ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด มีอะไรบ้าง

เป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่เกือบทุกประเภทธุรกิจ หากผู้ประกอบการต้องการให้ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ก็ควรวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ โดย

1.  ประมาณการรายได้ของบริษัทใน 1 ปี

2.  ประมาณการค่ารับรองให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายคือ ไม่เกิน 0.3% ของรายได้ (กรณีรายได้สูงกว่าทุนจดทะเบียน)

จากบทความ ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าแตกต่างกันอย่างไร ได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายทางบัญชี ค่าใช้จ่ายทางภาษี รวมถึงค่าใช้จ่ายต้องห้าม ซึ่งได้อธิบายไปแล้ว 1 ประเภท ก็คือ "ค่าใช้จ่ายส่วนตัว" ที่ไม่ควรนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการกันแล้วนะคะ

 

สำหรับบทความนี้จะอธิบายให้ผู้ประกอบการได้รู้จักกับค่าใช้จ่ายต้องห้ามอีก 1 ประเภทค่ะ นั่นก็คือ ค่ารับรอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่เกือบทุกประเภทธุรกิจ

 

หากถามว่าค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าอะไร เชื่อว่าหลายคนคงตอบได้ว่า ค่าอาหารและเครื่องดื่มที่ได้เลี้ยงลูกค้าไปนั่นเองค่ะ

 

เลือกอ่านได้เลย!

ให้เราอ่านให้ฟัง 

 

ทำไมค่ารับรองถึงเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

 

เพราะค่ารับรองอาจมีความคาบเกี่ยวกับการเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ แต่สรรพากรก็เข้าใจธรรมชาติของการทำธุรกิจดี จึงเปิดช่องให้ค่ารับรองนี้เป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่มีหลักเกณฑ์และจำนวนที่จำกัด ดังนั้นส่วนที่เกินจากหลักเกณฑ์จะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

 

หลักเกณฑ์ค่ารับรองที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามกฎหมาย

 

1. ค่ารับรองนั้นต้องเป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป เช่น พาลูกค้ามาเยี่ยมชมกิจการ แล้วมีการเลี้ยงรับรอง หรือการจ่ายค่าโรงแรมให้ลูกค้าที่บินมาเยี่ยมชมกิจการจากต่างประเทศ เป็นต้น

 

2. บุคคลที่ได้รับการรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท ยกเว้นว่าลูกจ้างดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมในการรับรอง

 

3. ค่ารับรองนั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ โดยค่ารับรองสามารถแบ่งออกได้  2 แบบ

 

3.1 ค่ารับรองที่เป็นค่าบริการ เช่น

  • ค่าที่พัก เช่น กิจการพาลูกค้าไปดูโรงงานผลิตสินค้าที่เชียงราย เพื่อเยี่ยมชมสินค้า
  • ค่าพาหนะ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ารถให้แก่ลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อกิจการ
  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เช่น กิจการพาลูกค้าไปรับประทานอาหารหลังจากเซ็นสัญญาซื้อ-ขายสินค้า
  • ค่ารับรองที่เป็นค่าบริการกฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานมูลค่าบริการเอาไว้

 

3.2 ค่ารับรองที่ให้เป็นสิ่งของ

  • การให้สิ่งของแก่บุคคลภายนอก เช่น ให้กระเช้าผลไม้ นาฬิกา ซึ่งหากให้เป็นสิ่งของ จะมีข้อจำกัดเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งข้อ นั่นคือ มูลค่าของสิ่งของที่ให้นั้นต้องไม่สูงเกินสมควร โดยจำกัดไว้ที่ไม่เกิน 2,000 บาทต่อคนต่อคราวที่ให้การรับรอง ถ้ามูลค่าสิ่งของเกิน 2,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนที่เกินจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทันที

 

4. ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติและต้องมีหลักฐานของผู้รับเงิน

 

เอกสารประกอบการจ่ายค่ารับรอง

 

เพื่อให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีและภาษี กิจการต้องจัดทำเอกสารประกอบการจ่ายค่ารับรอง ดังนี้

 

  1. ต้องจัดทำใบขออนุมัติเบิกค่ารับรอง โดยต้องมีกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากกิจการให้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
  2. ต้องระบุว่าบุคคลภายนอกที่กิจการเลี้ยงรับรองเป็นใคร เกี่ยวข้องกับกิจการอย่างไร ควรระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่เลี้ยงรับรองด้วย
  3. ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินค่ารับรอง เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน

 

ตัวอย่างใบขออนุมัติเบิกค่ารับรอง

ดาวน์โหลดเอกสาร ใบขออนุมัติเบิกค่ารับรอง

 

การนำค่ารับรองมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี

 

มูลค่าค่ารับรองที่บริษัทจ่ายไปสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้นั้น มีเงื่อนไขดังนี้

 

 

ตัวอย่าง 

ทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด จำนวน1,000,000 บาทรายได้จากการขาย จำนวน3,000,000 บาท

 

เปรียบเทียบทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด กับรายได้จากการขาย

 

จำนวนที่สูงกว่าคือ รายได้จากการขาย

 

ค่ารับรองตามเงื่อนไข 3,000,000 x 0.3 % = 9,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

 

เพิ่มเติม ภาษีซื้อค่ารับรองถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถนำมาหักกับภาษีขาย หรือ ขอคืนได้ แต่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้ ดังนั้นมูลค่าค่ารับรองที่กฎหมายอนุญาตให้ถือเป็นรายจ่าย จะต้องเป็นมูลค่าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

 

ผลกระทบทางภาษีสำหรับค่ารับรองส่วนที่เกินกำหนด

 

คราวนี้เรามาดูกันค่ะว่า ค่ารับรองส่วนที่เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะส่งผลกระทบต่อการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนสิ้นปีอย่างไร

 

ตัวอย่าง บริษัทแห่งหนึ่งทำธุรกิจผลิตสินค้า มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท ชำระแล้วเต็มมูลค่า มีรายได้จากการขายสินค้า จำนวน 3,000,000 บาท 

 

 

ค่ารับรองจำนวน 110,000 บาท ประกอบด้วย

  1. บริษัทซื้อกระเช้าดอกไม้ จำนวน 1 กระเช้า มอบให้แก่ลูกค้า เนื่องในโอกาสฉลองเปิดสาขาใหม่ มูลค่า 4,000 บาท
  2. บริษัทพาลูกค้าไปเลี้ยงอาหารภายหลังการเซ็นสัญญาสั่งซื้อสินค้า จำนวน 10,000 บาท
  3. บริษัทพาลูกค้าไปดูโรงงานของบริษัทที่เชียงราย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร รวมทั้งสิ้น จำนวน 96,000 บาท

*ค่าใช้จ่ายข้างต้นทั้ง 3 รายการ รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

 

 

ผู้ประกอบการคิดว่า ค่ารับรองดังกล่าวจะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ทั้งหมดหรือไม่?

 

คำตอบคือ นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เพียงบางส่วน เนื่องจากหลักเกณฑ์ของกฎหมาย

 

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราจะแยกค่ารับรองออกเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี กับ ค่าใช้จ่ายทางภาษีนะคะ

 

 

ค่ารับรองนำไปเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี จำนวน 9,000 บาท คำนวณได้จาก

 

1. รายได้จากการขาย จำนวน 3,000,000 บาท

 

ค่ารับรองตามกฎหมาย เท่ากับ 3,000,000 x 0.3% 9,000 บาท

 

2. ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว จำนวน 1,000,000 บาท

 

ค่ารับรองตามกฎหมาย เท่ากับ 1,000,000 x 0.3% 3,000 บาท

 

เปรียบเทียบค่ารับรองตามกฎหมายในข้อ 1 กับข้อ 2 โดยเลือกค่ารับรองที่สูงกว่า

 

 

เพราะฉะนั้นค่ารับรองที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี  = 9,000 บาท 

 

ค่ารับรองส่วนที่เกิน ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

 

ค่ารับรองส่วนที่เกิน   =  ค่ารับรองทางบัญชี - ค่ารับรองทางภาษี

 

ค่ารับรองส่วนที่เกิน   =  110,000 - 9,000 

 

ค่ารับรองส่วนที่เกิน   =  101,000 บาท

 

 

ถ้าเราคำนวณกำไรสุทธิทางบัญชี บริษัทจะมีกำไรสุทธิเท่ากับ 290,000 บาท

 

แต่ กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีจะต้องคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี จะเท่ากับ 391,000 บาท

 

ในทางปฏิบัติ นักบัญชีจะคำนวณหากำไรสุทธิทางบัญชี แล้วจึงนำค่ารับรองส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปปรับปรุง บวกกลับ ในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แบบ ภ.ง.ด.50) โดย

 

 

บริษัทต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิส่วนที่เกินจาก 300,000 บาท* ในอัตรา 15%

 

คำนวณภาษีที่ต้องเสีย  =  91,000 x 15% = 13,650 บาท

 

*กำไรสุทธิ จำนวน 300,000 บาท บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เนื่องจากบริษัทเข้าเงื่อนไขของ SMEs (สามารถดูคำอธิบายได้ในบทความ ค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษี ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าแตกต่างกันอย่างไร

 

สรุปจากตัวอย่าง

 

ริษัทจ่ายค่ารับรอง จำนวน 110,000 บาท

 

แต่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เพียง 9,000 บาท

 

ผลต่างถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามจำนวน 101,000 บาท

 

เนื่องจากค่ารับรองดังกล่าวเกินกว่าหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่กำหนด  

 

ทำอย่างไรไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายต้องห้าม 

 

ผู้ประกอบการควรวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ โดย

 

  1. ประมาณการรายได้ของบริษัทใน 1 ปี
  2. ประมาณการค่ารับรองให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายคือ ไม่เกิน 0.3% ของรายได้ (กรณีรายได้สูงกว่าทุนจดทะเบียน)

 

หากผู้ประกอบการสามารถทำได้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ค่ารับรองที่จ่ายไปก็จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ทั้งหมดค่ะ

 

About Author

Pradinan P.

อาจารย์ประดินันท์ ประดับศิลป์ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร นักบัญชี วิทยากรคอร์สอบรมทางด้านบัญชีและภาษี ให้กับผู้ประกอบการ จัดโดย Flowaccount  มีประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัยมากกว่า 25 ปี  ให้ผู้ประกอบการได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องบัญชีและภาษีในการทำธุรกิจ

ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดมีอะไร

6. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จําเป็นในการดําเนินงานโครงการ และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดถึงไม่สามารถตั้งงบประมาณไว้ล่วงหน้าได้ แต่หากไม่จ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว แล้วจะทําให้การดําเนินงานโครงการไม่สําเร็จ โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ประมาณ 500 – 1,000 บาท แต่ถ้าเป็น โครงการขนาดใหญ่จะเป็น ...

วัสดุสิ้นเปลือง กับ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ต่างกันยังไง

- คชจ.เบ็ดเตล็ด เป็นรายการที่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะๆ แต่เป็นจำนวนเงินน้อยมาก เช่น ซื้อน้ำยาล้างห้องน้ำ เพื่อมาทำความสะอาดห้องน้ำ 1 ขวดๆละ 48 บาท แต่ถ้าซื้อจำนวนมาก และบ่อยครั้ง อาจต้องใช้บัญชีวัสดุสิ้นเปลือง มาแทน เศษสตางค์จากการจ่ายชำระ เช่นค่าโทรศัพท์ 159.93 เวลาจ่ายจริงเขาปัดเป็น 160 บาท ส่วนต่าง .07 บาท ก็เข้า คชจ. ...

ค่าอาหารใช้ภาษีซื้อได้ไหม

- ภาษีซื้อต้องห้ามที่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ 1. ภาษีซื้อค่ารับรองที่มีลักษณะ ดังนี้ (1) ค่ารับรอง หรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใดๆ และไม่ว่าจะ อำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ...

ค่าตั๋วเครื่องบินเคลม vat ได้ไหม

รายจ่ายเพื่อการรับรอง ค่ารับรองหรือค่าบริการหรือค่าให้ความอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลหรือแขกของกิจการ เป็นต้นว่า ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา ค่าของขวัญ ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อเพื่อขอคืนภาษีได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita