จุดมุ่งหมายของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

อาชีวอนามัยคืออะไร?

 Home

» Knowledge of Health » อาชีวอนามัยคืออะไร? 

อาชีวอนามัยคืออะไร?

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้เข้ากับคนแต่ละคน

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้นิยามโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเนื่องจากงานตามสาเหตุปัจจัยไว้ดังนี้

  1. โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ทำงาน ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานาน โรคจากการประกอบอาชีพบางโรคอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกตามสุขภาพ รวมทั้งโอกาสหรือ วิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส(โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารตัวทำละลายต่างๆ (Organic solvent toxicity) เป็นต้น
  2. โรคเนื่องจากงาน (Work-related Diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และการทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้นลักษณะการท างานในอาชีพ หากมีการ ออกแรงซ้ำๆ หรือมีท่าทางการท างานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการขึ้น เป็นต้น
  3. โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental Diseases) หมายถึงผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อน ในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

การป้องกันโรค

  1. การรู้สาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ รู้ว่าโรคปอดที่ทำให้คนงานและผู้อาศัยใกล้เคียงโรงงานโม่หินที่มีฝุ่นหินทรายฟุ้งกระจายนั้นเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นซิลิกา การป้องกันคือคนทำงานต้องใส่เครื่องป้องกันฝุ่น และต้องกำจัดฝุ่นหินนั้นไม่ให้คนไปสัมผัส โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เป็นต้น

        2.การรู้การกระจายของโรค โดยใช้วิธีการทางระบาดวิทยา เพื่อให้ทราบกลุ่มบุคคลที่เกิดโรค พื้นที่เกิดโรคและเวลาในการเกิดโรค (person, place, time) จะได้ควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันต้องมีการอบรมสุขศึกษาและความรู้เรื่องโรคต่างๆให้กับพนักงานเพื่อทราบจะได้ป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีด้วย

  1. การรู้ธรรมชาติของการเกิดโรค เนื่องจากโรคแต่ละโรคและกลุ่มโรคจะมีการดำเนินของโรคที่ต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการกำหนดวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ การป้องกันระยะที่เริ่มได้รับปัจจัยก่อโรค ระยะสะสมที่ยังไม่แสดงอาการ ระยะปรากฏอาการเริ่ม ระยะโรครุนแรง และระยะหายของโรคที่อาจตายหรือปรากฏความพิการ เป็นต้น

“เมื่อรู้ถึงสาเหตุของโรคแล้วก็จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรการการป้องกันที่รอบคอบชัดเจน เพราะการป้องกันที่ดีจะนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ทำให้คนทำงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจะทำให้งานที่ออกมานั้นได้ประสิทธิภาพ เป็นผลดีกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง”

พนักงานขององค์กรเปรียบเสมือนทรัพย์สินของบริษัท การมีพนักงานที่สามารรถทำงานได้อย่างขยันขันแข็ง ด้วยร่างกายที่สมบูณ์พร้อม สุขภาพใจเต็มเปี่ยมย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตสำฤทธิ์ผลตามมาเช่นกัน ซึ่งการทำให้พนักงานปลอดภัยมาจากมาตรการด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ดีเยี่ยมขององค์กร ในบทความนี้ Jorportoday จะมาอธิบายถึงโปรแกรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยว่าคืออะไร องค์ประสบที่สำคัญ และ KPI บางส่งที่ช่วยวัดประสิทธิภาพครับ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดอยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง  ซึ่งเป็นกระบวนเรียนรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพอนามัย ในผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ รวมทั้งยังจัดการดูแลผลกระทบอันเกิดมาจากการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อทำให้การดำเนินงานของผู้ประกอบอาชีพ ได้รับความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องได้รับการคุ้มครองตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย โดยสามารถแยกความหมายของทั้ง 3 คำออกมาได้ดังนี้

  • อาชีวะ (Occupational) หมายถึง อาชีพ การเลี้ยงชีพ การทำมาหากิน
  • อนามัย (Health) หมายถึง ความไม่มีโรค สภาวะสมบูรณ์ดีทั้งร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ
  • ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สภาพวะที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย หรือความเสี่ยงใดๆ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวข้องกับการจัดการอันตรายในสถานที่ทำงานหลายประเภท เช่น:

  • พิษวิทยา
  • ระบาดวิทยา
  • เคมีภัณฑ์
  • อันตรายทางกายภาพ
  • ผลกระทบทางจิตวิทยา
  • ปัญหาการยศาสตร์
  • อุบัติเหตุ

โครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีไว้เพื่อกำหนดให้มีการจำกัดความเสี่ยง เพื่อลดอันตรายจากการทำงานในไซต์งาน นายจ้างและฝ่ายบริหารของบริษัทจำเป็นต้องจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน และหัวข้อต่อไปคือโโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ใช้สำหรับองค์กร

ควรเริ่มโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่?

สำหรับองค์กรที่ไม่มีโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) อย่างเป็นทางการมักจะมีการดูแลความปลอดภัยของพนักงานในบางแง่มุมเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่คลอบคลุม ถ้า ณ ตอนนี้คุณมีความคิดที่จะเริ่มต้นจากจุดที่บริษัทมีอยู่ คุณอาจจะต่อยอดจากสิ่งที่มีด้วยการตั้งคำถาม นี้คือคำถามที่คุณอาจเริ่มหาคำตอบครับ

  • บริษัทของคุณมีนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอยู่แล้วหรือไม่ ??
  • ผู้จัดการ หัวหน้างาน และพนักงานเข้าใจความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของตนเองหรือไม่ ?
  • ในบริษัทมีช่องทางสื่อสารเกี่ยวกับปัญหาด้าน OHS หรือไม่?
  • มีการระบุอันตรายที่ชัดเจนหรือไม่?
  • มีการควบคุมอันตรายในสถานที่ทำงานหรือไม่?
  • บริษัทของคุณมีระบบตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์หรือไม่?
  • มีการเตรียมการ ซักซ้อมขั้นตอนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่?
  • มีขั้นตอนการรายงานและสอบสวนหรือไม่?
  • มีการฝึกอบรมพนักงานทุกระดับหรือไม่?
  • บริษัทใช้วิธีการใดในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล?
  • มี KPI สำหรับการประเมินอย่างครอบคลุมและเหมาะสมหรือไม่?

8 องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

1.การวางแผน

องค์ประกอบสำคัญอย่างแรกของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) คือระบบการจัดการและการวางแผน ไม่ว่าคุณจะวางแผนแบบดั่งเดิมผ่านการจัดใส่สมุดหรือกระดานไวท์บอร์ด หรือ ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับช่วยบริหารจัดการโดยเฉพาะ การวางแผนงานจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นศูนย์กลางของทุกกระบวนการที่คุณทำ การวางแผนเป็นสิ่งที่สำคัญคุณต้องแน่ใจว่าองค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎและระเบียบข้อบังคับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศไทยในปัจจุบันทั้งหมด

2.การรายงานเหตุการณ์

องค์ประกอบสำคัญที่สองของการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคือระบบการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สมาชิกทุกคนในองค์กรควรเข้าถึงระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : OHS Program ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงานใหม่ เพื่อให้ติดตามข่าวสารและรายงานเหตุการณ์ได้ทันท่วงที

ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการ OHS ที่รันในระบบคราวด์ ช่วยให้พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์มือถือที่เชื่อมอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ในการสร้าง บันทึก และเข้าถึงเอกสาร OHS ขององค์กีได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

การรายงานสถานการณ์พนักงานจะมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ :

  • การรายงานอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • รายงานอันตรายและความเสี่ยง
  • รับการแจ้งเตือนเพื่อทำงานบางอย่างให้เสร็จ
  • ทบทวน แก้ไขแบบฟอร์มความเสี่ยง อันตราย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วน

เมื่อการรายงานเหตุการณ์เป็นไปอย่างทันถ้วงทีก็สามารถช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงและผู้มีส่วนได้เสียวางแผนสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะของการ Proactive และ Preventive ได้ดียิ่งขึ้น นี้คือเหตุผลว่าการรายการเหตุการณ์จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญลำดับที่สองของการบริการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3.User-friendly interface

องค์ประกอบหลักที่สามของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ การมีส่วนต่อประสาน (User friendly Interface) ที่ชัดเจนและใช้งานง่าย

Interface หรือ ส่วนต่อประสาน เป็นวิธีการที่ผู้ใช้งานเช่น พนักงานโต้ตอบกับระบบหรือซอฟต์แวร์ อาจจะเป็นการประสารงานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเป็นฟอร์มกระดาษที่ต้องกรอก เช่น แบบฟอร์มรายงานความปลอดภัย

ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีแนวการในการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแบบใด คุณต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาถึงความง่ายของการใช้งานด้วย การพิจารณาความง่ายต่อการใช้งานอาจเริ่มจากชุดคำถามเช่น

  • พนักงานสามารถเข้าใจสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ง่ายได้อย่างง่ายดายหรือไม่
  • คำแนะนำในการใช้งานระบบมีความชัดเจนเพียงพอหรือไม่
  • พนักงานมีการฝึกอบรมให้สามารถใช้ระบบในการประสานงานหรือไม่

แต่ถ้าองค์กรใดใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เป็นซอฟต์แวร์ อินเทอร์เฟซจะต้องชัดเจน เรียบง่าย และใช้งานง่าย เพื่อให้พนักงานไม่มีปัญหาในการโต้ตอบกับอินเทอร์เฟซระหว่างการใช้งาน

4.การฝึกอบรม

องค์ประกอบที่สี่ของการจัดการด้านระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ การฝึกอบรม หากไม่มีการฝึกอบรม ระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

พนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพออาจทำให้องค์กรตกอยู่ในความเสี่ยง พวกเขาอาจพลาดในการประเมินความเสี่ยงของอันตราย ไม่รายงานเหตุการณ์ทั้งที่ควรจะต้องรายงาน หรือแม้กระทั่งกระทำงานในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน หรือ บุคคลทั่วไป

พนักงานที่ผ่านการอบรม ทั้งการใช้ระบบ การใช้เครื่องมือ และการดูแลความปลอดภัยพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และที่สำคัญพวกเขาจะกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กรที่สามารถช่วยให้สถานที่ทำงานปลอดภัยยิ่งขึ้น

5.การประเมินความเสี่ยง

องค์ประกอบที่สำคัญถัดมาของระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยคือ การประเมินความเสี่ยง ในประเด็นนี้หมายถึงการที่ระบบซอฟต์แวร์มีส่วนช่วยผู้บริหารระดับสูงในการประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

การประเมินความเสี่ยงส่วนนี้จะเกิดขึ้นในองค์กรที่ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ในการช่วยในการประเมินความเสี่ยงและระดับความปลอดภัยได้อย่างอัตโนมัติ จากการสะสมค่าสถิติของการทำงาน ค่าความเสี่ยงที่ทางผู้บริหารหรือทีมที่ปรึกษาสามารถออกแบบค่าแนวโน้มที่อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงเพื่อที่สามารถวางแผนป้องกันได้อย่างทันถ้วงที

ตัวอย่างเช่น :

ฝ่ายบริหารสามารถดูรายงานอันตราย ความเสี่ยง อุบัติเหตุและการบาดเจ็บทั้งหมดได้ตามเวลาจริง จากนั้นซอฟต์แวร์จะประมวลผลข้อมูลนี้และสร้างรายงานที่สามารถใช้เพื่อสร้างแนวทางในการป้องกัน

6.การรับรอง

องค์ประกอบหลักที่หกของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคือ การรับรอง ระบบควรได้รับการรับรองโดยบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางปฏิบัติของอค์กรเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย

การมีระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่แข็งแกร่งช่วยให้องค์กรสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและลูกค้า ตัวอย่างการรับรองได้แก่

  • AS / NZS 4801
  • OHSAS 18001

การมีใบรับรองจะแสดงให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าองค์กรของคุณมุ่งมั่นในเรื่องของความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน รวมถึงประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยของพนักงานเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลถึงกำลังใจในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น และความมั่นใจของผู้บริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มผลกำไรขององค์กรในที่สุด

7.การสื่อสาร

องค์ประกอบที่เจ็บของ OHS คือ การสื่อสาร ระบบที่ดีต้องช่วยให้พนักงานสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยการสื่อสารมีความสำคัญดังต่อไปนี้

  • ช่วยให้พนักงานได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับงานที่ตนได้รับมอบหมาย
  • ช่วยให้พนักงานสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้า
  • การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพช่วยให้ระดับผู้จัดการและพนักงานปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์ของบริษัท

8.การเข้าถึงข้อมูล

องค์ประกอบสุดท้ายของระบบการจัดการ OHS คือ การเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากการทำงานในองค์กรที่มีทั้งพนักงาน และ เอกสารของข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญคือการจัดการการเข้าถึงข้อมูลให้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเอกสารข้อมูลความปลอดภัย SDS (Safety Data Sheet)

องค์กร OSHA ระบุไว้ว่า

“นายจ้างต้องเก็บรักษาสำเนาเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับสารเคมีอันตรายแต่ละชนิดไว้ในที่ทำงาน และต้องแน่ใจว่าสามารถเข้าถึงได้ง่ายระหว่างกะการทำงานแต่ละครั้งสำหรับพนักงานเมื่อ พวกเขาอยู่ในพื้นที่ทำงาน (การเข้าถึงทางอิเล็กทรอนิกส์และทางเลือกอื่นในการเก็บรักษาสำเนาเอกสารของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยจะได้รับอนุญาต ตราบใดที่ไม่มีการสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงพนักงานทันทีในสถานที่ทำงานแต่ละแห่งโดยตัวเลือกดังกล่าว)”

สำหรับบริษัทขนาดเล็กการเก็บเอกสารและข้อมูลต่างๆ เป็นสำเนากระดาษอาจง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะทุกคนรู้ว่าเอกสารชนิดนั้นๆ เก็บไว้ในตู้ใบไหนและสะดวกต่อการค้นหา

แต่สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะองค์กรที่มีสถานประกอบการหลายแห่งการเข้าถึงข้อมูลอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น นี้จึงเป็นเหตุผลที่หลายองค์กรหันไปใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการ OHS บนระบบคลาวด์ ซึ่งง่ายต่อการจัดการ

KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัย

หลังจากที่คุณทราบถึงองค์ประกอบของโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ขั้นตอนถัดมาที่ผมอยากจะพูดถึงคือเรื่องการติดตามผล KPI ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งนี้เป็นค่าที่สามาารถวัดและประเมินได้ ซึ่งทำเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่เฉพาะเจาจง

อันที่จริง องค์กรจำนวนมากไม่มีการพิจารณาสร้าง KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัยด้วยซ้ำ บางครั้งก็อาจจะคิดว่าองค์กรของคุณไม่ต้องการมันจริงๆ ซึ่งถ้าองค์กรของคุณอยู่ในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ธุรกิจไอทีหรือการตลาด ก็อาจะพออนุโลมได้ แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว KPI ด้านสุขภาพไม่ได้เกี่ยวกับอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังหมายถึง “ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ” ที่อาจจะมาจากการทำงานออฟฟิตที่ยาวนานจนส่งผลถึงสุขภาพ เช่นการเป็นโรคออฟฟิตซินโดรม ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ

นี้คือตัวอย่าง KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่องค์กรควรพิจารณา

  • จำนวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่รายงาน
  • อัตราความถี่การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน
  • ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาโดยเฉลี่ยต่อคน
  • ไม่พบโรคจากการทำงาน
  • % กิจกรรมด้าน OHS ที่พนักงานเข้าร่วม
  • ความพึงพอใจกับคะแนนสิ่งแวดล้อม
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือนในการป้องกันสุขภาพและความปลอดภัย
  • % ของผู้บริหารที่ได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัย

ข้อมูลอ้างอิง : 1 / 2 / 3

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday ไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

มุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีอะไรบ้าง

ได้กำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไว้ดังนี้ คือ การส่งเสริมและดำรงไว้ (promotion and maintenance) ซึ่งความสมบูรณ์ที่สุดของสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพในทุกอาชีพ

ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของอาชีวอนามัย

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้ ...

ความสำคัญของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (occupational health and safety) จึง หมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่ง รวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบ อาชีพทั้งมวล

ขอบเขตของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคืออะไร

ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นการด าเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ ดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดโรค ปลอดภัย มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล งานบริการที่จัดขึ้นในสถานประกอบการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita