ค่า ใช้ จ่าย งาน แต่งงาน มี อะไร บ้าง

          การจัดพิธีมงคลสมรสช่วงเช้าให้ออกมาสมบูรณ์แบบและราบรื่นมากที่สุดนั้นเรียกได้ว่าจะต้องจัดการวางแผนการเงินและทำงบประมาณตั้งแต่เนิ่นๆ เลยนะคะ เพราะนอกจากเรื่องของฤกษ์ยาม สถานที่จัดงาน อาหาร จำนวนแขก และชุดบ่าวสาวแล้ว ยังมีรายละเอียดยิบย่อยอื่น ๆ อีกมาก วันนี้เราจึงคำนวณค่าใช้จ่ายงานแต่งงานตอนเช้าแบบคร่าวๆ ให้ทุกคนได้เตรียมตัวเก็บเงินล่วงหน้ากัน จะได้ไม่ต้องมีปัญหางบบานปลายในภายหลัง ซึ่งค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยค่ะ

1. ค่าพิธีการ สถานที่ และสายกั้นประตู 

          เริ่มต้นกันด้วยค่าพิธีการและสถานที่สำหรับจัดงานเช้ากันนะคะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นพิธีหมั้นสวมแหวน พิธีสงฆ์ รดน้ำสังข์ หรือยกน้ำชา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทางโรงแรมจะจัดเป็นแพ็คเกจให้ทางบ่าวสาวได้เลือกขึ้นอยู่กับความต้องการค่ะ โดยค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ที่ 55,000 บาท ซึ่งราคานี้สำหรับงานหมั้นจะรวมค่าอุปกรณ์ เช่น พานแหวน และสายกั้นประตูให้ด้วย แต่บางโรงแรมก็อาจคิดค่าสายกั้นประตูเพิ่มเติม ประมาณเส้นละ 500 บาท ค่ะ 

2. ค่าอาหารว่างสำหรับงานเช้า 

          งบสำหรับค่าอาหารว่างสำหรับงานเช้า ในกรณีที่เป็นโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ที่รวมทั้งชา กาแฟ ข้าวต้ม ติ่มซำ น้ำเต้าหู้ ผลไม้ และของหวาน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ หัวละ 900 บาท ถ้าเชิญแขกมาร่วมงานประมาณ 80 คน ก็จะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมประมาณ 72,000 บาท ค่ะ 

3. ค่าตกแต่งสถานที่ 

          การจัดตกแต่งสถานที่ด้วยดอกไม้สดหรูหราสำหรับโรงแรมระดับ 5 ดาว จะเริ่มที่ 20,000 บาท ค่ะ แต่ถ้าหากบ่าวสาวเลือกใช้ดอกไม้ประดิษฐ์แทนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะถูกลงมาค่ะ 

4. ค่าจ้างคนรันคิว พิธีกร ดูแลงาน 

          แน่นอนว่าในส่วนของงานตอนเช้าลำดับพิธีการจะต้องมีความเป๊ะนะคะ ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับทีมรันคิว พิธีกรดำเนินงาน และสตาฟที่ดูแลความเรียบร้อยของงานจะมีราคาเริ่มต้นประมาณ 15,000 บาท 

5. ค่าช่างแต่งหน้า 

          สำหรับราคาแต่งหน้านั้นก็มีเรทราคาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของช่าง ซึ่งสำหรับช่างที่มีชื่อเสียงระดับหนึ่งจะมีราคาเริ่มต้นประมาณ 25,000 บาท ค่ะ โดยราคานี้ก็จะรวมทั้งค่าแต่งหน้าของทั้งเจ้าสาวและเจ้าบ่าวเลย 

6. ค่าทำผม

          เรื่องผมก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญไม่แพ้หน้าเลยนะคะ โดยช่างทำผมเก่งๆ หรือช่างดังๆ ของดาราจะคิดค่าทำผมรอบละประมาณ 25,000 บาท รวมทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวค่ะ 

7. ค่าชุดสูทเจ้าบ่าวแบบสั่งตัด 

          ในส่วนของชุดสูทเจ้าบ่าวนั้นราคาจะหลากหลายมากค่ะ แต่โดยทั่วไปแล้วการสั่งตัดสูทแบบวัดสัดส่วนพร้อมรวมเสื้อเชิ้ตจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 10,000 บาท 

8. ค่าชุดเจ้าสาวแบบเช่า 

          ส่วนใหญ่แล้วในงานพิธีเช้าเจ้าสาวจะเลือกใส่เป็นชุดไทย ชุดจีน หรือชุดลายลูกไม้สีขาวที่เน้นความคล่องตัวนะคะ เนื่องจากต้องมีการก้มกราบและรับไหว้ตลอดงาน ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไปตามแบบดีไซน์และวัสดุเนื้อผ้า โดยราคาเช่าชุดลูกไม้จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท

9. ค่าช่างภาพ + ถ่ายวิดีโอ 

          สำหรับคู่บ่าวสาวที่ต้องการเก็บภาพในวันงานเป็นความทรงจำ เราขอแนะนำให้เลือกช่างภาพมืออาชีพที่เคยมีประสบการณ์การถ่ายภาพงานแต่งมาก่อนนะคะ เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้รูปที่สวยงาม ภาพออกมาดูดี ซึ่งราคาสำหรับทีมงาน 3 คนจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท โดยเรทราคานี้จะได้ภาพที่แต่งสวยๆ มาเรียบร้อยแล้วประมาณ 100 รูป 

10. ค่าอุปกรณ์ขันหมาก 

          ปิดท้ายด้วยค่าอุปกรณ์ขันหมากสำหรับพิธีไทยที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องเตรียมการเองนะคะ เนื่องจากโรงแรมส่วนใหญ่จะไม่รวมชุดขันหมากอยู่ในแพ็คเกจ ซึ่งถ้ารวมค่าพาน ดอกไม้ต่างๆ ต้นกล้วย และขนมมงคลนานาชนิด จะมีราคาคร่าวๆ ประมาณ 10,000 บาท ค่ะ 

          และทั้งหมดนี้คือภาพรวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณของงานแต่งงานตอนเช้านะคะ ซึ่งหากรวมรายละเอียดทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายคร่าวๆ อยู่ที่ 272,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนเงินท่ีไม่น้อยเลยนะคะ ดังนั้น คู่บ่าวสาวจะต้องวางแผนการใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุด 

          นอกจากงบสำหรับการจัดงานแต่งงานแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลย ก็คือ “แหวนแต่งงาน” นั่นเองค่ะ โดยแหวนเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไปที่ถูกเจียระไนอย่างสวยงามจะมีราคาเริ่มตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป หากว่าที่คู่บ่าวสาวสนใจอยากจะขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกแหวนแต่งงานหรือแหวนเพชรสามารถแวะมาที่หน้าร้าน Pattana Gems ดิโอลด์สยามพลาซ่า ชั้น 1 ห้อง E112 ได้นะคะ เพราะเรามีเพชรเกรดคุณภาพ หลากหลายดีไซน์ ราคาจากผู้ผลิต ให้คุณได้เลือก รับรองว่าได้แหวนแต่งงานที่เปี่ยมไปด้วยความหมายและถูกใจคุณทั้งสองอย่างแน่นอนค่ะ 

ความรักอาจไม่ใช่เรื่องของเงินทอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแต่งงานและการสร้างครอบครัวนั้นต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยเลยล่ะครับ การวางแผนแต่งงานและการตั้งงบแต่งงานจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคู่รักทุกคู่ที่ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะทุกขั้นตอนล้วนมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมให้พร้อม โดยเริ่มจากการตั้งงบก่อนแต่งงาน ทั้งค่าใช้จ่ายระยะสั้นอย่างการจัดงานแต่งงาน และค่าใช้จ่ายระยะยาวหลังจากเป็นครอบครัวเดียวกัน

แต่วันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ค่าใช้จ่ายระยะสั้นหรือให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การตั้งงบแต่งงานนั่นเองล่ะครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่อาจต้องใช้เวลาเก็บออมกันล่วงหน้าหลายปีเลยทีเดียว

1. ตั้งงบแต่งงานไว้ บนความต้องการที่เป็นไปได้

การแต่งงาน ไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่ก็ต้องมีการ “ตั้งงบแต่งงาน” ไว้ก่อนเพื่อให้เราได้วางแผนล่วงหน้าซึ่งจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลาย และทำให้เรารู้ตัวว่าแต่ละเดือนทั้งคู่ต้องเก็บเงินเท่าไหร่เพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้น ต้องใช้เวลาเก็บเงินกี่ปี โดยแนะนำว่าในขั้นตอนนี้ควรคุยกันเพื่อให้ทราบความต้องการและ “ความคาดหวัง” ของกันและกันว่าจะต้องตั้งงบแต่งงานเท่าไร จึงจะพอสำหรับคุณทั้งคู่

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้คุยกันเรื่องความคาดหวังของแต่ละฝ่ายแล้ว จึงตั้งงบแต่งงาน กางแผนค่าใช้จ่ายและรายได้ออกมา เช่น เราตั้งงบแต่งงานไว้ว่า จะจัดงานที่เชิญแขกไม่เกิน 200 คน ไม่ใช้ออแกไนเซอร์ มีเงินช่วยเหลือสมทบจากผู้ใหญ่บ้าง แผนค่าใช้จ่ายในงานแต่งที่ได้หน้าตาจะออกมาประมาณนี้ครับ

  Estimated Actual
รายได้    
เงินที่ทั้งคู่ตั้งใจจะเก็บ/ เดือน ฿ 10,000  
เงินสมทบจากผู้ใหญ่ (ถ้ามี) ฿ 100,000  
คำนวณระยะเวลาที่ต้องเก็บเงิน 3.3 ปี  
รวมรายได้ 500,000  
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด    
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 500,000  
การแต่งกายตามธรรมเนียม    
แหวนแต่งงาน 50,000  
ชุดพิธีหมั้น เจ้าสาว เจ้าบ่าว 15,000  
ชุดงานแต่ง เจ้าสาว เจ้าบ่าว 15,000  
ชุดเพื่อนเจ้าสาว เพื่อนเจ้าบ่าว 10,000  
ของประดับตกแต่งเจ้าสาว อื่น ๆ 5,000  
เครื่องประดับ -  
ช่างแต่งหน้า 10,000  
ช่างทำผม 10,000  
Other    
Total Apparel ฿ 115,000  
 
ค่าจัดงาน    
ค่าออแกไนเซอร์ -  
ของประดับตกแต่งงาน (ไม่รวมดอกไม้) 30,000  
การ์ดเชิญ 10,000  
ค่าดีไซน์การ์ดเชิญ -  
ค่าเช่าสถานที่ และอาหารในงาน 100,000  
เค้กงานแต่ง 5,000  
ค่าที่พักให้แขกผู้ใหญ่ 1 คืน x 20 คน 30,000  
ค่าของชำร่วยแจกแขก 200 คน 35,000  
ค่าช่างภาพ (pre-wedding/ on set) 30,000  
ค่าตัดต่อวิดีโองานแต่ง 5,000  
ค่าของรับไหว้ งานเช้า 5,000  
ค่าดอกไม้และจัดดอกไม้ในงาน 30,000  
ค่าดนตรี นักร้อง 30,000  
ค่าช่างเสียง อุปกรณ์เสียง 25,000  
เงินสำรอง 50,000  
Total Decorations ฿ 385,000  

จะเห็นได้ว่า เมื่อตั้งงบแต่งงานไว้แล้ว ทั้งคู่ต้องใช้เวลาเก็บเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในงานแต่งประมาณ 3.3 ปี โดยเก็บเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท (เท่ากับเก็บเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือน) ซึ่งในแผนนี้ ในช่องค่าใช้จ่ายควรมีค่าใช้จ่ายสำรองด้วย เผื่อไว้ในยามฉุกเฉินหน้างาน ซึ่ง Template นี้จะมีช่อง Estimated คือการประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เพื่อบริหารเงินไม่ให้งบแต่งงานเกินจากที่ตั้งไว้ และมีช่อง Actual ให้เราได้กรอก คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงครับ ซึ่งช่องรายได้ใน Template นี้จะยังไม่ใส่รายได้จากค่าซองงานแต่งและรายจ่ายที่เป็นค่าสินสอดครับ

สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Template การตั้งงบแต่งงานและวางแผนค่าใช้จ่ายงานแต่ง ได้ง่าย ๆ และนำไฟล์มาปรับแต่งรายละเอียดให้เข้ากับงานของคุณบนโปรแกรม Microsoft Excel ได้ครับ

ส่วนใครที่มีความจำเป็นต้องเร่งให้การแต่งงานเร็วขึ้น บางคนอาจมองหาสินเชื่อส่วนบุคคล แนะนำให้ยื่นกู้กับสินเชื่อที่ได้ดอกเบี้ยต่ำ และไม่ยุ่งยากในการสมัครครับ เช่น สินเชื่อ Krungsri iFIN ที่สามารถยื่นกู้ได้ง่ายผ่านมือถือ และได้วงเงินสูงสุดถึง 5 เท่าของรายได้

2. ควรมีบัญชีเก็บเงินงานแต่งโดยเฉพาะ

เมื่อตั้งงบแต่งงานแล้ว การเก็บเงินคือขั้นตอนสำคัญที่สุดที่จะทำให้งานแต่งเป็นไปได้ ช่องทางการเก็บเงินเป็นงบงานแต่งจึงควรแยกบัญชีออกมาต่างหาก อาจเป็นบัญชีออมทรัพย์ เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า เผื่อเบิกถอนออกมาจ่ายค่ามัดจำต่าง ๆ ในงานแต่ง และควรเป็นบัญชีที่ต้องใช้ลายเซ็นทั้งคู่ในการถอนเงินครับ

3. คอนเนคชั่น = สปอนเซอร์

หลายคนพบว่า คอนเนคชั่นเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน หรือช่วยทำให้งานออกมาตรงตามความต้องการมากขึ้น เช่น การมีเพื่อนเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ ที่สามารถช่วยออกแบบการ์ดเชิญให้ในราคาประหยัด การมีเพื่อนรู้จักช่างภาพเวดดิ้งที่มีฝีมือและคุณภาพสมราคา การมีเพื่อนรู้จักออแกไนเซอร์ที่รับจัดงานเล็ก ๆ หรือจัดดอกไม้งานแต่ง หรือการที่เรารู้จักช่างแต่งหน้าทำผมฝีมือดี เป็นต้น

4. แยกงานผู้ใหญ่ กับงานเด็ก

ต้องยอมรับครับว่า งานแต่งงานเป็นความคาดหวังของคนหลายฝ่าย ไม่ใช่แต่เฉพาะเจ้าบ่าวเจ้าสาวอย่างเดียว การตั้งงบแต่งงานจึงต้องคิดถึงความต้องการของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายด้วย ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจทำให้งบงานแต่งงานบานปลาย จึงเริ่มมีคนนิยม “จัดงานหมั้นเช้า จัดงานแต่งบ่าย” เพื่อแยกกลุ่มแขกเหรื่อในงาน ให้งานเช้าเป็นงานที่ให้เกียรติผู้ใหญ่ให้มาเป็นสักขีพยาน ส่วนงานบ่ายก็เป็นงานที่เพื่อนของคู่บ่าวสาวได้ปาร์ตี้กันไป ด้วยบรรยากาศที่เรียบง่ายแต่เป็นกันเอง ซึ่งหลายครั้งจะพบว่าการจัดงานแนวนี้ช่วยประหยัดงบในการแต่งงานไปเยอะเลยครับ

5. เซฟค่าอาหารในงาน อย่ามองผ่าน ‘สตรีทฟู้ด’

สตรีทฟู้ดบ้านเราบางร้านเป็นระดับมิชลินสตาร์ แถมได้รับการยกย่องจากต่างชาติว่าเด็ดสุด ๆ การจัดงานแต่งแบบเน้นสตรีทฟู้ด ช่วยให้เราได้คัดสรรอาหารจากร้านที่น่าทานและรสชาติดีจริง ๆ รวมกันสักไม่เกินสิบร้านก็น่าจะสร้างความพึงพอใจให้แขกในงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในงานแต่งได้มากกว่าโต๊ะจีนครับ

6. งานเล็กหรือใหญ่ ก็ทำให้ ‘ประทับใจ’ ได้

สังเกตไหมครับ ความเล็กหรือใหญ่ของงาน ไม่ได้เป็นตัววัดความประทับใจที่เรามีต่องานนั้น ๆ เสมอไป บางครั้งเราไปงานแต่งเพื่อนที่จัดขึ้นเล็ก ๆ แต่บรรยากาศเป็นงานแต่งในฟาร์มสเตย์เก๋อย่าบอกใคร มีแขกไม่เกินสามสิบคน แต่ก็จัดออกมาให้ดูอบอุ่นประทับใจจนอยากบอกต่อ หากเราเน้นจัดงานเล็ก อาจทำให้ควบคุมบรรยากาศของงานและตั้งงบแต่งงานได้ง่ายกว่า โดยอาจจะไม่ต้องอาศัยวิดีโอพรีเซนเทชั่นใด ๆ เลยก็ได้

สำหรับคู่รักที่กังวลว่า จัดงานแต่งงานต้องใช้งบเท่าไหร่ และควรจะตั้งงบแต่งงานอย่างไรจึงจะครอบคลุม เพราะคุณอาจมีงบในส่วนนี้ไม่มากนัก อาจต้องลดค่าใช้จ่ายในบางส่วนที่สามารถประหยัดได้ เช่น การเลือกสถานที่จัดงานในสวนหรือร้านอาหาร แทนการจัดงานในโรงแรมที่มีราคาสูง วางแผนล่วงหน้าเพื่อจัดงานด้วยตนเองโดยไม่ต้องจ้างออแกไนเซอร์ เน้นเชิญครอบครัวและเพื่อนสนิทมาร่วมงาน อย่านำเงินก้อนไปทุ่มเทกับการจัดงานแต่งงานครั้งเดียวจนหมด

เพราะแม้ว่าการแต่งงานจะเป็นวาระสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ที่สำคัญกว่าคือภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวหลังการแต่งงาน

เมื่อคู่รักกลายเป็นครอบครัว ยิ่งถ้ามีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมาด้วยแล้ว นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในทุกส่วน นอกจากจะตั้งงบแต่งงานแล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะวางแผนการเงินให้รอบคอบตั้งแต่ก่อนแต่ง เพราะในระยะยาวยังต้องมีค่ารถคันใหม่หรือบ้านหลังใหม่ ค่าเทอมของลูกที่เพิ่มเข้ามา รวมถึงค่ารักษาพยาบาลเมื่อลูกเจ็บป่วยครับ

Credit: decor.mthai, the money case by the money coach, wedding-campus

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita