Gram positive cocci คือเชื้ออะไร

แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (Microorganism) มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม แบคทีเรียบางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ ในขณะเดียวกันก็มีแบคทีเรียบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง แบคทีเรียส่วนใหญ่สามารถอยู่เป็นอิสระนอกร่างกายมนุษย์ได้ มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่จำเป็นจะต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิต

แบคทีเรียมีรูปร่างอย่างไร?

การจะมองเห็นตัวแบคทีเรียนั้นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงอย่างน้อย 400 ถึง 1,000 เท่า รูปร่างของแบคทีเรียที่มองเห็นได้นั้นมีหลายรูปแบบเช่น รูปร่างกลมซึ่งเรียกว่า คอคคัส (Coccus) และ รูปร่างเป็นแท่งเรียกว่า บาซิลลัส (Bacillus) มีได้ทั้งเป็นแท่งสั้นและเป็นแท่งยาว อยู่รวมเป็นกลุ่ม อยู่เดี่ยวๆ หรือเรียงตัวต่อกันเป็นสายคล้ายสายสร้อย เป็นต้น ซึ่งรูปร่างของแบคทีเรียเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใช้บอกชนิดของแบคทีเรียเบื้องต้นได้ นอกจากนั้น การที่จะมองเห็นตัวเชื้อแบคทีเรียได้ยังจำเป็นต้องย้อมสีแบคทีเรียเสียก่อน

วิธีย้อมสีแบคทีเรีย ทางการแพทย์เรียกว่า ‘การย้อมสีแกรม (Gram stain)’ ซึ่งเชื้อแบคที เรียแต่ละชนิดจะติดสีแกรมแตกต่างกันไป

  • ถ้าติดสีน้ำเงินเรียกว่า ติดสีแกรมบวก หรือ ‘ชนิดแกรมบวก (Gram positive)’
  • ถ้าย้อมแล้วแบคทีเรียติดสีแดง เรียกว่าติดสีแกรมลบ หรือ ‘ชนิดแกรมลบ (Gram negative)’

ทั้งนี้ การติดสีแกรมที่แตกต่างกันนี้ สามารถนำมาใช้บอกชนิดของแบคทีเรียเบื้องต้นได้เช่นกัน

แบคทีเรียมีกี่ชนิด? แต่ละชนิดมีผลต่อการเกิดโรค อาการ ความรุนแรง การใช้ยาอย่าง ไร?

ก. ชนิดของแบคทีเรีย: การแบ่งชนิดของแบคทีเรียสามารถแบ่งได้หลายแบบ เช่น

  • แบ่งตามการติดสีย้อมแกรม (Gram stain): ได้แก่
    • ถ้าแบคทีเรียย้อมสีแกรมทางห้องปฏิบัติการติดสีน้ำเงิน เรียกว่า แบคทีเรียชนิด แกรมบวก (Gram positive bacteria)
    • ถ้าย้อมฯติดสีแดง เรียกว่า แบคทีเรียชนิดแกรมลบ (Gram negative bacteria) ดังได้กล่าวแล้ว
  • แบ่งตามรูปร่างของแบคทีเรีย: เช่น
    • แบคทีเรียรูปร่างกลม เรียกว่าคอคคัส (Coccus)
    • แบคทีเรียรูปร่างเป็นแท่ง เรียกว่า บาซิลลัส (Bacillus)
  • แบ่งตามการใช้ออกซิเจนของแบคทีเรีย:
    • แบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต เรียกว่า แอโรบิคแบคทีเรีย (Aerobic bacteria)
    • แบคทีเรียที่ ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต เรียกว่า แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic bacteria)

ข. ชนิดต่างๆของแบคทีเรีย ทำให้มีความแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น

  • การเกิดโรค:
    • แบคทีเรียชนิดแกรมบวก มักทำให้เกิดโรคแบบติดเชื้อเป็นหนองที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจส่วนต้น (จมูกและลำคอ) และปอดบวม
    • แบคทีเรียชนิดแกรมลบ มักทำให้เกิดโรคที่ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินปัสสาวะ, และถุงน้ำดี
    • แบคทีเรียชนิดแอโรบิค มักทำให้เกิดโรคในอวัยวะที่มีออกซิเจนพอเพียงเช่น ผิว หนัง ช่องปาก ปอด ทางเดินหายใจ กระเพาะปัสสาวะ
    • แอนแอโรบิคแบคทีเรีย มักทำให้เกิดโรคในบริเวณที่มีออกซิเจนน้อยเช่น เชื้อบาดทะยัก (โรคบาดทะยัก) ซึ่งเป็นแอนแอโรบิคแบคทีเรียชนิดหนึ่งทำให้เกิดโรคในแผลลึกๆที่ถูกตะปูตำหรือการติดเชื้อในช่องท้องที่เกิดจากการทะลุของลำไส้ เป็นต้น
  • ความรุนแรงของโรค:
    • แบคทีเรียชนิดแกรมบวกที่รูปร่างเป็นคอคคัสมักทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองที่ผิวหนัง ต่อมทอนซิล ทางเดินหายใจ ปอด อาการมักจะไม่รุนแรง และรักษาได้ผลดีด้วยยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin)
    • แบคทีเรียชนิดแกรมลบที่รูปร่างเป็นบาซิลลัสมักทำให้เกิดโรคในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ไต ถุงน้ำดี ไส้ติ่ง (โรคไส้ติ่งอักเสบ) การรักษายากกว่าเพราะมักดื้อต่อยาปฏิชีวนะ (เชื้อดื้อยา) และมีโอกาสที่เชื้อจะแพร่ไปในกระแสเลือด (โลหิต, ภาวะพิษติดเชื้อ) เกิดภาวะช็อกตามมาได้
    • แบคทีเรียชนิดแอโรบิคมักทำให้เกิดโรคที่ผิวหนัง ช่องปาก ทางเดินหายใจ ปอด อาการมักไม่รุนแรง และรักษาหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ทั่วไป
    • แบคทีเรียชนิดแอนแอโรบิคทำให้เกิดโรคที่ร้ายแรงเช่น โรคบาดทะยัก เพราะมีการสร้างสารพิษออกมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีผลต่อระบบประสาท (Neurotoxin) สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแอนแอโรบิคในช่องท้องมักจะดื้อต่อยาปฏิชีวนะทั่วไป และต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดพิเศษที่เฉพาะเจาะจงต่อแบคทีเรียชนิดนี้ทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผล
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ:
    • แบคทีเรียชนิดแกรมบวกรูปร่างคอคคัส ส่วนใหญ่ใช้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น ในกลุ่มเพนิซิลลิน(Penicillin)
    • แบคทีเรียชนิดแกรมลบรูปร่างบาซิลลัส จะใช้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น ในกลุ่มซัลฟา (Sulfonamide), เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin), อมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycoside) เป็นต้น
    • แบคทีเรียชนิดแอโรบิค รักษาด้วยยาปฏิชีวนะหลายกลุ่ม เช่น เพนิซิลลิน ซัลฟา อมิโนกลัยโคไซด์
    • แอนแอโรบิคแบคทีเรีย มักต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในกลุ่ม เช่น Carbapenem เป็นต้น

แบคทีเรียก่อโรคได้อย่างไร?

แบคทีเรียก่อโรค หรืออาจเรียกว่า การติดเชื้อ หรือการอักเสบติดเชื้อ (Infection) ให้แก่มนุษย์ได้ด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น

  • สร้างสารพิษ (Toxin) ออกมาจากตัวแบคทีเรีย และสารพิษนั้นจะทำลายเซลล์ของมนุษย์หรือทำให้เซลล์ของมนุษย์ทำหน้าที่ผิดไปเช่น เชื้อสแตฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) จะสร้างสารโคแอกูเลส (Coagulase) คอยขัดขวางการแข็งตัวของเลือด หรือเชิ้ออีโคไล (E. coli หรือ Escherichia coli) สร้างสารพิษเอ็นโดท็อกซิน (Endotoxin) ทำให้เกิดภาวะช็อก
  • กระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองด้วยการอักเสบ เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่มีการติดเชื้อ และผลของการอักเสบส่วนหนึ่งจะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปกติที่อยู่ใกล้เคียง และเกิดอาการไข้ตัวร้อน
  • แบคทีเรียบางชนิดจะเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ของมนุษย์ แย่งอาหารของเซลล์ และทำให้เกิดการตายของเซลล์

*อนึ่ง แบคทีเรียจะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในร่างกายมนุษย์และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ โดยไปทางหลอดน้ำเหลืองและหลอดเลือด เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (เลือด) หรือ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Septicemia) ก่อให้เกิดการอักเสบและการทำลายอวัยวะอื่นๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) และเสียชีวิตได้

โรคจากแบคทีเรียติดต่อได้ไหม? ติดเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?

โรคจากแบคทีเรียเป็นโรคติดต่อ ทั้งนี้เราสามารถติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายวิธี โดยวิธีที่พบบ่อย ได้แก่

  • ทางการหายใจ: โดยหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียในอากาศเข้าไปในทางเดินหายใจและปอดของเรา เช่น การติดเชื้อวัณโรค เป็นต้น การอยู่ใกล้ชิดกับคนที่มีเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ ไอ จาม หรือจูบปาก สามารถนำไปสู่การติดเชื้อได้
  • ทางการกินอาหารและดื่มน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน: เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคท้องร่วง (ท้องเสีย) โรคไทฟอยด์ และอหิวาตกโรค เป็นต้น
  • ทางการสัมผัสผิวหนังของคนที่เป็นโรค: เช่น โรคเรื้อน
  • ทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน: เช่น โรคหนองใน และโรคแผลริมอ่อน
  • ทางการเป็นแผลที่สัมผัสกับดิน: มีดบาดโดยมีดสกปรก แบคทีเรียในสิ่งแวดล้อมเข้าทางบาดแผลที่ผิวหนังเกิดการอักเสบเป็นหนองตามมา
  • ทางฟันผุ: ฟันที่ผุเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อแบคทีเรียได้ดี และอาจเข้าสู่กระแสเลือดทางฟันที่ผุนั้น จากนั้นแบคทีเรียจะไปเกาะติดที่ลิ้นหัวใจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียที่ลิ้นหัวใจได้ (Infective endocarditis)
  • จากการทำแท้งที่ไม่สะอาด: การทำแท้งโดยขูดมดลูกด้วยเครื่องมือที่สกปรกมีเชื้อแบคทีเรียปะปน สามารถเกิดการติดเชื้อรุนแรงในโพรงมดลูกได้และมักรุนแรงถึงต้องตัดมดลูก หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • จากการสักผิวหนัง แกะสิว เจาะหู แคะหู ตัดเล็บ ทำเล็บโดยใช้เครื่องมือไม่สะอาด: มีเชื้อแบคทีเรียปะปน เกิดการอักเสบเป็นหนองตามตำแหน่งเหล่านั้นได้
  • จากการใช้เข็มฉีดยาสกปรก: ฉีดเข้าหลอดเลือด เช่น ฉีดยาเสพติด เชื้อแบคทีเรียที่เข้าหลอดเลือดนั้นสามารถไปเกาะที่ลิ้นหัวใจทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้
  • จากเชื้อไชเข้าทางผิวหนังโดยตรง: เช่น โรคฉี่หนู (Leptospirosis) ซึ่งมักอยู่ตามพื้น ดินในนาข้าว สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ถ้าเดินในนาโดยไม่สวมใส่รองเท้า

โรคจากติดเชื้อแบคทีเรียมีอะไรบ้าง?

โรคจากติดเชื้อแบคทีเรียมีเป็นจำนวนมากมาย ที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่

  • อหิวาตกโรค
  • โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ
  • โรคไอกรน
  • โรคบาดทะยัก
  • โรคฉี่หนู
  • โรคไทฟอยด์
  • วัณโรค
  • โรคต่อมทอนซิลอักเสบ
  • โรคหูส่วนกลางอักเสบเป็นหนอง เช่น หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง
  • โรคไส้ติ่งอักเสบ
  • โรคหนองใน

เมื่อติดเชื้อแบคทีเรียจะมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยจากติดเชื้อแบคทีเรียได้แก่

1. ไข้ (Fever): เป็นอาการสำคัญที่สุดที่มักจะเกิดขึ้นในการติดเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิด ลักษณะการเกิดไข้จะแตกต่างกันไปในแต่ละโรคและแต่ละชนิดของเชื้อแบคทีเรีย

2. หนอง (Pus): มักเกิดในการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ลักษณะของหนองอาจเกิดที่แผลมีหนองไหลออกมา หรือเป็นฝี หรือมีน้ำมูก หรือเสมหะสีเขียวข้นหรือเหลือง ก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแล้วทั้งสิ้น ตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้แก่ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) และ สแตฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) เป็นต้น

3. อาการปวดเจ็บ (Pain): ในบริเวณที่มีการติดเชื้อเช่น ปวดท้องน้อยด้านขวาในโรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

4. อาการบวม (Edema): จากการติดเชื้อเกิดได้ทั้งอวัยวะภายนอกเช่น ผิวหนังบวมและปวด หรืออวัยวะภายในบวมเช่น ปอดที่ติดเชื้อแบคทีเรียจะบวมใหญ่เรียกว่าโรคปอดบวม (Pneumonia) เป็นต้น

แพทย์มีวิธีวินิจฉัยโรคจากติดเชื้อแบคทีเรียอย่างไร?

การวินิจฉัยของแพทย์ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียใช้วิธีต่างๆ ดังนี้ เช่น

1.การซักประวัติอาการของการเจ็บป่วย

2.การตรวจร่างกาย

3.การตรวจเลือด เช่น

  • การตรวจซีบีซี (CBC) เพื่อดูจำนวนของเม็ดเลือดขาวในเลือด ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (Neutrophil) เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก หรือ
  • การตรวจเลือดเพื่อหาสารภูมิต้านทาน หรือ ภูมิคุ้มกันต้านทาน (Antibody) ต่อเชื้อแบคทีเรียที่สงสัยว่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหรือไม่ก็ช่วยในการวินิจฉัยได้ เป็นต้น

4.การเพาะเชื้อแบคทีเรีย: วิธีนี้ใช้สิ่งที่คาดว่าน่าจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่งไปเพาะเชื้อที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา เช่น หนอง เสมหะ เลือด และ/หรือเนื้อเยื่อที่ตัดออกมาจากผู้ป่วยตรงที่มีการติดเชื้อ การเพาะเชื้อนี้เป็นวิธีมีประโยชน์มากที่สุดในการบอกชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค และยังสามารถนำเชื้อที่เพาะนั้นไปทดสอบต่อได้อีกว่า ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดไหน หรือสามารถถูกทำลายโดยยาปฏิชีวนะ

5.การตรวจทางเอกซเรย์ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเอมอาร์ไอ (MRI): เป็นวิธีที่ทำให้เห็นภาพของเนื้อเยื่อและ/หรืออวัยวะภายในที่มีการติดเชื้อได้ เช่น โรคปอดบวมจากติดเชื้อแบคทีเรีย (Pneumonia) จะพบเงาสีขาวเป็นจุดๆในเนื้อปอดเมื่อดูจากฟิล์มเอกซเรย์ เป็นต้น

6.การตรวจพิเศษเฉพาะโรคบางชนิด: เช่น การตรวจทูเบอร์คูลินเพื่อวินิจฉัยวัณโรค เป็นต้น

รักษาโรคจากติดเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?

วิธีรักษาโรคจากติดเชื้อแบคทีเรียมี 4 วิธีได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะ, การผ่าตัด, การรักษาโดยการให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานโรค, และการรักษาประคับประคองตามอาการ

  • ยาปฏิชีวนะ : การรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าทำลายเชื้อโรคเป็นวิธีสำคัญที่สุด โดยต้องดูชนิดของยาฯที่จะใช้ว่าตรงกับชนิดของแบคทีเรียหรือไม่ การเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือดหรือจากหนองหรือจากสารคัดหลั่งต่างๆของผู้ป่วยในห้องปฏิบัติการ นอกจากจะทราบชนิดของแบคทีเรียแล้ว ยังมีการทดสอบแบคทีเรียที่เพาะขึ้นว่า สามารถถูกทำลายหรือยับยั้งด้วยยาชนิดใด ซึ่งเรียกการตรวจวิธีนี้ว่า ‘Drug sensitivity test’ ทั้งนี้ แพทย์จะนำข้อมูลที่ได้ ใช้เพื่อเลือกยาปฏิชีวนะให้ตรงกับชนิดยาที่สามารถรักษาโรคติดเชื้อในผู้ป่วยแต่ละคนได้
  • การรักษาโดยการผ่าตัด: เช่น กรณีเกิดฝี (Abscess) การรักษาจำเป็นต้องผ่าฝีด้วย
  • การรักษาโดยการให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานโรค: เช่น โรคบาดทะยัก เมื่อผู้ป่วยเป็นบาดทะยักแล้วการให้น้ำเหลืองที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานที่เรียกว่าเซรุ่ม (Serum) ซึ่งอาจผลิตจากสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคนั้นๆหรือโดยวิธีทางการเพาะเลี้ยงเซลล์ จะสามารถยับยั้งพิษของเชื้อโรคบาดทะยักต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ รวมทั้งการฉึดวัคซีน บาดทะยัก ที่เรียก ว่า ‘Tetanus toxoid’ ก็เป็นวิธีกระตุ้นให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่เรียกว่า สารภูมิต้านทาน/แอนติบอดี (Antibody) ต่อเชื้อบาดทะยักได้ด้วยตนเองอีกทางหนึ่ง
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ: เช่น รักษาอาการไข้ด้วยยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อผู้ป่วยกินได้น้อย เป็นต้น

โรคจากติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรงไหม?

การพยากรณ์โรคของโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือโรคจากแบคทีเรียถือว่าเป็นโรครุนแรง เพราะมีความสามารถที่จะแพร่กระจายทางหลอดน้ำเหลืองและทางหลอดเลือดไปในอวัยวะอื่นๆหรือทั่วร่างกายได้ จนเมื่อรุนแรงที่สุดสามารถทำให้เสียชีวิตได้

สิ่งที่จะกำหนดความรุนแรงในการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยแต่ละคนขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.ชนิดของเชื้อแบคทีเรียว่าเป็นชนิดใด มีความสามารถในการสร้างสารพิษหรือไม่ ถ้าเป็นแบคทีเรียที่สร้างสารพิษได้โรคจะรุนแรงมากกว่า อีกกรณีหนึ่งถ้าเชื้อพัฒนาตนเองจนสามารถทนต่อยาปฎิชีวนะได้หรือที่เรียกว่า เชื้อดื้อยา จะรักษายากกว่าเชื้อที่ไม่ดื้อยา โรคจะลุก ลามรุนแรงได้

2.ติดเชื้อที่อวัยวะใด ถ้าเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะสำคัญเช่น สมอง ลิ้นหัวใจ ปอด ไต ตับ ตา และ/หรือกระดูก โรคมักจะรุนแรงและทำให้เกิดความเสียหายหรือความพิการของอวัยวะนั้น ๆมากกว่าอวัยวะอื่นๆ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนัง ฟัน ช่องปาก ต่อมทอนซิล อาการจะไม่รุน แรงมากและสามารถรักษาให้หายได้ง่ายกว่า

3.การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย (Immune system) ของผู้ ป่วยเป็นอย่างไร ถ้าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อนั้นอยู่แล้วจะทำให้ทำลายเชื้อโรคได้เร็วขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานไม่ดีหรือบกพร่องเช่น เป็นโรคเบา หวาน โรคติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทานเช่น ยาพวกสเตีย รอยด์ ยาสารเคมีรักษาโรคมะเร็ง ในเด็กอ่อน หรือในผู้สูงอายุ เหล่านี้จะทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานหรือต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดี โรคจึงรุนแรงมากกว่าคนปกติ

เมื่อสงสัยติดเชื้อแบคทีเรียควรดูแลตัวเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อใด?

เมื่อสงสัยติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น แผลที่มีหนองไหล น้ำมูก หรือเสมหะมีสีเขียวข้น มีไข้ตัวร้อน ต่อมทอนซิลเจ็บ บวมโตและมีหนองปกคลุม มีอาการอักเสบบวมแดงตามผิวหนัง ตาอัก เสบมีขี้ตาสีเขียว มีหนองไหลออกมาจากรูหู ฟันผุ เหงือกบวมปวด ปัสสาวะแสบขัด สีขุ่นหรือมีเลือดปนกับปัสสาวะ ท้องเสียหรืออุจจาระมีมูกเลือดปน ต่อมน้ำเหลืองบวมโตอักเสบร่วมกับมีไข้ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่น่าสงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เราอาจดูแลตนเองเบื้องต้นได้เช่น

  • ถ้ามีแผลที่ติดเชื้อ เราอาจจะทำแผลด้วยตัวเองได้โดยใช้น้ำยาทำแผลน้ำเกลือจะสามารถลดการติดเชื้อได้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียมักจะมีอาการไข้ร่วมด้วย ซึ่งทำให้ร่างกายเสียน้ำมากกว่าปกติ (ภาวะขาดน้ำ) การดื่มน้ำให้เพียงพอจะทำให้ไข้ลดลง ปัสสาวะมากขึ้น ถ้ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การดื่มน้ำเพียงพอจะช่วยขับเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะให้ออกไปจากร่างกายพร้อมกับน้ำปัสสาวะได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรรีบพบแพทย์/มาโรงพยาบาลภายใน 2 - 3 วันเมื่ออาการผิดปกติต่างๆไม่หายไปหรืออาการรุนแรงมากขึ้น เช่น
    • ไข้สูงขึ้น
    • แผลลุกลามมาก
    • ปวดบวมมากขึ้น
    • ไอมากขึ้น
  • ควรพบแพทย์/มาโรงพยาบาลเป็นการฉุกเฉินเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น
    • อาการหอบเหนื่อย
    • ซึมลง
    • ถ่ายเหลวไม่หยุด
    • มีอาการหน้ามืด
    • ชัก และ/หรือ
    • อาการแขนขาอ่อนแรง

ป้องกันติดเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?

ป้องกันติดเชื้อแบคทีเรียได้โดย

1.รักษาความสะอาดส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง จะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดจากมือที่สกปรกเข้าทางปากได้ ล้างมือหลังอุจจาระและปัสสาวะทุกครั้ง อาบน้ำให้ร่างกายสะอาดทุกวัน เลือกดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกแล้ว เพราะอา หารที่ปรุงไม่สุกอาจจะมีเชื้อแบคทีเรียปะปนมาได้ (รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน หรือ สุขบัญญัติแห่งชาติ)

2.รู้จักป้องกันตนเองจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อเช่น ใช้หน้ากากอนามัย ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น

3.รักษาสิ่งแวดล้อม บ้านเรือนให้สะอาด อย่าให้เป็นที่สะสมและเพาะเชื้อแบคทีเรียได้

4.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่น ไม่กลั้นปัสสาวะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ไม่กินยากดภูมิต้านทานโดยไม่จำเป็นเช่น ยาพวกสเตียรอยด์ที่ผสมในยาชุดหรือยาลูกกลอน เป็นต้น ถ้ามีโรคประจำตัวที่ทำให้ติดเชื้อง่ายเช่น โรคเบาหวาน ก็ควรทานยาควบคุมน้ำตาล/ยาเบาหวานอย่าให้ขาดเพราะการมีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย

5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่มีวัคซีนป้องกันตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และกระ ทรวงสาธารณสุข เช่น วัคซีนป้องกันโรคไอกรน, และวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก เป็นต้น (เมื่อสนใจในเรื่องวัคซีนควรสอบถามจากแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขในสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน)

Gram positive bacilli เชื้ออะไรบ้าง

1. Bacteria Gram- positive Bacilli. 2. Gram positive bacteria Gram positive bacteria หรือแบคทีเรียแกรมบวก คือ แบคทีเรีย (bacteria) ที่ย ้อมแกรม (gramstaining) ติด สีม่วง ไม่ติดสีแดงของ safranin ส่วนแบคทีเรียแกรมลบ (Gram negative bacteria) จะย ้อมติดสีแดงของ safranin.

แบคทีเรียแกรมบวกมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะ: แบคทีเรียกลุ่มแกรมบวก (Gram positive bacteria) ลักษณะทรงกลม ขนาด 0.6-2.5 ไมโครเมตรพบอยู่ใน ลักษณะเดี่ยวๆ เป็นคู่ หรือเป็นสายสั้นๆ เมื่อย้อมด้วยสีแกรม ไม่สร้างสปอร์ สามารถเคลื่อนที่ได้ ด้วย flagella. ก่อโรค: เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อ

Streptococcus แกรมอะไร

Streptococcus. แบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม หรือรูปไข่จัดเรียงตัวเป็นสาย • เป็นเชื้อประจาถิ่นทั้งในคน และสัตว์ • อยู่บริเวณช่องปาก โพรงจมูก และ ลาไส้ เจริญได้ดีเมื่อมีCO. 2.

Staphylococcus คือเชื้ออะไร

Staphylococcus หรือเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในจมูก ปาก อวัยวะเพศหรือทวารหนัก ในบางครั้งเชื้อจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิวหนังติดเชื้อเพียงเล็กน้อย เกิดฝีหรือแผลพุพอง อาหารเป็นพิษ แต่หากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด หัวใจ ข้อต่อหรือกระดูก อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita