การหักลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีหลักในการหักอย่างไรบ้าง

'เงินออม' ไม่ใช่ 'ค่าใช้จ่าย' มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่พลาด เพราะคิดว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ทำให้เงินเดือนที่ได้รับจากบริษัทในแต่ละเดือน 'น้อยลง' จึงไม่ให้ความสำคัญในการใส่เงินสะสมให้เต็มสิทธิและไม่เลือกแผนการลงทุน ทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นแหล่งออมเงินที่คุ้มค่ามากที่สุด!!

สำหรับ “เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD)” ภาครัฐส่งเสริมให้ลูกจ้างได้เก็บออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณ และให้ ‘ประโยชน์ทางภาษี’ กับนายจ้างและลูกจ้างมาเพื่อจูงใจให้เก็บเงินก้อนนี้เป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดย “สมัครใจ” โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างนำส่งส่วนหนึ่ง เรียกว่า "เงินสะสม" และนายจ้างนำส่งอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่า "เงินสมทบ" เป็นประจำทุกเดือน จึงถือเป็นรูปแบบการออมเพื่อเกษียณที่

“คุ้มค่ามาก” เพราะทันทีที่คุณออม... นายจ้างจะช่วยออมด้วยอีกส่วนหนึ่งทันที


“ตามกฎหมายลูกจ้างสามารถส่ง ‘เงินสะสม’ ได้ตั้งแต่ 2-15% ของค่าจ้าง โดยนายจ้างจะจ่าย ‘เงินสมทบ’

ตั้งแต่ 2 -15%เช่นเดียวกัน เรียกว่าขอแค่คุณออมเงินส่วนนี้ จะได้รับเงินเพิ่มจากเงินสมทบจากนายจ้างซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทที่ระบุเอาไว้ ถือเป็นประโยชน์ “เด้งที่หนึ่ง” ที่จะช่วยให้เงินออมเพื่อเกษียณของคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น”


ประโยชน์ “เด้งที่สอง” คือ เงินลงทุนใน PVD นั้น สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย โดย “เงินสะสม” ที่สมาชิกนำส่งเข้ากองทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด ‘ไม่เกิน 15%’ ของรายได้ และเมื่อรวมกับเงินออมเพื่อการเกษียณอายุประเภทอื่น เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือเบี้ยประกันบำนาญแล้ว ต้อง ‘ไม่เกิน 500,000 บาท’ ซึ่งเงิน ‘ค่าลดหย่อน’ นี้จะไปเป็นเงินที่หักออกจากรายได้ทั้งปี ซึ่งจะทำให้เหลือเงินได้สุทธิน้อยลงทำให้คุณเสียภาษีน้อยลงไปด้วยเช่นกัน


สุดท้ายประโยชน์ “เด้งที่สาม” คือ ผลตอบแทนจากเงินลงทุน โดยผลตอบแทนที่เกิดขึ้นนี้ไม่ต้องเสียภาษีแต่ประการใด  ไม่ว่าจะลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทใดก็ตาม เช่น ดอกเบี้ยพันธบัตร, ส่วนต่างกำไรจากการลงทุนในหุ้น (Capital gain) เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ ทำให้ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนใน PVD จะได้รับหากเทียบกับการลงทุนประเภทเดียวกันโดยเปรียบเทียบจะสูงกว่าการลงทุนโดยปกติทั่วไป เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาวเพื่อเกษียณของคุณเองอย่างปฏิเสธไม่ได้


“ทั้งเงินสะสม และเงินสมทบ มีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้สมาชิกได้ทั้ง 2 ก้อน ขึ้นกับ‘นโยบายการลงทุน’ ที่สมาชิกได้เลือกเอาไว้ ว่ามีความเสี่ยงและโอกาสของผลตอบแทนคาดหวังมากน้อยเพียงใด เพราะ ‘ผลตอบแทน’ ก็เป็น

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลต่อการเติบโตของเงินออมของคุณว่าจะเร็วหรือช้า ดังนั้นผลประโยชน์ของเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสมทบก็จะช่วยให้คุณเดินทางสู่เป้าหมายเกษียณได้เร็วยิ่งขึ้นได้เช่นกัน”

เลือกลงทุนใน “หุ้น”...ช่วยเพิ่มผลตอบแทนตอบโจทย์ ‘เป้าหมายเกษียณ’

แม้ว่าการลงทุนใน PVD จะมีประโยชน์มากมายถึง “3 เด้ง” ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ก็ใช่ว่า… คนที่โชคดีบริษัทมี PVD ไว้ให้กับพนักงานแล้วก็เลยไม่ต้องคิดวางแผนการลงทุนเพื่อเกษียณแต่ประการใด แต่รู้หรือไม่ว่า… การลงทุนให้ ‘เต็มศักยภาพ’ จะเป็นแต้มต่อให้กับผลตอบแทนระยะยาวเพื่อเป้าหมายเกษียณของตัวคุณเองด้วยเช่นกัน


จากการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นจริงก็สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า การลงทุนระยะยาวใน “หุ้น” สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่น


แต่ข้อมูลภาพรวมการลงทุนของ PVD ในไทย พบว่าอุตสาหกรรม PVD ในไทย มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเพียง 23.1% ที่เหลือเป็นสินทรัพย์ความมั่นคงสูง (ที่มา: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไทย, รายงานการดำเนินงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2564) ซึ่งเป็นภาพที่ต่างจากข้อเท็จจริงที่ควรจะเป็น โดยเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งอาจมาจากนโยบายการลงทุนของแต่ละบริษัทเองด้วย

“อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทที่มี ‘ทางเลือกการลงทุนให้กับสมาชิก (Employee’s Choices)’ ก็แนะนำให้สมาชิกเลือกลงทุนในแผนการลงทุนที่มี ‘หุ้น’ ในสัดส่วนที่เหมาะสมตามความเสี่ยงที่รับได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานหรือมีระยะเวลาการลงทุนที่เหลือนานเกิน 10 ปีก่อนเกษียณ อาจจะพิจารณาลงทุนหุ้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง เพื่อให้เงินออมไว้ยามเกษียณได้ทำงานเต็มศักยภาพที่ควรจะเป็นนั่นเอง”

“RMF for PVD” ตัวช่วยไม่ให้เงินเกษียณต้อง ‘สะดุด’... ‘รักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี’ PVD

ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ส่งผลไปในวงกว้างกับผู้ประกอบการ สำหรับสมาชิกที่ “ต้องออกจาก PVD” เช่นเปลี่ยนงานหรือมีเหตุให้ต้องลาออกจากงาน เป็นต้น ก็ไม่ต้องตระหนกจนเกินไป “ตั้งสติ” ให้ดีแล้วจะพบว่า ทางเลือกของคุณมีอยู่เสมอ


โดยสมาชิกสามารถคงเงินไว้ในกองเดิม (กรณีไม่ได้เลิกกอง) เพื่อรอโอนย้ายไป PVD ของนายจ้างใหม่ หรือสามารถย้ายเงินจาก PVD ไปยังกองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับเงินโอนจาก PVD โดยเฉพาะ ที่เรียกว่า“RMF for PVD”ซึ่งถือเป็น ‘ตัวช่วย’ในการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีและมีเงื่อนไขการลงทุนเหมือนกับการลงทุน PVD คือต้องลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปี โดยนับต่อเนื่องจากการเป็นสมาชิก PVD ที่โอนไป และถอนการลงทุนเมื่ออายุ 55 ขึ้นไป


“เมื่อย้ายไป ‘RMF for PVD’ แล้วจะไม่สามารถย้ายกลับมา PVD ได้อีก แต่สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายและกองทุน รวมถึงย้ายกองทุนไปยังบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แห่งอื่นได้ด้วย โดย‘RMF for PVD’ เองมีนโยบายให้เลือกที่หลากหลายตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผู้ลงทุนนั่นเอง”


นอกจากนี้ เมื่อโอนเงินมายัง ‘RMF for PVD’ แล้ว ก็ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องเหมือนลงทุนใน ‘กองทุนRMF แบบปกติ’ เพราะ‘RMF for PVD’ เปิดรับเฉพาะเงินโอนย้ายจาก PVD เท่านั้น แต่ยังสามารถบริหารสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) ของเงินดังกล่าวได้ เพื่อให้ตอบโจทย์การลงทุนได้มากขึ้น โดยการย้ายหรือสับเปลี่ยนไปยัง ‘RMF for PVD’ กองที่มีนโยบายอื่นได้ไม่ต่างจากการลงทุนใน ‘RMF’ ทั่วไป


สำหรับนักลงทุนที่สนใจ แต่ยังไม่ทราบว่ามีกองทุน ‘RMF for PVD’ กองไหน และของ บลจ.ไหนที่รองรับการโอนย้ายจาก PVD บ้างนั้น ก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลรายชื่อกองทุนเบื้องต้นได้ที่ RMF for PVD จาก บลจ.ชั้นนำ


อย่างไรก็ตาม กองทุนแนะนำจาก บลจ. นี้เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนเท่านั้น ถ้านักลงทุนท่านใดสนใจจะย้ายจาก PVD ไป ‘RMF for PVD’  แนะนำให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่บลจ. ที่สนใจได้โดยตรง เพราะยังมี ‘RMF for PVD’ ให้เลือกลงทุนอีกมากมายเลยทีเดียว

“PVD” จัดพอร์ตแบบ ‘Target Date Fund’…คำตอบที่ง่ายกว่าเพื่อเป้าหมายเกษียณ

ปัจจุบัน PVD เองก็มีแผนการลงทุนให้เลือกหลากหลายตั้งแต่เสี่ยงต่ำไปจนถึงเสี่ยงสูง สำหรับสมาชิกที่ไม่รู้ว่าจะเลือกลงทุนในแผนการลงทุนประเภทใด แนะนำให้เลือกแผน “สมดุลตามอายุ (Target Date Fund)”เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการออมเพื่อเกษียณของคุณเองได้เลย


จุดเด่นของการจัดพอร์ตแบบ Target Date Fund” นั้นคือความสะดวกของสมาชิกเอง เพราะมี “ผู้จัดการกองทุน” ที่มีความเชี่ยวชาญ ทำหน้าที่ผสมผสานสัดส่วนการลงทุนและปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ระหว่าง ‘สินทรัพย์มั่นคง’ และ ‘สินทรัพย์เสี่ยง’ ให้ตามช่วงเวลา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแผนการลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภทมากที่สุด ดังนั้นสมาชิกจึงสามารถเลือกแผนการลงทุนในครั้งแรกตามปีที่จะเกษียณอายุเพียงครั้งเดียว และมอบหมายหน้าที่การ “ปรับพอร์ต” การลงทุนให้กับผู้จัดการกองทุนตลอดเวลาที่อยู่ในกองทุนได้เลย


“แนวคิดของแผน ‘Target Date Fund’ เข้าใจง่าย ถ้าสมาชิกเหลือระยะเวลาการลงทุนก่อนเกษียณนานก็จะมีสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงสูง และจะทยอยปรับลดน้ำหนักของสินทรัพย์เสี่ยงลงเมื่อเข้าใกล้อายุเกษียณ ทั้งนี้เพื่อให้พอร์ตการลงทุนสามารถลงทุนได้ตลอดเวลาและสร้างผลตอบแทนให้เต็มศักยภาพกับผู้ลงทุนนั่นเอง”


สำหรับใครที่บริษัทมี
PVD ให้ ก็ถึงเวลาที่จะต้องมาเขย่าแผนการลงทุนของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ‘เต็มศักยภาพ’ กันได้แล้ว เพราะประโยชน์จากการเก็บออมผ่าน PVD นั้น มีถึง “3 เด้ง”  แนะเทคนิคง่ายๆ แต่ได้ผลดี ใส่เงินสะสมให้เต็มสิทธิที่มี  เลือกแผนการลงทุนที่มีสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงอย่าง ‘หุ้น’ ที่มากเพียงพอเพื่อโอกาสในการเติบโตของเงินเกษียณในระยะยาว โดยเฉพาะใครที่โชคดีมี ‘Employee’s Choice’ ลองส่องดูเงินตัวเองอีกครั้งว่าทิ้งไว้ใน ‘สินทรัพย์มั่นคง’ มากไปหรือเปล่า นั่นอาจทำให้เงินโตไม่ทันให้ใช้ตอนเกษียณได้ ก็มาเขย่าแล้วขยับไปให้ถูกที่ถูกทางเท่านั้นเอง เหล่านี้ก็จะช่วยให้คุณอยู่บนเส้นทางสู่การเกษียณที่มีคุณภาพอย่างที่คุณปรารถนาได้อย่างแน่นอน

ให้คะแนนเนื้อหานี้กี่คะแนน

การหักลดหย่อนบิดามารดามีหลักเกณฑ์การหักอย่างไรบ้าง

5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ โดยบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหักกี่เปอร์เซนต์

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องหักกี่เปอร์เซ็นต์ ในการหักเงินสมทบนั้น กฎหมายได้กำหนดให้ลูกจ้างสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน และนายจ้างสมทบเข้าเป็นประจำทุกครั้งที่จ่ายเงินเดือนให้อีกในอัตราตั้งแต่ 2-15% ตามข้อบังคับของแต่ละบริษัท เพราะฉะนั้นถ้ามองในแง่ของการลงทุนแล้ว ยิ่งเราสะสมมากเท่าไหร่ เรายิ่ง ...

การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตมีเงื่อนไขอย่างไร

1. เบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้ตัวเอง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้ เบี้ยประกันสุขภาพ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นจาก 15,000 เริ่มตั้งแต่ปีภาษี 2563) แบบประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

การหักลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 ฉบับคนโสดแบบเฉิดฉาย! ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร 60,000 บาท ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 คนละ 60,000 บาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita