ประเทศไทยรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศอะไร

น.ส.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะโฆษก กฟผ. เปิดเผยว่า หลังจาก กฟผ.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานให้ไปจัดลำดับการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนในประเทศลาว โดยเบื้องต้น ขณะนี้ทางกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ของประเทศลาว และกระทรวงพลังงานของไทย อยู่ระหว่างหารือร่วมกันถึงความเป็นไปได้ที่จะขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า หลังจากทางลาว ได้เสนอขอขยายปริมาณขายไฟฟ้าให้กับไทยเพิ่มเป็น 10,200 เมกะวัตต์ หรือ เพิ่มขึ้นอีก 1,200 เมกะวัตต์ จากกรอบข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)การซื้อไฟฟ้าไทยและลาว ปัจจุบัน กำหนดไว้ที่ปริมาณ 9,000 เมกะวัตต์

“เรื่องนี้ ยังไม่มีข้อสรุป เข้าใจว่าทางกระทรวงพลังงานของไทย และลาว กำลังหารือร่วมกันอยู่ และไม่ได้กำหนดกรอบว่าจะต้องรับซื้อภายในปีไหน”

แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทางลาว ได้เสนอขอขายไฟฟ้าพลังน้ำเข้ามาหลายโครงการ โดยทางกระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งการจะซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ยังคงยึดตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Revision 1) ซึ่งโรงไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้าสู่ระบบเพิ่มเติม ก็เป็นช่วงประมาณปี 2569-2570 แต่การจะซื้อไฟฟ้าแต่ละโครงการนั้น ก็จะมีระยะเวลาเตรียมการล่วงหน้าประมาณ 5-7 ปี

ดังนั้น แผนการรับซื้อไฟฟ้าจากลาวเพิ่มเติม ก็คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ เพราะจะเกี่ยวโยงกับการจัดทำร่างแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ที่จะแล้วเสร็จในปลายปีนี้ และจะนำไปสู่การปรับปรุงอีก 5 แผนปฏิบัติการด้วย คือ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP ) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan ) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 2565

“ลาว เสนอโครงการเข้ามาแล้ว หลายโครงการ เกินกรอบที่กำหนดไว้ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ ก็ดูๆอยู่ ยังปีหลายประเด็นที่ต้องสอบถามความพร้อมของลาว ซึ่งก็เป็นรายละเอียดความเป็นไปได้ของแต่ละโครงการ เพราะบางโครงการทำไปแล้ว ติดปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็พยายามข้อมูลเพิ่มเติมอยู่”

อย่างไรก็ตาม หากแผนรับซื้อไฟฟ้าไทย-ลาว มีความชัดเจนแล้ว ก็จะต้องดำเนินการตามกระบวนการต่อไป คือ การนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ

ทั้งนี้ ตามกรอบข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)การซื้อไฟฟ้าไทยและลาว ปริมาณ 9,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่งยังเหลือรับซื้อตามกรอบอีกราว 3,000 เมกะวัตต์

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา ลาวได้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าให้กับไทย เพิ่มเติมอีกประมาณ 10 โครงการ ซึ่งได้มอบหมายให้ กฟผ.ไปจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการ และอาจต้องปรับปรุงประสิทธิสายส่งไฟฟ้าให้พร้อม ซึ่งอาจจะต้องลงทุนขยายสายส่งในบางพื้นที่จาก 115-230 เควี เป็น 500 เควี

ก่อนหน้านี้ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุว่า การจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ ที่มุ่งไปสู่พลังงานสะอาดมากขึ้นนั้น ในส่วนแผนรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเช่น พลังน้ำ หากมองในเรื่องของการช่วยเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ก็มีโอกาสรับซื้อเพิ่มขึ้นได้ ทั้งในรูปแบบการซื้อขายไฟฟ้าพลังน้ำจากลาว ส่งไปกัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือ เมียนมา เป็นต้น

ซึ่งเดิมที ไทยกับเมียนมา ได้เจรจาร่วมกันในเรื่องนี้ แต่ติดปัญหาการเมืองในเมียนมา ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ในเมียนมาดีขึ้น ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเดินหน้าเจรจากันต่อเป็นต้น

ในบทความของผมหลายๆ ตอนที่ผ่านมา ได้เล่าถึงการที่ประเทศเพื่อนบ้านของเราทั้ง สปป.ลาว เวียดนาม และ กัมพูชา ได้พัฒนาหรือเตรียมกำลังพัฒนา กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนไปพอสมควร รวมทั้งได้สรุปให้เห็นถึงภาพที่ สปป.ลาว เตรียมแต่งตัวเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ดังนั้น นโยบายการซื้อ-ขาย ไฟฟ้าของไทย กับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้เป็นอย่างไรและควรปรับปรุงอะไรบ้าง จะขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ

Advertisment

1.ด้วยการที่ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าสุทธิด้านพลังงาน (Net-Import of Energy)
ถึงแม้เราจะยังโชคดีอยู่บ้างที่มีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย แต่ก็ไม่พอและปัจจุบันต้องถือว่าอยู่ระหว่างการลดลงอย่างน่าใจหาย ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลไทยในหลายยุคหลายสมัย
ได้มีนโยบายสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของไทยทั้ง กฟผ., ปตท., และ ปตท.สผ. (และบริษัทในเครือทั้งหลาย) ได้เข้าไปมีบทบาทในการเข้าถือครองสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรพลังงานทั้งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติของประเทศเพื่อนบ้าน และป้อนกลับไทยอย่างต่อเนื่องโดยตลอด

2.ในด้านการรับซื้อไฟฟ้าก็ได้มอบหมายให้ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ในรูปแบบ Government-to-Government
โดยมีข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ (MOU) เป็นกรอบในการกำกับการรับซื้อไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งปัจจุบันตัวเลขอย่างเป็นทางการในการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาวถึง 9,000 MW และเข้าใจว่ากำลังจะ (หรือ อาจจะมีการลงนามไปแล้วก็ไม่ทราบได้?) ว่ามีการขยับกรอบการรับซื้อเพิ่มขึ้นอีก 1,000 MW

Advertisement

3.ในแผน PDP หลายฉบับก่อนหน้านี้ก็เคยได้กำหนดเพดานการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ไว้ไม่เกิน 25% ของกำลังการผลิตโดยรวมของประเทศ (ระดับเดียวกับการที่ไทยมีกำลังการผลิตสำรอง หรือ Reserve Margin)
โดยกำหนดไว้เพิ่มเติมด้วยว่าหากจะมีการนำเข้าจากประเทศหนึ่งประเทศใดไม่ควรเกิน 13% ซึ่งหากตัวเลขเป็นตามนโยบายนี้ในแผน PDP ฉบับปัจจุบัน (PDP 2018) กรอบการนำเข้าไฟฟ้าทั้งหมดควรมีเพดานที่ 19,250 MW และกรอบการนำเข้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ควรเกิน 10,000 MW

4.กรอบนโยบายอีกประเด็นที่ปรากฏใน MOU ระหว่าง ไทย กับ สปป.ลาว
คือ การระบุเจาะจงรับซื้อไฟฟ้าเฉพาะจากโครงการ “พลังน้ำ” หรือ “พลังความร้อน” (เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน) เท่านั้น ทำให้การซื้อขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม จาก สปป.ลาว ข้ามมาไทยไม่ได้ ทั้งๆ ที่ศักยภาพก็มีเหลือเฟือ และราคาก็น่าจะสู้ราคาโครงการพลังน้ำ
ใหม่ๆ ได้

5.นโยบายด้าน “ราคารับซื้อ”
เป็นอีกประเด็นที่ “เคยมี” การกำหนดกรอบปฏิบัติไว้ เช่นการกำหนดกรอบราคาที่ใช้เจรจารับซื้อไฟฟ้าไว้ โดยให้ใช้หลักการที่เรียกว่า “รับซื้อในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายของ กฟผ.” หรือ EGAT’s Marginal Cost แต่ในช่วงหลังๆ ก็มีข้อยกเว้นในการไม่ใช้หลักการเหล่านี้ ในโครงการ
ยุคหลังๆ

Advertisement

วันนี้ผมขอหยุดเล่าเท่านี้ก่อน เพราะว่าเท่าที่สัมผัสผู้ที่เกี่ยวข้องมีหลายท่านเสนอความคิดใหม่ๆ มากมายที่ควรเสนอให้ รัฐบาลไทยปรับปรุงนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะขอยกยอดไปสนทนากันในฉบับหน้านะครับ แต่ที่คันปากอยากเล่าเพราะข้อเสนอใหม่ๆ มีเรื่องให้น่าคิดเยอะมากเช่น ข้อเสนอการเปิดให้มีการประมูลแข่งขันด้านราคา (Bidding) แทนการเจรจาโดยตรงเป็นรายโครงการ, การปลดล็อกให้สามารถซื้อ และขายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอื่นๆ ได้ มิใช่เฉพาะแค่ไฟฟ้าพลังน้ำเท่านั้น, การเสนอขอให้ยุติการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจากต่างประเทศ และการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้าของไทยซื้อไฟฟ้าตรงจากผู้ผลิตในต่างประเทศได้ เป็นต้น ไว้คราวหน้านะครับ จะค่อยลงลึกในแต่ละข้อเสนอ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita