธรรมชาติของคนให้ได้รับโอกาสและศักยภาพใหม่เพิ่มขึ้น โดยที่รัฐเป็นฝ่ายช่วยเสริมสร้างหรือเกื้อหนุนให้มีความเสมอเหมือนกัน โดยที่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องได้รับประโยชน์ที่เท่ากันจากการได้รับสิทธินั้น เช่น คนทั่วไปย่อมได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเท่าเทียมกันในการขอแจ้งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจ แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จหรือร่ำรวยได้เท่าเทียมกันจากการประกอบธุรกิจนั้น
         ดังนั้นสิทธิในความเสมอภาคจึงเป็นสิทธิที่รัฐให้หลักประกันในการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน แต่รัฐไม่ต้องผูกพันว่าทุกคนจะต้องเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้สิทธินั้นให้ได้เท่ากันเสมอไป
         ดังนั้นสิทธิในความเสมอภาคจึงเป็นสิทธิที่กำหนดให้รัฐดำรงฐานะของความเป็นคนกลางในการถือดุลย์ระหว่างความแตกต่างกันตามธรรมชาติของคนกับความเท่าเทียมกันตามกฎหมายและการปฏิบัติของรัฐเพื่ออุดช่องว่างไม่ให้ความแตกต่างนั้นเป็นเหตุให้เกิดเงื่อนไขของความไม่ยุติธรรมขึ้นในสังคม แต่ประโยชน์จากความยุติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องสร้างต่อขึ้นมาให้ตัวเองในภายหลังหรือไปหาเอาได้ข้างหน้า เมื่อรัฐได้ช่วยสร้างหลักประกันความยุติธรรมให้แล้ว ซึ่งอาจเรียกสิทธิแบบนี้ได้ว่าเป็นสิทธิที่เป็นพันธะของรัฐ

pan l�.�$T.>..Q9..�:.าร  เสื้อผ้า  บ้านเรือน  ยารักษาโรค  ศิลปกรรม  ภาพวาด  ตลอดจนเครื่องจักร  คอมพิวเตอร์  เป็นต้น
                         2)  วัฒนธรรมทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับสมาชิกของสังคม  ให้มีลักษณะเป็นแบบใดแบบหนึ่ง  แม้ว่าบุคลิกภาพจะเป็นผลมาจากปัจจัยทางชีวภาพบางส่วนก็ตาม  แต่การอาศัยอยู่ร่วมกับคนอื่นภายใต้กฎระเบียบสังคมเดียวกัน  ทำให้คนมีบุคลิกภาพโน้มเอียงไปกับกลุ่มที่อาศัยอยู่ร่วมกัน  เช่น  เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นโจรจะมีบุคลิกภาพแตกต่างจากเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ประกอบอาชีพสุจริต  บุคลิกภาพดังกล่าวจะแสดงออกในรูปนามธรรม  เช่น  ความเชื่อ  ความสนใจ  ทัศนคติ  ความรู้  ความคิดสร้างสรรค์  และสิ่งที่มองเห็น  เช่น  การแต่งตัว  กิริยาท่าทาง เป็นต้น
                         3)  วัฒนธรรมก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่น  ทั้งนี้หากสมาชิกของสังคมมีลักษณะคล้ายคลึงกัน  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  จะก่อให้เกิดความผูกพัน  สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกัน  มีจิตสำนึกรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ตลอดจนร่วมกันอนุรักษ์  และสืบสานวัฒนธรรมของตนให้อยู่รอดและพัฒนาก้าวหน้าต่อไป
                   ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  มนุษย์กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้  เพราะต้องควบคู่กันไป  วัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่ตอบสนองและสร้างเสริมให้มนุษย์อยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข
3.2
  คุณค่าของวัฒนธรรม
                   วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์  สภาพทางสังคม  และสามารถตอบสนองความต้องการของคนในสังคมได้อย่างเป็นระบบ  ซึ่งระบบของวัฒนธรรมประกอบด้วย  3  ระบบที่เชื่อมโยงกัน  ดังนี้

1)  ระบบคุณค่า  หมายถึง  ศีลธรรมของส่วนรวมของสังคม  และจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สร้างสรรค์  มักแสดงออกในรูปความคิดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม  ความอุดมสมบูรณ์  และความยั่งยืนของสังคมและธรรมชาติบนพื้นฐานของการเคารพส่วนรวม และเพื่อมนุษย์ด้วยกันเอง

2)  ระบบภูมิปัญญา  เป็นระบบที่ครอบคลุมวิธีคิดของสังคม  เป็นการจัดการความสัมพันธ์ทางสังคม  และความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  ซึ่งปรากฏในรูปของกระบวนการเรียนรู้  การสร้างสรรค์  การผลิตใหม่และการถ่ายทอดความรู้ผ่านองค์กรทางสังคมท้องถิ่นเพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม

3)  ระบบอุดมการณ์อำนาจ  หมายถึง  ศักดิ์ศรีและสิทธิความเป็นมนุษย์ที่จะเสริมสร้างความมั่นใจ  และอำนาจให้กับคนในชุมชน  เพื่อเป็นพลังในการเรียนรู้  สร้างสรรค์  ผลิตใหม่  และถ่ายทอดให้เป็นไปตามหลักการของศีลธรรมที่เคารพความเป็นมนุษย์  ความเป็นธรรม  และความยั่งยืน  ของธรรมชาติ  เพื่อรักษาความเป็นอิสระของสังคมตนเองเมื่อต้องเผชิญหน้ากับการครอบงำจากภายนอกด้วยเหตุนี้  สังคมทุกสังคม  จึงมีวัฒนธรรมที่คนในสังคมนั้น ๆ  ยกย่องว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า  เป็นภูมิปัญญา  และเป็นระบบอุดมการณ์ของสังคม  อันส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงเต็มเปี่ยมไปด้วยศักดิ์ศรีและความเคารพในสังคมตนเอง  ดังนั้น  เราต้องยอมรับว่าทุกสังคมมีวัฒนธรรมของตนเอง  ไม่ควรแสดงการดูถูกเหยียดหยามวัฒนธรรมของสังคมอื่น  ในทางตรงกันข้ามก็ต้องไม่ดูถูกวัฒนธรรมของสังคมตนองหรือยกย่องวัฒนธรรมจากสังคมอื่นว่าดีกว่า  เหนือกว่า  และน่ายกย่องกว่าวัฒนธรรมของตนเอง  เพราะการกระทำเช่นนี้เป็นเสมือนการลดศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของสังคมตนเอง  ย่อมจะไม่เกิดความเจริญงอกงามใด ๆ  แก่ตนเองและสังคมของตนเลย  นอกจากนี้การเปรียบเทียบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมว่าสูงต่ำ  ดีเลวกว่ากัน  เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ  เพราะแต่ละวัฒนธรรมก็มีหน้าที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของแต่สังคม 

4.  ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมในภูมิภาค
                   ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนกลุ่มใหญ่ ๆ  ตามภาษาพูด  ราว  11   กลุ่ม  ซึ่งได้แก่  ชาวไทยที่พูดภาษาไทยกลาง  ไทยใต้  ไทยอีสาน  ไทยเหนือ  ไทยมุสลิม  (ภาคใต้)  ไทยจีน  ไทยมุสลิม  (กรุงเทพฯ)   ไทยมาเลย์  เขมรและกุย  ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ  มอญ  และชนอพยพอื่น    เช่น เวียดนาม  อินเดีย  พม่า  เป็นต้น
                   ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางโดยกำหนดให้ภาษาไทยเป็นภาษากลาง  และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีของพระนครออกไปยังภูมิภาคต่าง ๆ  ทั่วประเทศ  ทำให้เกิดมีวัฒนธรรมหลักของไทยขึ้น  แต่ในขณะเดียวกันก็ยกย่องและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นเช่นกัน  นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  สังคมไทยมีความเป็นปีกแผ่นและมีวัฒนธรรมหลักที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศที่เด่นชัดทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทย  กับวัฒนธรรมพม่า  วัฒนธรรมลาว  วัฒนธรรมเขมร  และวัฒนธรรมของชนในภูมิภาคอื่นของเอเชียและของโลกได้อย่างชัดเจน  เราจึงเรียกกันว่า วัฒนธรรมไทย”  อย่างไรก็ตามเนื่องจากสังคมไทยเป็นที่รวมของชนหลายเผ่าพันธุ์และมีการยกย่องวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มแต่ละท้องถิ่นอย่างจริงจังตลอดมา  ทำให้

มีวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมในภูมิภาค  มีปรากฏย่างเด่นชัด  และได้รับการอนุรักษ์  ส่งเสริม  สืบสาน  และถ่ายทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้
                   4.1  วัฒนธรรมไทย 
                         วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแกน  หรือวัฒนธรรมหลักของประเทศ  ได้หล่อหลอมให้คนไทยทุกหมู่เหล่าทุกภูมิภาคเป็นหนึ่งเดียว  และนำมาปฏิบัติใช้เป็นวิถีชีวิตที่คนทั้งชาติต่างภูมิใจ  และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้เกิดความสมานฉันท์ของพลเมือง  พื้นฐานวัฒนธรรมไทยมาจากสิ่งต่อไปนี้
                   1)  การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  สถาบันพระมหากษัตริย์ได้เกิดขึ้นอยู่ควบคู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านานนับตั้งแต่เริ่มต้นเป็นชาติไทย  พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติที่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าแซ่ซ้อง  ให้ความเคารพนับถือ  และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนทั้งประเทศ  ชนทุกเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้อยู่ร่วมกันสมัครสมานสามัคคีและรวมเป็นหนึ่งเดียว  ก็เพรามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  พระราชกรณียกิจและขัตติยประเพณีด้านต่าง ๆ  ล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างแน่นแฟ้น

2) พระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของชาติไทย  โดยรัฐให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครอง  พระพุทธศาสนาได้กำหนดค่านิยม  ความเชื่อ  แนวความคิด  และบรรทัดฐานทางสังคมของชนชาติไทย  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจะได้รับการยกย่องและปฏิบัติตาม  ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น
                   อย่างไรก็ตาม  รัฐได้ส่งเสริมความเข้าใจอันดีกับศาสนิกชนคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น  คือ  ศาสนาคริสต์  ศาสนาอิสลาม  และศาสนาอื่น ๆ  เช่นกัน  อีกทั้งได้สนับสนุนให้นำหลักธรรมของทุกศาสนาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

3)  ภาษาไทย  ภาษาไทยกลางเป็นภาษาประจำชาติที่คนไทยทั่วประเทศสามารถพูดเข้าใจและเขียนอ่านได้  ภาษาไทยกลางจึงเป็นตัวเชื่อมโยงให้คนในชาติติดต่อสื่อสาร  และสร้างความผูกพันต่อกัน  ทำให้คนไทยสามารถทำความเข้าใจวัฒนธรรมหลักปละวัฒนธรรมของภูมิภาคต่าง ๆ  ได้ดี

4)  อาชีพเกษตรกรรม  ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดประเทศหนึ่งของภูมิภาคมาช้านานแล้ว  ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบทและมีชีวิตความเป็นอยู่ผูกพันกับพื้นดิน  ท้องทุ่งและไร่นา  ประเพณีและวัฒนธรรมส่วนใหญ่จึงมีพื้นฐานมาจากการเกษตรและการมีชีวิตอยู่ในชนบท  อันเป็นรากฐานแห่งภูมิปัญญาทุกด้านของวิถีชีวิต  แม้ในปัจจุบันที่ประชากรบางส่วนจะอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเมือง  และประอบอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมและการบริการ  แต่ความผูกพันกับชนบทและอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งรวมไปถึงการประมงและการเลี้ยงสัตว์ยังฝังอยู่อย่างแน่นแฟ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita