องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วยกี่มิติ อะไรบ้าง

CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบของธุรกิจหรือองค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดีโดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร CSR เป็นแนวคิดขององค์การในการดำเนินกิจกรรม การวางแผน การตัดสินใจ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการดำเนินการที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยอาจสอดแทรกเรื่องนี้ไว้ในกระบวนการประกอบธุรกิจ เช่น กระบวนการผลิต หรือการบริการ การดูแลบุคลากรในองค์การและครอบครัว รวมไปถึงการดูแลชุมชนและสังคมโดยรอบ เป็นการบูรณาการเอาเป้าหมายเพื่อสังคม เข้าไปในการดำเนินกิจการ ซึ่งต้องทำด้วยความสมัครใจ

CSR เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุด(ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการทำธุรกิจอยู่แล้ว) จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ
หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม จึงอยู่บนฐานความเชื่อว่า ธุรกิจ กับสังคม จะต้องอยู่ร่วมกัน อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน

Corporate หมายถึง กิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร (หมายรวมถึงองค์กรประเภทอื่นได้ด้วย)

Social สังคมในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะพิจารณาตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กรโดย

สังคมภายในองค์กร
  • ในระดับของผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุน ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของกิจการ การไม่นำข้อมูลภายในไปเปิดเผยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารหรือกรรมการซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม เป็นต้น
  • ในระดับของผู้บริหารหรือกรรมการบริษัท ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีระบบการบริหารจัดการและการกำหนดค่าตอบแทนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลรายงานทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา รวมถึงการอุทิศเวลาและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
  • ในระดับของพนักงาน ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การจ่ายค่าจ้างและผลตอบแทนที่เป็นธรรมและตรงต่อเวลา การจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน การพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรมในสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น
สังคมระดับใกล้กับองค์กร
  • ในระดับของลูกค้าและผู้บริโภค ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค การให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา การให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรง การปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค การยุติข้อโต้แย้งและข้อร้องเรียนของผู้บริโภค เป็นต้น
  • ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การยึดถือข้อปฏิบัติทางสัญญาที่เป็นธรรม การดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการรับหรือให้สินบนในทุกรูปแบบ การเคารพต่อสิทธิในทรัพย์สินหรือกรรมสิทธิ์ของคู่ค้า การไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้า การส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินความรับผิดชอบด้านสังคมร่วมกับองค์กร เป็นต้น
  • ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น
สังคมภายระดับไกล
  • ในระดับของประชาสังคม ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
  • ในระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาด การกลั่นแกล้งหรือใช้อิทธิพลในการกีดกันเพื่อมิให้เกิดการแข่งขัน เป็นต้น
  • ในระดับสังคมโลก ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อระดับประเทศหรือโลก ได้แก่ การรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลของเสียจากอุตสาหกรรมที่ปล่อยออกมาจากการผลิตขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นอากาศหรือน้ำ แม้กระทั่งขยะ หรือถ้าการค้าควรใส่ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลาสติก

Responsibility หมายถึง การรับผิดชอบ การยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกัน และปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์ และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งผลกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องกับองค์กร

แนวความคิดด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรจาก Carroll  และ Buchholz (1999)   ได้ให้แนวคิดไว้ว่า สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบธุรกิจที่มีคุณธรรม โดยผู้ประกอบธุรกิจเหล่านั้นได้ยอมรับว่าความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจจะเป็นทางที่นำไปสู่การยอมรับทางสังคม

Pyramid of Corporate Social Responsibility

Carroll’s CSR Pyramid เป็นการแบ่งความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ปิรามิดที่ใช้ในการแบ่งเกณฑ์การรับผิดชอบมี 4 ระดับดังนี้

Economic Responsibility ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐศาตร์

ระดับที่ต่ำที่สุดของปิรามิดเป็นการรับผิดชอบต่อองค์กรหรือธุรกิจคือการทำให้มีกำไร มีรายได้ การทำธุรกิจที่ขาดทุนทำให้ธุรกิจดำรงอยู๋ไม่ได้ ไม่มีเงินเดือนหรือค่าตอบแทนให้พนักงานทำให้คนตกงาน การมีกำไรเป็นทางเดียวที่จะทำให้บริษัทอยู่อย่างยาวนาน นอกจากนี้หน้าที่ของบริษัทต้องผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยราคาที่เหมาะสมอีกด้วย

Legal Responsibility ความรับผิดชอบทางด้านกฎหมาย

ระดับที่ 2 องค์การต้องทำให้ถูกหมาย ถูกกฎระเบียบ ในพื้นที่ที่ตนเองดำเนินธุริจอยู่ เพื่อเป็นตัวควบคุมไม่ให้องค์การคอยรับผิดชอบแต่จะทำกำไรเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคม เช่น กฎหมายแรงงาน, กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณะสุข การเสียภาษีและการทำบัญชีให้ถูกต้อง ถ้าไม่ผ่านข้อนี้จะมีผลเสียกับธุรกิจ

Ethical Responsibility ความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรม

การมีจริยธรรมในการทำธุรกิจไม่ฉวยโอกาส ควรประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่สังคมเห็นชอบ เป็นสิ่งที่ควรทำในทุกสถานการณ์ องค์กรไม่เพียงทำตามกฎหมายอย่างเดียวควรทำให้ถูกตามจริยธรรมด้วย ซึ่งข้อนี้ไม่เหมือน 2 ระดับแรกที่บริษัทต้องทำ ระดับนี้บริษัทไม่ถูกบังคับให้ทำ แต่ถ้าทำจะมีผลดีอย่างมากไม่เพียงผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง ซัพพลายเออร์ ลูกค้าที่ใช้บริการหรือซื้อสินค้าจะรู้สึกดีกับบริษัทไปด้วย

Philanthropic Responsibility ความรับผิดชอบเชิงสาธารณะประโยชน์

เป็นความรับผิดชอบระดับสูงที่สุด ความรับผิดชอบที่จะต้อง ‘คืนประโยชน์ให้กับสังคม’  เป็นการกระทำที่องค์กรธุรกิจให้ความช่วยเหลือหรือบริจาคเพื่อเป็นการตอบสนอง ความคาดหวังของสังคมด้วยความเป็นพลเมืองที่ดีขององค์กรธุรกิจ อาจรวมถึงกิจกรรมที่เป็นการกระทำที่สนับสนุนความผาสุกของมนุษย์หรือความสัมพันธ์อันดีในทางธุรกิจโดยทั้งผู้บริหารและลูกจ้างมีส่วนร่วมโดยการเป็นอาสาสมัครเพื่อร่วมช่วยเหลือสังคมท้องถิ่นหรือปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนสังคมให้ดีขึ้น การรักษาสภาพแวดล้อมของโลกโดยการลดการใช้พลาสติก ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้เพื่อลดขยะของโลก การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ของธุรกิจเพื่อลดภาวะโลกร้อน

ความสำคัญของ CSR

CSR มีความสำคัญอย่างมาก เพราะองค์กรไม่ควรทำธุรกิจที่แสวงหากำไรที่ไม่ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะองค์กรไม่สามารถประกอบการได้หากไม่มีสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย แรงจูงใจของ CSR ก็คือการรักษาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้องค์กรสามารถทำงานต่อไปได้ในระยะยาวและอย่างยั่งยืน องค์กรที่ขาด CSR มักมีปัญหาระยะยาวซึ่งบริษัทที่มุ่งเน้นทำกำไรสูงสุดอย่างเดียวโดยไม่สนใจพนักงาน สิ่งแวดล้อมหรืออย่างน้อยๆ เรื่องกฎหมาย แม้จะมีปัญหาอาจสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคได้

ผลกระทบที่เห็นได้ชัดจากประเด็นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแม้ไม่เกี่ยวกับเรื่อง CSR แต่เป็นตัวอย่างที่ต้องระวังอย่างมากในโลกยุคนี้ที่ประเด็นสิ่งแวดล้อมและสภาวะการใช้แรงงาน ตัวอย่างล่าสุดที่ทำให้ประเทศไทยเกิดปัญหาเรื่องข้อกล่าวหาว่าโดย PETA กล่าวหาใช้ลิงเก็บมะพร้าวทารุณกรรมสัตว์ ทำให้ห้างในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษหลายแห่ง แบนสินค้าในกลุ่มมะพร้าวจากไทย แม้จะไม่เป็นความจริงและกระทรวงพาณิชย์จะชี้แจงและทำความเข้าใจให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และเจ้าของสวนมะพร้าวยืนยันว่า ไม่เคยใช้แรงงานลิงแต่จะใช้แรงงานคน ก็ยังไม่ได้รับการยกเลิกการแบนสินค้ามะพร้าวจากไทย

ในอนาคต CSR จะมีความสำคัญอย่างมากในธุรกิจทั้งระดับบริษัทหรือระหว่างประเทศ จะมีกฎระเบียบข้อจำกัดต่างๆ ที่ออกมาโดยอาจออกมาเพื่อกีดกันทางการค้าให้ทำตามมาตรฐานต่างๆ ที่แต่ละประเทศกำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม แรงงาน หรือการทารุณกรรมสัตว์ นอกจากนี้ CSR ในหลายองค์การอาจเป็นการตั้งเงื่อนไขให้กับผู้มีส่วนได้เสีย อันหมายถึง ลูกค้า คู่ค้า ผู้ลงทุน รัฐบาล และองค์การพัฒนาชุมชน ร่วมกันดูแลรับผิดชอบสังคมด้วย

CSR แท้ ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรม CSR โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมเป็นที่ตั้ง และ CSR เทียม ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรม CSR โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อองค์กรเป็นที่ตั้ง การดูว่าเป็น CSR แท้หรือเทียม ให้ดูที่ประโยชน์ตกอยู่ที่บริษัทหรือสังคมมากกว่ากัน โดยต้องทำด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่จากกระแสสังคมบังคับหรือหาช่องทางกฎหมายข้อกำหนดต่างๆโดยหาเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาดหรือธุรกิจ

กลยุทธ์ CSR สำหรับธุรกิจ

CSR Marketing คือการสื่อสารทางการตลาดโดยให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและองค์กร การทำ CSR เป็นการให้คุณค่า กลับคืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมนั่นเอง โดยธุรกิจต้องมีบทบาทเป็นผู้ให้บ้างหลังจากที่ทำกำไรจากลูกค้าหรือผู้บริโภค การทำกิจกรรม CSR นั่นสามารถทำได้หลายกิจกรรม ง่ายๆ ก็คือคุณจะทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้สังคมและสิ่งแวดล้อมได้รับผลประโยชน์

การทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก และมีสิ่งที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวองค์กร และคงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ องค์กรควรหลีกเลี่ยงโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักขององค์กรหรือความถูกต้องในการทำธุรกิจ และควรหลีกเลี่ยงจากการใช้ประโยชน์จาก CSR เพื่อประโยชน์ทางการตลาด เพื่อไม่ให้เกิดคำถามจากสังคมว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์อย่างอื่นหรือเป็นแค่การสร้างภาพลักษณ์ ดังนั้นการวางแผนการทำกิจกรรม CSR ใดๆจำเป็นต้องคิดให้รอบด้าน

ภาพลักษณ์ในสังคม – ภาพลักษณ์เป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดแต่ก็ควรเป็นสิ่งที่องค์กรคิดถึงหลังสุดเวลาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ลูกค้าส่วนมากตัดสินบริษัทจากสิ่งที่ลูกค้าเห็น เช่น ภาพพนักงานบริษัทกำลังช่วยเหลือสังคม หรือสื่อที่เจ้าของธุรกิจบริจาคเงินให้กับโรงเรียนยากจน 

สร้างแบรนด์ – กิจกรรมสร้างภาพลักษณ์ที่ถูกทำอย่างต่อเนื่อง และมีความเกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ ก็จะทำให้เกิดแบรนด์ที่ดี แบรนด์ที่ถูกสร้างขึ้นผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมก็มักที่จะเป็นแบรนด์ที่มีความแตกต่างและสามารถมัดใจลูกค้าได้ในระยะยาว เพราะสามารถทำให้ลูกค้าเชื่อได้ว่าเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบ มีความจริงใจ

เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น – ข้อดีของการสื่อสารผ่านทาง CSR ก็คือลูกค้ามีแนวโน้มที่จะนำไปพูดต่อมากขึ้น หากเทียบกับการประชาสัมพันธ์หรือการขายทั่วไป

เข้าถึงพนักงานมากขึ้น – CSR ยังเป็นวิธีประสานความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงานได้ดีอีกด้วย การทำเพื่อสังคมทำให้พนักงานรับรู้ได้ว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าการสร้างกำไร นอกจากจะทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นมากขึ้นแล้วยังลดโอกาสที่พนักงานจะหมดไปหรือลาออกอีกด้วย ตัวอย่างเช่น Netflix เสนอให้พนักงานลา เพื่อไปเลี้ยงดูบุตรได้ถึง 52 สัปดาห์ หรือ 1 ปี โดยยังคงได้รับเงินเดือน

ข้อระวังคือมีไม่กี่ธุรกิจที่ทำ CSR ที่แท้จริง แน่นอนการทำ CSR ก็เพื่อหวังผลทางด้านการตลาด เพื่อสัง Brand ของธุรกิจเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เมื่อรู้จักมากขึ้นก็จะมีความภักดีต่อตราสินค้ามากขึ้น อันนำมาซึ่งยอดขาย และภาพพจน์ที่ดีต่อธุรกิจ สินค้า และบริการ  แต่ส่วนมากแล้ว การทำกิจกรรม CSR จะมีการมุ่งเน้นในเรื่องของการทำตลาด โฆษณามากเกินไป บางครั้งทำมากจนทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงผลประโยชน์ ที่แฝงอยู่  ซึ่งไม่ใช้การทำ CSR ที่ดีเลย

CSR ควรเป็นแนวทางที่แสดงความรับผิดชอบอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด เพราะมิเช่นนั้น การทำ CSR ที่เห็นกันทั่วๆไป ก็จะเป็นเพียงแค่แนวทางหนึ่งของการทำประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพเท่านั้น 

ประเภทกิจกรรมของ CSR

CSR กับเกณฑ์ผลประโยชน์ สามารถจำแนกกิจกรรม CSR ได้เป็น 2 พันธุ์ (Variety) ได้แก่ CSR แท้ ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรม CSR โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมเป็นที่ตั้ง และ CSR เทียม ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรม CSR โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อองค์กรเป็นที่ตั้ง

การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropic CSR) เป็นแนวทางที่ง่ายที่สุดและมีมายาวนานในสังคมไทย นั่นคือ การที่องค์กรแสดงความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยการนำเงิน สิ่งของ หรือสินค้า ไปร่วมทำบุญ ให้ทุนการศึกษา หรือบริจาคให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคม หรือ หากองค์กรมีทรัพยากรด้านการเงินมากหรือเครือข่ายทางธุรกิจกว้างขวางก็อาจระดมเงินตั้งเป็นกองทุนเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส หรือ การที่บริษัทนำส่วนหนึ่งของรายได้ หรือกำไรจากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการไปบริจาคเพื่อสาธารณกุศล เรียกว่าเป็นการบริจาคแต่โฆษณาหรือเชื่อมโยงกับสินค้าหรือตัวองค์กร (Cause-related Marketing) เช่น การนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยการนำเงินไปสร้างโรงเรียน เป็นต้น

ความรับผิดชอบสังคมต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental CSR) – แนวทางนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นทุ่มเทอย่างตรงไปตรงมาจากองค์กรมากที่สุด เนื่องจากเป็นแนวทางที่เสนอให้องค์กรนำประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เลือกไว้ ย้อนกลับมาปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินธุรกิจที่เป็นอยู่ของตนเอง เช่น จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างไร เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก หรือการลดขยะพลาสติก โดยร้านสะดวกซื้อร่วมมือกับประชาชนลดการให้ถุงพลาสติกเมื่อซื้อสินค้า เป็นต้น

การรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) 

การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering CSR) – อาสาสมัครในรูปแบบของการระดมให้พนักงาน หรือคู่ค้าธุรกิจสละเวลาและแรงงานเพื่อช่วยเหลือชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ใกล้กับองค์กร  เป็นวิธีการที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรในองค์กรกับชุมชน ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานรับรู้ เข้าใจถึงความจำเป็น ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะเปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นตัวแทนของบริษัทเข้าไปทำหน้าที่ของพลเมืองดีในชุมชนได้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้องค์กรควรให้การสนับสนุนพนักงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การพิจารณาความดีความชอบ เบี้ยเลี้ยงพิเศษ

มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000

ISO 26000 เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) แก่องค์กรทุกประเภท ในการสนองตอบความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการประกอบการอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยข้อแนะนำที่ให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ มิใช่ข้อกำหนด (requirements) ดังเช่นที่ปรากฏในมาตรฐานการรับรอง อาทิ ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้วยเหตุนี้ ISO 26000 จึงมิใช่มาตรฐานสำหรับนำไปใช้ หรือนำมาพัฒนาเป็นข้อกำหนดอ้างอิงเพื่อการรับรอง (certification)

อ่านเพิ่มเติม – wikipedia, thaicsr

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงสิทธิ มนุษยชน ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมใส่ใจต่อ ผู้บริโภค และการแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน

ความรับผิดชอบต่อสังคม มีกี่ประเภท

3) ประเภทของ CSR..
(1) CSR-after-process "กิจกรรมเพื่อสังคม" คือ การด าเนินกิจกรรม (activities).
(2) CSR-in-process "ธุรกิจเพื่อสังคม" คือ การดาเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ใน.
(3) CSR-as-process "กิจการเพื่อสังคม" แตกต่างจากสองประเภทข้างต้น ที่เป็น.
4) ระดับขั้นของ CSR..

ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการมีกี่ระดับ

สังคมในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะมุ่งไปที่ผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กรซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ สังคมใกล้ และสังคมไกล สังคมใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ

หลักความรับผิดชอบต่อสังคมคืออะไร

1.1 ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง ความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อ สังคม โดยปฏิบัติตามกฎหมาย คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล และที่มาของความหมายมาจากการท า กิจกรรมใดๆ ต้องมุ่งเน้นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักโดยตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากการดาเนินกิจกรรมนั้นๆ ขององค์กร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita