เครื่องมือเจาะงานไม้มีอะไรบ้าง

เครื่องมือประเภทเจาะ

เครื่องมือประเภทเจาะ มีดังนี้

สว่าน ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่สกรูหรือเดือย มีดังนี้

1.สว่านมือหรือสว่านเฟือง ใช้สำหรับเจาะรูขนาดเล็ก

2.สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือเจาะที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ใช้เจาะวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต ปูน โลหะ ไม้ และพลาสติก ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน

3.สว่านข้อเสือ มีลักษณะเป็นรูปตัวยู มีคันหมุน ต้องใช้ร่วมกับดอกสว่านที่มีขนาด ระหว่าง ¼ - 1 นิ้ว มักใช้ในงานไม้

   สว่านมือหรือสว่านเฟือง 

สว่านไฟฟ้า

สว่านข้อเสือ

ดอกสว่านมี 19 เบอร์ เริ่มจากเบอร์ที่ 1-1.5-2-2.5-3 จนกระทั้งถึงเบอร์ที่ 10 

 ดอกสว่านมี 3 ชนิด              

1. ดอกสว่านเจาะโลหะ 
- ดอกสว่านแบบ HS High Speed ใช้สำหรับเจาะวัตถุเช่น ไม้ พลาสติก 
- ดอกสว่านแบบ HSS Hih Speed Steel ใช้สำหรับเจาะเหล็กชนิดต่าง ๆ เช่น เหล็กแผ่น เหล็กอ่อน เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ มีความแข็งสูงมาก 
2. ดอกสว่านเจาะปูน 
3. ดอกสว่านเจาะไม้ ดอกสว่านที่ใช้งานจะมีหลายขนาด การนำไปใช้งานต้องคำนึงถึงความเร็วที่จะใช้เจาะรูด้วย - ดอกสว่าน ขนาดเล็ก ใช้ความเร็วในการเจาะ สูง - ดอกสว่าน ขนาดใหญ่ ใช้ความเร็วในการเจาะ ต่ำ 

การใช้และบำรุงรักษา

1. ลับดอกสว่านให้คมอยู่เสมอ โดยการใช้หินเจียร

2. ถอดดอกสว่านออก แล้วหมุนหัวจับดอกสว่านให้เข้าที่ หลังการใช้งานทุกครั้ง

3. ทาจารบีที่เฟืองและหัวจับดอกสว่านเดือนละครั้ง

4. เลือกดอกสว่านให้มีฟันเลี้อยและคมจิกที่เหมาะสมกับงาน

5. เลือกความเร็วรอบให้เหมาะสมกับชนิดของวัสดุ และขนาดของรูที่จะเจาะ

6. ไม่ควรใช้มือดึงเศษโลหะในขณะทำการเจาะ

7. ถ้าสว่านติดขัดกับรูเจาะควรปิดสวิทส์ทันที

8. ก่อนเจาะควรตอกเหล็กนำศูนย์ตามตำแหน่งต้องการเจาะเสียก่อน

9. จับชิ้นงานให้แน่น

10.ควรให้คมตัดทั้งสองเริ่มตัดเจาะในตำแหน่งที่ถูกต้อง

เครื่องมือเจาะ

เครื่องมือเจาะ (DRILL TOOLS) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเจาะชิ้นงานที่เป็นโลหะหรือไม้ เพื่อให้ได้รูตามที่ต้องการ มีดังนี้ คือ

สว่าน ( DRILLS)

สว่านเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานช่างทุกสาขา ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่นอต สกรู เดือย มีหลายแบบ ดังนี้

•  สว่านข้อเสือ (BIT BRACE) เป็นเครื่องมือเจาะรูที่ออกแบบใช้ร่วมกับดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 – 25 มม. สว่านข้อเสือมีลักษณะพิเศษคือ คันสว่านมีลักษณะคล้ายตัวยู (U) เป็นการเพิ่มระยะการหมุนได้กว้างได้แรงเพิ่มขึ้น เหมาะสำหรับใช้เจาะไม้

รูปแสดงสว่านข้อเสือ (มนตรี และศิริรัตน์. งานช่าง, 2548:3 1 )

•  สว่านเฟือง หรือสว่านจาน (HAND DRILL) เป็นเครื่องมือเจาะรูที่ออกแบบให้ใช้ร่วมกับดอกสว่านขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม. ใช้เจาะรูให้มีขนาดตามต้องการ เพื่อนำรูวัสดุหรือรูยึดอุปกรณ์ประกอบชิ้นงาน เช่น นอต ตะปู

รูปแสดงสว่านเฟือง (มนตรี และศิริรัตน์. งานช่าง, 2548:3 1 )

•  สว่านไฟฟ้า (ELECTRIC DRILL) เป็นเครื่องมือเจาะแบบเครื่องจักร (MACHINE TOOLS) ใช้กำลังขับจากมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้ในการเจาะรูในงานโลหะหรืองานไม้ ปัจจุบันสว่านไฟฟ้าเป็นที่นิยมและใช้กันมากกว่าสว่านชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประสิทธิภาพการทำงานสูง

รูปแสดงสว่านไฟฟ้า (อารมณ์.ภาพถ่ายดิจิตอล, 2550)

วิธีการใช้สว่าน

•  ก่อนเจาะทุกครั้งควรใช้เหล็กตอกนำศูนย์ตรงจุดที่ต้องการเจาะ เพื่อให้ดอกสว่านลงถูกตำแหน่ง

•  ควรจับเครื่องเจาะให้กระชับและตรงจุดที่เจาะ

•  การเจาะต้องออกแรงกดให้สัมพันธ์กับการหมุน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้

•  ในการเจาะชิ้นงานให้ทะลุทุกประเภทจะต้องมีวัสดุรองรับชิ้นงานเสมอ

•  ควรเลือกใช้ดอกสว่านให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงาน

•  ไม่ควรใช้ดอกสว่านผิดประเภท เช่น ดอกสว่านเจาะคอนกรีตไม่ควรนำไปเจาะเหล็ก เป็นต้น

การจัดเก็บและบำรุงรักษา

•  ตรวจสอบตรวจซ่อมสว่านให้มีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

•  ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง

•  ก่อนนำไปเก็บให้ชโลมนำมันเครื่องใสทุกครั้ง

สิ่ว (CHISELS)

สิ่วเป็นเครื่องมือใช้สำหรับเจาะไม้ แต่งปากไม้ มีหลายชนิด ดังนี้

•  สิ่วปากบาง (Parting Chisel) สิ่วปากบางเป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่งที่ออกแบบใบสิ่ว ให้มีความคมมากกว่าสิ่วเจาะ มุมของใบสิ่ว 25-30 องศา เหมาะสำหรับเจาะ เฉือน แต่งระดับผิวไม้ให้เรียบ

รูปแสดงสิ่วปากบาง (มนตรี และศิริรัตน์. งานช่าง, 2548:31 )

•  สิ่วเจาะ (Mortise Chisel) สิ่วเจาะเป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบใบสิ่วไว้ใช้เจาะแต่งไม้ให้เป็นรู มีความคมและแข็งแรง

รูปแสดงสิ่วเจาะ (มนตรี และศิริรัตน์. งานช่าง, 2548:30 )

•  สิ่วเล็บมือ (Gouge Chisel) สิ่วเล็บมือเป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบใบสิ่วคล้ายเล็บมือ จึงเรียกว่า “ สิ่วเล็บมือ ” ใช้สำหรับเจาะ เฉือน แชะ ตกแต่งผิวไม้ให้เป็นร่องโค้งมนหรือกลม สิ่วเล็บมือมี 2 แบบ คือ แบบมุมโค้งภายนอกและแบบมุมโค้งภายใน

รูปแสดงสิ่วเล็บมือ (มนตรี และศิริรัตน์. งานช่าง, 2548:30 )

วิธีการใช้สิ่ว

•  การใช้สิ่วทุกชนิดในการทำงาน จะต้องจับด้ามสิ่วให้กระชับและตรงกับรอยที่ต้องการเจาะหรือตกแต่ง

•  การตอกสิ่วเพื่อเจาะชิ้นงาน ควรให้สิ่วกินเนื้อไม้แต่เพียงเล็กน้อยจนครอบคลุมร่องที่จะเจาะแล้วจึงทำการเจาะ ทั้งนี้การเจาะแต่ละครั้งไม่ควรเจาะให้ลึกทีเดียว เพราะจะทำเกิดอันตรายได้

•  การใช้สิ่วปากบางตกแต่งชิ้นงานต้องแน่ใจว่าชิ้นงานที่จะปฏิบัติปราศจากเศษโลหะหรือตะปูซึ่งจะทำให้ปากสิ่วบิ่นหรือหักได้ และอาจทำให้เกิดอันตราย

•  ไม่ควรนำสิ่วไปใช้งานผิดประเภท เพราะอาจทำให้สิ่วเสียหายได้

การจัดเก็บและบำรุงรักษา

•  ตรวจสอบตรวจซ่อมสิ่วให้มีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

•  ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง

•  ก่อนนำไปเก็บให้ชโลมนำมันเครื่องใสทุกครั้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita