การพัฒนาเศรษฐกิจมีผลดีในด้านใด

เศรษฐกิจ

สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และมีอำนาจทางเศรษฐกิจในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต่อบุคคลคิดเป็นจำนวน 63,543.6 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2563) ในระบบเศรษฐกิจเสรีทางการตลาดนี้ ทั้งปัจเจกบุคคลและบริษัทมีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจด้วยตนเอง โดยรัฐบาลกลางจะจัดซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชน บริษัทในสหรัฐฯ จึงสามาถใช้สิทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างเต็มที่มากกว่ากลุ่มบริษัทที่ตั้งในประเทศคู่ค้าดังเช่นยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตัดสินใจในทางธุรกิจ การวางรกรากทางการลงทุน การปลดลูกจ้างพนักงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ มีข้อเสียเปรียบคือต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านกำแพงการค้าซึ่งกีดขวางการเข้าสู่ตลาดของคู่ต่อสู้

นับตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ เป็นผู้นำและมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจในเวทีเศรษฐกิจโลกเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ อวกาศ และยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Recession) ระหว่างปี 2550-2552 อันเนื่องมาจากภาวะฟองสบู่แตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้มีการยุบตัวลงของสถาบันการเงินต่างๆ และบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้ที่ถึงแม้ว่าจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตามยังคงส่งผลกระทบระยะยาวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงานที่เรื้อรัง ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหารายได้ประชาชาติที่ลดลงในกลุ่มชนชั้นล่างและกลาง และปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลของกลุ่มวัยทำงานจากการกู้ยืมเงินทางการศึกษา เป็นต้น

นโยบายทางเศรษฐกิจ

ปี 2564 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ได้ประกาศแนวทางการฟื้นฟูและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้ 3 แผนงานที่สำคัญ ได้แก่

The American Rescue Plan

เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีชาวสหรัฐฯ จำนวน 4 ล้านคนต้องตกอยู่ในสภาวะการว่างงานเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ชาวสหรัฐฯ จำนวน 15 ล้านคนไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยได้ และมีประชากรทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกกว่า 30 ล้านคนต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหาร โดยแผนงาน American Rescue Plan จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประชากรชาวสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ

  • การให้เงินช่วยเหลือทางตรงแก่ครัวเรือนชาวสหรัฐฯ
  • การขยายระยะเวลาการให้สวัสดิการจากการว่างงาน
  • การให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
  • การให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร
  • การให้คืนเครดิตภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร
  • การให้ความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงดูบุตร

The American Jobs Plan

“American Jobs Plan” มีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ การสร้างงาน และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับโลก โดยแบ่งการปฏิรูปออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
  • โครงสร้างพื้นฐานสำหรับที่พักอาศัย
  • โครงสร้างการบริการและการจ้างงานด้านการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • การส่งเสริมการลงทุนเพื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี การผลิต ธุรกิจขนาดย่อม และแรงงาน

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดน ยังได้เสนอแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีควบคู่ไปกับแผนเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินตามแผนงานด้วย

The American Families Plan

“American Families Plan” มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนครอบครัวชาวอเมริกัน โดยเฉพาะครัวเรือนระดับชนชั้นกลาง ในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการปฏิรูประบบภาษี โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่

  • การสนับสนุนด้านการศึกษา อาทิ การเข้ารับการศึกษาแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โครงการทุนการศึกษา
  • การสนับสนุนครอบครัว เด็ก และเยาวชน อาทิ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก โครงการด้านอาหาร
  • การให้เครดิตภาษีและเงินช่วยเหลือ
  • การปฏิรูปโครงสร้างภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดหางบประมาณ อาทิ การเพิ่มอัตราการเรียกเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง

ที่มา:

  • Thai Business Information Center, Royal Thai Embassy, Washington, D.C.
  • White House

 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด: สิงหาคม 2564

การพัฒนาเศรษฐกิจ

      ความหมาย ของการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง การทำให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น เวลานาน เพื่อทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคม โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

1) เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อท าให้มีสินค้าและบริการมากขึ้นหรือทำ ให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  2) มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีความสมดุลในตลาดต่าง ๆ ทำให้เกิด การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
  3) มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีความยุติธรรมในการกระจาย รายได้ และการกำหนดราคา ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน
  4) มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีอิสระในการเลือกอาชีพและเลือกวิถีการ ดำรงชีวิตของแต่ละคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
  5) มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หมายถึงการมีความมั่นคงในฐานะทางการเงินของ ประเทศ และสถาบันการเงินของประเทศ เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดสรรทรัพยากรของประเทศ เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ
  6) มีความสงบทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  7) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีสุขภาพแข็งแรง


ลักษณะของประเทศด้อยพัฒนา
1. รายได้ต่อคนต่ำ
2. ขาดแคลนทุน
3. การออมมีจำนวนน้อย
4. มีช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจน
5. ทัศนคติค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรมยังล้าหลัง ไม่อำนวยต่อการพัฒนา
6. การผลิตสินค้าเป็นขั้นปฐมภูมิ
7. มีการสั่งสินค้าเข้าจำนวนมาก
8. ส่งออกน้อยกว่าผลิตผลมวลรวมของประเทศ
9. มีประชากรหนาแน่น
10. อัตราการเกิดการตายสูง
11. การขยายตัวทางอุตสาหกรรมถูกจำกัดโดยขนาดและคุณภาพของประชากร การสะสมทุน ความรู้ทางเทคนิค ทรัพยากรธรรมชาติ

ตัวเลขรายได้ที่แบ่งประเทศพัฒนากับด้อยพัฒนามีดังนี้
1. ประเทศด้อยพัฒนา ( Underdeveloped Nations) มีรายได้ต่อคน ต่ำกว่า 600ดอลล่าร์ต่อปี บางทีก็เรียกกลุ่มนี้ว่ากำลังพัฒนา

2. ประเทศกึ่งพัฒนา ( Semi-Developed Nation) มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 600 ดอลล่าร์ขึ้นไป

3. ประเทศพัฒนาแล้ว ( Developed Nation) ประชากรมีรายได้ต่อคนสูงกว่า 1,500 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปีขึ้นไป

ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
     ประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้มความเจริญทัดเทียมกับประเทศที่มีการพัฒนาระดับสูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นโดยปกติประเทศด้อยพัฒนาจะมีรายได้ ที่แท้จริงต่อบุคคลต่ำ มีอัตราเพิ่มของผลผลิตและรายได้ประชาชาติในอัตราต่ำ ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการเพิ่มสูงดังนั้นหากไม่มีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้นขณะเดียวกันในประเทศด้อยพัฒนาเองก็มีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจนหากไม่มีการแก้ปัญหาเหล่านี้จะทำให้ประชาชนในประเทศขาดความสามัคคีดังนั้นประเทศด้อยพัฒนาจึงพยายามพัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนของประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นทั้งนี้เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ(ประชาชน)ดีขึ้นแล้วมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนก็จะสูงขึ้นด้วยนอกจากนี้ยังช่วยลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆในสังคมอีกด้วยทำให้ประเทศสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองการพัฒนาเศรษฐกิจนอกจากจะมีผลทำให้ฐานะของประชาชนในประเทศดีขึ้นแล้วยังส่งผลให้ความมั่นคงของฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นด้วย ทำให้ประเทศชาติมีเงินทุนในการทำนุบำรุงประเทศทั้งในด้านการศึกษา สาธารณูปโภค และการป้องกันประเทศซึ่งทำให้ประเทศมีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจช่วยเหลือเศรษฐกิจของโลกตามปกติประเทศพัฒนาจะมีบทบาทในการช่วยเหลือทางการค้ากับประเทศด้อยพัฒนาในการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเงินทุนเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆเพื่อให้ประเทศด้อยพัฒนามีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคตหากประสบความสำเร็จจะทำให้ประเทศมีรายได้ที่แท้จริงต่อหัวของประชาชนสูงขึ้นเมื่อรายได้ของประชาชนสูงขึ้นย่อมมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้การค้าของโลกขยายตัวโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วจะสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโลก

วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐศาสตร์
   แผนพัฒนาเศรษฐศาสตร์ คือ "บันทึกแผนงานเป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงาน กำหนดหน่วยงานที่จะปฎิบัติตามแผนการต่าง ๆ ไว้เป็นระบบ"

แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนา มีวัตถุประสงค์กว้าง ๆ 4 ประการ ดังนี้คือ
1.ยกระดับอัตราการเพิ่มของรายได้ประชาชาติและรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลให้สูงขึ้น
2.รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศให้มีความมั่นคงที่สุด
3.ขจัดปัญหาการว่างงาน (unemployment) และการทำงานไม่เต็มที่ (under employment)
4.กระจายรายได้ไปยังประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ได้รับรายได้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชนในชนบทให้ทัดเทียมกับประชาชนในเมือง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือ เอกสารด้านนโยบายสาธารณะที่ใช้ในการกำาหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ (ตั้งแต่แผนฉบับที 1) และสังคม (ตั้งแต่แผนฉบับที 2เป็นต้นมา) ร่วมกันของประเทศไทย โดยได้ประกาศใช้ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.2504 และมีการประกาศใช้เรือยมาจนกระทั่งถึงแผน 10 ในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวคิดด้านการจัดทำาแผนพัฒนาขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในสมัย แรกเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยใน พ.ศ.2475 คณะราษฎร์โดยหลวงประดิษฐมนูญธรรม (ปรีดีพนมยงค์) ได้นำาเสนอแผนที่มีชื่อว่า “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” แต่ประสบปญหาความขัดแย้งด้านแนวคิดของแผนที่มีลักษณะการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบของรัฐสังคมนิยม จึงทำาให้แผนดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจแต่ประการใดในปพ.ศ.2493 รัฐบาลได้จัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติเพื่อทำาหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐบาลในเรี่องเศรษฐกิจการคลัง และมีคณะกรรมการดำาเนินการทำาผังเศรษฐกิจ ซึ่งทำาหน้าที่วางกรอบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นคณะทำางานหลักของสภาเศรษฐกิจในปพ.ศ.2504 รัฐบาลของจอมพลสฤษดิธนะรัชต์ได้มีการจัดทำาแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นผู้วางแผน โดยธนาคารโลกได้ส่งผู้เชียวชาญเข้ามาให้การช่วยเหลือทางวิชาการในการกำาหนดแผนดังกล่าว ลักษณะสำาคัญที่ทำให้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีความเป็นพิเศษคือ การวางระบบความสัมพันธ์ของแผน เช่น ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้“โดยที สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้พิจารณากำาหนดจุดหมาย นโยบาย แผนการและโครงการพัฒนาการเศรษฐกิจเพื่อวางแผนการส่วนรวมสำาหรับระยะเวลาหนึ่ง และได้วางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติระหว่างระยะเวลา พ.ศ.2504 ถึง พ.ศ.2506 และถึง พ.ศ. 2509 ...”จากแผนดังกล่าวทำาให้ประเทศไทยมีลักษณะเศรษฐกิจแบบผสม (Mix Economy) โดยที่มีหลักการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีพร้อมกับการที่รัฐเข้ามามีบทบาทในการวางแผนเพื่อกำาหนดเปาหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติให้มีบทบาทในการเป็นหน่วยงานกลางในการกำาหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ และได้เปลี่ยนชี่อเป็น “สำานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ใน พ.ศ.2502

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1. กรอบแนวคิด 

เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

ส่วนที่ 2. คุณลักษณะ
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ส่วนที่ 3. คำนิยาม
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

ส่วนที่ 4. เงื่อนไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ส่วนที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือ

     

เอกสารด้านนโยบายสาธารณะที ใช้ในการกำาหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ (ตั้งแต่แผนฉบับที 1) และสังคม (ตั้งแต่แผนฉบับที 2เป็นต้นมา) ร่วมกันของประเทศไทย โดยได้ประกาศใช้ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.2504 และมีการประกาศใช้เรือยมาจนกระทั่งถึงแผน 10 ในปจจุบันประเทศไทยมีแนวคิดด้านการจัดทำาแผนพัฒนาขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในสมัย แรกเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยใน พ.ศ.2475 คณะราษฎร์โดยหลวงประดิษฐมนูญธรรม (ปรีดีพนมยงค์) ได้นำาเสนอแผนที่มีชื่อว่า “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” แต่ประสบปญหาความขัดแย้งด้านแนวคิดของแผนที่มีลักษณะการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบของรัฐสังคมนิยม จึงทำาให้แผนดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจแต่ประการใดในปีพ.ศ.2493 รัฐบาลได้จัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติเพื่อทำาหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐบาลในเรี่องเศรษฐกิจการคลัง และมีคณะกรรมการดำาเนินการทำาผังเศรษฐกิจ ซึ่งทำาหน้าที่วางกรอบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวถือเป็นคณะทำางานหลักของสภาเศรษฐกิจในปีพ.ศ.2504 รัฐบาลของจอมพลสฤษดิธนะรัชต์ได้มีการจัดทำาแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นผู้วางแผน โดยธนาคารโลกได้ส่งผู้เชียวชาญเข้ามาให้การช่วยเหลือทางวิชาการในการกำาหนดแผนดังกล่าว ลักษณะสำาคัญที่ทำให้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีความเป็นพิเศษคือ การวางระบบความสัมพันธ์ของแผน เช่น ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้“โดยที สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้พิจารณากำาหนดจุดหมาย นโยบาย แผนการและโครงการพัฒนาการเศรษฐกิจเพื่อวางแผนการส่วนรวมสำาหรับระยะเวลาหนึ่ง และได้วางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติระหว่างระยะเวลา พ.ศ.2504 ถึง พ.ศ.2506 และถึง พ.ศ. 2509 ...”จากแผนดังกล่าวทำาให้ประเทศไทยมีลักษณะเศรษฐกิจแบบผสม (Mix Economy) โดยที่มีหลักการทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีพร้อมกับการที่รัฐเข้ามามีบทบาทในการวางแผนเพื่อกำาหนดเปาหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติให้มีบทบาทในการเป็นหน่วยงานกลางในการกำาหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ และได้เปลี่ยนชี่อเป็น “สำานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ใน พ.ศ.2502

ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกระบบตะกร้าเงินตราต่างประเทศ (Basket of currency) และหันไปใช้นโยบายการลอยตัวค่าเงิน (A money float) ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ได้ลดลงร้อยละ 15-20 และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจขอภูมิภาคเอเชียทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มอาเซียน (ค่าเงินของประเทศไทยจะแข็งกว่าหลายประเทศเมือมูลค่าของเงินประเทศไทยลดลง ทำให้จำนวนเงินของประเทศเพื่อบ้านในระบบแลกเปลี่ยนได้รับผลกระทบ)ก่อนที่ประเทศไทยจะประกาศลอยตัวค่าเงินในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ประเทศไทย ได้เปิดเสรีทางการเงินในปี 2536 ซึ่งในขณะนั้น ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Pegged exchange system) ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยในประเทศอยู่ใน อัตราสูงทำให้ดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ในเวลาต่อมาเงินบาทมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง (Overvalued) และที่สำคัญตะกร้าเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยประกอบด้วยเงินดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา สูงถึงร้อยละ 80 ส่งผลให้สภาพคล่องภายในประเทศมีสูงมาก ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้สูง (เกินความเป็นจริง) มีผู้กู้เอามาทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวเอก คือ ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้านจัดสรร การเติบโต ของเศรษฐกิจอยู่ในลักษณะของการใช้จ่ายเงินจากทุนที่ไหลเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมิได้เติบโตจากรายได้ การลงทุน ที่แท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าเป็นการเติบโตแบบฟองสบู่ และเมื่อต่างชาติถอนเงินทุนกลับ เศรษฐกิจของประเทศไทย ก็ล้มลงอย่างหมดท่าและที่ปรากฏชัดมองเห็นได้คือ

การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมหาศาล
 -ในปี 2538 – 2539 เทียบได้ร้อยละ 8 และ 7.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ อัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างรวดเร็วกล่าวคือ จากร้อยละ 23.6 ในปี 2536 เหลือเป็นร้อยละ 0 ในปี 2539
- เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ไทยต้องหันไปกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ (จะได้อธิบายภายหลัง)
หนี้ต่างประเทศจำนวนมหาศาล
- หนี้ข้างต้นเป็นหนี้ภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นเปอร์เซ็นหนี้ภาคเอกชน 80 % ส่วนภาครัฐมี 20 %
จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสังเขปและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในขณะนั้น
     ก่อนที่เราจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ตามที่อาจารย์แต่งตั้ง) รัฐบาลในขณะนั้น ได้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อฟื้นฟูประเทศ ซึ่งองค์การระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญอีก 2 องค์กรคือ องค์กรการค้าโลก(WTO) ธนาคารโลก (IBRD) ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องดำเนินการตาม ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น

1. การจัดทำงบประมาณประจำปี ไม่เกินดุล (ทำขาดดุล) เพื่อเป็นการไม่ให้รัฐบาลผลิตธนบัตรมาใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เงินเฟ้อ 

2. การจัดทำงบประมาณต้องจัดตามความสำคัญก่อน-หลัง โดยไม่มีอิทธิพลของการเมืองเข้าแทรกแซง (เป็นการลดบทบาทของรัฐในการกำหนดนโยบาย)
   3. ปฏิรูปการเก็บภาษีอากรให้มากขึ้น เช่น ภาษีที่ดิน, มรดกและให้ลดภาษี สินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค
   4. ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด
   5. ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด
   6. ยกเลิกระบบ Quota ภาษีศุลกากร ที่ใช้ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีเพราะได้แข่งขันกับสินค้าภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนา
   7. ให้ยกเลิกการกีดกันการลงทุนต่างประเทศ ให้สิทธิเท่าเทียมกัน
   8. โอนกิจการของรัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์
   9. ยกเลิกกฏหมายที่เป็นปฏิปักษ์กับการลงทุนจากต่างประเทศทุกประการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันอย่างเสรี
  10. ปฏิรูปกฏหมายที่ถือครองที่ดินเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนพื้นฐานจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่แพ้ทุนขนาดใหญ่ 

จากเงื่อนไขในจดหมายแสดงเจตจำนงค์ของ IMF ที่ทำกับรัฐบาลที่ปกครองในขณะนั้น สถานการณ์ของประเทศยิ่งทรุดหนัก เพราะเงื่อนไขดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อทุนต่างชาติในการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญนอกจาก IMF ยังมีธนาคารโลก (World Bank) องค์กรการค้าโลก (WTO) ความเสียหายพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

   

1. การเปิดเสรี การยกเลิก Quota ภาษีศุลกากร ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาตีตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาได้ และเราไม่มีโอกาสที่จะไล่ตามเทคโนโลยีของประเทศเหล่านั้นได้
    2. การปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
ในเรื่องของดอกเบี้ยและค่าเงินเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ในแง่ของความเป็นจริง กลไกตลาดนั้น ประเทศมหาอำนาจสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดเพื่อให้ตนเองได้เปรียบ
    3. ให้ยกเลิกการกีดกันทางการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จากผลของเงื่อนไขตรงนี้ทำให้กิจการการค้ารายเล็กรายน้อยของไทยต้องล้มเลิกกิจการไป เพราะสู้บรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไม่ได้ ในรัฐบาลที่ผ่านมายังอนุมัติให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งสาขาในเมืองใหญ่เกิดขึ้นมากมาย
นอกจากสภาพที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพวิกฤติดังกล่าวในเรื่องของเพื่อการสร้างภาพ การโฆษณาต่าง ๆ ทำให้เกิดกระแสของการบริโภคของคนไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งอาหาร แฟชั่น แนวคิดเพื่อสนองต่อการนำเข้าเสนอของทุนนิยมที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)
         จากการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาและสิ่งที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ผลที่ตามมายังกระทบต่อสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การว่างงานส่งผลต่อความเครียด
-ทำให้บางคนหันไปพึ่งสิ่งเสพติด การค้าสิ่งผิดกฏหมาย และบางคนยอมรับกับสภาพที่ฟองสบู่แตกไม่ได้ถึงขั้นฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องออกจากสถานศึกษาเนื่องจากไม่มีเงินจะส่งเสียเพราะผู้ปกครองว่างงาน
       จากที่กล่าวมาข้างต้นคือปัญหาของประเทศชาติที่เกิดขึ้นก่อนที่ข้าพเจ้าจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (อาจารย์แต่งตั้ง) แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีวิธีการดำเนินการต่อไปนี้

   

สังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) นั้นจะประกอบไปด้วย รัฐชาติ (Nation State) องค์กรพัฒนาเอกชน (Non Governmental Organization)องค์การและหน่วยงานของรัฐ(Governmental Organization) องค์กรที่เป็นสากลทั้งองค์การเฉพาะด้านเช่น ASEAN OPEC APEC EU WTO หรือองค์กรทั่วไป เช่น UN ซึ่งองค์กรต่างๆเหล่านี้จะเข้ามาบทบาทในเวที สังคมชุมชนระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินนโยบายต่างๆของตนเอง แต่บทบาทของรัฐชาตินั้นถือได้ว่าสำคัญมากที่อาจจะก่อให้เกิดสันติภาพและสงครามได้มากกว่าองค์กรอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น เพราะรัฐในฐานะรัฐเอกราชการเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย(Final Arbiter) ในการที่จะนำรัฐเข้าสู่สงคราม หรือสร้างพันธมิตรกับรัฐอื่น อันนำซึ่งสันติภาพ ความมั่งคั่งและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) จะมีลักษณะเด่นๆอยู่หลายประการในการ เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐจะมีทั้งความร่วมมือ(Cooperation) ความประนีประนอม(Compromise) หรือความขัดแย้ง(Conflict) ความสัมพันธ์จะเป็นในรูปแบบใดนั้นมีผลประโยชน์ของชาติ(Nation Interest) เป็นตัวแปรที่สำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ ถ้ารัฐสองรัฐหรือหลายรัฐมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้วก็จะอยู่ด้วยกันอย่างราบรื่นไม่มีความขัดแย้งจะสามารถตกลงกันได้อย่างดี เช่น องค์การอาเซียน(ASEAN) มีการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นแม้บางครั้งจะมีการขัดแย้งกันบ้าง แต่ถ้าผลประโยชน์ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็อาจถึงกับต้องเกิดสงครามก็ได้ เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างบอสเนียกับเฮอร์เชโกวินนา หรือกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับเชคชเนีย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์เป็นตัวกำหนดว่าจะมีความสัมพันธ์กันออกมาในรูปแบบใดความขัดแย้งหรือความร่วมมือ แต่ความขัดแย้งนั้นใน ในเวทีสังคมชุมชนระหว่างประเทศจะเป็นปรากฎการที่เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าความขัดแย้งกันไม่จำเป็นจะต้องก่อให้เกิดสงครามได้เสมอไปขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่ขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องใด ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือการขัดแย้งในเรื่องการค้า(Trade conflict ) ก็อาจจะไม่ถึงกับต้องเกิดสงครามเช่น ไทยขัดแย้งกับสหรัฐอเมริการในเรื่อง ภาษีท่อเหล็ก ภาษียาสูบหรือกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา หรือก่อกรณีที่จีนขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งขัดแย้งในเรื่องการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งถ้าแก้ไขก็ตกลงกันได้ ด้วยวิธีการต่อรองประนีประนอมกัน(Compromise) แล้วก็จะสมารถอยู่ร่วมกันได้ (Co-existence) แล้วก็สามารถเกิดสันติภาพได้ สาเหตุของความขัดแย้งจะมาจากพื้นฐานของผลประโยชน์  นโยบายต่างประเทศ นั่นจะกำหนดและดำเนินในแง่มุมที่เป็นจริงและเพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก คงจะไม่มีผู้นำของประเทศใดที่ก้าวขึ้นมาสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศในสังคมชุมชนระหว่างประเทศแล้วบอกว่าไม่ต้องการผลประโยชน์ ทุกประเทศต้องการผลประโยชน์ของชาติตนเป็นหลักทั้งนั้น คำกล่าวที่สามารถยืนยันความหมายนี้ได้ก็เช่น จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนที่หนึ่งของ สหรัฐอเมริการ นายอเล็กซานเดอร์ แฮมิงตัน รัฐมนตรีคลังคนแรกรวมทั้งนายเจมส์ เมดิสัน กล่าวว่า “อย่าเข้าใจผิดว่าการที่สหรัฐอเมริกาทำความดีเอื้อเฟื้อนั้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นนักบุญแต่การกระทำของสหรัฐอเมริกาเป็นการกระทำเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง” มาถึงตรงนี้เราจะต้องตระหนักว่าไม่มีรัฐใดในสังคมชุมชนระหว่างประเทศที่ต้องการให้ประเทศอื่นเจริญก้าวหน้าและรัฐของตนเองตกต่ำ


แนวทางแก้ไขปัญหาในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น คือ

*เศรษฐกิจภายในประเทศ

- การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ที่ผ่านมากระแสการพัฒนาของกระแสหลัก ทำให้แรงงานที่เป็นวัยหนุ่มสาว ทิ้งชุมชนทิ้งชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ นครหลวงเพื่อทำงานด้านแรงงาน ทำให้ชุมชนชนบทขาดการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพ เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ในภาคเกษตรในชุมชนได้รับผลกระทบน้อยมาก การส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งจึงเป็นวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาที่จะทำให้ประเทศอยู่รอดได้ เช่น
- การทำเศรษฐกิจพอเพียง
- การทำเศรษฐกิจพอเพียง
เน้นที่การพอเพียงแก่การดำรงอยู่ บริหารจัดการการใช้พื้นที่ให้เกิดศักยภาพ ทั้งการปลูกข้าว การเลี้ยงปลา การปลูกพืชหมุนเวียน นอกจากนั้นส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ทดแทนปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม
- ส่งเสริมการออมของประชาชน กลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ ให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง รัฐเข้าสนับสนุนให้คำแนะนำในเรื่องการลงทุน ซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นสภาพที่แท้จริงของเศรษฐกิจ
- กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท
เป็นการกระจายรายได้เพื่อให้ชุมชน หมู่บ้าน ได้มีโอกาสนำเงินทุนไปประกอบอาชีพ นำเงินต้นและดอกผลในการจัดตั้งกองทุน โดยการบริหารจัดการของสมาชิกในหมู่บ้าน วิธีการนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการที่ดีเพราะจะเป็นการยากที่จะนำเงินจำนวนมากมากระจายลงสู่ท้องถิ่นเพื่อหมู่บ้าน,ชุมชนเมือง หากดำเนินการได้ระยะหนึ่งจะทำให้ทุกส่วนของประเทศมีทุนสำรองจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ เมื่อเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งก็จะทำให้เศรษฐกิจในระดับประเทศมีความมั่นคงไปด้วย กองทุนฯจึงเป็นวิธีการที่มีความสำคัญที่จะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
- ธนาคารประชาชน เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสกู้เงินเพื่อนำไปประกอบอาชีพ ซึ่งรัฐบาลทำร่วมกับธนาคารออมสิน ปัญหาที่ผ่านมาประชาชนจำนวนมากกู้ยืมเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งถือเป็นเงินนอกระบบ ทำให้ตกเป็นทาสของเงินกู้เหล่านี้ ธนาคารประชาชนจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนที่จะให้ประชากู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนั้นยังมีการแนะนำส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ที่สนใจกู้ยืมเพื่อนำไปประกอบอาชีพ รวมถึงการลดเงื่อนไขที่เป็นปัญหายุ่งยากที่จะทำให้การกู้ยืมเกิดความลำบาก
* การส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ย่อม (SME) ธุรกิจขนาดเล็ก ถือว่าเป็นทุนที่สำคัญของประเทศ เมื่อธุรกิจเหล่านี้ดำเนินการต่อไปได้จะส่งผลดี ในเรื่องการจ้างงานทำให้คนมีงานทำ มีรายได้ มีกำลังซื้อ ทำให้ภาคการผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้ และในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาเพื่อเกิดการแข่งขัน ในฐานะผู้นำรัฐบาลจะเข้าส่งเสริมให้คำแนะนำการทำธุรกิจในเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด ซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อธุรกิจเหล่านี้สามารถดำรงอยู่ได้ รัฐบาลเองก็ได้รับผลคือสามารถเก็บภาษีของบุคคล, นิติบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งจะนำไปพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ให้เกิดการพัฒนายิ่งขึ้น
- การเปิดบ่อนการพนันในเมืองใหญ่ การเปิดจะเปิดในลักษณะเป็นพื้นที่ ไม่เปิดเสรีโดยทั่วไป เพราะปัญหาการควบคุมการบริหารจัดการยังไม่พร้อมในหลายปัจจัย การเปิดบ่อนการพนันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในสภาพที่ประเทศมีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่ต้องการนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ ประเทศต่าง ๆ มีบ่อนการพนันจำนวนมากและนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ เราต้องยอมรับกันว่าธุรกิจการพนันผิดกฏหมายในตลาดมืด แต่ละแห่งมีมูลค่าสูงถึง 3 แสนกว่าล้านบาทเกือบ 1 ใน 3 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเรา การเปิดบ่อนที่ถูกต้องจะทำให้รัฐมีรายได้จำนวนมาก ลดปัญหาจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่ รัฐเองก็สามารถนำรายได้ไปพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส (Marginal Group) ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการและทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็น ในกรณีดังกล่าวรวมถึงหวยใต้ดิน ซึ่งรัฐเป็นเจ้ามือเอง เมื่อรัฐเข้าบริหารจัดการทำการวินัยเพื่อพัฒนาเป็นบ่อนการพนันนานาชาติ
* ส่งเสริมโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นอย่างมากคือมีความหลากหลายในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในด้านฝีมือ ประกอบการต่าง ๆ ในท้องถิ่นชุมชน จากกระแสการพัฒนาแบบตะวันตก (Westernization) ทำให้เราทิ้งถิ่นฐานออกไปทำงานขายแรงงานทำให้ทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่มีผู้สืบสาน เมื่อเกิดภาวะวิกฤติขึ้นทำให้เราต้องหันมามองชุมชน การพึ่งพาตะวันตกหรืออภิมหาอำนาจอเมริกาของภาคท้องถิ่นมีน้อย การกระทบก็น้อยเช่นกัน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สถาบันทางการเงินซึ่งมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบทุนนิยมต้องล้มละลาย เราควรเปลี่ยนวิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาส ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านตำบลขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนในการส่งเสริมพัฒนาดังนี้
- ส่งเสริมการผลิต รัฐบาลสนับสนุนในเรื่องเงินทุนเพื่อให้หมู่บ้าน, ตำบลมีทุนในการผลิต เช่น ประชาชนชาวอุบลในหมู่บ้านมีความสามารถทอผ้ากาบบัว ซึ่งในแต่ละชุมชนก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ในลักษณะลวดลาย ความประณีต สีสัน เฉพาะในจังหวัดเดียวใน 1 ผลิตภัณฑ์ยังเกิดความหลากหลาย นอกจากจะเป็นทางเลือกของผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการรื้อฟื้นนำภูมิปัญญาของท้องถิ่นกลับมาใช้ทำให้มีการสืบสานของคนในท้องถิ่น
- การพัฒนาคุณภาพ เมื่อรัฐสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ชุมชนแล้ว ต้องพัฒนาด้านคุณภาพ เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถนำออกจำหน่ายทั้งในระดับท้องถิ่นชุมชน ระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งมีวิธีการโดยการจัดประกวด 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ในระดับชุมชนเมื่อชนะเลิศก็นำเข้าสู่ระดับจังหวัดและระดับประเทศต่อไป เพื่อเป็นเกณฑ์ของสินค้าว่าอยู่ในระดับไหน ลักษณะอย่างไรจะสามารถจำหน่ายได้ในขอบเขตกว้างขวางแค่ไหนว่าจะจำหน่ายในถิ่นหรือส่งไปจำหน่ายในต่างถิ่นได้
- ส่งเสริมด้านการตลาด ในระดับชุมชนระดับจังหวัดรัฐจัดสถานที่ในการนำสินค้า 1 ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพมาวางจำหน่ายเพราะถ้าชุมชนผลิตแล้วไม่สามารถจำหน่ายได้ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน การจัดทำตลาดนับว่าเป็นหัวใจ เพราะในบางครั้งผลิตภัณฑ์ของชุมชนผู้บริโภคมีความสนใจแต่ระยะทางไกลไม่สามารถไปซื้อได้ การทำตลาดจะทำให้หลายระดับ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถกระจายไปยังท้องถิ่น, ภูมิภาคขึ้นได้ เช่น
- จัดสถานที่จำหน่ายในระดับชุมชน ประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปซื้อได้โดยตรงโดยไม่ต้องเข้าไปซื้อในพื้นที่ผลิตซึ่งอาจจะไม่สะดวก
- ในระดับจังหวัด จัดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในลักษณะศูนย์จำหน่ายทำการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป
- ระดับประเทศ จัดศูนย์จำหน่ายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกมีมาตรฐาน คุณภาพดีของชุมชนทั้งประเทศซึ่งสามารถสนองตอบต่อความต้องการของประเทศทั่วไป และหากผลิตภัณฑ์ของสิ่งใดมีลู่ทางมีคุณภาพทัดเทียมดีกว่าสินค้าของต่างประเทศก็พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งมีสินค้าประเภทนี้หลายรายการที่เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ซึ่งนำไปประยุกต์ทำเครื่องประดับต่าง ๆ ได้มากมาย
- ส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Packing) การบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์ก็เป็นสิ่งจำเป็น การออกแบบให้เกิดความสวยงามก็มีความสำคัญในการที่จะเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความรู้กับประชาชน ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ของอาหารการดูแลความสะอาดด้านสุขลักษณะ การดูแลด้านการถนอมอาหาร ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นลู่ทางในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
- การส่งเสริมการท่องเที่ย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากมีครบทุกลักษณะของประเภทท่องเที่ยว มีศิลป ประเพณีวัฒนธรรมจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยสามารถเที่ยวชมได้ทั้งปี สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมีครบครัน ทะเล ภูเขา แม่น้ำ ศาสนสถานที่สำคัญต่าง เช่น วัดพระแก้ว สิ่งที่จะทำให้ประเทศ ประชาชนมีรายได้นั้นต้องทำการจัดระเบียบการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยวซึ่งมีวัตถุประสงค์
- เพื่อให้สถานที่ท่องเที่ยวไม่เสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยวที่ไม่รับผิดชอบ ทั้งจากนักท่องเที่ยวเอง ผู้ประกอบการในสถานที่ท่องเที่ยว การเพิ่มศักยภาพเป็นการทำให้สถานที่ท่องเที่ยวมีระเบียบ การเก็บค่าบริการจากนักท่องเที่ยว เพื่อมาทำนุบำรุงให้สถานที่ท่องเที่ยวไม่ทรุดโทรม
- ในด้านศิลปวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากต่างประเทศมีความต้องการที่จะพบเห็น ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นดั้งเดิมของไทยทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณีเก่า ๆ ขึ้น ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นเก่ามีผู้สืบทอด รัฐเองจะต้องเข้าส่งเสริม
- การอำนวยความสะดวก การสร้างถนนในเส้นทางหลักให้เกิดความสะดวกในการเดิน ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่สภาพใช้งานได้
* กิจการในการท่องเที่ยวถือว่าเป็นรายได้มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เราแทบไม่ได้ลงทุนอะไร เพียงแต่ต้องส่งเสริมเพิ่มศักยภาพให้กับสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเป็นแรงดึงดูดในการดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ๆ นอกจากการทำรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ธุรกิจการท่องเที่ยวยังครอบคลุมมีอิทธิพลต่อธุรกิจต่าง ๆ เป็นจำนวนมากขอยกตัวอย่างบางประการ
- ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ภาคบริการทำให้กิจการโรงแรมมีรายได้สูงขึ้น เช่น สงกรานต์เชียงใหม่ สถานที่พักเต็มหมด แห่เทียน จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ
- ของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ของชุมชนในแง่ผลิตภัณฑ์ก็สามารถนำมาจำหน่ายในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว
- ธุรกิจร้านอาหาร มีการขยายการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจสะพัดในท้องถิ่น ภูมิภาคซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม
* การทำสุราเสรี คนไทยมีความสามารถในการทำเหล้าทั้งกระแช่ สาโท ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงสุราขาวที่นำไปกลั่น (ซึ่งชาวบ้านเรียกตาตั๊กแตน) รัฐควรส่งเสริมในส่วนสุราแช่ โดยการให้เน้นถึงความสะอาด ส่วนผสมซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทำให้เราลดการนำเข้าสุราจากต่างประเทศ ซึ่งให้เสียเปรียบขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มมีจำหน่ายในท้องถิ่น
ความสามารถของคนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติใด ถ้าได้รับการพัฒนาแล้วสามารถส่งแข่งขันได้ทั่วโลก ไวน์แดงที่ทำจากลูกเม่า (ผลไม้พื้นเมืองของชาวอีสาน) ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ (ขออภัยจำชื่อท่านไม่ได้) ส่งเข้าประกดที่กรุงบรัสเซล ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ทำให้ทั่วโลกรู้จักคนไทย ความสามารถของคนไทยสุราเหล่านี้จะนำรายได้มาสู่ชุมชนเพราะวัตถุดิบต่าง ๆ ก็เป็นวัตถุที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งทำให้ต้นทุกนการผลิตมีราคาถูก การจำหน่ายมีราคา ไม่แพง (20-30บาท) ส่วนหนึ่งทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น

การพัฒนาเศรษฐกิจส่งผลดีต่อภาคประชาชนอย่างไร *

1 การเพิ่มของจำนวนประชากรซึ่งไม่สมดุลกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจึงจำเป็นต้องพัฒนาคนและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือมีสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย ได้ใช้สินค้าดีราคาไม่แพง และมีบริการสนองความต้องการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เช่น การคมนาคม ...

การพัฒนาเศรษฐกิจมีจุดมุ่งหมายประการใด

เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีเป้าหมายสาคัญ คือ ประชาชน ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีกินดี หรือมีสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงขึ้น 2. มีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดีมีสวัสดิการทางสังคม หรือมีความปลอดภัยในสังคม 3. มีความพอใจและความสุขในการดาเนินชีวิต 4. สร้างความเป็นธรรมในสังคม

พัฒนาเศรษฐกิจเพื่ออะไร

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติและรายได้ประชาชาติที่แท้จริงต่อหัวของบุคคล • เพื่อช่วยให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง • เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง • เพื่อกระจายรายได้สู่ประชาชนอย่างยุติธรรม

ปัจจัยใดบ้างที่เป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

ในการพัฒนาเศรษฐกิจ มีปัจจัยที่สำคัญสองประการคือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ที่ดินทุนแรงงาน ความก้าวหน้าทางวิทยาการ และตลาด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita