พระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ รูป

มหาเวสสันดรชาดก13 กัณฑ์1.กัณฑ์ทศพรเป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่นางผุสดีก่อนจะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดรโดยให้พร10 ประการ2.กัณฑ์หิมพานต์เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาคประชาชนชาวเมืองสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต3.กัณฑ์ทานกัณฑ์เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกสัตสดกมหาทานคือการแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนออกจากพระนคร4.กัณฑ์วนปเวศน์เป็นกัณฑ์ที่เสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาสนาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตให้ พระเวสสันดร พระนางมัทรีชาลีและกัณหาจึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา5.กัณฑ์ชูชกเป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยาและหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส6.กัณฑ์จุลพนเป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชกและชี้ทางอาศรมจุตดาบสชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัยจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี7.กัณฑ์มหาพนเป็นกัณฑ์ที่ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดร8.กัณฑ์กุมารเป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก9.กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือดอนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก10.กัณฑ์สักกบรรพเป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรีแล้วถวายคืน พร้อมถวายพระพร 8 ประการ11.กัณฑ์มหาราชเป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัตถึงมหานครสีพี12.กัณฑ์ฉกกษัตร์ย์เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้ากันท้าวสักกะเทวราชได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์13.กัณฑ์นครกัณฑ์เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัตพระนครพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดานางสาวศศิชา อินมะดัน เลขที่ 30 ม.4/2

ลายเส้น siambook.net เข้าใจว่าเป็นผลงานของ ครูอาด อ๊อดอำไพ และศิลปินท่านอื่นของคณะช่างกระดาษ ปอนด์พิมพ์ครั้งที่ -ปีที่พิมพ์ พ.ศ.250-สำนักพิมพ์ บริษัท คณะช่าง จำกัด

รายละเอียดสินค้า ภาพวิจิตรศิลป พระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ (ครบชุด)

ลายเส้น siambook.net เข้าใจว่าเป็นผลงานของ ครูอาด อ๊อดอำไพ และศิลปินท่านอื่นของคณะช่าง

สำนักพิมพ์ บริษัท คณะช่าง จำกัด

สภาพหนังสือ:บางภาพมีคราบเหลืองตามขอบ หรือ มีรอยเปื้อนคราบน้ำตามขอบเล็กน้อย , โดยรวมส่วนใหญ่สภาพค่อนข้างดี

บริษัท คณะช่าง จำกัด เสนอ ภาพวิจิตรศิลป ชุด พระเวสสันดรชาดก ซึ่งนิยมสร้างกันมากว่า 200 ปี พิมพ์สีธรรมชาติสวยงาม รวม 13 ภาพ ประกอบด้วย

๑.กัณฑ์ทศพร ๑๙ คาถา แสดงถึง พระนางผุสดี กำลังทูลขอพร ๑๐ ประการกับพระอินทร์

๒.กัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ คาถา แสดงถึง พระเวสสันดรให้ทานช้างปัจจัยนาค แก่คณะพราหมณ์ทูตเมืองกลิงครัฐ

๓.กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๒๐๙ คาถา แสดงถึง พระเวสสันดรให้ทานม้าและรถพระที่นั่งแก่พวกพราหมณ์ ที่นอกเมืองเชตุดร

๔.กัณฑ์วนประเวศน์ ๕๗ คาถา แสดงถึง พระวสสันดรทรงอุ้มพระชาลี พระนางมัทรีทรงอุ้มกัณหา เสด็จถึงเมืองเจตราษฎร

๕.กัณฑ์ชูชก ๗๙ คาถา แสดงถึง นางอมิตตดาไปตักน้ำ ถูกหญิงเพื่อนบ้านช่วยกันรุมด่าพูดถากถางเยาะเย้ย

๖.กัณฑ์จุลพน ๓๕ คาถา แสดงถึง นายพรานเจตบุตรตั้งใจยิงชูชก ๆ หลอกว่าเป็นราชทูตนำสารมาถวายพระเวสสันดร

๗.กัณฑ์มหาพน ๘๐ คาถา แสดงถึง ชูกชกไปนมัสการพระอัจจุตฤๅษี ถามทางที่จะไปสำนักพระเวสสันดร

๘.กัณฑ์กุมาร ๑๐๑ คาถา แสดงถึง ชูชกถูกขอสองกุมารกับพระเวสสันดร ๆ ทรงเรียกขึ้นจากสระให้เป็นทานแก่ชูชก

๙.กัณฑ์มัทรี ๙๐ คาถา แสดงถึง พระนางมัทรีเสด็จกลับจากป่า เที่ยวตามหาพระลูกไม่พบจนหมดกำลังสลบไป

๑๐.กัณฑ์สักกบรรพ ๔๓ คาถา แสดงถึง พระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์กำลังทูลขอพระนางมัทรี แต่กลับถวายคืนแล้วประสาทพร ๘ ประการ 

๑๑.กัณฑ์มหาราช ๖๙ คาถา แสดงถึง พระเจ้ากรุงสัญชัย กำลังไถ่ค่าตัวพระชาลีพันตำลึงทอง และพระนางกัณหาร้อยตำลึงทอง ฯลฯ กับชูชก 

๑๒,กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๓๖ คาถา แสดงถึง หกกษัตริย์ เมื่อแรกพบกันที่พระอาศรม ต่างตื้นตันพระทัย ถึงแก่วิสัญญีภาพ

๑๓.กัณฑ์นครกัณฑ์ ๔๘ คาถา แสดงถึง ช้างปัจจัยนาค กำลังนำเสด็จพระเวสสันดรผ่านเข้าทวารพระบรมมหาราชวังแห่งกรุงเชตุดร

บริษัท คณะช่าง จำกัด ก่อตั้งโดย รองอำมาตย์ตรี เปรื่อง แสงเถกิง อดีตครูโรงเรียนเพาะช่าง รับออกแบบและทำบล็อกอยู่กับหนังสือบางกอกการเมือง ในช่วง พ.ศ.2471 ต่อมาได้ร่วมเขียนซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังรามเกียรติ์ รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเป็นผู้ที่ใช้แท่นพิมพ์อ็อฟเซ้ทมาใช้การพิมพ์ในประเทศไทยเป็นคนแรก

ผลงานของคณะช่างที่เด่นๆอาทิ

-สมุดภาพสัตว์ ผลไม้ ดอกไม้ 

-ภาพวิจิตรศิลป รูปภาพมหาเวสสันดร

-หนังสือคู่มือบวชนาค , เล่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดก , พระยามิลินท์ นักวาทศิลปชั้นเลิศของโลก ฯลฯ 

ข้อมูลจาก:นักวาดในดวงใจ และ นักวาดชั้นครู โดย เอนก นาวิกมูล , หนังสือเล่าเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก พิมพ์โดย บริษัท คณะช่าง จำกัด

และแล้วก็มาถึงตอนสุดท้ายแล้วครับ ผมได้แนะนำให้ผู้อ่านทุกท่านได้รู้จักกับทศชาติชาดกมาแล้ว 9 ตอน เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ และแล้วก็ถึงคิวของชาดกที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน นั่นก็คือ ‘เว’ ซึ่งย่อมาจาก เวสสันดรชาดกหรือมหาชาติ นั่นเองครับ

สาเหตุที่เวสสันดกชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงทำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ทานบารมี’ ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกอย่างในที่นี้คือทุกอย่างจริงๆ นะครับ แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 

การเทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘เทศน์มหาชาติ’ นั้น มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อยเพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในจารึกหลักที่ 3 หรือจารึกนครชุม ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900 ในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพญาลิไท ความว่า

“…ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระมหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลย…” 

การเทศน์มหาชาตินี้ก็ยังคงมีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยจัดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ภาคกลางนิยมจัดขึ้นหลังออกพรรษา พ้นหน้ากฐินแล้ว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า ‘งานบุญผะเหวด’ ในขณะที่ภาคเหนือจัดขึ้นในเดือนยี่เป็งหรือวันเพ็ญเดือน 12 เรียกว่า ‘การตั้งธรรมหลวง’ ส่วนภาคใต้จัดขึ้นในช่วงเวลาที่แต่ละท้องถิ่นเห็นสมควร และเรียกว่า ‘เทศน์มหาชาติ’ แบบเดียวกับในภาคกลาง

และไม่ใช่เพียงแต่งานเทศน์หรืองานวรรณกรรมเท่านั้น เวสสันดรชาดกยังถูกบันทึกอยู่ในรูปของภาพเล่าเรื่องบนฝาผนังวัด บ้างเป็นงานจิตรกรรมฝาผนัง บ้างเป็นงานปูนปั้น บ้างเป็นจิตรกรรมในกรอบรูป รวมถึงแบบที่เป็นงานแกะสลักไม้ก็มีเหมือนกัน โดยวิธีการเขียนนั้นอาจแทรกอยู่ร่วมกับทศชาติชาดกเรื่องอื่น หรืออยู่ยึดพื้นที่ผนังเล่าเรื่องทั้งอาคารไว้แต่เพียงผู้เดียวก็ได้ แม้จะผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน แต่ฉากสำคัญหรือฉากที่ได้รับความนิยมในการนำมาเล่าเรื่องราวในทั้ง 13 กัณฑ์ของเวสสันดรชาดกนี้กลับแทบไม่ต่างจากเมื่อร้อยปีก่อนเลย ซึ่งจะเหมือนกันขนาดไหน ไปชมกันครับ

กัณฑ์ทศพรถือเป็นกัณฑ์แรกและเป็นปฐมเหตุของเรื่องนี้ เป็นกัณฑ์ที่ว่าด้วยการที่พระอินทร์ประทานพร 10 ประการให้กับนางผุสดี ก่อนจะลงไปจุติเป็นมารดาของพระเวสสันดรชาดก ซึ่งพรแต่ละข้อผม เชื่อว่าเป็นพรที่สาวๆ ทุกคนอยากจะได้แน่ๆ ไม่ว่าจะขอให้หน้าอกไม่หย่อนยาน ขอให้ผิวงาม หรือขอให้ท้องยังแบนราบแม้จะตั้งครรภ์อยู่ แต่พรข้อสำคัญที่นางผุสดีขอกับพระอินทร์ก็คือ “ขอให้มีโอรสเป็นผู้รักในการบริจาคทานยิ่งกว่าชีวิต” โดยกัณฑ์นี้ช่างมักจะเขียนเป็นภาพพระอินทร์ เทพเจ้าแห่งสายฟ้าผู้มีกายสีเขียวกำลังให้พรแก่นางผุสดี โดยมีแบกกราวด์หลากหลายแล้วแต่ยุคสมัย

วัดวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

กัณฑ์ที่ 2 คือกัณฑ์หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่เป็นมูลเหตุในการออกไปอยู่ป่าของพระเวสสันดร เพราะพระองค์ได้หลั่งน้ำประทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ ช้างที่มีความสามารถพิเศษในการบันดาลให้ฝนตกให้แก่พราหมณ์ 8 คนจากเมืองกลิงคราษฎร์ที่กำลังประสบปัญหาฝนแล้ง ซึ่งการประทานช้างวิเศษให้แก่เมืองอื่นสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวเมืองเป็นอย่างมากและส่งผลให้พระเวสสันดรต้องถูกเนรเทศออกจากเมือง โดยมีนางมัทรี พระกัณหา และพระชาลี ติดตามไปด้วย 

ฉากสำคัญของกัณฑ์นี้ย่อมเป็นฉากที่พระเวสสันดรบริจาคช้างให้แก่พราหมณ์ทั้ง 8 โดยพระเวสสันดรจะอยู่บนช้างก็ได้ หรือจะลงมายืนบนพื้นก็ได้ แต่บางวัดก็จะเขียนเป็นฉากที่พราหมณ์ทั้ง 8 ขี่ช้างปัจจัยนาเคนทร์ออกจากเมือง ย้ำ 8 คน เรียกได้ว่าแน่นหลังช้างสุดๆ โดยจะมีชาวเมืองมาขัดขวาง แต่คนยืนหรือจะสู้ช้างเดิน ยังไงก็ขวางไม่ไหวหรอกครับ

วัดยางทวงวราราม จังหวัดมหาสารคาม

กัณฑ์ที่ 3 คือทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรได้ถวายทานแบบดับเบิ้ล เพราะเมื่อพระเวสสันดรเสด็จออกจากเมือง ทรงประทับบนราชรถที่เทียมด้วยม้า ระหว่างทางมีคนมาขอม้า พระองค์ก็ประทานให้ มีคนมาขอราชรถ พระองค์ก็ประทานให้อีก จนพระองค์และนางมัทรีต้องอุ้มพระชาลีพระกัณหาขึ้นบ่าแทน (ซึ่งฉากนี้ได้กลายเป็นที่มาของเพลงแหล่ 4 กษัตริย์เดินดง นั่นเอง ลองไปหาฟังกันดูนะครับ) สำหรับกัณฑ์นี้ ช่างมักจะวาดภาพเป็นแอนิเมชันต่อเนื่อง โดยเริ่มจากพระเวสสันดรหลั่งน้ำประทานราชรถหรือม้าให้กับคนที่มาขอที่มาขอ แล้วต่อด้วยฉาก 4 กษัตริย์เดินดงครับ

วัดอุดมประชาราษฎร์ จังหวัดกาฬสินธุ์

กัณฑ์ที่ 4 คือกัณฑ์วนประเทศน์ เป็นเฟสที่เล่าถึงการเดินทางช่วงสุดท้ายไปยังป่าวงกต โดยเริ่มจากการเสด็จไปยังเมืองเจตราษฎร์ ซึ่งกษัตริย์เมืองเจตราษฎร์จะยกราชสมบัติให้แต่พระองค์ปฏิเสธเพราะโดนเนรเทศจากเมืองมา แถมยังเป็นเชื้อสายกษัตริย์แห่งเมืองสีพี จะให้ไปครองเมืองอื่นคงไม่ได้ กษัตริย์เมืองเจตราษฎร์จึงให้พรานเจตบุตรทำหน้าที่เป็นคนเฝ้าทางเข้าป่าแทน โดยเมื่อทั้ง 4 พระองค์เดินทางไปถึงป่าแล้ว พระอินทร์ได้ให้เทวดามาเนรมิตศาลาไว้รองรับ ซึ่งถ้าดูจากเนื้อหาที่เล่าให้ฟัง ฉากที่จะต้องปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังน่าจะต้องเป็นฉากที่กษัตริย์เมืองเจตราษฎร์มาเข้าเฝ้าพระเวสสันดร หรือฉากที่พระเวสสันดรและคณะเดินทางไปถึงศาลาในป่าวงกต ซึ่งก็มีจริงๆ แต่ในจิตรกรรมสมัยหลังนิยมเขียนฉาก 4 กษัตริย์เดินดงแทนกัณฑ์นี้มากกว่า ดังนั้นถ้าใครไปตามวัดเจอฉากนี้แล้วเขียนว่า ‘กัณฑ์วนประเวศน์’ ก็อย่าแปลกใจนะครับ

วัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่

กัณฑ์ที่ 5 คือกัณฑ์ชูชก เป็นการเล่าถึงตัวละครที่จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญของชาดกเรื่องนี้อย่างชูชก พราหมณ์ที่มีรูปร่างที่น่าจะเรียกได้ว่ารวมความน่าเกลียดเอาไว้ในหนึ่งเดียว (ใครสนใจลองไปหาอ่านนะครับ ผมบรรยายให้ฟังไม่ได้จริงๆ) ชูชกมีอาชีพเป็นขอทาน แต่มีความสามารถในการขอทานระดับสุดยอดจนมีเงินเยอะเลยเอาไปฝากเพื่อน แต่เพื่อนดันเอาเงินของชูชกไปใช้จนเกลี้ยง พอชูชกมาทวง เพื่อนก็เลยยกลูกสาวแสนสวยนามอมิตดาให้แทน ซึ่งนางอมิตดาเป็นภรรยาที่สมบูรณ์แบบ ดูแลชูชกอย่างดีจนเพื่อนพราหมณ์อิจฉาเลยไปพาลใส่ภรรยาตัวเอง บรรดานางพราหมณีก็เลยมาต่อว่านางอมิตดาตัวต้นเรื่องจนนางเสียใจ เลยขอให้ชูชกไปขอพระกัณหาและพระชาลีมาเป็นทาสรับใช้ ซึ่งแน่นอนว่าชูชกปฏิเสธไม่ได้เลยจำใจต้องไป พอช่างโบราณจะเล่าฉากนี้ ฉากสำคัญควรเป็นฉากที่ชูชกได้นางอมิตดามาใช่ไหมครับ แต่ว่าซีนใหญ่ที่นิยมมากกว่าสำหรับฉากนี้ คือฉากที่พราหมณ์ไล่ตีไล่ทุบภรรยาตัวเอง ไม่ก็ฉากที่นางอมิตดาโดยรุมด่าซะอย่างนั้นเลยครับ

วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี

กัณฑ์ที่ 6 อย่างกัณฑ์จุลพน เป็นกัณฑ์ที่ว่าด้วยการเดินทางครึ่งแรกของชูชกเพื่อไปหาพระเวสสันดร ซึ่งถ้าคุณคิดว่าชูชกเป็นยอดนักเดินทาง คุณคิดผิดครับ ชูชกไม่ได้รู้ทางขนาดนั้น แต่ชูชกมีตัวช่วยที่มาโดยไม่ทันตั้งใจ นั่นก็คือพรานเจตบุตร นั่นเอง แถมตัวช่วยยังมาพร้อมบรรยากาศไม่เป็นมิตรด้วย เพราะเจอกันปุ๊บ ชูชกโดนหมาของพรานเจตบุตรไล่จนต้องขึ้นไปหลบบนต้นไม้ แถมเกือบจะโดนยิงดับดิ้นสิ้นชีวี เดชะบุญ สกิลล์นักพูดระดับเทพของชูชกทำงาน หลอกพรานบุญว่าตัวเองเป็นคนของพระเจ้าสัญชัย จะมาพาพระเวสสันดรกลับเมือง พรานเจตบุตรก็หลงเชื่อ จึงชวนกันไปกินข้าวที่บ้านแถมยังบอกทางไปให้ชูชกอีกต่างหาก ดังนั้น เมื่อจะเขียนจิตรกรรมตอนนี้ ก็ต้องเขียนฉากที่ชูชกโดนหมาไล่ขึ้นต้นไม้แน่นอนครับ

วัดช่องนนทรี กรุงเทพมหานคร

จากกัณฑ์จุลพน ก็ต้องต่อด้วยกัณฑ์ที่ 7 อย่างกัณฑ์มหาพนครับ นี่ถือเป็นภาคต่อของกัณฑ์จุลพน เพราะเป็นกัณฑ์ที่สกิลล์นักพูดของชูชกทำงานอีกครั้งเพื่อหลอกคนให้หลงเชื่อ โดยเหยื่อในครั้งนี้คืออัจจุตฤๅษีครับ แต่รอบนี้ชูชกไม่ได้โดนไล่ขึ้นต้นไม้แล้วนะครับ ทว่าสิ่งที่เหมือนกันก็คือ ฤๅษีโดนชูชกหลอกถามทางครับ รอบแรกหลอกว่าเป็นคนของพระเจ้าสัญชัย รอบนี้หลอกว่าอยากสนทนาธรรมกับพระเวสสันดร และฤๅษีก็โดนหลอกเข้าอย่างจัง บอกทางชูชกจนในที่สุด ชูชกก็หาทางไปหาพระเวสสันดรจนได้ และฉากนี้ก็มักจะแสดงด้วยภาพอัจจุตฤๅษีกำลังชี้บอกทางให้กับชูชก โดยฉากหลังอาจจะเป็นป่า ริมน้ำ หรือในศาลาก็ได้ครับ

ภาพในกรอบฝีมืออาจารย์เหม เวชกร

เข้าสู่ครึ่งหลังของเนื้อเรื่องกับกัณฑ์ที่ 8 นามว่ากัณฑ์กุมาร ดูจากชื่อก็รู้เลยว่า ตัวเอกของกัณฑ์นี้ก็คือพระกัณหาและพระชาลีแน่นอน โดยกัณฑ์นี้เริ่มด้วยการที่ชูชกเซอร์เวย์ที่พักของพระเวสสันดรก่อน แล้วก็เฝ้ารอจนนางมัทรีออกไปหาผลไม้ในป่าจึงเดินเข้าไปขอสองกุมารกับพระเวสสันดร เพราะถ้าแม่อยู่ แม่ไม่มีทางยกลูกให้คนอื่นง่ายๆ แน่ๆ เรียกว่าชูชกแผนสูงใช้ได้ พอได้จังหวะเหมาะก็เข้าไปขอสองกุมาร ซึ่งก็แน่นอนว่าพระเวสสันดรยกให้ พอรู้ว่าจะต้องไปอยู่กับชูชก ทั้งพระกัณหาและพระชาลีต่างก็หนีไปหลบอยู่ในสระบัว จนพระเวสสันดรต้องตามไปเกลี้ยกล่อม พรรณนาคุณของทานบารมีจนสองกุมารใจอ่อน โดยพระชาลีขึ้นมาก่อน พระกัณหาจึงค่อยตามมา จากนั้นพระเวสสันดรจึงประทานสองกุมารแก่ชูชก ชูชกจึงข่มโดยการทุบตีทั้งสองจนหนีกลับมาหาพระเวสสันดร จนผู้เป็นพ่อต้องเกลี้ยกล่อมรอบที่สองให้สองกุมารให้ยอมตามชูชกไป ซึ่งฉากนี้ช่างนิยมวาดซีนที่พระเวสสันดรเกลี้ยกล่อมสองกุมารให้ขึ้นจากสระบัว โดยเลือกตอนที่พระชาลีขึ้นมากราบพระบาทบิดา แต่ก็มีบ้างที่ช่างวาดฉากยกสองกุมารให้ชูชก หรือฉากที่ชูชกเอาเชือกผูกข้อมือสองกุมารแล้วลากไปก็มีบ้างเหมือนกันครับ

วัดคูเต่า จังหวัดสงขลา

ผมเชื่อว่ากัณฑ์ที่ 9 น่าจะเป็นกัณฑ์ที่ทุกคนรู้จักกันมากที่สุด เพราะเคยอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทยสมัยเด็กๆ (ไมแน่ใจว่าเดี๋ยวนี้ยังมีรึเปล่า) นั่นก็คือกัณฑ์มัทรี นั่นเอง ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่เล่าเหตุการณ์ระหว่างที่นางมัทรีหาผลไม้เสร็จ กำลังจะกลับไปหาพระเวสสันดร เหล่าเทวดากลัวว่านางมัทรีจะไปขัดขวางการประทานสองกุมารให้ชูชก จึงแปลงกายเป็นราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ไปขวางทาง จนเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจึงเปิดทาง พอกลับไปถึงนางมัทรีไม่เจอพระกัณหา พระชาลี ก็ออกตามหาจนสลบไป พระเวสสันดรต้องปลุกขึ้นมาและอธิบายเหตุผลจนนางมัทรีเข้าใจ และก็แน่นอนครับผมว่า ช่างเขียนย่อมจะวาดฉากที่นางมัทรีโดนราชสีห์ (ที่หน้าตาเหมือนตัวบนขวดเบียร์สิงห์ ยกเว้นของวัดราชาธิวาสที่เป็นสิงโตจริงๆ) เสือโคร่ง และเสือเหลืองขวางทางไว้ ถือเป็นฉากที่ติดตามากอีกฉากหนึ่งของพระเวสสันดรชาดกเลยก็ว่าได้

วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร

เขาสู่เลขสองหลักแล้วสำหรับกัณฑ์สักกบรรพ ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 10 เป็นกัณฑ์ที่ว่าด้วยท้าวสักกะหรือพระอินทร์ตามชื่อกัณฑ์เลยครับ เป็นกัณฑ์ที่เกิดจากความกังวลของพระอินทร์ว่า ขืนปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป พระเวสสันดรจะต้องยกนางมัทรีให้คนอื่นแน่นอน แล้วพระเวสสันดรก็จะต้องอยู่คนเดียว ดังนั้น พระอินทร์จึงแปลงกายมาเป็นพราหมณ์มาทูลขอนางมัทรี ซึ่งพระเวสสันดรก็ยกให้ตามคาด พอยกให้ปุ๊บ พระอินทร์ถวายคืนให้ พร้อมกับมอบพร้อมกับประทานพรให้พระเวสสันดร 8 ข้อ และฉากที่มักจะพบเป็นประจำ ก็คือฉากที่พระอินทร์ขอนางมัทรีจากพระเวสสันดร ซึ่งบางวัดถึงกับวาดเป็นพราหมณ์ตัวเขียวเพื่อบอกให้คนดูรู้ว่านี่คือพระอินทร์นะ ไม่ใช่พราหมณ์ธรรมดา

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง

กัณฑ์ที่ 11 คือกัณฑ์มหาราช กัณฑ์นี้แบ่งฉากใหญ่ออกเป็น 2 ฉาก ฉากแรกคือฉากในป่า ซึ่งเป็นฉากระหว่างการเดินทาง พอถึงกลางคืน ชูชกก็ผูกเปลขึ้นไปนอนบนต้นไม้ ทิ้งสองกุมารให้อยู่บนพื้น จนเทวดาต้องแปลงตัวเป็นพระเวสสันดรและนางมัทรีมาดูแลสองกุมารทุกคน ส่วนฉากที่สองเป็นฉากในเมือง ซึ่งก็คือเมืองเชตุดรของพระเจ้าสัญชัยเพราะเหมือนโชคชะตาเข้าข้างสองกุมาร ชูชกพาทั้งสองเข้าไปยังเมืองเชตุดรจนทำให้ได้พบกับพระเจ้าสัญชัย ซึ่งพระองค์ตัดสินใจไถ่ตัว 2 กุมารจากชูชกพร้อมดูแลชูชกอย่างดี ชูชกไม่เคยกินดีอยู่ดีขนาดนี้จึงกินเกินขนาดจนท้องแตกตาย พระเจ้าสัญชัยจึงตัดสินใจที่จะไปพาพระเวสสันดรกับนางมัทรีกลับเมือง ซึ่งฉากนี้ถือเป็นฉากที่ช่างมีความหลากหลายในการเลือกฉากวาดมากที่สุดฉากหนึ่ง ถ้าฉากที่ฮิตจนถึงในยุคปัจจุบัน เป็นฉากที่ชูชกผูกเปลบนต้นไม้โดยผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ บางที่ก็เขียนฉากที่พระเจ้าสัญชัยไถ่สองกุมารจากชูชกภายในปราสาท บางที่เขียนฉากชูชกกินมากเกินท้องแตกตายก็มี แต่ถ้าเอาแบบพีกๆ ในจิตรกรรมฝาผนังพื้นบ้านบางทีถึงขั้นเขียนฉากงานศพชูชกซึ่งไม่มีในเนื้อเรื่องก็มี

วัดกุฏิ จังหวัดเพชรบุรี

มาถึงกัณฑ์รองสุดท้ายอย่างกัณฑ์ฉกษัตริย์ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 12 กันแล้วครับ ซึ่งกัณฑ์นี้เป็นเรื่องราวการรับพระเวสสันดรกลับเมืองครับ โดยเล่าถึงขบวนเสด็จของพระเจ้าสัญชัย นางผุสดี พระกัณหา และพระชาลี ที่เดินทางไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรและนางมัทรี พอทั้ง 6 คนได้พบหน้ากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาก็รู้สึกปลื้มปิติอย่างมากจนถึงแก่วิสัญญีหรือสลบกันหมด พอข้าวราชบริพารมาพบเข้าก็ดีใจจนสลบไปเช่นกัน จนพระอินทร์ต้องบันดาลฝนโบกขรพรรษซึ่งเป็นฝนพิเศษจนทั้งหมดฟื้นขึ้นมา แล้วจึงทูลเชิญพระเวสสันดรและนางมัทรีกลับเมืองเชตุดร ซึ่งซีนนี้ช่างนิยมเขียนหลักๆอยู่ฉากเดียว นั่นก็คือ ฉากที่ทั้งหมดพบกันอีกครั้งในที่พักของพระเวสสันดรและร้องไห้ดีใจจนสลบไป ซึ่งมีทั้งการสลบแบบนาฏลักษณ์และสลบจริงๆ อยู่ที่ว่าช่างที่เขียนฉากนี้เป็นช่างพื้นบ้านหรือช่างหลวง

วัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร

และกัณฑ์สุดท้ายก็คือนครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พูดถึงการเสด็จกลับเมืองเชตุดรของพระเวสสันดรและคณะ ซึ่งเมื่อกลับไปถึง พระเวสสันดรก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ปกครองเมืองด้วยความเมตตาและทานบริจาคจนสิ้นอายุขัย ฉากหลักที่ช่างมักจะเขียน ก็คือฉากขบวนเสด็จของพระเวสสันดรกลับเมือง บางวัดเขียนทั้งขบวนขาไปและขบวนขากลับ ซึ่งวิธีสังเกตว่าขบวนไหนเป็นขบวนไหน ให้ดูที่ต้นทางกับปลายทางครับ ดูว่าฝั่งไหนเป็นเมือง ฝั่งไหนเป็นศาลา ซึ่งแน่นอนว่า ฝั่งที่ออกจากเมืองก็คือฉากขบวนขามาของกัณฑ์ฉกษัตริย์ ส่วนฝั่งที่ออกมาจากศาลาจเป็นขบวนขากลับเมืองเชตุดรของนครกัณฑ์ แต่ถ้าวัดไหนเขียนขบวนขาเดียวก็มักจะเป็นขบวนขากลับนะครับ

วัดโบสถ์สามเสน กรุงเทพมหานคร

และแล้วก็จบลงอย่างสมบูรณ์กับมหากาพย์ทศชาติชาดกที่ยาวถึง 4 ตอนด้วยกัน หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะชอบกับบทความแบบซีรีส์นี้นะครับ และก็หวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย สำหรับช่วยในการดูจิตรกรรมฝาผนังหรือเข้าใจชาดกเซ็ตสำคัญเซ็ตนี้ครับผม ส่วนตอนถัดไปจะเป็นเรื่องอะไรก็รอติดตามกันนะครับผม

พระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ มีอะไรบ้าง

เทศน์มหาชาติ;เทศนาเวสสันดรชาดก;13 กัณฑ์;คัมภีร์ใบลาน;กัณฑ์ทศพร;กัณฑ์หิมพานต์;กัณฑ์ทานกัณฑ์;กัณฑ์วนปเวศน์;กัณฑ์ชูชก;กัณฑ์จุลพน;กัณฑ์มหาพน;กัณฑ์กุมาร;กัณฑ์มัทรี;กัณฑ์สักกบรรพ;กัณฑ์มหาราช;กัณฑ์ฉกษัตริย์;กัณฑ์นครกัณฑ์ Item no.

เรื่องมหาเวสสันดรชาดกมีทั้งหมดกี่กัณฑ์

นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา แต่งพรรณนาเรื่องราวของพระเวสสันดรโดยแบ่งเป็นตอนๆ ได้๑๓ กัณฑ์ Page 4 ว่าด้วยพรสิบประการที่พระอินทร์ทรงประทานแก่นางเทพธิดา ชื่อว่า ผุสดีผู้เป็นมเหสีซึ่งทูลขอไว้ในวันจะจุติจากสวรรค์ลงมาเกิดในโลกมนุษย์

แต่ละกัณฑ์มีกี่คาถา

กัณฑ์ทศพร มี 19 พระคาถา กัณฑ์หิมพานต์ มี 134 พระคาถา กัณฑ์ทานกัณฑ์ มี 209 พระคาถา กัณฑ์วนประเวศน์ มี 57 พระคาถา

กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่เท่าไร

ที่มาของเรื่อง มาจาก ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งใน ทศชาติชาดก หรือที่เรียกว่า “พระเจ้าสิบชาติ” กัณฑ์นี้เป็นกัณฑ์ที่ 9 ในทั้งหมด 13 กัณฑ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita