ไตร โค เด อ ร์ มา ยี่ห้อ ไหนดี Pantip

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา แบบผง ละลายน้ำใช้ได้ทันที

  • ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา แบบผง 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
    -ราดโคนต้น ราดลงดินบริเวณทรงใต้ทรงพุ่ม หรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น
    -การฉีดพ่น ถ้าดินหรือบริเวณที่จะฉีดพ่นแห้งมาก ให้รดน้ำพืชก่อนฉีดพ่น หรือ ให้น้ำพืชตามทันที เมื่อฉีดพ่นเสร็จ
    -ถ้าอากาศแห้งแล้งมากและไม่สามารถให้น้ำหลังการฉีดพ่นได้ แนะนำให้ผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาผง ในน้ำทิ้งใว้ 2- 4 ชม. และควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ช่วงที่แดดไม่ร้อนจัด
    -ในกรณีป้องกันและควบคุมการเกิดโรคในพืช แนะนำให้ใช้ 1-2 ครั้งต่อเดือน หรืออย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
    -กรณีเกิดการระบาดของโรคพืช ให้ใช้ ทุกๆ 3- 5 วันครั้ง ติดต่อกัน 4-5 ครั้งแล้วดูผล
  • ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผล 1 กิโลกรัม ผสมรำละเอียด 4 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์แล้ว 50 – 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้าแล้วคลุมด้วยกระสอบ ทิ้งใว้ 7 วัน นำไปใช้ได้
  • ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา ผงแห้ง 10 -20 กรัม คลุกเมล็ดพันธุ์ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม อาจพรมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ผงเชื้อเคลือบติดผิวเมล็ดพันธุ์ได้ดี เพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคพืชที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์และเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่อยู่ในดิน
  • ใช้แช่ท่อนพันธุ์ โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผง สำเร็จรูปพร้อมใช้ อัตรา เชื้อผง 50 กรัม / น้ำ 100 ลิตร
  • ใช้เชื้อผงไตรโคเดอร์มา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นรอบๆโคนต้นเพื่อรักษา ป้องกัน โรครากเน่า โคนเน่าในไม้ผล

ไตรโคเดอร์มานั้น คือ ชีวภัณฑ์ ที่มีประโยชน์ มากมาย ในการเพาะปลูก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี ข้อเสีย หรือข้อจำกัดในการใช้เลย และนี่คือ ข้อควรระวัง บางประการในการใช้ เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา

1 ไม่สามารถใช้กับเห็ด

เนื่องจาก ไตรโคเดอร์มา มีประสิทธิภาพสูงมากในการ กำจัดเชื้อรา แต่เห็ดเองก็จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราเช่นกัน
ดังนั้น สำหรับ ผู้ที่เพาะเลี้ยงเห็ด จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคในเห็ด

2 ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการควบคุมเชื้อรา

และเนื่องจาก ตัวไตรโคเดอร์มาเอง ก็เป็นเชื้อรา จึงไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมี ที่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อรา เพราะจะทำให้ ไตรโคเดอร์มาไม่มีประสิทธิภาพ

3 ข้อจำกัดด้านการใช้งาน ของไตรโคเดอร์มาเชื้อสด

สำหรับ เชื้อสด หลังจาก เพาะแล้ว ควรใช้ให้หมดในวันนั้น ถ้าใช้ไม่หมด ควรเก็บใส่ตู้เย็น เพราะ หากปล่อยทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ จะทำให้เชื้อเติบโตจนแก่ และเสื่อมประสิทธิภาพ

4 ข้อจำกัดด้านระยะเวลา ที่ควรใช้งาน

ไม่ควร ฉีดพ่น ไตรโคเดอร์มา ในช่วงระยะเวลา ที่มีแสงแดดจัด ควร ฉีดในช่วง ที่มีแสงแดดเล็กน้อย เช่น เช้าตรู่ หรือ ก่อนพลบค่ำ เพราะแสงแดดจัด จะสามารถทำลาย สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาได้

พูดถึง ไตรโคเดอร์มา ข้อเสีย ของมันไปแล้ว ก็ควรจะพูดถึงประโยชน์ด้วย
โรคต่างๆ ที่ ไตรโคเดอร์มา สามารถ รักษา หรือ ควบคุมได้ก็ได้แก่

โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

สามารถใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา ผสมกับฝุ่นแดง และน้ำเปล่า แล้วนำไปทาบริเวณแผลของต้นทุเรียน เพื่อลดความรุนแรงของโรค

โรคเน่าผักชี

อีก 1 โรคน่าปวดหัวที่เกิดจากเชื้อ ไฟทอปธอร่า ทำให้เมล็ดไม่งอก หรืองอกเป็นต้นอ่อนแล้วตาย สังเกตได้จากแผลบริเวณโคนต้น สามารถป้องกันได้ด้วยการนำเมล็ดผักชี ไปแช่ในน้ำ ผสมไตรโคเดอร์มา ก่อนนำไปปลูก

โรคโคนเน่าในมะเขือเทศ

เกิดจาก เชื้อรา ฟูซาเรียม เข้าทำลาย ทำให้มะเขือเทศหยุดการเจริญเติบโต เหี่ยวเฉา ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วก็จะค่อยๆกระจายลามไปเรื่อยๆ จนต้นมะเขือเทศตายในที่สุด ป้องกันด้วยการ ผสมไตรโคเดอร์มากับน้ำเปล่า แล้วฉีดพ่นเป็นประจำ

โรคโคนเน่าในถั่ว

โดยจะมี เส้นใยสีขาวซึ่งเป็นเชื้อราขึ้นปกคลุม จากนั้นจะค่อยๆลาม จนจากสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ
สามารถป้องกันได้ด้วย ไตรโคเดอร์มาผสมกับน้ำเปล่า แล้วฉีดพ่น เป็นประจำ

โรคแอนแทรคโนสในพริก

โดย ผลพริก จะกลายเป็นแผล หรือเกิดจุดช้ำ เป็นแอ่ง เป็นได้ตั้งแต่ จุดเล็กๆ ไปจนถึง กว้างเต็มผลพริก ต่อมาแผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือดำ พร้อมทั้งเกิด สปอร์เป็นจุดสีเหลืองเป็นวงๆ ซ้อนกัน ควบคุมได้ด้วยการ ใช้ไตรโคเดอร์มา ผสมกับน้ำ แล้วฉีดพ่นบริเวณ พุ่มเป็นประจำ

ไตรโคเดอร์มา แบบไหนดี

ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ผลิตภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา พร้อมใช้ (ผสมน้ำและฉีดพ่นได้เลย) มีเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้นที่ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรนั้นคือ 1. ไตรซาน ผลิตโดยบริษัทแอพพลายเค็ม ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องชีวภัณฑ์ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2532. โลโก้บริษัทแอพพลายเค็ม

ไตรโคเดอร์มาผง อันตรายไหม

เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ไม่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะคน และสัตว์จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชปลอดสารพิษ จึงควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อการป้องกันการเกิดโรคจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะใช้ทดแทนสารเคมีได้ดี อีกทั้งใช้ได้ผลกับพืชหลากหลายชนิดและมีประสิทธิภาพกับพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ ...

ไตรโคเดอร์มา สีอะไร

เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อ ...

ไตรโคเดอร์มา ใช้บ่อยแค่ไหน

-ถ้าอากาศแห้งแล้งมากและไม่สามารถให้น้ำหลังการฉีดพ่นได้ แนะนำให้ผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาผง ในน้ำทิ้งใว้ 2- 4 ชม. และควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ช่วงที่แดดไม่ร้อนจัด -ในกรณีป้องกันและควบคุมการเกิดโรคในพืช แนะนำให้ใช้ 1-2 ครั้งต่อเดือน หรืออย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita