นโยบายการค้าเสรีมีผลดีและผลเสียอย่างไร

การค้าเสรีในปัจจุบัน
          การค้าเสรีในปัจจุบัน GATT (General Agreement o­n Trade and Tariff) หรือ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องการให้การค้าของโลกดำเนินไปอย่างเสรี บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน คือ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination) ระหว่างประเทศภาคีสมาชิก โดยพิจารณาได้จากบทบัญญัติของ GATT กำหนดหลักการสำคัญไว้ 2 หลักการ ได้แก่ หลักประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation Treatment : MFN) และหลักการประติเยี่ยงคนในชาติเดียวกัน (National Treatment)
          การจัดกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ไม่ว่าจะอยู่ในรูปการเจรจาระดับทวิภาคี (Bilateral Agreement) หรือพหุพาคี (Multilateral Agreement) โดยข้อเท็จจริงของการจัดทำข้อตกลงนับแต่มีการสร้างความเป็นเสรีทางการค้า ให้มากขึ้นระหว่างประเทศ หรือประเทศภายในกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้าต่อประเทศนอกกลุ่ม ข้อตกลงไปได้ หากพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่า WTO อนุญาตให้มีการรวมกลุ่ม หรือทำความตกลงทางการค้าระดับภูมิภาคได้ โดยถือว่าเป็นข้อยกเว้น (Exception) ของ WTO ที่ประเทศสมาชิกสามารถเลือกปฏิบัติได้ (Non-MFN) ระหว่างประเทศในกลุ่ม แต่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน GATT ปี 1994 (พ.ศ.2537) มาตรา 24 วรรค 4 ถึงวรรค 9 ซึ่งยินยอมให้ประเทศที่เข้าร่วมในการจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีบางประการของ GATT

การจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจตามมาตรา 24 มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
          1. สหภาพศุลกากร (Customs Union)
          2. เขตการค้าเสรี (Free-trade Area)
          3. ข้อตกลงชั่วคราวก่อนที่จัดตั้งสหภาพศุลกากร หรือเขตการค้าเสรี (Interim Agreement)
โดยในการดำเนินการนั้นจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข (Criteria and Conditions) ที่ระบุไว้ในมาตรา 24 ดังนี้
          1. สหภาพศุลกากร (Customs Union) วรรค 8 (a) ระบุว่าการจัดตั้งสหภาพศุลกากรนั้นจะต้อง
          - เป็นการขจัดข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restrictions) ระหว่างประเทศสมาชิกของสหภาพลงอย่างมาก (Substantially eliminated)
          - มีการกำหนดข้อจำกัดทางการค้าที่ใช้กับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพให้เป็นรูปเดียวกัน (Uniform Restrictions) อัตราภาษี ค่าธรรมเนียม และข้อจำกัดทางการค้าทั้งหมด (The Whole) ที่ประเทศสมาชิกสหภาพ ใช้กับประเทศที่มิได้สมาชิกสหภาพ จะต้องไม่สูงกว่า หรือมีความเข้มงวด (More Restrictive) กว่าอัตราหรือระดับเดิม ของแต่ละประเทศสมาชิกที่ใช้อยู่ก่อนจัดตั้งสหภาพ อย่างไรก็ตาม กระบวนการในการกำหนดอัตราภาษีเดียวกันต่อประเทศนอกกลุ่ม (Common External Tariff) อาจทำให้อัตราภาษีที่แต่ละประเทศ ผูกพันไว้กับแกตต์ หรือ WTO ในสินค้าชนิดเดียวกันเพิ่มขึ้น หรือลดลงบ้างแล้วแต่กรณี วรรค 6-ของมาตรา 24 จึงกำหนดว่าหากจะต้องมีการชดเชย ความเสียหายแก่ประเทศนอกกลุ่ม (Compensatory Adjustment) ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา 28 (XXVIII) ของ GATT แต่การกำหนดวิธีการนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า หากประเทศนั้น ๆ มิได้ปฏิบัติตามมาตรา 28 เพื่อชดเชยความเสียหายก็มิได้เป็นอุปสรรค ต่อการจัดตั้งสหภาพศุลกากรแต่อย่างใด
          2. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) วรรค 8 b ระบุเงื่อนไขในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไว้น้อยกว่าการจัดตั้งสหภาพศุลกากร คือกำหนดเพียงว่าจะต้องขจัดอัตราภาษี ค่าธรรมเนียม และข้อจำกัดทางการค้าทั้งหลาย ระหว่างประเทศสมาชิกเขตการค้าลงอย่างมาก (Substantially all The Trade) เท่านั้น แต่ละประเทศสามารถกำหนดอัตราภาษี ค่าธรรมเนียม และจำกัดทางการค้าที่ใช้กับประเทศ ที่มิได้เป็นสมาชิกเขตการค้าได้โดยอิสระ แต่อัตราหรือระดับของอัตราภาษี ค่าธรรมเนียม และข้อจำกัดทางการค้า จะต้องไม่สูง หรือเข้มงวดกว่าเดิมก่อนที่จะเข้ามาร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรี
          3. ข้อตกลงชั่วคราวก่อนที่จะจัดตั้งสหภาพศุลกากร หรือเขตการค้าเสรี (Interim Agreement) เป็นข้อตกลงที่ประเทศที่เข้าร่วมมักใช้ เพื่อเริ่มดำเนินการในการจัดตั้งสหภาพศุลกากร หรือเขตการค้าเสรีหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นข้อตกลงที่ใช้เพื่อปรับตัว (Transition) ของประเทศสมาชิกก่อนการจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจ มาตรา 24 วรรค 5 (c) ของ GATT ระบุว่าประเทศที่ลงนามในข้อตกลงชั่วคราวนี้ต้องดำเนินการร่วมกันใน
          - กำหนดแผนและตารางเวลา (Plan and Schedule) เพื่อจะต้องสหภาพศุลกากรหรือเขตการค้าเสรี
          - โดยต้องดำเนินการปรับตัว ในระยะเวลาพอควรที่กำหนดไว้ (Reasonable Length Of Time)

ความหมายของเขตการค้าเสรี
          เขตการค้าเสรี หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (Goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (Service) และการลงทุนด้วย
เขตการค้าเสรีที่สำคัญในปัจจุบันคือ NAFTA และ AFTA และขณะนี้ สหรัฐฯ อยู่ในระหว่างการเจรจาทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA) โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2548 รูปแบบเขตการค้าเสรีแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
          1. สหภาพศุลกากร (Custom Union) หมายถึง การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับที่ลึก และกว้างกว่าเขตการค้าเสรี ( Free Trade Area : FTA )เพราะมีลักษณะที่เป็นตลาดร่วม (Single Market) ซึ่งไม่มีกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกในสหภาพศุลกากร เก็บภาษีศุลกากรอัตราเดียวกัน (Common Level) กับทุกประเทศนอกกลุ่ม สหภาพศุลกากรจึงทำให้ประเทศในกลุ่มมีสภาพ เป็นเสมือนประเทศเดียวกันหรือตลาดเดียวกัน
สหภาพศุลกากรที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป ( European Union ) (กำลังจะขยายสมาชิกภาพโดยรับประเทศในยุโรปตะวันออกบางประเทศเข้าร่วมด้วย) และ MERCOSUR
          2. พันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Closer Economic Partnership: CEP)           หมายถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีการพัฒนารูปแบบไปจากที่เคยมีมา โดยมีกรอบความร่วมมือที่กว้างขวางกว่า FTA อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับ CEP หรือขอบเขตของ CEP อาจจะแตกต่างไป โดยทั่วไป CEP (หรือศัพท์อื่นที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน) ครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการค้า สินค้า บริการและการลงทุน และแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
          2.1 CEP ที่มีเขตการค้าเสรี เป็นหัวใจสำคัญ และรวมไปถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การประสานนโยบายการแข่งขัน และการจัดซื้อโดยรัฐ เป็นต้น ดังกรณี CEP ระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และความร่วมมือที่อาเซียนกำลังจะเจรจากับจีน ในกรณีดังกล่าวนี้ CEP จึงเป็นกรอบความร่วมมือทั้งในเชิงลึกและกว้างกว่า FTA โดยปกติ
          2.2 CEP ที่ไม่มีการทำเขตการค้าเสรี แต่อาจมีการลดภาษีศุลกากร (ไม่ใช่การลดถึงขั้นต่ำสุด หรือเป็น 0 ดังเช่นกรณี FTA) และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าด้วย รวมทั้งมีการร่วมมือกันในด้านอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น CEP ระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น
          อย่างไรก็ตามทั้ง FTA และ Custom Union ต่างก็เป็นกระบวนการในการผนึกความร่วมมือ หรือการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) และเป็นปัจจัยเร่งการเปิดเสรีที่ก้าวไปเร็วกว่าการเปิดเสรีตามข้อผูกพันของ WTO รวมทั้งเป็นการเตรียมการเปิดเสรีตามเป้าหมายภายใต้ปฏิญญาโบกอร์ของ APEC ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้ว เปิดเสรีอย่างเต็มที่ภายในปี ค.ศ.2010(พ.ศ.2553) และ ประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาเปิดเสรีภายในปี ค.ศ.2020(พ.ศ.2563)
          ในที่นี้ การใช้คำว่า "เขตการค้าเสรี" นั้น หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันเป็นพิเศษ ในลักษณะที่เป็นการกล่าวอย่างกว้าง ๆ คลุมไปทั้ง FTA, Customs Union และ CEP ส่วนการใช้คำว่า FTA หรือCustom Union หรือCEPนั้น หมายถึง ความร่วมมือในรูปแบบนั้น ๆ เป็นกรณี ๆ ไป
          อย่างไรก็ดี เขตการค้าเสรีนั้น ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากในระดับหนึ่ง และหากต้องการให้ได้ผลจริงจัง ก็จะต้องพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพศุลกากรโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการหลบหนีภาษีในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากประเทศนอกกลุ่ม จะพยายามส่งสินค้าเข้าทางประเทศที่ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ที่มีภาษีต่ำไปสู่ประเทศในเขตการค้าที่มีภาษีสูง เช่น สมมติว่าไทยมีเขตการค้าเสรีกับมาเลเซีย แต่ไทยเก็บภาษีศุลกากรการนำเข้าสิ่งทอเพียง 10 % ในขณะที่มาเลเซียเก็บภาษีสินค้าเดียวกันในอัตรา 30 % พ่อค้าจีนก็จะพยายามนำเข้าสิ่งทอทางประเทศไทย เพื่อเสียภาษีเพียง 10 % แล้วนำไปแปรรูปเล็กน้อย เช่น บรรจุห่อใหม่เพื่อแปลงสภาพให้เป็นสินค้าไทยแล้ว นำไปขายในมาเลเซียอันจะทำให้เขาเลี่ยงภาษีได้ 20% กล่าวคือ เขตการค้าเสรีจะต้องใช้ทรัพยากร ของภาครัฐเป็นจำนวนมาก เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าที่รัดกุม ซึ่งทางออกที่ดีที่สุด คือ การแปลงภาษีศุลกากรของประเทศในเขตการค้าเสรี ให้เท่ากันทั้งหมด หรือแปลงให้เป็นสหภาพศุลกากรโดยเร็วนั่นเอง
          4.แนวทางในการจัดทำเขตการค้าเสรี
การจัดทำเขตการค้าเสรีที่ดีควรมีรูปแบบดังต่อไปนี้
          4.1 ทำให้กรอบกว้าง (Comprehensive) เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win) การเจรจาทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกสาขา ทั้งการเปิดเสรีทางการค้า (สินค้าและบริการ) และการลงทุน และการขยายความร่วมมือทั้งในสาขาที่ร่วมมือกัน ตลอดจนประสานแนวนโยบาย และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นการทำข้อผูกพันเพิ่มเติมจากข้อผูกพันที่ แต่ละประเทศมีอยู่แล้วในฐานะสมาชิก WTO จึงเป็นข้อผูกพันใน WTO (WTO plus)
          4.2 ทำให้สอดคล้องกับกฎ WTO โดยที่ WTO กำหนดเงื่อนไขให้มีการเปิดเสรีโดยคลุมการค้าสินค้า/บริการ ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมทำเขตการค้าเสรีอย่างมากพอ (Substantial) และสร้างความโปร่งใสโดยแจ้งต่อ WTO ก่อน และหลังการทำความตกลงตั้งเขตการค้าเสรี รวมทั้งเปิดให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบความตกลง
          4.3 แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตอบแทนกัน (Reciprocity)ในกรณีที่คู่เจรจาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ควรเรียกร้องความยืดหยุ่น เพื่อให้มีเวลานานกว่าในการปรับตัวหรือทำข้อผูกพันในระดับที่ต่ำกว่า
          4.4 กำหนดกลไก และมาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน การเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะรวมถึงเรื่องกฎเกณฑ์ และขั้นตอนในการใช้มาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน เช่น การเก็บภาษี การต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) ภาษีตอบโต้การอุดหนุน (CVD) และมาตรการคุ้มกัน (Safeguards) ซึ่งใช้กฎเกณฑ์ของ WTO เป็นพื้นฐาน แต่ปรับปรุงให้ตรงตามความประสงค์ของประเทศที่ร่วมเจรจา หรือบางกรณีอาจมีการตกลงที่จะระงับการใช้มาตรการ AD,CVD ระหว่างกัน
          5.ผลดีและผลเสียของเขตการค้าเสรี
          5.1 ผลดี การทำเขตการค้าเสรีจะทำให้เกิดผลดีกับประเทศ ดังนี้
          1) ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การใช้นโยบายการค้าเสรีจะก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพ และหลักการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Comparative Advantage) การแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) และการประหยัดต่อขนาด( Economy of Scale) ทำให้ผลิตจำนวนมากจะทำให้ต้นทุนถูกลง ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคสินค้าดี มีคุณภาพ ราคาเป็นไปตามกลไกตลาดอย่างแท้จริงจากหลักการต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดประโยชน์ต่อการทำจัดทำเขตการค้าเสรี
          2) เขตการค้าเสรีจะทำให้มีตลาดที่กว้างขึ้น การส่งออกจะง่ายขึ้น สะดวกมากขึ้น การค้าระหว่างกันจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเป็นคู่สัญญาความตกลงกันแล้ว การเจรจาขจัดอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ นอกเหนือจากภาษีจะมีมากขึ้นและง่ายในการเจรจา นอกจากนั้น มีการกระจายแหล่งวัตถุดิบมากขึ้น ทำให้วัตถุดิบที่ใช้อยู่แล้วนำเข้า ในระดับราคาถูกลง และต้นทุนการผลิตต่ำลง
          3) ผลพลอยได้จากการทำเขตการค้าเสรี คือ กระตุ้นให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และเมื่อมีประเทศใดประเทศหนึ่งจัดทำเขตการค้าเสรีแล้ว จำเป็นที่จะต้องลดภาษีลงมา หมายความว่า อุตสาหกรรมนั้น ๆ ที่ก่อนหน้านั้นรัฐบาล อาจจะต้องปกป้องและจะต้องพยายามปรับตัว เพื่อที่จะให้สามารถต่อสู้แข่งขันได้กรณีนี้จะเป็นผลดีทางอ้อม คือ ทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ของเขตการค้าเสรีนั้นมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
          4) การจัดทำเขตการค้าเสรีในลักษณะพหุภาคี อย่างเช่น กลุ่ม AFTA หรือกลุ่ม EU มีผลที่ทำให้กลุ่มนั้น ๆ นอกจากจะมีตลาดการค้าที่กว้างขึ้น สินค้าสามารถตอบสนองความต้องการในกลุ่มเองได้แล้วยัง ทำให้มีอำนาจในการต่อรองและ อำนาจการเจรจาระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นทวิภาคีและในระดับภูมิภาค เพราะถ้ารอ WTO หรือจะหวังพึ่ง WTO ที่จะมาเป็นกลไกในการเปิดตลาดการค้าเสรี คงจะต้องอีกนาน
          5) การจัดทำเขตการค้าเสรี มีนัยทางด้านการเมืองระหว่างประเทศอยู่ด้วย คือการจะเป็นการเข้าไปใกล้ชิดกับอีกประเทศหนึ่ง เท่ากับว่าเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับอีกประเทศหนึ่ง ตัวอย่างเช่น จีนจะทำเขตการค้าเสรีกับอาเซียนมีนัยทางการเมืองคือ จีนจะมีบทบาท มีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการเมืองเพิ่มขึ้นในอาเซียน และถ้าสหรัฐอเมริกาต้องการจะถ่วงดุลอำนาจจีน ก็ต้องเข้ามาทำเขตการค้าเสรีกับประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลทางการเมืองที่แทรกอยู่ในเรื่องของการจัดทำเขตการค้าเสรี  ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาด้วย
          5.2 ผลเสีย การทำเขตการค้าเสรีจะทำให้เกิดผลเสียกับประเทศ ดังนี้
          1) จะกระทบต่ออุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เราเรียกว่าอุตสาหกรรมแรกเริ่ม (Infant Industries) คือ อุตสาหกรรมที่ยังต้องการให้รัฐบาลปกป้องอยู่เป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ ไม่มีความสามารถในการที่จะไปแข่งขันในเวทีโลกอย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น ถ้าหากมีการจัดทำเขตการค้าเสรี อุตสาหกรรมเหล่านี้จะถูกกระทบจากสินค้าราคาถูก จากประเทศคู่ตกลงเขตการค้าเสรี และอาจต้องล้มหายไปได้
          2) ประเทศที่เป็นคู่ตกลงจัดทำการค้าเสรีด้วย อาจมีโครงสร้างการส่งออกสินค้าเหมือนกัน จะกลายมาเป็นแข่นกันเอง เกิดการสินค้าประเภทเดียวกันมาตีตลาดสินค้า ในประเทศที่ด้อยกว่า เพราะฉะนั้น โครงสร้างการผลิตประเภทเดียวกัน จะทำให้แข่งกันไม่เกื้อหนุนกัน
          3) การจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี หรือแบบภูมิภาค จะเป็นการทำลายระบบการค้าโลกเป็นการทำลาย WTO เป็นการทำลายระบบพหุภาคีนิยม ซึ่งที่จริงแล้วตามหลักของนักเศรษฐศาสตร์ระบบที่ดีที่สุด คือ WTO คือถ้าจะมีเขตการค้าเสรี นั้นก็ควรจะเป็นเขตการเสรีของทั้งโลกรวมกัน ถ้ามีการจัดทำเขตการค้าเสรีแบบ FTA ตามหลักของนักเศรษฐศาสตร์ก็ถือว่าเป็น second best option แต่จริงแล้ว the best option คือ WTO
          4) การจัดทำเขตการค้าเสรีคู่หนึ่ง จะไปกระตุ้นให้ประเทศอื่นต้องแข่งที่จะจัดทำเขตการค้าเสรี เพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้น FTA จะทำให้เกิด FTA มากขึ้น ๆ จะไปสู่ความขัดแย้งทางการค้ามากขึ้น เพราะว่าการจัดทำเขตการค้าเสรี อย่างเช่น ประเทศ A กับประเทศ B สองประเทศจะได้ประโยชน์ แต่ว่าประเทศนอกกลุ่มประเทศ ที่ไม่เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรี นั้นจะถูกกีดกัน เรียกว่าเป็นการกีดกันทางการค้า
          5) ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ส่วนใหญ่แล้วประเทศที่ใหญ่จะได้เปรียบประเทศเล็กจะเสียเปรียบ เพราะว่าจะไม่มีอำนาจในการต่อรอง ต้องระมัดระวังในการที่จะไปเจรจากับประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น
          6)การจัดทำเขตการค้าเสรี อาจจะทำให้ประเทศหนึ่งเข้าสู่สภาวะการพึ่งพา ทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งมากเกินไปเรียกว่า Over Dependency นอกจากนั้นยังมีผลในการเบี่ยงเบนทิศทางการค้า (Trade Diversion) ทำให้ประเทศคู่ตกลงเขตการค้าเสรี หันมาค้าขายกันเองมากขึ้น หลังจากมีการเปิดเสรีให้แก่กัน แต่ยังคงมีอุปสรรคการค้ากับประเทศอื่น ๆ จึงอาจจะทำให้ไม่มีการนำเข้าจากประเทศ ที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าได้ด้วย

นโยบายการค้าเสรีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

มาทำความรู้จัก เขตการค้าเสรีคืออะไร พร้อมข้อดี ข้อเสีย ควรรู้.
เขตเสรีทางการค้าคืออะไร ... .
ข้อดี ขยายตลาดสินค้าในประเทศ ... .
ข้อดี การแลกเปลี่ยนพัฒนาสินค้า ... .
ข้อดี ประชาชนได้บริโภคสินค้าที่ดีขึ้น ... .
ข้อเสีย สินค้าในประเทศขาดทุน ... .
ข้อเสีย การขาดดุลทางการค้า.

การค้าแบบเสรีมีผลเสียอย่างไร

ผลเสีย : เขตการค้าเสรีมีข้อเสียบ้าง คือ 1. จะกระทบต่ออุตสาหกรรม ธุรกิจใหม่ที่ยังไม่เข้มแข็ง หรือแข่งขันในระดับเวทีโลก เพราะประเทศที่ เจริญกว่าจะมีต้นทุนต่ากว่า 2. ประเทศคู่ค้าเขตการค้าเสรีจะมีสินค้าส่งออกเหมือนกันจะกลายเป็นคู่แข่งกันเอง จึงอาจไม่เกื้อหนุนกัน ตามหลักการ

ข้อใดคือผลเสียของการเปิดการค้าเสรีของไทย

ผลด้านลบ - การเปิดเสรีทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทที่แข่งขันไม่ได้ต้องล้มเลิกไปส่งผลกระทบต่อคนงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน - ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการนำเรื่องสิทธิแรงงานมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้าจากสหรัฐฯ หลายครั้ง ได้แก่

นโยบายการค้าเสรีมีอะไรบ้าง

ลักษณะของนโยบายการค้าเสรี 1. การผลิตสินค้าจะใช้หลักการแบ่งงานกันทำ 2. รัฐบาลแต่ละประเทศจะให้สิทธิแก่ทุกประเทศเหมือน ๆ กันในการค้า ระหว่างประเทศ 3. ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บภาษีอากร หรือการจำกัดโควต้า

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita