ปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของการวัดมีอะไรบ้าง

                7.  การขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง (experimental  mortality)  ในระหว่างการทดลองสมาชิกหรือกลุ่มตัวอย่างบางคนไม่เข้าร่วมการทดลองหรือเข้าร่วมการทดลองไม่ครบกระบวนการ  เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น  การเจ็บป่วย  การตาย  เป็นต้น  กรณีเช่นนี้จะเป็นผลให้คะแนนของกลุ่มสมาชิกที่ขาดหายไปคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง  วิธีการแก้ไขปัญหานี้ทำได้โดยการดึงสมาชิกในกลุ่มที่มีจำนวนมากกว่าออกมาบ้าง  ซึ่งวิธีการเลือกตัวอย่างออกกระทำโดยการสุ่ม

      หมายเหตุ จะเห็นว่าขณะการคิดค่า %ความคลาดเคลื่อน 10%ของ 64.42 mm คือ 6.442 mm เราต้องตัดค่า 0.002 ทิ้ง หรือบอกได้แค่ทศนิยม 2 ตำแหน่งเนื่องจาก ค่าหลัก 64.42 ก็บอกได้แค่ทศนิยม 2 ตำแหน่งเช่นกัน (การระบุจำนวนเลขทศนิยมหลังจากกระบวนการทางพีชคณิต เราจะไปว่ากันในเรื่องเลขนัยสำคัญต่อไป)

ในข้อผิดพลาดประเภทนี้ ค่าที่วัดได้จะเกิดความเบี่ยงเบนจากสาเหตุเฉพาะอย่าง ตัวอย่างเช่น ความแปรผันของการวัดที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างเครื่องมือวัดแต่ละเครื่อง (ข้อผิดพลาดของเครื่องมือ) อุณหภูมิ และวิธีอื่นๆ ที่ใช้วัด

ข้อผิดพลาดประเภทนี้จะเกิดจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแบบสุ่มระหว่างกระบวนการวัด

ข้อผิดพลาดประเภทนี้จะเกิดขึ้นจากการขาดประสบการณ์ หรือการทำงานที่ไม่ถูกต้องของผู้ที่ทำการวัด

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพที่ให้ผลการวัดที่แม่นยำสำหรับผู้ใช้งานทุกคน

ปริมาตรของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความผันผวนของอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้ความยาวของวัตถุเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากหลักการนี้จะใช้กับชิ้นงานที่จะวัดได้แล้ว ยังสามารถใช้กับเครื่องมือวัดได้อีกด้วย ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความยาวของวัตถุสามารถแสดงได้เป็น “สัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อน” สัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อนจะแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุ ISO กำหนดอุณหภูมิอ้างอิงของความยาวที่ใช้วัดไว้ที่ 20°C

สัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อนหลักยูนิต: ×10-6/Kเพชร1.0แก้ว8 ถึง 10เหล็ก11.8ทองคำ14.2อะลูมิเนียม23.1พลาสติก PET70.0

สูตรสำหรับคำนวณปริมาณการเปลี่ยนรูปเพราะการขยายตัวจากความร้อนคือ:
ΔL = L (ความยาวของวัสดุ) × α (สัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อน) × ΔT (ความแตกต่างของอุณหภูมิ)
หมายเหตุ:
ค่าต่างๆ จะคำนวณจากอุณหภูมิที่ 293 K (20°C)

การใช้แรงกับวัตถุจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อัตราคงที่ วัตถุจะกลับคืนสู่สถานะก่อนหน้าเมื่อไม่มีการใช้แรงอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุนี้เรียกว่า “การเปลี่ยนรูปแบบยืดหยุ่น” แรงที่ใช้กับวัตถุเรียกว่า “แรงเค้น” โดยทั่วไปแล้ว ความสัมพันธ์กับแรงตึงของวัตถุจะเป็นสัดส่วนกัน ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์นี้จึงอาจแสดงได้ด้วย “โมดูลัสของความยืดหยุ่นตามยาว (โมดูลัสของ Young)”
ยิ่งมีแรงเค้นมากขึ้นเท่าไร แรงตึงก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น จะต้องระวังไม่ขันหัวเพลาจนแน่นเกินไปเมื่อใช้ไมโครมิเตอร์ภายนอกวัดด้านนอกของวัตถุ

ดัชนี

การวัด หมายถึง กระบวนการที่ถูกดำเนินเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าขนาดของปริมาณใดๆ ตัวอย่างเช่น มวลหรือความยาว เป็นต้น ซึ่งหน่วยวัดและการวัดนั้นถูกคิดค้นขึ้นโดยมนุษย์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวัดในงานที่มีรูปแบบหลากหลาย ได้แก่ การนำมาใช้เกี่ยวกับการค้าขายวัตถุดิบหรืออาหาร งานก่อสร้างอาคารต่างๆ และการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่มที่จำเป็นต้องคำนึงถึงรูปร่างและขนาด เป็นต้น

ความผิดพลาด (Error) คือ ค่าความแตกต่างของค่าจริงที่ถูกวัดในทางปฏิบัติกับผลที่ได้จากการวัด ซึ่งค่าความผิดพลาดดังกล่าวนี้เป็นค่าที่มีความไม่แน่นอน (Uncertainty) ผู้วัดจึงไม่สามารถได้ค่าความผิดพลาดที่แน่นอนจากกระบวนการวัด

การวัด (Measurement) คือ กระบวนการ “Empirical” ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากทฤษฎีหรือความคิดที่ถูกสร้างขึ้น แต่จะเกิดขึ้นได้โดยการทดลองและการสังเกต เพื่อนำผลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบระหว่างค่ามาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้กับปริมาณที่ไม่ทราบค่าของตัวแปร ในทางปฏิบัติเครื่องมือวัดไม่สามารถวัดค่าได้ถูกต้องแม่นยำเท่ากับค่าจริง จึงทำให้เกิดค่าความผิดพลาดขึ้นในทุกครั้งของการวัด ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถทำการแก้ไขเพื่อปรับลดค่าความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นให้ต่ำลงได้ โดยการคำนึงหาสาเหตุของความผิดพลาด และทำความเข้าใจให้ถูกต้องกับหลักการขั้นพื้นฐานของการใช้เครื่องมือในกระบวนการวัด

เครื่องมือวัด (Measuring Tool) คือ เครื่องมือที่ถูกนำมาใช้งานในกระบวนการวัดสำหรับการหาค่าของขนาดหรือระยะในการกำหนดตำแหน่ง โดยเครื่องมือวัดแต่ละชนิดจะมีรูปร่างและลักษณะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานในด้านต่างๆกัน ตัวอย่างเช่น การนำไปใช้สำหรับวัดและตรวจสอบขนาดของวัสดุชิ้นงาน ได้แก่ ความหนา ความกว้าง ความยาว ความสูง เป็นต้น

ความผิดพลาดตกค้าง (Residual Errors) คือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ไม่แน่นอนในกระบวนการวัด ซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอและได้ค่าที่แตกต่างกันเมื่อทำการวัดซ้ำในแต่ละครั้ง จากนั้นผู้วัดจึงจะนำค่าความผิดพลาดมาวิเคราะห์โดยหลักการทางสถิติเพื่อหาค่าที่ได้ต่อไป

ความผิดพลาดเนื่องจากเครื่องวัด (Instrumental Errors) คือ ความผิดพลาดที่มีสาเหตุเกิดจากโครงสร้างระบบกลไกของเครื่องวัดขาดการบำรุงรักษา ทำให้เครื่องวัดเสื่อมประสิทธิภาพและได้ค่าการวัดที่คลาดเคลื่อน ตัวอย่างเช่น การที่เข็มชี้ไม่ตรงตำแหน่งศูนย์ (Zero Position) จากการปรับแต่งที่ผิดพลาด ความฝืดระหว่างฐานรองเดือยกับเดือย รวมทั้งความฝืดจากสปริงก้นหอย (Spiral Spring) ได้แก่ การยืดตัว และการตึงตัวของสปริงก้นหอย เป็นต้น

ค่าความถูกต้อง (Accuracy) คือ ค่าจากการวัดที่มีความใกล้เคียงกับค่าจริง ซึ่งค่าความถูกต้องนี้เป็นค่าที่สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพและความสามารถของเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการวัดได้

เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน (Percentage Error) คือ ค่าที่แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างค่าของค่าที่วัดได้กับค่าที่แท้จริง ซึ่งเครื่องมือวัดแต่ละชิ้นจะถูกระบุค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่แตกต่างกัน อีกทั้งค่าดังกล่าวนี้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการคำนวณหาค่าความถูกต้อง (Accuracy) ของเครื่องมือวัดได้อีกด้วย

ความคลาดเคลื่อนสถิต (Static error) คือ ผลต่างของค่าแท้จริงกับค่าที่ได้จากการผลทดลอง มักถูกแสดงในรูปแบบของร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ (%) ผู้วัดสามารถดูประสิทธิภาพและความถูกต้องแม่นยำของการวัดได้จากความใกล้เคียงกันระหว่างค่าจริงกับค่าที่ได้ โดยที่ในแต่ละครั้งของกระบวนการวัดจะมีค่าความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนดังกล่าวนี้อาจเป็นสาเหตุของการเกิดความไม่แน่นอน (uncertainty) ผู้วัดจึงควรทำความเข้าใจกับหลักการในการวัดและทำการแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อปรับลดค่าความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้น

ความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ (Systematic error) คือ ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของเครื่องมือวัด (instrument) ส่งผลให้การอ่านค่าซ้ำเกิดการคลาดเคลื่อนขึ้น ในบางครั้งความคลาดเคลื่อนเชิงระบบอาจมีชื่อเรียกได้เป็น fixed error หรือ bias error ซึ่งความคลาดเคลื่อนดังกล่าวถูกจัดเป็นความคลาดเคลื่อนสถิต (static error) ที่ผู้มีประสบการณ์ในการวัดสามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงของค่าที่จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในการวัดแต่ละครั้งมีขนาดเท่าเดิม โดยปัญหาความความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้ สามารถลดและแก้ไขค่าได้ด้วยการนำวิธีการปรับแก้มาใช้ในการช่วยปรับลดค่าลง

ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (Random error) คือ ความคลาดเคลื่อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี ตัวอย่างเช่น ค่าปริมาณความชื้นและอุณหภูมิในอากาศที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าหรือความถี่ เป็นต้น ซึ่งความคลาดเคลื่อนแบบสุ่มนี้จัดเป็นความคลาดเคลื่อนสถิต (static error) ที่สามารถหาค่าได้จากการใช้หลักการทางสถิติมาคิดคำนวณ และเป็นค่าที่ไม่สามารถคาดเดาความคลาดเคลื่อนได้ล่วงหน้า เนื่องจากเมื่อทำการวัดซ้ำจะได้ค่าที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง

ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากผู้วัด (Human error) คือ ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการคำนวณผล การอ่านค่า รวมไปถึงการบันทึกค่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มความรอบคอบ และความระมัดระวังในระหว่างขั้นตอนการวัด และการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับหลักการอ่านค่าให้แก่ตัวผู้วัด ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากตัวผู้วัดนี้ ถูกจัดเป็นค่าความคลาดเคลื่อนสถิต (static error)

อัตราร้อยละ(Percentage) คือ รูปแบบการนำเสนอจำนวนใดๆด้วยการใช้เศษส่วน ซึ่งตัวส่วนที่ถูกนำมาใช้จะมีค่าเป็น 100 เสมอ อัตราร้อยละมักถูกใช้สำหรับเปรียบเทียบค่าระหว่างปริมาณสองค่า โดยที่ปริมาณตัวแรกจะเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเป็นส่วนย่อยของปริมาณตัวที่สอง มีสัญลักษณ์ในการใช้งานเป็นเครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ “%” ตัวอย่างเช่น ร้อยละ 45 สามารถเขียนได้เป็น 45%

ค่าสัมบูรณ์ (Modulus) คือ ค่าบนเส้นจำนวนที่มีระยะห่างจากศูนย์ (0) โดยที่ไม่ว่าจะมีทิศทางไปยังด้านซ้ายหรือด้านขวาของศูนย์ ค่าสัมบูรณ์ที่เกิดจากระยะห่างนั้นจะมีค่าเป็นบวกเสมอ

ค่าดริฟท์ (Drift) คือ การที่เครื่องมือวัดถูกใช้งานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ค่าจริงที่ได้จากการวัดเกิดการเบี่ยงเบนจนเกิดเป็นค่าดริฟท์ขึ้น โดยที่ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการปรับเทียบเครื่องมือวัด

ความละเอียดในการวัด (Resolution) คือ ค่าความละเอียดสูงสุดของเครื่องมือที่สามารถวัดออกมาได้ มักเป็นค่าที่ถูกแสดงในรูปแบบร้อยละของช่วงการวัด ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องชั่งน้ำหนักที่สามารถให้ค่าได้สามถึงสี่ตำแหน่ง เป็นต้น

ความคลาดเคลื่อนจากการวัดมีสาเหตุมาจากอะไร

ความคลาดเคลื่อน หมายถึง “ผลต่างระหว่างค่าที่วัดได้ และค่าที่แท้จริง” สาเหตุของความคลาดเคลื่อนเกิดได้จาก วิธีการวัดจากเครื่องวัดและสภาพแวดล้อมในการวัด ดังนั้นเราต้องศึกษาวิธีการวัดตามคู่มือของเครื่องวัดและตรวจวัดให้ถูกต้องและเข้าใจความละเอียดถูกต้องของเครื่องวัดที่เราใช้งาน

ความคลาดเคลื่อนของการวัดมีอะไรบ้าง

การวัดความคลาดเคลื่อนแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากผู้วัด (gross error หรือ human errror) ความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ (systematic error) ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (random error)

สาเหตุที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของผลการทดลองมีอะไรบ้าง

ความคลาดเคลื่อนเกิดจาก ข้อจำกัดของเครื่องมือหรือความสามารถในการอ่านสิ่งที่เราวัด ประเภทของความคลาดเคลื่อน อาจแบ่งได้เป็น ความคลาดเคลื่อนจากการอ่าน (Reading Errors) ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (Random Errors) และ ความคลาดเคลื่อนจากลักษณะของเครื่องมือหรือวิธีการวัด (Systematic Errors) ความคลาดเคลื่อนจากการอ่าน เป็นความ ...

ความเที่ยงตรงของเครื่องวัดคืออะไร

ความเที่ยงตรง (Precision) หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือวัดที่จะบอกค่าที่วัดได้เป็นค่าใดค่าหนึ่งซ้ำเสมอ ซึ่งค่าที่อ่านได้อาจไม่ใช้ค่าที่แท้จริงก็ได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita