เครื่องมือที่ใช้วัดพื้นที่มีอะไรบ้าง

เครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรมถูกพัฒนามาเป็นเครื่องวัดที่มีการแสดงค่าโดยใช้สเกลและมีเข็มชี้ หรือเรียกว่าเครื่องวัดระบบอนาล็อก หรือ Analog Instrument ซึ่งใช้มาอย่างยาวนาน และได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องให้หลายรูปแบบแสดงค่าออกมาเป็นระบบตัวเลขบนหน้าจอระบบดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Digital Instrument

บทความนี้จะนำเสนอ 5 เครื่องมือวัดพื้นฐาน ที่คุณต้องทำความรู้จักและควรมีไว้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานของการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและช่วยควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน

เลือกซื้อ เครื่องมือวัด อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สำหรับการเลือกซื้อเครื่องมือวัดโดยพื้นฐานแล้วต้องคำนึงถึงการใช้งานก่อน โดยให้พิจารณาว่าเครื่องมือวัดชนิดใดเหมาะกับงานของคุณบ้าง และจากนั้นให้คำนึงมาตรฐานการวัดว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้แล้วยังมีข้อแนะนำอีก 4 ข้อที่คุณต้องทราบก่อนทำการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องมือวัดพื้นฐาน

  1. เชื่อถือได้ (Reliability)

ความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยหลักของการเลือกซื้อเครื่องมือวัด เนื่องจากเครื่องมือวัดจะแสดงค่าที่คนไม่สามารถคำนวณออกมาได้ด้วยตาเปล่า จึงต้องอาศัยการใช้งานเครื่องมือวัดเพื่อให้ได้ค่าที่เชื่อถือได้

  1. ความไวในการวัด (Sensitivity)

เครื่องมือวัดบางชนิดจำเป็นต้องให้ค่าการอ่านในทันทีทันใดเช่น เครื่องวัดอุณหภูมิที่ต้องเปลี่ยนแปลงทันทีเมื่ออุณหภูมิแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือเครื่องมือวัดที่ทำงานโดยระบบดิจิทัล ก็ต้องมีการให้ค่าตัวเลขอย่างรวดเร็วในขณะที่ทำการวัด

  1.  ความถูกต้อง (Accuracy)

แม้ว่าเครื่องมือวัดแต่ละชนิดจะให้ค่าออกมาตามการวัด แต่ตัวเลขที่ได้อาจไม่มีความถูกต้อง ซึ่งเกิดจากความคลาดเคลื่อน ทำให้ได้ตัวเลขที่ไม่แน่นอนหรือตัวเลขที่ผิดพลาดไปจากที่ต้องการ ดังนั้นเครื่องวัดที่มีมาตรฐานควรให้ค่าตัวเลขที่ตรงตามความเป็นจริงและมีความถูกต้อง

  1. ความเที่ยงตรง (Precision)

ความเที่ยงตรงของเครื่องวัดเป็นการแสดงค่าการวัดออกมา ให้ได้ค่าตามเดิมทุกครั้งที่ทำการวัดกับอุปกรณ์หรือระบบที่ต้องการวัด

แนะนำ 5 เครื่องมือวัด พื้นฐานที่ควรมีในภาคอุตสาหกรรม

1. ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)

ไมโครมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความละเอียดที่สามารถวัดได้ทั้งความกว้าง ยาว หรือความหนาของวัตถุที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียดสูง โดยพื้นฐานการทำงานของไมโครมิเตอร์อาศัยหลักการเคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของเกลียว แล้วแสดงผลจากระยะที่เคลื่อนไปได้ออกมาเป็นตัวเลขของขนาดวัตถุที่ทำการวัด

ปัจจุบันนี้ไมโครมิเตอร์มีการออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลากหลายลักษณะ เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยแบ่งตามชนิดของไมโครมิเตอร์ตามระบบการทำงานได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ ไมโครมิเตอร์ระบบสเกล กับไมโครมิเตอร์ระบบดิจิทัล (Digimatic Micrometer) 

อ่านเพิ่ม : วิธีการเลือกใช้ Caliper / Micrometer

เลือกชมสินค้าไมโครมิเตอร์ 

2. คาลิปเปอร์ (Caliper)

คาลิปเปอร์ เป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานมีการใช้งานมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับวัดขนาดทางด้านมิติ ที่ให้ความละเอียดในการวัดเป็นค่าตัวเลขออกมาเป็นหน่วยมิลลิเมตรและนิ้ว และสามารถใช้วัดได้หลากหลายลักษณะรวมอยู่ในเครื่องมือชิ้นเดียวทั้งขนาด ความยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง รวมถึงความลึกของวัสดุ

นอกจากนี้ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างสะดวกและให้ค่าที่แม่นยำ เหมาะกับงาน เช่น งานกลึง งานประกอบชิ้นส่วน โดยในปัจจุบันมีคาลิปเปอร์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอยู่  3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไดอัลคาลิปเปอร์ (Dial Caliper) และดิจิทัลคาลิปเปอร์ (Digimatic Caliper)

อ่านเพิ่ม : เวอร์เนียคาลิปเปอร์ใช้งานอย่างไร? , วิธีการเลือกใช้ Caliper / Micrometer

เลือกชมสินค้าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์  

3. ไฮเกจ (Height Gauge)

ไฮเกจ เป็นเครื่องมือวัดขนาดความสูงสำหรับงานโมเดลหรืองานร่างแบบ (Lay-out) ก่อนทำการผลิตจริง โดยที่ผู้ทำการวัดสามารถขีดรอยเพื่อกำหนดระยะ ขนาด หรือความสูง บนผิวงานได้ด้วยเหล็กบาก สามารถใช้งานคู่กับโต๊ะระดับหรือแท่นระดับ (Surface Plate) เพื่อให้ได้ระนาบผิวอ้างอิงในการวัด

ในปัจจุบันไฮเกจมีลักษณะเฉพาะของโครงสร้างและระบบการทำงาน โดยถูกแบ่งออก 3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียไฮเกจ ไดอัลไฮเกจ และดิจิทัลไฮเกจ (Digimatic Height Gage)

อ่านเพิ่ม : ไฮเกจคืออะไร? ตอบโจทย์การใช้งานแบบไหน?

เลือกชมสินค้าไฮเกจ

4. ไดอัลเกจ (Dial Gauge)

ไดอัลเกจ หรือนาฬิกาวัดเป็นเครื่องมือวัดที่มีหน้าปัดคล้ายนาฬิกา โดยจะแสดงค่าการวัดจากการเคลื่อนที่ของเข็มที่ติดตั้งบนหน้าปัดเมื่อวางหัวสัมผัสของเครื่องวัดบนวัตถุ ใช้สำหรับวัดความเป็นระนาบ ความขนาน ระยะเยื้องศูนย์ เช่น วัดหาศูนย์ของวัตถุก่อนทำการกลึง ตรวจสอบความเที่ยงศูนย์ ตรวจสอบความขนาน ตรวจสอบขนาด และวัดความเยื้องศูนย์

ในปัจจุบันไดอัลเกจได้รับการจำแนกออกเป็น 2 ชนิดตามหลักการทำงาน ได้แก่ ไดอัลเกจระบบสเกลอนาล็อก และไดอัลเกจระบบดิจิทัล (Digimatic Indicator)

อ่านเพิ่ม : ทำความรู้จักกับไดอัลเกจ เครื่องมือวัดละเอียดในงานผลิต

เลือกชมสินค้าไดอัลเกจ

5. ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ (Dial Test Indicator)

ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ นาฬิกาวัดที่เหมาะกับงานวัดแบบเปรียบเทียบพื้นที่แคบ มีหัวสัมผัสวัดและแกนวัดเป็นลักษณะคานยื่นออกมาจากชุดนาฬิกาวัดเพื่อทำการวัดและตรวจสอบ มีค่าความละเอียดและความถูกต้องสูง

เครื่องมือวัดนี้เหมาะกับงาน เช่น ตรวจสอบความเรียบ ตรวจสอบความขนาน วัดความเยื้องศูนย์ และวัดขนาด  

อ่านเพิ่ม : ทำความรู้จัก ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ คืออะไร? เหมาะกับงานวัดแบบไหน?
เลือกชมสินค้าไดอัลเทสอินดิเคเตอร์

สรุปบทความ เครื่องมือวัด

ในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทำให้เครื่องมือวัดต่างๆ ใช้งานได้ง่าย มีความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรงสูง ซึ่งนอกจากเครื่องมือวัด 5 ชนิดที่ทางเราแนะนำให้กับคุณแล้ว ยังมีเครื่องมือวัดพื้นฐานชนิดอื่นที่แตกต่างไปตามประเภทของอุตสาหกรรมที่คุณสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจากนี้ การเลือกใช้เครื่องมือวัดพื้นฐานควรคำนึงถึงมาตรฐานการรองรับของเครื่องมือวัด ที่ให้ผลลัพธ์การวัดที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่เลือกใช้ เพื่อเป็นพื้นฐานของการควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพอยู่เสมอ

ถ้าคุณสนใจรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ ทางเราพร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่ ด้วยการให้คำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคด้านเครื่องมือและเครื่องจักรกลคุณภาพสูง

บริการด้านการวัดจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือวัดแบรนด์ Mitutoyo ที่เหมาะสมกับโจทย์การผลิตและงบประมาณของลูกค้า พร้อมนำเสนอโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เข้ากับระบบควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

เครื่องมือใดใช้วัดพื้นที่

2.2 เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter)มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่และแสดงค่าบนหน้าปัด

เครื่องคำนวณพื้นที่ ใช้ทําอะไร

- ใช้วัดระยะทาง, คำนวณพื้นที่และคำนวณปริมาตร - ใช้ได้ทั้งมาตราเมตริก และ อังกฤษ - เรียกดูค่าที่ว้ดไว้ก่อนหน้าได้

เครื่องมือชนิดใดใช้วัดระยะทางในแผนที่

เคอร์วิมิเตอร์ (อังกฤษ: curvimeter, opisometer, meilograph) หรือ เครื่องวัดระยะทางในแผนที่ (อังกฤษ: map measurer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดระยะทางหรือความยาวของเส้นในแผนที่

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ มี อะไร บ้าง ป 5

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่แสดงลักษณะของ พื้นผิวโลกและสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยการแสดงลงในวัสดุแบนราบ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita