นิติศาสตร์ จบมาทํางานอะไรได้บ้าง

ใครที่กำลังมองหาสาขาวิชาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ น่าจะเป็นอีกหนึ่งสาขาที่หลายคนให้ความสนใจศึกษาต่อ แต่ก็อาจจะสงสัยว่าจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนดีกว่าว่าเรียนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย 4 ปี เรียนอะไรบ้าง การเรียนนิติศาสตร์ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย

ในช่วงปี 1 หลักสูตรแต่ละมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเน้นการปูพื้นฐานช่วงเทอมแรก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล เพื่อเป็นการปูทางไว้ต่อยอดในระดับชั้นสูงต่อไป และจะมีวิชาพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนดเอาไว้ให้เรียนด้วย ต่อมาในเทอมสองความเข้มข้นก็จะเริ่มเข้ามา ซึ่งจะมีวิชากฎหมายเพิ่มเข้ามาเยอะพอสมควร หลักๆ จะเป็นกฎหมายแพ่ง และกฎหมายมหาชน แต่ยังมีวิชาพื้นฐานอยู่

ปี 2 วิชากฎหมายเข้ามาแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ยังมีวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัยอยู่แต่น้อยลง จะได้เริ่มเรียนกฎหมายหลากหลายสาขามากขึ้น เช่น กฎหมายอาญาทั้งภาคทั่วไปและภาคความผิด รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครอง

ปี 3 ในปีนี้หากใครที่ผ่านวิชาพื้นฐานหมดแล้วจะเป็นการศึกษากฎหมายล้วนๆ ลึกขึ้นกว่าเดิม และมีวิชาใหม่เข้ามาเช่น กฎหมายวิธิพิจารณาฯ ส่วนกฎหมายแพ่ง กฎหมายปกครองก็จะเริ่มเข้าเนื้อหาลึกขึ้น วิชากฎหมายเกี่ยวกับศาลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาด้วย ยังไม่หมดแค่นั้นยังมีสาขาวิชาให้เลือกเรียนด้วย เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายธุรกิจ กฎหมายมหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศ เลือกเรียนได้ตามความต้องการ ในสาขาเลือกเหล่านั้นจะมีกฎหมายต่างๆ มากมายให้เรียน

ปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการศึกษา ความเข้มข้นก็ยังคงมีอยู่ แต่จะมีกฎหมายพิเศษต่างๆ มากมายให้เราได้ศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพต่อไป

หากนำวิชากฎหมายแต่ละตัวที่ได้เรียน มาแบ่งก็จะสามารถแบ่งออกได้ตามหมวดหมู่ 4 หมวด หรือเรียนว่ากฎหมาย 4 มุมเมือง ดังนี้

1.กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เป็นกฎหมายที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ตั้งแต่การเกิด ทรัพย์สิน ละเมิด ความสัมพันธ์ในครอบครัว ไปจนถึงตาย และมรดก ซึ่งจะได้ทำการศึกษาทั้งหมด รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท

2. กฎหมายอาญา

เป็นการศึกษาประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 พาท คือ 1. ภาคทั่วไป จะเป็นการอธิบายว่าการกระทำใดที่จะมีความรับผิดทางอาญา เหตุยกเว้นโทษต่างๆ และ 2. ภาคความผิด เป็นการเรียนรู้ฐานความผิดต่างๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา ว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานใด

3. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดำเนินคดีทางศาล ศึกษาถึงเขตอำนาจศาล คดีไหนอยู่ศาลไหน ต้องฟ้องที่ศาลใด ใครฟ้องคดีได้บ้าง ในหมวดของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศึกษาว่าใครเป็นผู้เสียหาย ซึ่งจะส่งผลไปถึงการฟ้องคดีในศาล รวมไปถึงการค้น การจับ การสอบสวน การสืบสวน การสืบพยานในศาล และกระบวนการพิจารณาในศาล

ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จะเป็นเรื่องการฟ้องคดีแพ่ง กรณีเกิดข้อพิพาทตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระบวนการต่างๆ ไปจนถึงการบังคับคดี

บางกฎหมายมีศาลพิเศษขึ้นมาก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีในศาลนั้นๆ แยกออกไปอีกต่างหาก ส่วนศาลทั่วไปก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เพื่อควบคุมว่าคดีใดฟ้องศาลใด ใช้ผู้พิพากษากี่คน ตัดสินอย่างไร

4. กฎหมายอื่นๆ

หลักๆ จะเป็นกฎหมายปกครอง รวมไปถึงรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ ที่สำคัญ ตั้งแต่ทฤษฎีไปจนถึงตัวบทกฎหมาย

จบ “นิติศาสตร์” ทำงานอะไรได้บ้าง

เมื่อเรียนจบคณะนิติศาสตร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีอาชีพมากมายให้เลือกทำ แนวคิดง่ายๆ “ทุกหน่วยงานมีกฎหมายกำกับ” ดังนั้น นักกฎหมายขาดไม่ได้ มาดูดีกว่าว่าทำอาชีพอะไรได้บ้าง

ทนายความ

อาชีพทนายความ คือสายตรงที่เรียนกฎหมายมาทั้งหมดจะได้ใช้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังจะต้องศึกษากฎหมายอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย หน้าที่หลักๆ คือทำหน้าที่ว่าความ และดำเนินกระบวนการในศาล การแก้ต่างให้กับจำเลย หรือฟ้องคดีให้กับโจทก์ รวมถึงจัดทำเอกสารทางกฎหมาย สัญญาต่างๆ

การที่จะเป็นทนายความได้จะต้องมีการสอบในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อผ่านการสอบแล้วจะได้รับใบอนุญาตว่าความ โดยสามารถว่าความได้ทั่วประเทศ

ที่ปรึกษากฎหมาย

อาชีพที่ปรึกษากฎหมายนั้นมีให้เห็นอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมาในชื่ออื่น เช่น นิติกร ซึ่งจะอธิบายต่อไป โดยหน้าที่หลักๆ คือการให้คำปรึกษา แนะนำ ตรวจดูสัญญา เพื่อให้ผู้ว่าจ้างไม่ถูกเอาเปรียบและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง

นิติกร

เป็นอาชีพแรกเริ่มของผู้จบการศึกษานิติศาสตร์ที่ยังไม่มีใบอนุญาตว่าความ ซึ่งมีทั้งในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน หน้าที่ส่วนใหญ่จะเหมือนกับที่ปรึกษากฎหมาย และการศึกษา วิเคราะห์ ร่างแผน เขียนโครงการ ร่างระเบียบ เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ภายใต้กฎหมาย

อัยการ

เป็นอาชีพที่นักศึกษานิติศาสตร์หลายคนใฝ่ฝันจะประกอบอาชีพนี้ มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม ฟ้องคดีต่อศาลแทนรัฐ ดำเนินกระบวนการทางศาลเหมือนกับทนายความ แต่เน้นรักษาผลประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะเน้นหนักในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นอาชีพหนึ่งที่มีค่าตอบแทนสูง

การจะสอบอัยการได้นั้นจะต้องสอบผ่านเนติบัณฑิต และมีประสบการณ์ทางกฎหมายตามที่ได้กำหนดเอาไว้

ผู้พิพากษา

ผู้พิพากษา ถือว่าเป็นจุดสูงสุดของการประกอบอาชีพนักกฎหมายเลยก็ว่าได้ โดยทำหน้าที่ตัดสินคดีความต่างๆ ที่มีการฟ้องร้องมายังศาลยุติธรรม การสอบแต่ละครั้งมีคนสอบได้น้อยมาก ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองเพียงอย่างเดียว เพราะหากสอบผ่านยังไงก็ถูกเรียกทำงานอย่างแน่นอน ค่าตอบแทนสูงมาก

อาจารย์

อาชีพอาจารย์เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยม แต่ว่าอาจจะต้องมีการไปศึกษาเพิ่มเติมในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก หลังจากจบปริญญาตรีแล้ว เพราะส่วนใหญ่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป

งานราชการอื่นๆ

งานราชการอื่นๆ ที่คนจบนิติศาสตร์ นั้นสามารถไปต่อได้กว้างขวางมาก ไม่ว่าจะเป็น ปลัดอำเภอ ตำรวจ ทหาร พนักงานคุมประพฤติ เจ้าพนักงานบังคดี หรือในกรมต่างๆ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร เป็นต้น เรียกได้ว่าอยู่ได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม เลยทีเดียว หากมีการเปิดสอบลองดูคุณสมบัติเรื่องวุฒิการศึกษาก็จะเห็น

งานธนาคาร

งานในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยม สำหรับผู้ที่ชื่นสอบสายงานเอกชน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หากผู้ที่จบนิติศาสตร์จะมีทักษะทางกฎหมายมากกว่าผู้ที่จบจากสายอื่น

เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าคงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยว่า เรียน “นิติศาสตร์” นั้นทำงานอะไรได้บ้าง และเรียนอะไรกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

คณะนิติศาสตร์จบมาทำงานอะไรได้บ้าง

เรียนจบคณะนิติศาสตร์ทำงานอะไรได้บ้าง.
ทนายความ.
ที่ปรึกษาทางกฎหมาย.
ผู้พิพากษา.
พนักงานอัยการ.
นิติกร.
งานราชการ.
งานธนาคาร.
อาจารย์พิเศษ.

จบนิติศาสตร์ทำงานธนาคารได้ไหม

หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าเรียนจบคณะนิติศาสตร์มาสามารถทำงานธนาคารได้ โดยสามารถทำงานเร่งรัดหนี้ งานสินเชื่อซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ พิจารณาการให้สินเชื่อ แจกแจงข้อกฎหมายตามที่ระบุหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่กำหนดและส่งต่อให้ฝ่ายกฎหมายเป็นผู้จัดการต่อ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้าน ...

นิติศาสตร์ วุฒิอะไร

นิติศาสตรบัณฑิต (อังกฤษ: Bachelor of Laws; ละติน: Legum Baccalaureus) หรือย่อว่า น.บ. (ละติน: LL.B., LL. B., LLB หรือ Ll.B.) เป็นปริญญาระดับบัณฑิตทางนิติศาสตร์ซึ่งกำเนิดในประเทศอังกฤษ และประเทศที่ใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอว์มักให้เป็นปริญญาชั้นแรกในทางนิติศาสตร์ ก่อนจะถึงนิติศาสตรมหาบัณฑิตและนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตตามลำดับ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita