เทคนิคการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

การค้นคืนหรือสืบค้นสารสนเทศมีโปรแกรมหรือเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นคืนได้ตรงตามความต้องการมากที่สุดและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้โดยตัวเครื่องมือจะมีคุณสมบัติในการค้นคืนแตกต่างกันออกไปเช่น keyword Boolean Operators และการตัดคำ เป็นต้น เครื่องมือจะช่วยให้สามารถสร้างการค้นหาที่จะมุ่งเน้นไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการค้นหาด้วย keyword และเรื่อง Subject ตัวดำเนินการ Boolean Operators การตัดคำการค้นหาวลีการค้นหาแบบจำกัดขอบเขตและการค้นหาแบบวนลูป (nesting) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้สามารถค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.การค้นหาด้วยคำหลักหรือคำสำคัญ คอมพิวเตอร์จะทำดัชนีคำที่สำคัญไว้ในฐานข้อมูลเช่นชื่อเรื่องผลสรุปแม้กระทั่งส่วนของข้อความในระเบียนหรือบทความไว้ใช้เป็นคำเพื่อค้นหาเมื่อพิมพ์คำเหล่านี้ส่งในหน้าต่างการค้นหาในฐานข้อมูลเราเรียกการค้นหานี้ว่า การค้นหาคำหลัก
2.การค้นหาด้วยวลีการค้นหาด้วยวลี เป็นวิธีที่จะดึงระเบียนที่มีวลีเฉพาะเจาะจงในการค้นหาวรีนั้นฐานข้อมูลส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่องหมายคำพูดปิดและเปิดข้อความว่าลีการค้นหาวรีจะค้นหาเฉพาะระเบียนที่มีคำตอบลำดับนั้นๆ
3.การค้นหาด้วยชื่อเรื่อง การค้นหาด้วยชื่อเรื่องจะค้นหาข้อมูลชื่อเรื่องจากระเบียนที่บันทึกในฐานข้อมูลระเบียนในฐานข้อมูลจะถูกมอบหัวเรื่องจากพจนานุกรมที่รวมคำศัพท์ความหมายใกล้เคียงกันในฐานข้อมูลเมื่อพจนานุกรมสามารถใช้ได้ก็จะช่วยจัดหาชื่อเรื่องและเสนอเงื่อนไขการค้นหาที่แคบลง หัวข้อที่กว้างขึ้นหรือเรื่องในสาขาที่เกี่ยวข้อง
4.และ - หรือ - ไม่ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษสอน Blue ซึ่งสามารถวางอยู่ระหว่างคำค้นหาเพื่อให้ความหมายแคบหรือขยายการค้นหาหรือเพื่อที่จะไม่รวมคำที่ต้องการค้นหา
5.การค้นหาคำด้วยการตัดคำ การเพิ่มสัญลักษณ์บางอย่างเรียกว่าสัญลักษณ์ตัวแทนต่อท้ายคำการตัดคำช่วยให้สามารถค้นหารากของคำเพื่อจะหาส่วนสุดท้ายของคำที่แตกต่างกันไปสัญลักษณ์ที่พบมากที่สุดคือเครื่องหมายดอกจันซึ่งบางฐานข้อมูลอาจใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันเพื่อตรวจสอบและหาสัญลักษณ์ที่ถูกต้อง
6.การค้นหาคำด้วยคำจำกัด ฐานข้อมูลจำนวนมากและเครื่องมือค้นหาช่วยให้สามารถจำกัดการค้นหาที่เฉพาะเจาะจงเช่นรูปแบบภาษาวันที่พิมพ์เป็นต้น
7.การค้นหาแบบการซับซ้อนใน ฐานข้อมูลส่วนใหญ่ยอมให้มีการสอบถามข้อมูลที่ซับซ้อนมากตัวอย่างเช่นการทำ nesting ช่วยให้ใส่วงเล็บ String ซ้อนกันกับการใช้ boolean ไปด้วย

โดยทั่วไป การค้นหาสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศหรือจากเครื่องมือค้นหา อาจจะมีความคล้ายหรือแตกต่างกันไป ผู้ใช้อาจจะต้องเสียเวลาทำความเข้าใจการใช้และเทคนิควิธีการค้นหา เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและตรงกับความต้องการให้มากที่สุด

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เทคนิคในการค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search)

         ก่อนจะเริ่มต้นการค้นหา ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
         1. ผู้ค้น จะต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด นอกจากนี้จะต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการจะค้นหา (ลองสำรวจตัวเองก่อนสิคะว่า มีข้อมูลอะไรบ้างตอนนี้) ถ้ายังไม่มี คิดค่ะคิด...ใช้หมองหน่อย...ได้หรือยังคะ  ได้แล้วจดไว้ค่ะ ....
         หรือหากคิดไม่ออกจะช่วยคิดค่ะ ง่ายๆ เช่น รู้จักชื่อผู้แต่งมั๊ย รู้จักชื่อเรื่องที่เราต้องการค้นหาหรือไม่ ถ้าไม่รู้ให้กำหนดหัวเรื่องหรือคำสำคัญแทนก็ได้ค่ะ เดี๋ยวจะพูดต่อไป....
         2. รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหาหรือยังคะ เช่น ถ้าคุณต้องการค้นหารายการบรรณานุกรมงานวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้ฐานข้อมูลใดค้นหา จึงจะได้ข้อมูลตามที่ต้องการ เป็นต้น
         ดังนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้ค้นจะต้องรู้จักแหล่งสารสนเทศและฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันนี้มีมากมายทั้งฟรีและบริการเชิงพาณิชย์ (มารู้จักฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และวิธีการค้นหาแบบง่ายๆ ได้ที่นี่)
         3. ต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่น รู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วย นอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์ การส่งข้อมูลทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรม เป็นต้น
         4. รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา เนื่องจากปัจจุบันได้มีการละเลิดลิขสิทธิ์กันมากขึ้น

          เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
          1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
              1.1  ชื่อผู้แต่ง (Author) เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
                     1.1.1 ผู้แต่งคนไทย เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา  ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
              ยกตัวอย่างเช่น
                     - นางกุลธิดา  ท้วมสุข            ชื่อที่ใช้ค้น คือ  กุลธิดา  ท้วมสุข  (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)
                     - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท        ชื่อที่ใช้ค้น คือ  คึกฤทธิ์ ปราโมท, ม.ร.ว.
                                                                                  (ให้เอาบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ มาต่อท้ายชื่อ)
                     - ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์   ชื่อที่ใช้ค้น คือ  ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ให้ตัดยศหรือตำแหน่งออก)
                     - พระยาอุปกิตติศิลปสาร         ชื่อที่ใช้ค้น คือ  พระยาอุปกิตติศิลปสาร
                     - ว.วชิรเมธี                          ชื่อที่ใช้ค้น คือ  ว.วชิรเมธี
                     - พระครูวิมลคุณากร               ชื่อที่ใช้ค้น คือ  พระครูวิมลคุณากร
                     1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น
              ยกตัวอย่างเช่น
                     "Judith G. Voet"                  ชื่อที่ใช้ค้น  คือ    Voet, Judith G.
                                                                             หรือ   Voet, Judith
                                                                             หรือ   Voet
                     1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
              ยกตัวอย่างเช่น
                     -สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ
                     - ททท.  ชื่อที่ใช้ค้น คือ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย
              1.2  ชื่อเรื่อง (Title) เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
               ยกตัวอย่างเช่น
                     - เพลงรักในสายลมหนาว   (ชอบดูมาก..ชึ้ง..แถมพระเอกหล๊อ..หล่อ)
                     - อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น  (เรื่องนี้ก็ชื่นชอบผู้แต่ง อ. ยืน ภู่วรวรรณ)
                     - Engineering Analysis  (เรื่องนี้ไม่อ่าน เพราะเดี๋ยวเจ็บหัว)
              1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading) คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ
              หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น มาจากที่ไหนใครเป็นผู้กำหนดขึ้น? โดยปกติแล้วคำหรือวลีที่กำหนดให้เป็นหัวเรื่อง จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (โอย...เรื่องมันย๊าววว...ยาว...) ว่างๆ จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับหลักการให้หัวเรื่องต่อไป...เพื่อจะได้ค้นเก่งๆ
              แต่ตอนนี้..เอาเป็นว่า ง่ายๆ สั้นๆ  ให้นึกถึง หัวเรื่องใหญ่และเรื่องย่อยเอาไว้ เช่น หัวเรื่องที่ต้องการค้นหา คือ คณิตศาสตร์ นี่คือหัวเรื่องใหญ่ ภายใต้หัวเรื่องใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จะมีเรื่องย่อยๆ ซ่อนอยู่เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น
              1.4 คำสำคัญ (Keywords) คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
              จะกำหนดคำสำคัญอย่างไร? ง่ายๆ คือ กำหนดมาจากคำที่อยู่ในชื่อเรื่องและหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหานั่นเอง
              การค้นหาด้วยคำสำคัญนั้น ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง
               ยกตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ค้นหา เช่น
               รายงานการวิจัย เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม
               ผู้ค้น จะต้องดึงคำสำคัญที่อยู่ในชื่อเรื่องออกมา เพื่อใช้ค้นหา ซึ่งก็ไม่ยากหากดูข้อ 1.4 ประกอบ จากชื่อเรื่องดังกล่าว พบว่า มี Keyword หลักๆ อยู่ 3 คำ ด้วยกัน คือ ข้าวหอมมะลิ, เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ของการกำหนดคำสำหรับใช้ค้นหา
               รู้จักการค้นหาแบบง่ายๆ กันแล้ว ลองมาดูการค้นหาแบบขั้นสูงกันบ้างนะคะ...

          2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
             2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
                  - AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่นต้องการค้นหาคำว่าสัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้  คือ    ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร
                  - OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า (โอย..น้ำยาย..ไหยยยย..แซ๊บ..แซบ..เด้อ) หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้
                  - NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ ที่เป็นอาหาร ไม่เอาส้มตำที่เป็นเพลง เป็นต้น
             2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation)
             2.3 เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit Search) หรือการใช้

เทคนิคในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีอะไรบ้าง

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล.
1. เลือก Search Engine ที่เหมาะสม.
2. เลือกเว็บไซต์ที่อยู่ใกล้และอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม.
3. การเลือกใช้คำสำคัญ (Keyword) หรือหัวเรื่อง(Subject) ที่ตรงกับเรื่องที่ต้องการ.
4. กำหนดขอบเขตของคำค้น ดังต่อไปนี้ 1.) การใช้เครื่องหมายบวก (+) เชื่อมคำ.

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เครื่องมือสืบค้นสารนิเทศมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทสืบค้นด้วยมือ และสืบค้น ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสืบค้นด้วยมือได้แก่ การสืบค้นด้วยบัตรรายการ และการสืบค้น ด้วยบัตรดัชนีวารสาร

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศคืออะไร

การสืบค้นสารสนเทศ เป็นกระบวนการในการ แสวงหาทรัพยากรสารสนเทศที่ได้มีการบันทึกและ เผยแพร่ไว้ในสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ ต้องการ

คําสําคัญในสารสนเทศคืออะไร

คำสำคัญ (keyword) คืออะไร คำหรือวลีสำคัญในชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เนื้อหา และสาระสังเขป คำสำคัญเป็นภาษาอิสระที่ทำให้สามารถสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita