วิกฤตเศรษฐกิจของ สหรัฐอเมริกา

โควิดวิกฤตสุขภาพ (Global Health Crisis) ซึ่งนำมาสู่วิกฤติเศรษฐกิจ (Global Economic Crisis)  โรคที่ทำให้ทั้งโลกสั่นสะเทือนจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านพฤติกรรมระดับปัจเจกบุคคล ความเปลี่ยนแปลงโดยรวมของสังคม และที่สำคัญ คือผลกระทบในด้านเศรษฐกิจที่ต่างบอบช้ำกันทั่วโลก ไล่กันไปตั้งแต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งการยกเลิกเที่ยวบิน โรงแรม การยกเลิกกิจกรรมต่าง ๆ ลามไปถึงการชะลอการผลิตในภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกที่อยู่ภายใต้ระบบห่วงโซ่คุณค่าโลก (Global Value Chain) อันส่งผลต่อเนื่องไปสู่ผลกระทบด้านการค้าและการลงทุนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประชาชนเองก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับการป้องกันการติดเชื้อ กักตัวอยู่กับบ้านจนทำให้ขาดรายได้ จนลามมาถึงการเกิดความเครียดและปัญหาทางสุขภาพจิตตามมา นอกจากนี้ ในภาคการเงินเองการก็ส่งผลต่อการตกลงในตลาดหุ้นทั่วโลก รวมไปถึงการที่อีกหลายประเทศเลือกที่จะทำการ “ปิดประเทศ” อันทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง...แต่นี่ไม่ใช่วิกฤตแรกที่ทำลายเศรษฐกิจโลก นับย้อนหลังไป 100 ปี โลกได้เผชิญกับแรงสั่นสะเทือนที่เขย่าเศรษฐกิจทั่วโลกมาแล้วหลายครั้ง วันนี้เราจะมาศึกษาประวัติศาสตร์ย้อยรอยเหตุการณ์ความบอบช้ำทางเศรษฐกิจระดับโลก เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่า ทุกอย่างมีขึ้นมีลง ไม่มีอะไรแน่นอน และเพื่อให้กำลังใจตัวเองว่า มนุษย์เรามีความเข้มแข็งแค่ไหนถึงจะต้องล้มทั้งยืน แต่ก็ยังกลับมายืนหยัดอย่างแข็งแรงได้ทุกครั้ง


The Great Depression 

The Great Depression เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1930s เรียกได้ว่าเป็นความหายนะทางเศรษฐกิจที่แผ่วงกว้าง กินระยะเวลานานและกินลึกเข้าไปในระบบเศรษฐกิจมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในศตวรรษที่ 20  เหตุการณ์ได้จุดชนวนจากตลาดหุ้นของสหรัฐที่ร่วงลงมาอย่างหนักตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 1929 กลายเป็นข่าวดังทั่วโลกที่ถูกเรียกว่า “Black Tuesday” ในช่วงปี 1929-1932 GDP ทั่วโลกลดลงกว่า 15%  ไม่ว่าประเทศที่ร่ำรวยหรือประเทศที่ยากจนต่างได้รับผลกระทบอย่างถ้วนทั่ว ทั้งรายได้ของประชาชน รายได้จากภาษีอากร ผลประกอบการภาคธุรกิจ และราคาสินค้าต่างพากันร่วงกราว ยอดการซื้อขายระหว่างประเทศลดลงกว่า 50% อัตราการว่างงานในสหรัฐเองพุ่งสูงถึง 23% ในขณะที่บางประเทศมีอัตราการว่างงานมากถึง 33% ประทศที่ได้รับผลกระทบหนักๆ จะเป็นประเทศที่พึงพาระบบอุตสาหกรรมการผลิตและการทำเหมืองแร่ต่างๆ  ในขณะที่ประเทศเกษตรกรรมก็ได้รับผลกระทบจากการที่ราคาพืชผลทางการเกษตรลดลงต่ำกว่า 60% ผลกระทบของ The Great Depression ลากยาวไปจนถึงช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2


The Suez Crisis

คลองสุเอชสายนี้เชื่อมระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลแดง บริเวณคอคอดที่เมืองสุเอซ ประเทศอียิปต์ซึ่งเป็นเส้นทางลัดของการเดินเรือจากฝั่งยุโรปไปเอเชีย The Suez Crisis หรือสงครามอิสราเอล-อาหรับครั้งที่สอง  หรืออีกชื่อคือ สงครามไซนายในอิสราเอล เป็นการบุกยึดครองอียิปต์ในปลายปี ค.ศ. 1956 โดยอิสาราเอล ตามมาด้วยอังกฤษและฝรั่งเศส จุดมุ่งหมายคือการควบคุมทางด้านตะวันตกของคลองสุเอซ และเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ที่ได้ถือสิทธิ์ว่าคลองนั้นให้กลายเป็นของรัฐ ภายหลังการสู้รบเริ่มต้นขึ้น ทั้งสามประเทศผู้ร่วมสงครามได้รับแรงกดดันทางการเมืองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต รวมทั้งสหประชาชาติ จนนำไปสู่การถอนกำลังโดยประเทศทั้งสามผู้รุกราน นับว่าเป็นความอับอายอย่างมากสำหรับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส แม้ว่าฝ่ายพันธมิตรทั้งสามประเทศต่างได้บรรลุเป้าหมายทางทหารแต่คลองกลับใช้การไม่ได้ ประธานาธิบดีสหรัฐ ไอเซนฮาวร์  ได้ตักเตือนอังกฤษว่าไม่ควรจะเข้าไปบุกรุกและขู่ว่าจะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อระบบการเงินของอังกฤษโดยการขายพันธบัตรเงินปอนด์ของที่สหรัฐถือไว้ออกไป อังกฤษต้องเผชิญกับความผันผวนของค่าเงินอย่างหนักจากนักเกร็งกำไรค่าเงิน ซึ่งตอนนั้นค่าเงินปอนด์ต่อดอลล่าห์สหรัฐอยู่ที่ 2.80 แต่ความผันผวนทำให้แทบไม่สามารถรักษาค่าเงินในระดับนั้นไว้ได้จนจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐเป็นเงิน $ 1.3 พันล้านเพื่อพยุงค่าเงินปอนด์เอาไว้ ส่วนฝรั่งเศสเองก็เผชิญกับความผันผวนและตกต่ำของค่าเงินเช่นกันจนต้องกูยืมเงินจำนวน $ 263.5 ล้านจากสหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ส่วนอียิปต์ก็ต้องกู้ยืมเงินจาก IMF ถึงสองครั้ง อิสราเอลก็เข้าเป็นสมาชิก IMF และต้องกู้เงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเช่นกัน นอกจากนั้น หลังสงครามครั้งนี้ความเป็นมหาอำนาจของอังกฤษได้ลดลงระดับลงจากเทียร์ 1 ไปสู่ เทียร์ 2


THE INTERNATIONAL DEBT CRISIS 1982

The international debt crisis ก่อตัวขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 1982 และลากยาวไปจนถึงปี 1989 มีผลกระทบกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ในฝั่งยุโรปตะวันออกประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักคือ โปแลนด์ โรมันเนีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือประเทศแถบละตินอเมริกา สาเหตุของวิกฤตเกิดขึ้นในช่วง 1960s-1970s เมื่อประเทศในแถบละตินอเมริกา ได้แก่ บลาซิล อาเจตินา และแม็กซิโก ได้กู้เงินจำนวนมหาศาลจาก International creditors หรือธนาคารเอกชน ซึ่งตอนนั้นมีเงินมหาศาลให้กู้และดอกเบี้ยต่ำ เนื่องจากได้เงินฝากจำนวนมากจากประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน จึงปล่อยกู้ดอกเบี้ยถูกกับประเทศกำลังพัฒนาเพราะมองว่ามีศักยภาพและเศรษฐกิจกำลังเติบโตทั้งประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกและประเทศกลุ่มละตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ขอกู้เพื่อโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เนื่องจากในเวลานั้นประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในขาขึ้น ธนาคารเอกชนจึงให้กู้โดยความยินดี โดยหลายประเทศใช้เงินกู้มากถึง 12% ของรายได้ของทั้งประเทศ ทั้งๆ ที่จริงๆ โดยปกติประเทศกำลังพัฒนามักจะกู้เงินจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น World Bank หรือ IMF จะไม่กู้จากเจ้าหนี้ภาคเอกชน แม็กซิโกใช้รายได้จากน้ำมันในอนาคตเป็นหลักทรัพย์ในการกู้เงินเป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ แต่ผลปรากฏว่าราคาน้ำมันดิ่งลงมากพร้อมกับเศรษฐกิจของแม็กซิโกที่ดิ่งลงเหว ในช่วงปี 1975และ 1982 หนี้ของธนาคารเอกชนที่มาจากประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 20% ของหนี้ทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่าหนี้สูงถึง US$75 พันล้าน และเพิ่มสูงขึ้นเป็น $315 พันล้านในปี 1975 ในปี 1983 หนี้มีมูลค่ามากถึง 50% ของ GDP ของทั้งภูมิภาค และในที่สุดประเทศเหล่านี้ประกาศว่าไม่มีเงินจ่ายคืนเงินกู้ ซึ่งมีผลให้ปัญหาหนี้ยืดเยื้อมาจนถึงปี 1989


THE EAST ASIAN CRISIS 1997

วิกฤตครั้งนี้มีผลกระทบหนักกับประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความกังวลให้กับทั่วโลกว่าเศรษฐกิจจะถดถอย จุดเริ่มต้นของวิกฤตเกิดขึ้นในประเทศไทย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1997 เมื่อรัฐบาลไทยถูกบังคับให้ลอยค่าเงินบาทเนื่องจากประเทศขาดเงินตราสกุลอื่นๆ สำรอง โดยเฉพาะ ดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการพยุงค่าเงินบาท ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นลูกโซ่โดยทันที ซึ่งในความจริงแล้วก่อนหน้าการลอยตัวค่าเงินบาท รัฐบาลไทยก็เป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนมากอยู่แล้ว ผลกระทบจากเมืองไทยขยายวงไปสู่ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ที่ต้องเผชิญกับการตกต่ำของค่าเงิน รวมทั้งตลาดหุ้นที่ดิ่งเหว และหนี้ภาคครัวเรือนที่สูงขึ้น ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือไทย อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ ในขณะที่ฮ่องกง ลาว มาเลเซียและฟิลิปปินส์ก็บาดเจ็บไม่น้อย ในขณะที่บรูไน จีน สิงคโปร์ ไต้หวันและเวียดนามได้รับผลกระทบที่น้อยกว่า สำหรับญี่ปุ่นถึงแม้จะได้รับผลกระทบไม่มากแต่ก็ถูกผลกระทบเพราะทั่วโลกขาดความเชื่อมั่นต่อประเทศในภูมิภาคนี้ไปทั้งหมด กลุ่มประเทศอาเซียนมีอัตราหนี้ต่อ GDP เพื่อมจาก 100% เป็น 167% และเพิ่มสูงถึง 180% ในช่วงพีคสุดของวิกฤต


THE RUSSIAN CRISIS 1998

The Russian financial crisis หรือที่เรียกอีกชื่อว่าวิกฤตค่าเงิน Ruble ที่กระแทกรัสเซียอย่างแรง เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อ 17 สิงหาคม 1998 รัฐบาลและธนาคารกลางรัสเซียประกาศลดค่าเงินรูเบิล เนื่องจากบริษัทน้ำมันบางแห่งในรัสเซียถูกปิดกั้นไม่ให้สามารถชำระหนี้เป็นเงินรูเบิลได้ ทำให้ต้องแลกเงินรูเบิลเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐหรือเงินสกุลอื่นๆ เพราะก่อนหน้าค่าเงินรูเบิลมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่น อีกเหตุผลที่ทำใหเกิดวิกฤตคืออัตราหนี้สินต่องบประมาณประจำปีของประเทศเพิ่มสูงขึ้นด้วยอันเนื่องมาจากสงคราม Chechya ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง $5.5 พันล้าน ซึ่งวิกฤตได้ส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีกหลายประเทศ วันที่ 12 พฤษภาคม 1998 คนงานเหมืองแร่ทำการประท้วงที่ไม่ได้รับค่าแรงและปิดทางรถไฟสาย Trans-Siberian ซึ่งหนี้ค่าจ้างที่ไม่ได้จ่ายคนงานสูงถึง $12.5 พันล้าน วันที่ 13 กรกฎาคม 1998 IMF และ World Bank อนุมัติเงินกู้ $22.6 พันล้านกับรัสเซียเพื่อฟื้นสภาพเศรษฐกิจ ในเดือนกรกฏาคม 1998 ค่าดอกเบี้ยเงินกู้รายเดือนของรัสเซียเพิ่มขึ้นเป็น 40% ซึ่งสูงกว่าภาษีที่ประเทศจัดเก็บได้เสียอีก

 

THE GREAT RECESSION 2008

The Great Recession เป็นช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในขาลงในช่วงปี 2007-2009 ซึ่งความรุนแรงของวิกฤตก็แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ IMF กล่าวว่า THE GREAT RECESSION เป็นหนึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจที่รุนแรงนับตั้งแต่ The Great Depression เมื่อปี 1932 มีหลายปัจจัยร่วมกันที่ทำให้เกิด GREAT RECESSION แต่เหตุการณ์หลักที่จุดชนวนระเบิดก็คือ housing bubble ในสหรัฐในช่วงปี 2005-2006 ที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาดิ่งลงอย่างมาก และลูกหนี้สินเชื่อบ้านจำนวนมากทิ้งบ้านและเลิกผ่อนบ้านต่อ เพราะมูลค่าที่กู้สูงกว่าราคาบ้าน ณ ตอนนั้นอย่างมาก ทำให้เกิดหนี้สูญจำนวนมหาศาล หรือที่เรียกว่า subprime mortgage crisis  GPD ของสหรัฐลดลง 4% ทำให้ความสามารถในการบริโภคของคนอเมริกันลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ทำให้การเติบโตของ GDP โลกลดลงจาก 5% ในปี 2007 เป็น 2% ในปี 2009 IMF ประมาณการว่า หนี้สูญของสถาบันการเงินทั่วโลกอยู่ที่ US $ 1.5 หมื่นล้าน ราคาน้ำมันตกลงกว่า 50%  ซึ่งสถานการณ์ลากยาวจนถึงปี 2009 และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก


THE EUROPEAN CRISIS 2010

วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป เกิดขึ้นปลายปี 2009 เป็นวิกฤตหนี้นานหลายปีซึ่งเกิดขึ้นในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป หลายประเทศได้แก่ กรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และไซปรัส โดยประเทศเหล่านี้ไม่สามารถใช้หนี้ที่รัฐบาลก่อไว้หรือก่อหนี้ใหม่ชดใช้หนี้เก่าได้  ถ้าไม่ได้รับความความช่วยเหลือของภาคีภายนอกอย่างกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ IMF  ความกลัววิกฤตหนี้สาธารณะ เริ่มมีขึ้นในหมู่นักลงทุน โดยเป็นผลมาจากระดับหนี้สินภาคเอกชนและภาครัฐที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก สาเหตุของวิกฤตดังกล่าวแตกต่างกันไปตามประเทศ ในหลายประเทศ หนี้สินเกิดจากการโอนหนี้สินภาคเอกชนจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหนี้สาธารณะ โดยการให้เงินช่วยเหลือระบบการธนาคารเพื่อชะลอเศรษฐกิจหลังฟองสบู่แตกของรัฐบาล โครงสร้างของสหภาพยุโรป ที่เป็นสหภาพการเงิน (เงินสกุลเดียว) โดยปราศจากสหภาพการคลัง (กฎภาษีและบำนาญสาธารณะต่างกัน) มีส่วนให้เกิดวิกฤตการณ์ และทำให้ผู้นำยุโรปไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ในกรีซ มีคนจรจัดไร้บ้านยืนเรียงแถวจำนวนมากเพื่อรอรับอาหาร ผู้สูงอายุที่รอเงินบำนาญหลายคนฆ่าตัวตาย หรือป่วยแต่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาหรือแม้แต่ได้รับยา  ร้านค้ามากมายต้องปิดตัว คนหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 25 ปีไม่มีงานทำ ทั้งหมดเนื่องมาจากปัญหาหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล งบประมาณของประเทศต้องพึ่งพาการกูยืมทั้งหมด ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากการบริหารของรัฐที่ล้มเหลว ความอ่อนแอของภาคธุรกิจและอัตราเงินเฟ้อที่สูง ส่วนประเทศอื่นอย่างเช่นโปรตุเกสเดิมก่อนเข้าร่วมเป็นสมาชิก EU ก็มีรายได้ต่อหัวของประชากรต่ำอยู่แล้วเมื่อเข้าเป็นสมาชิก EU เริ่มกู้เงินและใช้จ่ายเงินมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งประเทศในยุโรปที่มีหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนสูงที่สุด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita