ขั้นตอนการเขียนโครงงานมี10ขั้นตอนอะไรบ้าง

เรื่องที่ 4
การจัดทำโครงงาน

กระบวนการของกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(2550) กล่าวไว้ว่า กระบวนการสำคัญของการ
จัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยแ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่่ 1 การเริ่มต้นทำงาน
เป็นระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ตกลงร่วมกัน

เรื่องที่จะต้องการศึกษาอย่างละเอียด

ระยะที่ 2 ขั้นพัฒนาโครงงาน
เป็นขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหาและตั้งสมมุติฐานมาตอบ

คำถามเหล่านั้น ทดสอบสมมุติฐานลงมือปฏิบัตจนค้นพบคำตอบ ตามขึ้นตอนดังนี้
1. ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
2. ผู้เรียนตั้งสมมุติฐานเบื้องต้น
3. ผู้เรียนตรวจสอบสมมุติฐานเบื้องต้น
4. สรุปข้อความรู้จากผลตรวจสอบสมมุติฐาน

ระยะที่ 3 ขั้นสรุป
เป็นระยะสุดท้ายที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบของปัญหา และได้ให้ผู้สอนเห็นว่าสิ้นสุด

ความสนใจในหัวข้อโครงงานเดิม และเริ่มหันเหความสนใจไปสู่เรื่องใหม่ และเป็นระยะที่ผู้สอน
และผู้เรียนได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแสดงถึงความสำเร็จของการทำงาน
ตลอดโครงงาน มีกิจกรรมที่ผู้สอนให้ผู้เรียนดำเนินการในขั้นตอนนี้ ดังนี้

1. ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็ก ๆ
2. ผู้เรียนนำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผนโครงงาน) ให้ผู้สอนสนใจรับรู้ สรุปและนำไป
ใช้ในชีวิตประจำวัน

ขัั้นตอนการทำโครงงาน

ลัดดา ภู่เกียรติ (2552) กล่าวไว้ว่า ขั้นตอนของการทำโครงงาน ปนะกอบด้วย 6 ขั้นตอน
คือ

ขั้นตอนที่ 1 การเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานเป็นการคิดและกำหนดหัวข้อเป็นขั้นตอนที่
สำคัญที่สุดและยากที่สุด ผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกหัวข้อด้วยตนเอง ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับ
การคัดเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงาน คือ

1. เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เรียน
2. เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน
3. วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้
4. งบประมาณเพียงพอ
5. ระยะเวลาที่ใช้ทำโครงงาน
6. มีอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
7. มีความปลอดภัย
8. มีแหล่งความรู้หรือเอกสารค้นคว้าเพียงพอ

ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงานคือศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ได้
แนวความคิดที่ จะกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและได้
ความรู้ในเรื่องที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อสามารถออกแบบและวางแผนดำเนิน
การทำโครงงานได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 3 การลงมือทำโครงงานเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อแสดงแนวความคิด
แผนงานและขั้นตอนของการทำโครงงาน เพื่อให้นักเรียนผู้ทำโครงงานมีความพร้อม
สามารถบอกได้ว่าอะไรคือสิ่ง ที่กำลังศึกษาเค้าโครงนี้เป็นแบบแผนการดำเนินงานอย่างเป็น
ระบบเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของ โครงงานที่กำหนดไว้ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

1. ชื่อโครงงานควรเป็นข้อความที่กะทัดรัดชัดเจนสื่อความหมายตรงและมีความ
เฉพาะเจาะจงว่าจะศึกษาอะไร

2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงานอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มี
ความสำคัญอย่างไร มีความสำคัญอย่างไรมีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้องเรื่องที่ทำ
เป็นเรื่องใหม่หรือได้มีผู้อื่นได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้แล้ว
5. จุดหมายของการศึกษาค้นคว้าควรมีความเฉพาะเจาะจงและเป็นสิ่งที่สามารถ วัด
ได้เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจน
6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) เป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วง
หน้าซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุผล คือทฤษฎีหรือหลักการทาง
วิทยาศาสตร์รองรับที่สำคัญคือเป็นข้อความที่มองเห็นแนวในการดำเนินการทดสอบหรือ
สามารถทดสอบได้
7. วิธีดำเนินการ

7.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ระบุว่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อะไรบ้างวัสดุ
อุปกรณ์วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่ต้องจัดซื้ออะไรบ้างที่ต้องจัดทำ

7.2 แนวการศึกษาค้นคว้าอธิบายว่าจะออกแบบการทดลองอย่างไรสร้างหรือ
ประดิษฐ์อะไรจะเก็บข้อมูลอะไรบ้างเก็บข้อมูลเมื่อใด

8 แผนปฏิบัติงานอธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาเสร็จของการดำเนิน
งานในแต่ละขั้นตอน

9 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10 เอกสารอ้างอิง

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

ขั้นตอนที่ 4 การบันทึกผลการปฏิบัติการ ขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ใน
เค้าโครงย่อที่เสนออาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือการทดลอง
2. สมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรไปได้ผลอย่างไรมีปัญหาและ
ข้อคิดเห็นอย่างไรบ้าง
3. ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลเป็นระเบียบ
4. คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน
5. พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรกแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง
6. ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น
7. ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆและทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไป
8. ควรทำงานส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เหลือ

ขั้นตอนที่ 5 การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงานเป็นการเสนอผลงานของการศึกษา
ค้นคว้าเป็น เอกสารเพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ได้แก่
ปัญหาที่ศึกษาวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้ผลของการศึกษาตลอด
จนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่างๆจากการทำโครงงานการเขียนรายงานควรจะใช้ภาษาที่
อ่านเข้าใจง่ายชัดเจนสั้นๆและตรงไปตรงมาโดยครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่อที่ปรึกษา
4. บทคัดย่ออธิบายที่มาและความสำคัญของโครงงานวัตถุประสงค์วิธีดำเนินการและ
ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300- 500 คำ

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

5. ที่มาและความสำคัญของโครงงานอธิบายความสำคัญของโครงงานเหตุผลที่เลือก
ทำโครงงานนี้และหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้
อื่นเคยศึกษาไว้แล้วโดยมีรายระเอียดดังนี้

6. จุดมุ่งหมายของการศึกษา
7. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
8. วิธีดำเนินการอาจแยกเป็น 2 ข้อย่อยคือ

8.1 วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
8.2 วิธีดำเนินการทดลอง (อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด)
9. ผลการศึกษาค้นคว้าเป็นการนำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่างๆที่สังเกต
รวบรวมได้รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้
10. สรุปและข้อเสนอแนะ
11. คำขอบคุณเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือจึงควรกล่าว
ขอบคุณ บุคลากรหรือหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จ
12. เอกสารอ้างอิงอ้างถึงหนังสือหรือเอกสารต่างๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่าน
เพื่อศึกษาหาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้

ขั้นตอนที่ 6 การนำเสนอโครงงานเป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้วให้ผู้
อื่นได้รับรู้ และเข้าใจสามารถจัดในรูปแบบต่างๆเช่นการจัดนิทรรศการสาธิตการแสดง
ประกอบรายงานปากเปล่าในการจัดแสดงผลงานการทำโครงงานสามารถทำได้หลายระดับ
เช่น การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียนการจัดแสดงนิทรรศการภายในสถานศึกษาเป็นต้น
ผลงานที่นำเสนอควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. ชื่อโครงงาน/ ชื่อผู้ทำโครงงาน/ ชื่อที่ปรึกษา
2. คำอธิบายย่อๆถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

3. วิธีดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ
4. การสาธิตหรือแสดงผลงานที่ได้จากทดลอง
5. ผลการสังเกตและข้อมูลเด่นๆที่ได้จากการทำโครงงาน ในการจัดนิทรรศการแสดง
นอกจากนี้โครงงานนั้นควรได้คำนึงถึงสิ่งต่างๆ
6. ความปลอดภัยของการแสดง
7. ความเหมาะสมกับเนื้อหาที่จัดแสดง
8. อธิบายที่เขียนแสดงควรเน้นเฉพาะประเด็นที่สำคัญและสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น
9. ดึงดูดความสนใจของผู้ชมโดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจใช้สีที่สดใสเน้นจุด
สำคัญหรือใช้วัสดุต่างประเภทในการจัดแสดง
10. ใช้ตารางและรูปภาพประกอบโดยจัดวางอย่างเหมาะสม
11. ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

จากขั้นตอนของการทำโครงงานที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า
ขั้นตอนของการทำโครงงานดำเนินการดังนี้
1) การเลือกหัวเรื่องที่จะทำโครงงาน
2) การวางแผนในการทำโครงงาน
3) การลงมือทำโครงงาน
4) การบันทึกผลการปฏิบัติการ
5) การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน
6) การนำเสนอโครงงาน

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

ส่วนประกอบการรายงานของโครงงานประกอบด้วย
1) ชื่อโครงงาน
2) ชื่อผู้ทำโครงงาน/โรงเรียน/พ.ศ.ที่จัดทำ
3) ชื่อครูที่ปรึกษา
4) บทคัดย่อ
5) กิตติกรรมประกาศ
6) วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
7) ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
8) สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
9) วิธีดำเนินการ

10) สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
11) อภิปราย/ประโยชน์/ข้อเสนอแนะ
12) เอกสารอ้างอิง

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงาน

บทบาทของครู
ลัดดาภู่เกียรติ (2552) กล่าวถึงบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานดังนี้
1. จัดกิจกรรมที่ชี้ชวนให้ผู้เรียนได้ศึกษาภาพแวดล้อมทั้งภายในสถานศึกษาและ

นอกห้องเรียนเพื่อจุดประกายความอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัยและนำไปสู่การอยากหาคำ
ตอบในเรื่องนั้นๆเช่นพาไปเรียนรู้ในท้องถิ่นหรือสถานที่ที่ยังไม่เคยเห็น

2. ใช้คำถามที่เชื่อมโยงจากข่าว หรือเหตุการณ์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความ
อยากรู้อยากติดตามอย่างต่อเนื่อง

3. ใช้คำถามเชื่อมโยงความคิดที่ต่อยอดจากบทเรียนปกติ
4. ใช้สื่อต่างๆทั้งภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวป้ายนิเทศและเป็นสื่อที่ท้าทายให้นักเรียน
ติดตาม
5. จากคำถามและสิ่งเร้าต่างๆทำให้ผู้เรียนได้กลุ่มของปัญหา/เรื่อง/ประเด็นที่
สนใจโดยมีครูคอยช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรื่องตามที่สนใจและนำไปศึกษาเพิ่มเติม
ด้วยการทำโครงงานได้
6. จากคำถามและสิ่งเร้าต่างๆทำให้นักเรียนได้กลุ่มของปัญหา/เรื่อง/ประเด็นที่
สนใจโดยมีครูคอยช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรื่องตามที่สนใจและนำไปศึกษาเพิ่มเติม
ด้วยการทำโครงงานได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะเพื่อให้ได้ข้อความที่เป็นวัตถุประสงค์
ของโครงงานเรื่องนั้นๆ อย่างชัดเจนและปฏิบัติได้
7. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ความเป็นไปได้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อเขียน
สิ่งที่คาดเดาไว้อย่างรอบคอบและถูกต้อง
8. ช่วยจัดเตรียมสถานที่และประสานความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความ
สะดวกในการทำงานของนักเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนรวมทั้งความปลอดภัยใน
การทำงานทุกขั้นตอนด้วย

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงาน (ต่อ)

บทบาทของครู
9. จัดทำแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนและทำการบันทึกเป็นระยะ ๆ

ตั้งแต่เริ่มทำจนจบภารกิจ
10. ดูแลให้คำแนะนำช่วยเหลือนักเรียนเป็นระยะๆและคอยแนะวิธีการแก้ปัญหาใน

ทุกๆเรื่อง
11. ให้กาลังใจและจัดเวลาให้นักเรียนได้มาปรึกษาหารือหรือแลกเปลี่ยนความคิด

เห็นระหว่างกันเป็นระยะๆ
12. ฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้การวิเคราะห์ด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน
13. ดูแลแนะนำ ปรึกษาในการทำสรุปรายงานผลการศึกษาของนักเรียนให้เหมาะ

สมกับเรื่องที่ ทำการศึกษาเพื่อนำเสนอและประเมินผล
14. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมกับเรื่องที่สนใจศึกษา/ทดลอง

ซึ่งมีหลากหลาย
15. จัดเตรียมสถานที่เวทีป้ายนิเทศป้ายประกาศอุปกรณ์และอื่นๆเพื่อให้นักเรียนนำ

เสนอผลการศึกษา/ทดลองได้อย่างราบรื่น

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงาน (ต่อ)

บทบาทของนักเรียน
ลัดดาภู่เกียรติ (2552) กล่าวไว้ว่าบทบาทของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบโครง

งานดังนี้
1. สำรวจความอยากรู้อยากเห็นของตนเองจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง

หรือชุมชนท้องถิ่นเพื่อหาประเด็นที่สนใจ
2. อ่านหนังสือพิมพ์หรือดูโทรทัศน์ติดตามข่าวเหตุการณ์สำคัญๆว่าสนใจในเรื่องใด

มากเป็นพิเศษ
3. มีการเชื่อมโยงความคิดสู่การเรียนรู้เชิงกว้างและลึก
4. ทัศนศึกษาชมนิทรรศการในเรื่องที่ให้ความสนใจใคร่รู้เพิ่มเติม
5. นำความคิดมาเชื่อมโยงโดยการทำแผนผังที่เข้าใจง่าย
6. เลือกเรื่องที่คิดว่าสนใจและมีข้อมูลที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้
7. เขียนในสิ่งที่ต้องการรู้และนำไปอภิปรายเป็นกลุ่มเพื่อหาข้อสรุปในสิ่งที่กลุ่ม

ต้องการรู้หรือต้องการคำตอบ
8. นักเรียนต้องพูดคุยปรึกษาหารือกับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มเดียวกันเพื่อคาดคะเน

คำตอบจากการศึกษาทดลองไว้ล่วงหน้า
9. คิดหาวิธีการว่าจะศึกษาเรื่องนี้ได้กี่วิธีอะไรบ้าง
10. กำหนดขั้นตอนต่างๆให้ชัดเจน
11. เขียนเค้าโครงของโครงงานจากข้อมูลทั้งหมดเพื่อนำเสนอครู
12. นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด
13. บันทึกข้อมูลตามแผนที่วางไว้
14. นำข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมดมาทาการวิเคราะห์ตามแผนที่วางไว้

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ
โครงงาน (ต่อ)

บทบาทของนักเรียน
15. สรุปผลการศึกษา/ทดลองในรูปแบบต่างๆ
16. จัดทำรายงานโครงงานเป็นรูปเล่ม
17. เตรียมการนำเสนอผลที่ได้จากการทำโครงงานเพื่อให้ผู้อื่นมีความเข้าใจในการ

ศึกษาของ ตนเองหรือกลุ่มอย่างชัดเจน

หนึ่งประโยคในหนังสือนิทานของคุณ

Thank you


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita