กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กินอะไรหาย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่เป็นกรดสูง ปฏิกิริยาจากยาเคมีบำบัด การฉายรังสี หรือสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่น เจลหล่อลื่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว อาจทำให้มีอาการปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้อย รู้สึกแสบเมื่อปัสสาวะ เลือดออกเมื่อปัสสาวะ และปัสสาวะมีกลิ่นแรง หากไม่ทำการรักษาเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังไตและอาจทำลายไตได้

อาหารบางชนิดอาจมีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ ทั้งนี้ อาจเกิดขึ้นกับบางคนเท่านั้น ผู้ที่ประสบปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบจึงควรจดบันทึกรายการอาหารที่อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาหารที่อาจส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้

  • โปรตีน เช่น ถั่วเหลือง เนื้อแปรรูป
  • ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต
  • ผัก เช่น มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ผักดอง พริก มะรุม
  • ผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ สับปะรดและน้ำสับปะรด ส้มและน้ำส้ม เลมอน น้ำแครนเบอร์รี่ เกรพฟรุตและน้ำเกรพฟรุต
  • เครื่องปรุงรส เช่น น้ำสมสายชู ซีอิ๊ว น้ำสลัด ซอสมะเขือเทศ
  • เครื่องดื่ม เช่น โซดา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาแฟและชาทั้งที่มีคาเฟอีนและไม่มีคาเฟอีน
  • สารปรุงแต่งหรือสารเติมความหวาน เช่น โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium glutamate) สารให้ความหวานเทียม เช่น ขัณฑสกร (Saccharin)
  • อาหารอื่น ๆ เช่น อาหารรสเผ็ด พิซซ่า ช็อคโกแลต

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรกินอะไร

อาหารที่ดีต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยรักษาบาดแผล เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการส่งสัญญาณของเส้นประสาท และทำให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ ดังนี้

อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 14 วิธี !!

  • โดย เมดไทย
  • ปรับปรุงเมื่อ 24 มิถุนายน 2020 (เวลา 19:41 น.)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis, Lower Urinary tract infection) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจากบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย

โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ง่าย ๆ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อน ซึ่งยากแก่การเยียวยารักษาได้

ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ในทุกช่วงของชีวิต นับตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ (พบได้สูงในช่วงอายุ 20-50 ปี) พบได้มากในผู้หญิงที่ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ หรือในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ส่วนในผู้ชายนั้นมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก เนื่องจากมีสรีระที่ยากต่อการติดเชื้อ ถ้าพบว่าเป็นก็มักจะมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เนื้องอกกระเพาะปัสสาวะ ก้อนเนื้องอกในช่องท้อง ต่อมลูกหมากโต หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบพบได้ทั้งจากการอักเสบเฉียบพลัน ที่มีอาการเกิดขึ้นทันทีและรักษาหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการอักเสบเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ แต่จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าการอักเสบเฉียบพลัน

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบที่มีอยู่ในอุจจาระของคนเรา เช่น อีโคไล (E.coli), เคล็บซิลลา (Klebsiella), สูโดโมแนส (Pseudomonas), เอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) เป็นต้น (แต่ส่วนใหญ่แล้วประมาณ 75-95% เกิดจากเชื้ออีโคไล) ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะมีอยู่มากที่บริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก เนื่องมาจากการชำระหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เชื้อโรคจึงปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะ เข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่ปกติท่อปัสสาวะจะสั้นและอยู่ใกล้กับทวารหนัก จึงง่ายที่เชื้อโรคจะปนเปื้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

ส่วนในผู้ชายจะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยมาก เนื่องจากมีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก อีกทั้งเมื่อเชื้อโรคเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถ้ามีการถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดก็จะสามารถขับเอาเชื้อโรคนั้นออกมาได้ จึงไม่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ในกรณีที่กลั้นปัสสาวะนาน ๆ เช่น รถติดหรือเดินทางไปต่างจังหวัด (ไม่มีห้องน้ำให้เข้าหรือกลัวการใช้ห้องน้ำสาธารณะที่ไม่สะอาด) หรือหน้าน้ำท่วมที่ไม่กล้าเข้าห้องน้ำเพราะกลัวสัตว์มีพิษ หรือนอนกลางคืนแล้วขี้เกียจลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือทำอะไรเพลิน ๆ จนลืมเข้าห้องน้ำ เป็นต้น เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ จนทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้นมาได้ ด้วยเหตุนี้ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจึงมักพบได้ในผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ระมัดระวังการชำระล้างทวารหนักและชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ

ในผู้หญิงที่แต่งงานใหม่หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เรียกว่า “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน” (Honeymoon cystitis) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ในบางคนยังอาจมีเหตุชักนำให้เกิดโรคนี้ได้มากกว่าทั่วไป (จัดเป็นกลุ่มเสี่ยง) เช่น

  • ผู้หญิง ด้วยเหตุผลทางด้านสรีระดังที่กล่าวมา
  • ผู้สูงอายุ เพราะมีสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดีนัก โดยเฉพาะผู้ที่ขาดคนดูแล นอกจากนั้นผู้สูงอายุมักไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย มักนั่ง ๆ นอน ๆ เป็นเวลานาน และดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจึงแช่ค้างอยู่นาน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
  • ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์
  • ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย มีผลให้ไม่ค่อยได้ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงแช่ค้างอยู่นาน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี
  • ผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ก็อาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อย ถ้าหากพบว่ามีอาการของโรคนี้เกิดขึ้นซ้ำซาก ก็ควรตรวจดูด้วยว่าเป็นโรคเบาหวานซ่อนเร้นที่ไม่แสดงอาการอยู่ด้วยหรือไม่
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต (ในผู้สูงอายุ), ท่อปัสสาวะตีบ, นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งต่อมลูกหมาก, เนื้องอกกระเพาะปัสสาวะ, ก้อนเนื้องอกในช่องท้อง, เนื้องอกมดลูก, มีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ, ถ่ายปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากเป็นอัมพาต เป็นต้น

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อของไต โรคนิ่ว นิ่วในไต
  • ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังของท่อปัสสาวะ เช่น โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (เชน โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม) ซึ่งมักมีปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคจึงเจริญเติบโตได้เร็ว
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์/อัมพาต ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะแช่ค้างอยู่นาน
  • ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะ หรือมีการคาสายสวนปัสสาวะนาน ๆ หรือใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เพราะกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะเกิดการบาดเจ็บจากสายสวน จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย รวมทั้งอาจติดเชื้อจากเชื้อที่ตัวสายสวนปัสสาวะเองด้วย
  • สตรีตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น เนื่องจากศีรษะของทารกในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่หมด เกิดปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ จึงก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ผู้หญิงที่คุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ (Spermicide) หรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm) เพราะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • การใช้สเปรย์ดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศในผู้หญิง เพราะจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด จึงเป็นการเพิ่มโอกาสการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย มักพบร่วมกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจากการคาสายสวนปัสสาวะ

อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีอาการขัดเบา คือ ถ่ายปัสสาวะกะปริดกระปรอย (ออกมาทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ โดยเฉพาะตอนถ่ายปัสสาวะสุด มักต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุดอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยหรือบริเวณหัวหน่าวร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักใส แต่บางรายปัสสาวะอาจมีสีขุ่นหรือมีเลือดปน มักไม่มีไข้ (ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะสีขุ่น และมีอาการปวดเอวร่วมด้วย) ส่วนในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน และอาจมีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียนร่วมด้วย โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ มีการสวนปัสสาวะ หรือหลังจากการร่วมเพศ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ส่วนมากโรคนี้มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ ส่วนในผู้ชายเชื้ออาจลุกลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ

นอกจากนี้ เมื่อการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

แพทย์มักวินิจฉัยโรคนี้ได้จากอาการที่แสดง คือ อาการขัดเบา ถ่ายปัสสาวะกะปริดกระปรอย โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ส่วนในรายที่มีอาการแยกจากสาเหตุอื่นไม่ชัดเจน หรือเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจปัสสาวะ (ถ้าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะพบปริมาณเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะมากกว่าปกติ) นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อซึ่งจะพบเชื้อที่เป็นต้นเหตุ การตรวจเลือด การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติที่ชัดเจน บางรายอาจมีอาการกดเจ็บเล็กน้อยตรงกลางท้องน้อย

ในเด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ หรือมีไข้ และอาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ ซึ่งการตรวจปัสสาวะจะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แน่ชัด

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของอาการขัดเบา แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่อาจมีอาการแสดงคล้ายกับโรคนี้ หากสงสัยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่น

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการขัดเบาร่วมกับการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
  • กรวยไตอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นข้น ปวดเจ็บตรงสีข้างหรือเอวด้านใดด้านหนึ่ง และอาจมีอาการขัดเบา ถ้ามีกระเพาะอักเสบร่วมด้วย
  • เบาหวาน ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายปัสสาวะออกมาทีละมาก ๆ ปัสสาวะมีสีใส ไม่มีอาการแสบขัด ที่สำคัญจะมีอาการกระหายน้ำและหิวข้าวบ่อย อาจมีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลดร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่พบในคนที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • โรคหนองใน (Gonorrhea) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ หรือมีตกขาวออกมาเป็นหนองร่วมกับถ่ายปัสสาวะแสบขัด

ปัสสาวะบ่อยมีหลายสาเหตุ

ในคนปกติถ้าดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว (1,500-2,000 ซี.ซี.) จะปัสสาวะประมาณวันละ 3-5 ครั้ง และหลังเข้านอนจะไม่ตื่นมาปัสสาวะเลย แต่อาการปัสสาวะบ่อย ๆ (มากกว่า 5 ครั้งต่อวัน) อย่าเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเพียงอย่างเดียว เพราะอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. ไตขับปัสสาวะมากกว่าปกติจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดื่มน้ำมาก, รับประทานยาขับปัสสาวะเนื่องจากเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะที่มากักเก็บในกระเพาะปัสสาวะเต็มเร็ว จึงปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (มากกว่า 5 ครั้งต่อวัน) และอาจต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้วประมาณไม่เกิน 2 ครั้ง ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละครั้งเท่าคนปกติ (ประมาณ 350-500 ซี.ซี.) เมื่อตรวจปัสสาวะจะไม่พบการติดเชื้อแต่อย่างใด
  2. มีความผิดปกติที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้นาน ปวดปัสสาวะเร็ว บางคนอาจปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือจะปวดปัสสาวะหลังนอนหลับแล้วตอนดึกก่อนถึงเช้าทุก ๆ คืนมากกว่า 2 ครั้ง ครั้งละน้อยกว่าปกติ (ไม่ถึง 300 ซี.ซี.) เช่น
    • กระเพาะปัสสาวะเล็กขยายไม่ได้ เนื่องมาจากถูกฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก เป็นวัณโรคกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นกล้ามเนื้อขยายเพื่อเก็บปัสสาวะมากไม่ได้ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก หรือหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน มดลูกจึงกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปัสสาวะไม่ได้และปัสสาวะบ่อย ๆ
    • มีสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกขนาดใหญ่ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะบ่อย
  3. ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อทำงานบีบตัวบ่อย จำเป็นต้องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
  4. มีความผิดปกติทางจิตใจ เช่น มีความเครียดจากการทำงาน มีปัญหาครอบครัว กลัวโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ เมื่อหลับแล้วจะไม่ตื่นมาปัสสาวะอีก เนื่องจากไม่มีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ

วิธีรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • การดูแลตนเองในเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้
    1. ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ ประมาณวันละ 3-4 ลิตร เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้
    2. ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ
    3. หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล
    4. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
    5. การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหรือภายหลังการขับถ่าย (ในผู้หญิง) ต้องทำจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ
    6. ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิหรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก เพราะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
    7. ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
    8. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
    9. ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และลดโอกาสการติดเชื้อรุนแรง
    10. ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรค หรือขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงอาจส่งผลให้โรคไม่หาย และอาจกลายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังจากเชื้อดื้อยาได้

  • ในขณะที่มีอาการให้ดื่มน้ำมาก ๆ ถ้าปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และรับประทานยาปฏิชีวนะพื้นฐาน เช่น โคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole) 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน หรืออะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง หรือวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน แต่ถ้าสงสัยว่ามีการแพ้ยาหรือดื้อยาเหล่านี้ก็อาจให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน (Norfloxacin) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง นาน 3 วัน, โอฟล็อกซาซิน (Ofloxacin) ครั้งละ 200 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน หรือไซโพรฟล็อกซาซิน (Ciprofloxacin) ครั้งละ 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน แต่ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนนี้ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัย
  • ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม (เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด, มีอาการไข้ หนองไหล ตกขาว ถ่ายเป็นเลือด หรือกระหายน้ำบ่อยร่วมด้วย) หรืออาการต่าง ๆ เลวร้ายลง/อาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากดูแลตัวเองมา 2-3 วัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆ (เป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง) หรือเมื่อมีความกังวลในอาการ/ไม่มั่นใจที่จะดูแลรักษาตนเอง หรือพบว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย (อาการขัดเบา) แม้ว่าจะเริ่มเป็นครั้งแรกก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด แล้วรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ
  • เมื่อรักษาหายแล้ว ต่อไปต้องพยายามอย่ากลั้นปัสสาวะเป็นอันขาด มิเช่นนั้นอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

โดยทั่วไปกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคไม่รุนแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็มักจะหายขาด แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาหรือเป็น ๆ หาย ๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้

วิธีป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ในผู้ที่เคยเป็นโรคนี้และรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นซ้ำโดยการ

  • พยายามดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณวันละ 6-8 แก้ว (ตั้งแต่เช้าถึงเข้านอน)
  • อย่ากลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น ควรฝึกถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดจนเป็นนิสัย เวลาที่ต้องเดินทางไกลก็ต้องฝึกให้เคยชินที่จะเข้าห้องน้ำนอกบ้าน ถ้ากลัวไม่สะอาดก็ให้ชำระล้างที่โถส้วมให้สะอาดเสียก่อน หรือเวลาเข้านอนตอนอยู่ในบ้าน ถ้าไม่สะดวกจะลุกเข้าห้องน้ำก็ควรเตรียมกระโถนไว้ข้างเตียง เพราะการกลั้นปัสสาวะจะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ ประกอบกับในภาวะที่กระเพาะปัสสาวะมีความยืดตัว ความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
  • รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ หลังการถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ควรล้างหรือใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง (ในผู้หญิง) เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
  • ควรอาบน้ำจากฝักบัว
  • ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อและเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใช้น้ำยาฆ่าอสุจิหรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสการติดเชื้อต่อช่องคลอด ปากท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ
  • ในผู้ชายการขลิบอวัยวะเพศจะช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
  • รักษาและควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
  • อาการขัดเบาหลังการร่วมเพศ (โรคกระเพาะปัสสาวะจากฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยการดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนการร่วมเพศ ใส่ครีมหล่อลื่นที่ช่องคลอด และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังการร่วมเพศเสร็จ
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานอยู่เสมอ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • ท่อปัสสาวะอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคท่อปัสสาวะอักเสบ 10 วิธี !!
  • กรวยไตอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคกรวยไตอักเสบ 7 วิธี !!
  • หนองใน อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคหนองในแท้ 6 วิธี !!
  • หนองในเทียม อาการ สาเหตุ การรักษาโรคหนองในเทียม 5 วิธี !!
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 860-862.
  2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 298 คอลัมน์ : สารานุกรมทันโรค.  “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.  [23 มิ.ย. 2016].
  3. หาหมอดอทคอม.  “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)”.  (ศ.เกียรติคุณ พญ.พวงทอง ไกรพิบูลย์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : haamor.com.  [23 มิ.ย. 2016].
  4. ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.  “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง”.  (ศ.เกียรติคุณ นพ.ธงชัย พรรณลาภ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th.   [24 มิ.ย. 2016].

ภาพประกอบ : www.theayurveda.org, www.wikihow.com

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย

เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita