พฤติกรรมใดที่มีความเสี่ยงต่อระบบกล้ามเนื้อ

1. ไอจาม แรง เจ็บแปล๊บที่หลัง
เวลาที่ไอ หรือจาม จะทำให้ความดันในช่องปอดและช่องท้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้กระดูกสันหลังของเราที่ทำหน้าที่เหมือนตัวรับแรงกระแทกนั้นทำงานหนักขึ้น เมื่อแรงดันในหมอนรองกระดูกสูงขึ้นอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แข็งแรง ผลที่เกิดก็คือ กล้ามเนื้อมีการอักเสบทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือหากร้ายแรงกว่านั้น ผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท เกิดอาการร้าวลงขาร่วมกับอาการชาขึ้นได้

2.ทำพฤติกรรมซ้ำๆ
จะทำให้กล้ามเนื้อของเราทำงานอยู่เพียงกลุ่มเดียว มัดเดียว ซ้ำไปซ้ำมา ก่อให้เกิดการล้าและอักเสบตามมาได้ เช่น โรคอออฟฟิศซินโดรมที่พนักงานออฟฟิศต้องขยับมือยุกยิกจิ้มคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน มักจะเป็นโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือหลังของเราก็เช่นกัน เมื่อต้องรับมือกับพฤติกรรมซ้ำๆ โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องรับหน้าที่แบกของหนัก ก็มีสิทธิ์เกิดอาการปวดหลังรังเรื้อรังได้ไม่ยาก ควรขยับเปลี่ยนท่าให้หลากหลาย พยายามอย่าเคลื่อนที่ในท่าเดิมๆ ซ้ำกันบ่อยๆ นานๆ
3.นั่งนิ่งท่าเดิมนานเกินไป
การนั่งท่าเดิมเป็นระยะเวลานานๆ ไม่ต่างอะไรกับการทำพฤติกรรมซ้ำๆ ท่านั่งเป็นท่าที่ใช้กล้ามเนื้อและมีแรงไปลงที่กระดูกสันหลังสูงกว่าท่ายืนเสียอีก หากเราต้องนั่งนานๆ เช่น การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้น
4.การนอน
โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของเราจะมีการพลิกตัวอัตโนมัติติดตัวมาด้วยแทบจะทุกคน ในกรณีที่ function นี้ไม่ทำงาน เช่น เมาหนัก หลับลึกมาก เวลาตื่นขึ้นมาก็สามารถทำให้ปวดเนื้อปวดตัวได้ จากการที่กล้ามเนื้ออยู่ในท่าๆ เดิมเป็นระยะเวลานาน ที่นอนและหมอนหากใช้ไม่เหมาะสมกับสภาพการนอน ไม่รองรับสรีระของเรา ที่นอนนิ่มไปหรือแข็งไป หมอนที่สูง หรือเตี้ยเกินไปจะทำให้กระดูกคอของเราไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับพื้นผิวการนอน นำมาสู่อาการปวดคอได้ ถ้าคนที่ชอบนอนตะแคงหมอนก็อาจจะต้องสูงกว่าคนที่ชอบนอนหงาย เป็นต้น

5.แฟชั่นคุณสาวๆ
การสะพายกระเป๋าใบใหญ่และหนักเป็นเรื่องปกติที่เจอได้บ่อยๆ เวลาที่เราสะพายกระเป๋าหนักๆ ข้างเดียว ร่างกายของเราจะต้องพยายามรักษาสมดุลของเราไม่ให้เดินเซ นั่นก็คือไหล่ของเราข้างที่สะพายกระเป๋าก็จะยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ สิ่งที่ตามมาก็คือ กล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวข้องก็จะถูกใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการปวดไหล่ นานๆ เข้ากล้ามเนื้อหลังด้านตรงข้ามทำงานหนักก็ก่อให้เกิดอาการปวดขึ้นมา การใส่รองเท้าส้นสูง ยิ่งสูงมากเท่าใด กล้ามเนื้อหลังและสะโพกก็ต้องทำงานหนักขึ้น ไม่ให้ตัวเราล้มไปข้างหน้า จึงไม่แปลกเลยที่คนใส่ส้นสูงเป็นประจำจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง
6.สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง แต่ ณ ตอนนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดอธิบายกลไกได้อย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยง กล้ามเนื้อกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังด้านนอกมีปัญหา ไม่สามารถนำพาออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงอวัยวะดังกล่าวได้เต็มที่ เร่งให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนเวลาอันควร ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคปวดหลังเรื้อรังได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
7.หนุ่มสาวร่างอวบ น้ำหนักตัวเกิน
เวลาที่น้ำหนักเราเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวก็จะไปลงที่หลังมากขึ้นขณะที่เราทำกิจวัตรประจำวัน ดังนั้น ไม่ว่าเราจะนั่ง จะยืน เราก็ต้องแบกน้ำหนักอันนี้ไว้ตลอด กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักขึ้นในขณะที่กล้ามเนื้ออ่อนแอลงเพราะไม่มีการออกกำลัง ทำให้เกิดอาการปวดหลังจาก กล้ามเนื้อได้ อีกด้านหนึ่งกระดูกสันหลังของเราก็ต้องแบกรับน้ำหนักนี้ไว้มากขึ้นด้วย ทำให้เกิดการเสื่อมได้เร็วขึ้น นำมาซึ่งอาการปวดจากกระดูกสันหลังเสื่อมได้เช่นกัน

8.คอกาแฟแบบเกินพิกัด
จริงๆ แล้วการดื่มกาแฟไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับอาการปวดหลัง แต่ในหลายๆงานวิจัยบอกว่ากาแฟจะเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุอ้อมๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ การดื่มกาแฟในระดับปกติไม่ส่งผลต่อโรคกระดูกพรุน จากการวิจัย คือ ทาน caffeine >330mg/วัน (ประมาณ 4 แก้วต่อวัน) ขึ้นไปในคนสูงอายุจึงจะมีปัจจัยเสี่ยง
เมื่อเกิดอาการกระดูกพรุนแล้ว สิ่งที่ตามมา คือ กระดูกจะเปราะบางไม่แข็งแรง ทำให้การกระทบกระแทกในชีวิตประจำวันส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการแตกในระดับเล็กๆ ที่เรียกว่า microfracture ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง หรือถ้ารุนแรงขึ้น เช่น หกล้มก้นกระแทก, นอนตกเตียง หรืออีกมากมายก็สามารถทำให้กระดูกสันหลังยุบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังแบบเฉียบพลันขึ้นมาได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ กระดูกและข้อ

ใครที่เคยมองว่าอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับกระดูกเป็นเรื่องของผู้สูงอายุคงต้องคิดใหม่ เพราะปัจจุบันเราพบว่าประชากรวัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยทำงานมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาความผิดปกติ อันเกี่ยวเนื่องกับกระดูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อาการปวดหลังและคอ ไปจนถึง โรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคกระดูกสันหลังคดงอผิดปกติ หรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุสำคัญของอาการเจ็บป่วยก่อนวัยเหล่านี้ มักเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวันนั่นเอง

และนี่คือพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง หากคุณไม่อยากเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกระดูกที่จะตามมา
 

การนั่ง

นั่งไขว่ห้างจะทำให้เกิดการกดทับน้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่งเป็นผลให้กระดูกคดและโค้งงอ โดยเฉพาะ กระดูกสันหลังและบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้มีอาการปวดคอและหลังตามมานั่งกอดอกจะทำให้กระดูกหลังช่วงบนสะบักและหัวไหล่ถูกยืดออก ผลก็คือหลังช่วงบนจะงองุ้มและกระดูก ช่วงคอยื่นไปข้างหน้า ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเส้นประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงที่แขน และอาจเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อที่มืออ่อนแรงและเกิดอาการชา ทั้งนี้ หากกระดูกช่วงคอเกิดการผิดรูป ก็จะทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง และส่งผลเสียต่อการทำงานของหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง นำไปสู่อาการปวดศีรษะเรื้อรังหรือไมเกรนได้    นั่งหลังงอหรือหลังค่อมโดยเฉพาะในกรณีที่นั่งในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่นการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง ซึ่งจะก่อให้เกิดการคั่งของกรดแลคติก ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณหัวไหล่ และสะโพก และอาจทำให้กระดูกผิดรูปอีกด้วย   นั่งบนเก้าอี้โดยไม่พิงพนักหรือนั่งไม่เต็มก้นการนั่งในลักษณะนี้ ทำให้ฐานในการรับน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่หลังทำงานหนักกว่าปกติ และเกิดเป็นผลเสียต่อกระดูกสันหลัง ทางที่ดีนั้น ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น พร้อมเอนหลังไปที่พนักพิง เพื่อให้ร่างกายถ่ายน้ำหนักบางส่วนไปที่เก้าอี้ แทนที่จะทรงตัวด้วยกระดูกสันหลังเท่านั้น
 

การยืน

ยืนหลังค่อมหรือแอ่นตัวไปข้างหน้าจะทำให้ปวดหลังและเกิดความผิดปกติของแนวกระดูกช่วงล่าง การยืนหลังตรง และเกร็งหน้าท้องเล็กน้อยจะดีที่สุดยืนโดยลงน้ำหนักไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่งการยืนในลักษณะนี้จะส่งผลเสียต่อขาข้างที่ได้รับการทิ้งน้ำหนัก และอาจนำไปสู่อาการปวดและเป็นตะคริวได้ ท่ายืนที่ถูกต้องนั้น ควรยืนให้ขากว้างเท่ากับสะโพกโดยลงน้ำหนักไปที่ขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน เพื่อความสมดุลของร่างกาย
 

แฟชั่นอันตราย

ใส่รองเท้าส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่งสำหรับสุภาพสตรีการใส่ส้นสูงอาจช่วยเสริมสร้างบุคลิกให้ดูสง่าขึ้นแต่ข้อเสียก็คือการใส่รองเท้าที่สูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังที่เกิดจากความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังได้สะพายกระเป๋าหนักเพียงข้างเดียวกระเป๋าสะพายกับผู้หญิงนับเป็นของคู่กัน แต่หากใช้กระเป๋าที่หนักจนเกินไป และสะพายไว้บนไหล่เพียงข้างเดียว อาจทำให้เกิดการเจ็บปวดบริเวณหัวไหล่ เนื่องจากกล้ามเนื้อ และกระดูกต้องรับน้ำหนักมากจนทำให้กระดูกคดงอได้ วิธีที่เหมาะสม คือ เลือกใช้กระเป๋าน้ำหนักเบา บรรจุของในกระเป๋าแต่พอดี และสลับด้านสะพายระหว่างข้างซ้ายและขวาให้เท่า ๆ กัน
 

การนอน

นอนคว่ำโดยเฉพาะการนอนคว่ำเพื่ออ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากจนผิดปกติ ทั้งยังก่อให้ เกิดอาการปวดคอและปวดหลังอีกด้วยนอนขดตัวคุดคู้การนอนหดแขนและขาจะทำให้กระดูกสันหลังบิดงอผิดรูป และเกิดอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อได้ ท่านอนที่ถูกต้องนั้น แนะนำให้นอนหงายและใช้หมอนหนุนศีรษะที่ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการนอนบนหมอนที่สูงเกินไป    นอนดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ

คนทั่วไปมักติดนิสัยนอนเอนหลังดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนไถลตัวไปบนโซฟาหรือเตียงนอน ทำให้ต้องงอลำคออันอาจเป็นผลให้กระดูกคอสึก และเกิดอาการปวดหลัง เพราะกระดูกหลังแอ่น

พฤติกรรมใดเสี่ยงต่อระบบกล้ามเนื้อ

อยากให้ร่างกายแข็งแรงต้องขยับร่างกายบ่อยๆ พฤติกรรมการนั่งนาน ทำกิจกรรรมซ้ำๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย เสี่ยงการเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) ทั้งการนั่งทำงานนานๆ นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ นั่งเล่นสมาร์ทโฟน จึงทำให้คนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่มักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก

การกระทำใดเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อและกระดูก

นั่งหลังงอหรือหลังค่อม โดยเฉพาะในกรณีที่นั่งในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่นการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง ซึ่งจะก่อให้เกิดการคั่งของกรดแลคติก ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณหัวไหล่ และสะโพก และอาจทำให้กระดูกผิดรูปอีกด้วย

พฤติกรรมใดที่มีความเสี่ยงต่อระบบโครงกระดูก

บุคลิกภาพที่เราทำอยู่ปัจจุบันหรือทำมาตั้งนานแล้ว อาจส่งผลต่อกระดูกเราโดยไม่รู้ตัว เช่น การนั่งไขว่ห้าง หรือ การสวมรองเท้าส้นสูงจะทำให้ผู้หญิงเดินอย่างมั่นใจ สง่า แต่บางทีการกระทำเหล่านั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อกระดูกในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง หรือ นอน ก็มีโอกาสที่จะทำลายกระดูกได้ทั้งนั้น

พฤติกรรมใดที่ก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่อง แล้วยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita