ตัวอย่างการสื่อสารโทรคมนาคมมีอะไรบ้าง

෤�������������ä��Ҥ� ��㹡�õԴ�����������Ѻ/�觢����Ũҡ����� � �繡���觢ͧ�����������ҧ������������������ͧ��ͷ��������ҧ�šѹ ��觨Ъ�������������������������ʹ����ѧ���������觵�ҧ � ������ҧ�дǡ �Ǵ���� �١��ͧ �ú��ǹ ��зѹ��ó� ����ٻẺ�ͧ�����ŷ���Ѻ/���Ҩ�繵���Ţ (Numeric Data) ����ѡ�� (Text) �Ҿ (Image) ������§ (Voice)

෤����շ����㹡���������������������ʹ�� ���� ෤����շ������к��ä��Ҥ���駪�Դ�������������� �� �к����Ѿ��, �����, ῡ��, ���Ţ, �Է�ء�Ш�����§, �Է���÷�ȹ� ���������ǹ��ʧ ���������ǿ ��д������ �繵�

����Ѻ�����ѡ�ͧ�����������ä��Ҥ���ͧ���Сͺ��鹰ҹ 3 ��ǹ ���� �����觢ͧ��ͤ��� (Source/Sender), ���͡�ҧ����Ѻ����Ѻ/�觢�ͤ��� (Medium), �����ǹ�Ѻ��ͤ��� (Sink/Decoder) �ѧἹ�Ҿ���仹�� ���

บทความนี้เราจะพาผู้อ่านมารู้จักเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication technology) ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ดังนั้นการรับส่งข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้

การสื่อสารที่รวดเร็วได้ถูกพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและในอนาคตคาดว่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อผู้คนและเศรษฐกิจอย่างมาก นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราได้นำเรื่อง “เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม” มานำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจเกิดไอเดียความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้ครับ

เทคโนโลยีโทรคมนาคม

โทรคมมาคมหรือที่เรียกว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระยะทางที่มีนัยสำคัญด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายถึงการส่งสัญญาณเสียง ข้อมูลและวิดีโอทุกประเภท หรือเรียกง่ายๆ ว่าการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้การส่งข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว ถูกต้องและครบถ้วนเป็นต้น

รูปแบบการับส่งข้อมูล เช่น

  • Numeric Data (ตัวเลข)
  • Text (ตัวอักษร)
  • Image (ภาพ)
  • Voice (เสียง

กลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม

  1. ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender)
  2. สื่อกลางสำหรับการรับส่งข้อความ (Medium)
  3. ส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder)

เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ เช่น

  1. ดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ
  2. เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง
  3. วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
  4. โทรเลข แฟกซ์
  5. โมเดม ระบบโทรศัพท์

อย่างไรก็ตามการสื่อสารด้วยวิธีการเหล่านี้ยังคงเพิ่มขึ้นด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งการสื่อสารผ่านระบบโทรคมนาคมเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ทำให้โลกใบนี้เล็กลงครับ โดยบริษัทชั้นนำต่างก็ลงทุนอย่างหนักในด้าน AI (ปัญญาประดิษฐ์) และโทรคมนาคมในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้าในราคาที่ย่อมเยา

ที่สำคัญมีการเพิ่มขึ้นใน Voice over Internet Protocol (VoIP) ซึ่งเป็นโปรโตคอลการสื่อสารที่ใช้สำหรับการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต จากโทรศัพท์ไปยังการสัมนาทางเว็บนั่นเอง

ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร

ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า (สัญญาณดิจิตอล) โดยข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้นหากเราส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อว่า Modem (โมเด็ม) 

โดยระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะแตกต่างไปจากระบบโทรศัพท์ ซึ่งระบบโทรศัพท์จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เรียกว่า Analog signal (สัญญาณอนาลอก)

ทั้งนี้ สื่อส่งสัญญาณในโทรคมนาคมก็ยังได้พัฒนาผ่านเทคโนโลยีมาหลายขั้นตอน ตั้งแต่บีคอนและสัญญาณภาพอื่นๆ เช่น 

  1. สัญญาณควัน
  2. สัญญาณโทรเลข
  3. ธงสัญญาณ
  4. เฮลิโอกราฟแบบออปติคัล

       ไปจนถึงสายไฟฟ้าและการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า แสง เส้นทาง ซึ่งการส่งสัญญาณดังกล่าวมักถูกแบ่งออกเป็นช่องทางการสื่อสาร โดยจะให้ข้อดีของการทำมัลติเพล็กซ์เซสชันการสื่อสารหลายๆ อย่างพร้อมกัน

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—

2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ


3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์


4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ


5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม


6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล


ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)


1. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication) เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเล การสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งคงที่เมื่อมองจากพื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดิน แห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้ การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณ ดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมสามดวงลอยอยู่เหนือประเทศทางด้านมหาสมุทร อินเดียและอ่าวไทย ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ


2. การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง (fiber optic) เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้มด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ในภายท่อ แก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่งแสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว


3. โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN) ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิ ทัลคือส่งสัญญาณข้อมูลตัวเลขแทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล การสื่อสารโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเน้นการประยุกต์ใช้งาน หลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่นในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ ใช้ส่งโทรสาร ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ การดำเนินการเหล่านี้สามารถทำได้พร้อมกันบนสายสื่อสารเดียวกัน โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลควรได้รับการพัฒนา โดยวางโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงต่างๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับความเร็วของการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้น

4. ระบบเครือข่ายสวิตชิง (switching technology) ด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงที่มีความเร็วสูงทำให้การสื่อสารผ่านเส้นใยนำ แสงในการส่งผ่านข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต ต่อวินาที เอทีเอ็มสวิตชิงจึงเป็นเทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่จะรอง รับการใช้งานแบบสื่อประสม ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มใช้เครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงภาย ในองค์กรของตนเอง และมีแนวโน้มการขยายตัวเพื่อรองรับระบบนี้สำหรับเครือข่ายระยะไกลในอนาคตต่อ ไป

5. ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system) หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellular phone system) ที่ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อสารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซลเหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุมพื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณพื้นที่บริการใด และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเชื่อมโยงกับสถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ ครั้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้าง เคียง โดยที่สัญญาณสื่อสารไม่ขาดหาย


6. ระบบสื่อสารไร้สาย (wireless communication) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่าย ระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุ สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที ระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความสะดวกในการใช้งาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita