คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ ม. ม. ส มี สาขา อะไร บ้าง

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ:Faculty of Public Health, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2541 ในรูปแบบโครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี ภายใต้การดำเนินงานของคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542 และสภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และประกาศใช้ “ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คําขวัญชื่ออังกฤษอักษรย่อสังกัดที่อยู่วันก่อตั้งคณบดีสีประจําคณะเว็บไซต์เฟซบุ๊ก

ปัญญาเพื่อสุขภาวะชุมชน
Wisdom of a Healthy Community
Faculty of Public Health,
Mahasarakham University
สธ. / PH
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปลีคลินิก เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (22 ปี)
(สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ)
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (18 ปี)
(คณะสาธารณสุขศาสตร์)
รศ.สุมัทนา กลางคาร
สีชมพูอมส้ม

เนื้อหา

  • 1ประวัติ
  • 2การบริหารและการจัดการ
  • 3หลักสูตรการศึกษา
  • 4การรับบุคคลเข้าศึกษา
  • 5การวิจัยที่สำคัญ
  • 6ทำเนียบคณบดี
  • 7กิจกรรมและโครงการที่สำคัญ
  • 8ดูเพิ่ม
  • 9อ้างอิง
  • 10แหล่งข้อมูลอื่น

อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปรีคลินิก

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เริ่มก่อตั้งจากโครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ในคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2543 เพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข หลังจากนั้นก็ได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา อาคารสถานที่ บุคคลากร การวิจัย และพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้นอีก 6 หลักสูตร (ปริญญาตรี 4, ปริญญาโท 1, และปริญญาเอก 1 หลักสูตร) ในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2556 :6-11

ในที่นี้ คำว่า คณะ หมายถึง คณะสาธารณสุขศาสตร์, คำว่า มหาวิทยาลัย หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำว่า สภามหาวิทยาลัย หมายถึง สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (ปี พ.ศ. 2540 - 2542)

มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) โดยมีโครงการใหม่เป็นแผนงานพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และเมื่อปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยได้พัฒนาโครงการความร่วมมือจัดการศึกษาแบบบูรณาการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนในระบบบริการสาธารณสุขระดับชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น) มีการยกร่างหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ขึ้น

ปี พ.ศ. 2541 โครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี ซึ่งได้เปลี่ยนเป็น สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542

คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ปี พ.ศ. 2543 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546)

ปี พ.ศ. 2543 มีการดำเนินการยกร่างหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

ปี พ.ศ. 2545 ได้จัดการศึกษาที่วิทยาเขตสารสนเทศนครพนม จังหวัดนครพนม โปรแกรมภาคพิเศษ (เสาร์–อาทิตย์) และเปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นแรก รูปแบบโปรแกรมชุดวิชา (Module System) ภายในวิทยาเขตหลัก

ปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ในโครงการ ความร่วมมือจัดการศึกษาแบบบูรณาการด้านสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข มีนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) โปรแกรมภาคพิเศษ (เสาร์–อาทิตย์) รุ่นแรก และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต โปรแกรมภาคพิเศษ รุ่นแรก

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ( 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา)

ในปี พ.ศ. 2546 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ (อังกฤษ:Faculty of Public Health) และประกาศใช้ “ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ รักษาการตำแหน่งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2546 และได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคนแรกของคณะตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2546

ปี พ.ศ. 2547 คณะได้ขยายศูนย์การศึกษาเพิ่มอีก 2 แห่ง มีการเรียนการสอนในศูนย์การศึกษารวม 5 แห่ง ได้แก่

  • ศูนย์การศึกษา มหาสารคาม
  • ศูนย์การศึกษา นครราชสีมา
  • วิทยาเขตสารสนเทศนครพนม (2545)
  • ศูนย์พัฒนาการศึกษา อุดรธานี (2547)
  • ศูนย์การศึกษา ยโสธร (2547)

คณะได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาใหม่อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร) จนในปี พ.ศ. 2548 จึงเปิดรับนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) และระดับบัณฑิตศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนที่ศูนย์การศึกษารวม 8 แห่ง

  • ศูนย์การศึกษา มหาสารคาม
  • ศูนย์การศึกษา นครราชสีมา
  • วิทยาเขตสารสนเทศนครพนม (2545)
  • ศูนย์พัฒนาการศึกษา อุดรธานี (2547)
  • ศูนย์การศึกษา ยโสธร (2547)
  • ศูนย์การศึกษา สุรินทร์ (2548)
  • ศูนย์การศึกษา ศรีสะเกษ (2548)
  • ศูนย์การศึกษา สระบุรี (2548)

ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีแรกที่คณะได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และ วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและความปลอดภัยในอาหาร) 4 ปี ระบบปกติและระบบพิเศษ และคณะยังได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (เสาร์ – อาทิตย์) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ที่ศูนย์การศึกษาจังหวัดสระบุรี

ปี พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย)

คณะได้เปิดรับนิสิตเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และศูนย์การศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยได้ดำเนินการเปิดการสอนนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร (2 สาขาวิชา 3 กลุ่มวิชาหลัก) และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

ปี พ.ศ. 2555 คณะเปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) และเปิดรับนิสิตรุ่นแรกในปีการศึกษา 2555 และได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ โดยเน้นกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น University of Community Health, Magway, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และ University of Public Health สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสถาบันในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา เป็นต้น และมีการทบทวนการจัดการเรียนการสอนนอกที่ตั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน

ปี พ.ศ. 2556 คณะได้ย้ายอาคารทำการมาที่อาคารใหม่ อาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 คณะเปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ปริญญาโท 1 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร ที่วิทยาเขตหลักและศูนย์การศึกษานอกวิทยาเขตหลัก 3 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี อุบลราชธานี และนครราชสีมา

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ เลิกรับนิสิตในศูนย์การศึกษาต่างๆ ทั้งหมด ทั้งศูนย์นครราชสีมา อุดรธานีและอุบลราชธานี โดยมีผลตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

เชิงอรรถ

  1. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546
  2. มหาวิทยาลัยให้ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2546
  3. รูปแบบโปรแกรมชุดวิชา (Module System) เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นคราว ๆ คราวละหนึ่งรายวิชา หรือหลายรายวิชา ซึ่งอาจจัดเป็นชุดของรายวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
  4. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546
  5. มหาวิทยาลัยให้ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2546
  6. ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี 2 วาระต่อเนื่อง คือ 19 ธันวาคม 2546 - 18 ธันวาคม 2550 และ 19 ธันวาคม 2550 – 18 ธันวาคม 2554
  7. ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 โดยประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย) คนแรก คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ สืบเสาะ และหลักสูตรนี้ได้มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2556 ปรับปรุงชื่อสาขาวิชาเป็น สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินงานตามพันธกิจ 4 ประการ คือ :3

  • ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุข
  • วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
  • บริการวิชาการด้านสุขภาพร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ

คณะมีการบริหารงานโดยมีคณะกรรมการบริหารคณะ มีคณบดีเป็นผู้นำการบริหาร และรองคณบดีและผู้ช่วยคณบดีกำกับดูแลฝ่ายงาน ตามโครงสร้างองค์กร ดังนี้

โครงสร้างองค์กร - สำนัก / ฝ่าย / หลักสูตร หลักสูตร - สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการศึกษา
  • วท.บ. สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • วท.บ. สาขาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย
  • วท.บ. สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • วท.ม. สาขาวิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ปร.ด. สาขาวิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ส.บ. สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
  • ส.ม. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
  • ส.ม. สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • ฝ่ายพัฒนาวิจัยและบริการวิชาการ
  • สำนักงานเลขานุการคณะ
  • ฝ่ายบรืหาร
  • ฝ่ายบรืหารการศึกษา
  • ฝ่ายพัฒนานิสิต
  • ฝ่ายประกันคุณภาพ

เชิงอรรถ

  1. กำกับโดยผู้ช่วยคณบดี
  2. กำกับโดยรองคณบดี

ปัจจุบันคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีการเรียนการสอน 6 หลักสูตร 8 สาขาวิชา แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 4 สาขา ปริญญาโท 2 สาขา และปริญญาเอก 2 สาขา และสำนักงาน ก.พ. รับรอง [ก] ดังนี้ :11,16 :7,9

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย
  • สาขาวิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางสุขภาพและความปลอดภัย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางสุขภาพและความปลอดภัย

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

เชิงอรรถ สำนักงาน ก.พ. รับรอง : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. อนามัยสิ่งแวดล้อม) :120สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ. สาธารณสุขศาสตร์) :3สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม. สาธารณสุขศาสตร์) :8สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด. สาธารณสุขศาสตร์) :8 :120

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร

การรับเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีทั้ง 7 หลักสูตร 3 วิธี ดังนี้
  • ระบบแอดมิสชันของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  • ระบบรับตรง โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ระบบรับตรง โดยคณะดำเนินการ ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมของทุกปี

รายนามคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

ทำเนียบคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลำดับที่ รายนาม ระยะเวลา (ปี พ.ศ.) อ้างอิง
1 ศาสตราจารย์ ดร. สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ 2547 - 2550
2 ศาสตราจารย์ ดร. สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ 2551 - 2554
3 รองศาสตราจารย์ ดร. สงครามชัย ลีทองดี 2555 - 2558
4
รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยา อยู่สุข 2558 - 2563
5 รองศาสตราจารย์ ดร. สุมัทนา กลางคาร 2563 - ปัจจุบัน

  • บริการสุขภาพในประเทศไทย

  1. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (12 ตุลาคม 2558). (รายงาน). ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. pp. 36. . เรียกข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.
  2. ที่ยูทูบ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ University of Community Health Magway, Mynmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์)
  3. . คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  4. (RAR). คณะสาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). มีนาคม 2559. . เรียกข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.
  5. . คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑,. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.
  7. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, , 31 มีนาคม 2564
  8. (PDF). สำนักงาน ก.พ. กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  9. (PDF). สำนักงาน ก.พ. กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  10. . คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  11. . สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 26 ธันวาคม 2546. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  12. . สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6 ธันวาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  13. . สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate= (help)
  14. . สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 18 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.Check date values in: |accessdate=, |date= (help)

  • ที่เฟซบุ๊ก
  • ที่เฟซบุ๊ก
  • ที่เฟซบุ๊ก

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มมส เรียนกี่ปี

ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีแรกที่คณะได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และ วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและความปลอดภัยในอาหาร) 4 ปี ระบบปกติและระบบพิเศษ และคณะยังได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (เสาร์ – อาทิตย์) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ที่ศูนย์การศึกษาจังหวัดสระบุรี

ม.สารคามมีสาขาอะไรบ้าง

คณะวิทยาการสารสนเทศ ศศ.บ. สารสนเทศศาสตร์ 13,500 วท.บ. เทคโนโลยีสารสนเทศ 13,500 วท.บ. วิทยาการคอมพิวเตอร์ 15,000 วท.บ. สื่อนฤมิต 13,500 วท.บ. ภูมิสารสนเทศ 13,500 นศ.บ. นิเทศศาสตร์ 13,000. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 15,000 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ 18,000 คณะการบัญชีและการจัดการ

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เรียนกี่ปี

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต - 4 ปี ภาคปกติ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์) เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (สายวิทย์-คณิต/สายศิลป์) ปวช. /ปวส. /กศน. อาชีพที่รองรับ

ป.โท มมส มีคณะอะไรบ้าง

ระดับปริญญาโท.
คณะศึกษาศาสตร์.
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.
คณะวิทยาศาสตร์.
คณะเทคโนโลยี.
คณะวิศวกรรมศาสตร์.
คณะสาธารณสุขศาสตร์.
คณะการบัญชีและการจัดการ.
คณะแพทย์ศาสตร์.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita