น้ำตาลโมเลกุลคู่เกิดจากอะไร

เผยแพร่: 26 มิถุนายน 2562

อัพเดท: 26 มิถุนายน 2562

น้ำตาล (Sugar) คือชื่อเรียกของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ มีรสหวาน โดยมีส่วนประกอบเป็นธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน สามารถนำไปประกอบอาหารเพื่อปรุงรสชาติอาหารให้มีความหวานได้ อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารเสริมให้กับร่างกาย โดยน้ำตาลที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางโภชนาการมากที่สุดก็คือ น้ำตาลซูโครส หรือน้ำตาลทราย

สมการเคมี ของน้ำตาล Sucrose

น้ำตาลไม่ใช่เพียงแต่ให้รสหวานอย่างเดียวเท่านั้น เพราะความจริงแล้ว ไม่ใช่น้ำตาลทุกชนิดจะให้ความหวาน ยกตัวอย่างเช่น น้ำตาลแล็กโตส ที่มีอยู่ในน้ำนมมนุษย์หรือน้ำนมของวัว ถือเป็นน้ำตาลที่ไม่ออกรสชาติหวาน เพราะน้ำตาลแล็กโตสมีปริมาณความหวานอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้รสชาติที่ได้จะมีความแตกต่างจากน้ำตาลประเภทอื่นๆ

น้ำตาลเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ และยังช่วยให้ร่างกายเกิดความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพราะมีส่วนกระตุ้นการทำงานของสมอง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ ได้ด้วย เช่น อาหารกระป๋องและผลไม้กระป๋อง เป็นต้น

ประเภทของน้ำตาล

น้ำตาลสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะของโมเลกุล ดังต่อไปนี้

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharides)

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คือน้ำตาลที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ละลายได้ดี เหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ภายในร่างกายได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย น้ำตาลชนิดนี้มีรสหวาน โดยสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยได้ ดังนี้

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides)

  • น้ำตาลกลูโคส (Glucose) เป็นน้ำตาลที่ถือว่ามีความจำเป็นต่อร่างกาย และเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการทำงานของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์สมองและเซลล์เม็ดเลือดแดง พบได้ในผัก ผลไม้ บริเวณส่วนต่างๆ ของพืชที่มีรสหวาน เช่น ยอดอ่อนหรือหัวของพืช
  • ฟรุกโทส (Fructose) เป็นน้ำตาลผลไม้ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย สามารถพบได้ใน มะม่วง แตงโม เชอร์รี่ น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม เครื่องดื่มต่างๆ ที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง
  • กาแลกโทส (Galactose) เป็นน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการย่อยแลกโทส ไม่สามารถพบได้ตามธรรมชาติ แต่จะอาศัยเกาะกลุ่มรวมอยู่กับน้ำตาลกลูโคสในรูปแบบน้ำตาลโมเลกุลคู่ ที่อยู่ภายในน้ำนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharides)

น้ำตาโมเลกุลคู่คือน้ำตาลที่ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล ที่ส่วนใหญ่พบได้ตามธรรมชาติทั่วไป ทั้งในพืช ผัก ผลไม้ และอาหารประเภทต่างๆ โดยสามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยได้ ดังนี้

น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharides)

  • น้ำตาลมอลโทส (Moltose) เป็นน้ำตาลที่เมื่อถูกย่อยสลายจะได้น้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล พบได้มากในข้าวมอลต์ น้ำนมข้าว ข้าวโพด เมล็ดข้าวที่กำลังเจริญเติบโต
  • น้ำตาลแลกโทส (Lactose) เป็นน้ำตาลที่มีรสชาติหวานน้อยกว่าน้ำตาลประเภทต่างๆ และย่อยสลายได้ยากกว่าน้ำตาลโมเลกุลคู่อื่นๆ เมื่อย่อยสลายจะได้น้ำตาลกาแลกโทสและน้ำตาลกลูโคสอย่างละ 1 โมเลกุล โดยประโยชน์ของน้ำตาลแลกโทสนั้นก็คือ การนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตไวน์ พบได้ในน้ำนม น้ำผลไม้
  • น้ำตาลซูโครส (Sucrose) เป็นน้ำตาลที่เมื่อถูกย่อยสลายจะได้น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรุกโตสอย่างละ 1 โมเลกุล โดยพบได้มากในอ้อย มะพร้าวและ ผลไม้ที่มีรสหวานทุกชนิด

น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ หรือน้ำตาลเชิงซ้อน (Polysaccharides)

น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ คือคาร์โบไฮเดรตที่ได้มาจากน้ำตาลโมเลกุลหลายๆ โมเลกุลมารวมกัน ซึ่งรสชาติที่ได้นั้นจะไม่มีความหวาน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ยาก หรือละลายไม่ได้เลย สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยได้ ดังนี้

น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (polysaccharides)

  • แป้ง (Starch) คือพอลิแซ็กคาไรด์ ได้มาจากการนำเอาน้ำตาลกลูโคสหลายๆ โมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน มีความสามารถในการละลายน้ำได้เล็กน้อย เป็นสารอาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถดูดซึมได้ทันที เพราะจำเป็นต้องผ่านการย่อยสลายให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน จึงจะสามารถดูดซึมได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการเก็บสะสมอาหารของพืช โดยพืชจะทำการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบ แล้วนำไปเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่างๆ
  • เซลลูโลส (Cellulose) จัดเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่ได้มาจากการรวมตัวกันของกลูโคสจำนวนหลายหมื่นโมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน ทำให้รูปร่างของเซลลูโลสจะมีลักษณะเป็นเส้นใยขนาดยาว ซึ่งไม่สามารถละลายน้ำได้ บทบาทสำคัญของเซลลูโลสก็คือ ไม่ได้เป็นรูปแบบในการเก็บสะสมอาหารของสิ่งมีชีวิต แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังเซลล์พืช โดยมีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังเซลล์นั้นๆ และเนื่องจากเซลลูโลสเป็นโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่มาก จึงส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่สัตว์ประเภทที่กินพืชเป็นอาหารสามารถย่อยสลายได้ เพราะกระเพาะของสัตว์เหล่านั้นมีแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสให้กลายเป็นกลูโคสได้
  • ไกลโคเจน (Glycogen) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีขนาดของโมเลกุลใหญ่กว่าแป้งมาก ถือเป็นรูปแบบการสะสมอาหารที่พบได้เฉพาะในมนุษย์และสัตว์ โดยร่างกายของมนุษย์และสัตว์นั้นจะเปลี่ยนกลูโคสที่พบได้ปริมาณมากในกระแสเลือดให้กลายเป็นไกลโคเจน เพื่อนำไปเก็บสะสมไว้ในบริเวณกล้ามเนื้อและจับ กลายเป็นหน่วยพลังงานสำรองที่ร่างกายจะดึงเอาไปใช้เมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เช่น การออกกำลังกาย การวิ่ง การทำงานที่ต้องอาศัยแงงานเป็นหลัก และจะสามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นกลูโคสได้ในช่วงที่ร่างกายขาดสารอาหารหรือมีปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำลง

น้ำตาลเป็นสารอาหารที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้จะเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับก็ตาม เพราะหากบริโภคในปริมาณที่มากไป ก็อาจจะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายตามมาได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ร่างกายสามารถดึงเอาพลังงานจากน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดโรคตามมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita