เรียนเคมีทํางานอะไรได้บ้าง


ไหนใครสาย "นักวิทย์" บางยกมือขึ้น วันนี้พาจะน้อง ๆ มาส่อง 10 สาขา คณะวิทย์ มีอะไรน่าเรียนบ้าง ? อาชีพนักวิทย์พิชิตโอกาสงานมีอะไรบ้าง ? จบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง ? แล้ว 10 สาขาที่พี่จะพาน้อง ๆ มารู้จักกันวันนี้ มีสาขาไหนน่าสนใจบ้าง 

หากน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้ว เตรียมตัวให้พร้อม แล้วเดินตามพี่มาเลยจ้า



1. ฟิสิกส์อุตสาหกรรม ( Industrial Physics )
หลักสูตรผลิตบัณฑิตมีที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0 และมีโครงสร้างหลักสูตรที่บูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ประยุกต์ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะสามารถนําองค์ความรู้ไปแก้ไขปัญหาในการทำงานจริงได้

จุดเด่น
ความรู้ทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0 

จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิทยาศาสตร์
- นักวิชาการ
- วิศวกรฝ่ายขาย
- วิศวกรโรงงาน
- นักวิจัยในภาครัฐและเอกชน
- ผู้ประกอบการทางธุรกิจเทคโนโลยี




2. เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการอย่างยั่งยืน ( Environmental Technology and Sustainable Management )
เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรประยุกต์ที่เน้นด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม หลักสูตรครอบคลุมตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขา วิทยาศาสตร์และเทคโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2559 มุ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

จุดเด่น
เป็นหลักสูตรแรกในประเทศที่ควบรวมการศึกษาด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน โดยน้อง ๆ ทุกคนในหลักสูตรจะได้เรียนพื้นฐานทั้ง 2 ด้านและน้อง ๆ แต่ละคนสามารถเลือกวิชาเลือกด้านที่ต้องการเด่นโดยเฉพาะ เพื่อความเหมาะสมในอาชีพเป้าหมาย

จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิชาการสิ่งแวดล้อมและนักจัดการสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานหรือหน่วยงานของรัฐ
- เจ้าหน้าที่ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน
- นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม
- นักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัย/เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

 


3. เคมีอุตสาหกรรม ( Industrial Chemistry ) 
มุ่งผลิตบัณฑิตสาขาเคมีอุตสาหกรรม ที่มีความรู้และทักษะทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพทางเคมีอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยคํานึงถึงทักษะของตลาดแรงงานในอนาคต ( 21st Century Skills ) และนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยที่มุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ( Value-Based Economy ) นักศึกษาสามารถนําความรู้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้

จุดเด่น
ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพทางเคมีอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

จบมาทำงานอะไร ?
หน่วยงานเอกชน

- อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมพอลิเมอร์
- อุตสาหกรรมวัสดุ
- อุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องดื่ม
หน่วยงานราชการ
- กระทรวงอุตสาหกรรม
- สถาบันวิจัย
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม




4. เคมีวิศวกรรมและอุตสาหกรรม นานาชาติ ( Industrial & Engineering Chemistry )
เป็นหลักสูตรใหม่ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางเคมีอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงกับการประยุกต์ทางเคมีวิศวกรรม เพื่อทำงานและแก้ปัญหาในมุมมองที่บูรณาการระหว่างนักเคมีและวิศวกร สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา การจัดการ และการสร้างนวัตกรรม บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้จึงสามารถทำงานได้ทั้งในฐานะนักเคมีและวิศวกรเคมี หรือร่วมกับนักเคมีและวิศวกรในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

จุดเด่น
มีความรู้ทางเคมีอย่างลึกซึ้งและเชื่อมโยงกับการประยุกต์ทางเคมีวิศวกรรม เพื่อทำงานและแก้ปัญหาในมุมมองที่บูรณาการระหว่างนักเคมีและวิศวกร สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม

จบมาทำงานอะไร 
- วิศวกรเคมี
- วิศวกรควบคุมการผลิต
- วิศวกรควบคุมคุณภาพ
- นักเทคโนโลยีการผลิต
- นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
- นักวิจัยวัสดุศาสตร์
- นักวิจัยปิโตรเคมีและพอลิเมอร์
- นักวิทยาศาสตร์
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว




5. เทคโนโลยีชีวภาพ  ( Biotechnology )
เป็นการศึกษาสหวิชาการที่บูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นการนำเซลล์สิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์และจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ ผู้เรียนมีความสามารถทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสำหรับการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมและด้านอื่น ๆ อันจะมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความสามารถในการแข่งขันเชิงวิชาการที่สูงขึ้น

จุดเด่น
ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน

จบมาทำงานอะไร ?
ภาคเอกชน

- ฝ่ายผลิต
- ฝ่ายตรวจสอนและควบคุมคุณภาพ
- ฝ่ายวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์
ภาครัฐบาล
- นักวิจัย
- นักวิทยาศาสตร์




6. จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ( Industrial Microbiology )
จุลินทรีย์เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความหลากหลายและสำคัญของประเทศ ปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการคัดเลือก และพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีศักยภาพในการผลิตสารมูลค่าสูงขึ้น เพื่อนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐาน หลักสูตรจุลชีววิทยาอุตสาหกรรมจึงมุ่งเน้นผลิตบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับจุลินทรีย์ สามารถนำจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์มาใช้และเพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป

จุดเด่น
นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม

จบมาทำงานอะไร ?
- นักจุลชีววิทยา ( Microbilogist )
- นักประกันคุณภาพ และนักควบคุมคุณภาพ ( QA-QC )
- ผู้เชียวชาญวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ( R&D )
- เจ้าของกิจการ เช่น ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์




7. จุลชีววิทยาประยุกต์ นานาชาติ  ( Applied Microbiology International program ) 
โปรแกรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้ทางจุลชีววิทยากับความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อตอบสนองการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมชีวภาพจึงมีการศึกษา 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 โดยใช้ระยะเวลา 4 ปี. เมื่อสำเร็จการศึกษาคุณจะได้รับปริญญาตรี วท.บ. จุลชีววิทยาประยุกต์จาก KMITL แบบที่ 2 เป็นรูปแบบการเรียนรู้ 4 + 1 ที่ใช้เวลาเรียน 5 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี วท.บ. จุลชีววิทยาประยุกต์จาก KMITL และ วท.ม. Nutraceuticals and Functional Foods จากมหาวิทยาลัยมหิดล

จุดเด่น 
สามารถนำความรู้ทางจุลชีววิทยามาประยุกต์ใช้ให้ก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจชีวภาพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

จบมาทำงานอะไร ?
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต QC QA และ R&D ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง พลังงานชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
- นักวิจัยและศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์




8. วิทยาการคอมพิวเตอร์  ( Computer Science )
ผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพทางดิจิทัลที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รองรับยุคการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ( Disruption )  บัณฑิตสามารถบูรณาการศาสตร์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ร่วมกับองค์ความรู้ด้าน วิทยาการข้อมูล  ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน สถิติ และคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา Digital Platform  ที่ใช้แก้ปัญหาสำหรับภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจผ่านสหกิจศึกษามากว่า 8 ปี และโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ 3 ปี

จุดเด่น
ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รองรับยุคการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

จบมาทำงานอะไร ?
- นักพัฒนาระบบงานสารสนเทศเชิงบรูณาการ
- นักพัฒนาด้านInterner of Things
- นักวิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรม
- นักวิศวกรรมข้อมูล
- นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และ Ai for Business
- วิทยาศาสตร์ข้อมูล
- Full Stack Dev.
- DevOps



9. สถิติประยุกต์และการวิเคราะห์ข้อมูล  ( Applied Statistics and Data Analytics )
สถิติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งที่ศึกษาการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยในการวางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ธุรกิจ รวมถึงอุตสาหกรรม นอกจากเรียนรู้หลักการเลือกระเบียบวิธีทางสถิติ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับระเบียบวิธีทางสถิติดังกล่าว เช่น Big Data, Business Intelligence และ Data Visualizationเป็นต้น เพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพตามทิศทางเป้าหมายของประเทศ

จุดเด่น
เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่งที่ศึกษาการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยในการวางแผน

จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิเคราะห์ข้อมูล/นักวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
- นักสถิติ/นักสถิติประกันภัย/นักวิชาการทางสถิติ
- นักควบคุมคุณภาพ
- นักวางแผนการผลิต
- นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
- นักวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
- นักวิจัย
- นักวิเคราะห์การวิจัยดำเนินงาน
- ครู และ อาจารย์




10. สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ ( Applied Mathematics )
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์มุ่งเน้นผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ในภาคทฤษฎีและมีทักษะปฏิบัติ อย่างมีคุณภาพ โดยมีความรู้วิชาการคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล การหาคำตอบ และการแก้ปัญหา มีความรู้ในคณิตศาสตร์สารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้ความรู้คณิตศาสตร์ในการคำนวณหาคำตอบเชิงตัวเลขและช่วยแก้ปัญหา และมีความรู้ในวิธีทางคณิตศาสตร์ ในการหาคำตอบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาในธุรกิจ อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ การเงิน การลงทุน และการประกันภัย การวิเคราะห์ข้อมูลและการพัฒนาซอฟต์แวร์  และศาสตร์ที่นำไปใช้ด้วยหลักวิชาการ

จุดเด่น
เป็นหลักสูตรที่ศึกษาคณิตศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล การหาคำตอบ และแก้ปัญหาที่ สามารถนำไปปรับประยุกต์กับทางอุตสาหกรรม การเงิน การลงทุน การประกันภัยและการวิเคราะห์ข้อมูล

จบมาทำงานอะไร ?
- นักวิเคราะห์ระบบธุรกิจ
- นักวางแผนการจัดการขนส่ง
- นักวิเคราะห์การเงิน นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
- นักวางแผนการเงิน
- นักวิเคราะห์ข้อมูล
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์
- นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ




สนใจสอบถาม โทร.02-329-8400 ถึง 8411 โทรสาร.02-329-8412
Website : //www.science.kmitl.ac.th/#/home
Facebook : //www.facebook.com/SciKmitl

นักเคมี ทํางานอะไรได้บ้าง

1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเคมีจากองค์ความรู้ทางเคมี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใช้เชิงวิจัย ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 2. นำองค์ความรู้ทางด้านเคมี มาใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน 3. วิเคราะห์สารประกอบ เพื่อหาคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพ โดยเทคนิคทางเคมี 4. ดูแลห้องปฏิบัติการทางเคมีในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถานศึกษา สถานประกอบการ

นักเคมี เรียนคณะอะไร

- สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง - ต้องมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และสามารถสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้ ชอบการค้นคว้าทดลอง การใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ - มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบค้นคว้า - มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

คณะวิทยาศาสตร์ ทํางานอะไร

เรียนคณะวิทยาศาสตร์ จบมาทำงานอะไรได้บ้าง? สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา/กระทรวงต่าง ๆ ประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม โดยทำหน้าที่เป็นนักเคมี นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี คืออะไร

สาขาเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสสาร สารประกอบ โครงสร้าง ลักษณะ และปฏิกิริยาทางเคมี มันเกี่ยวข้องกับทุกอย่างที่เราเห็น เราใช้ และเราทำ ตั้งแต่อากาศที่เราหายใจไปจนถึงอาหารมื้อค่ำที่เราทำอยู่ทุกวัน สิ่งเดียวที่แตกต่าง คือ ในทางเคมีแล้ว คุณไม่ควรเลียช้อนของคุณเด็ดขาด!

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita