กระบวนการสร้างสรรค์งานละคร

   
 

ประโยชน์ของละครสร้างสรรค์มีมากมาย  ดังนี้

          1. ละครสร้างสรรค์พัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  จินตนาการเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ  ก่อนจะไปถึงขั้นตอนของการลงมือทำ  จินตนาการ  คือ  ความสามารถในการข้ามพ้นขอบเขตและสภาวะแห่งปัจจุบัน  คือ  ความสามารถที่จะมองเห็นตัวเองในสถานการณ์ใหม่ๆ  หรือมองเห็นตัวเองในชีวิตของผู้อื่น  ความคิดสร้างสรรค์  หมายถึง  ความคิดหรือการกระทำในสิ่งที่ใหม่  โดยไม่ซ้ำแบบหรือเลียนแบบใคร  ในระยะแรกเริ่มของการฝึกใช้จินตนาการนั้น  ผู้ร่วมกิจกรรมควรจะเริ่มต้นจินตนาการในสิ่งที่ตนเองมีประสบการณ์มาก่อน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  จะช่วยให้เกิดจินตภาพ  ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการขยายจินตนาการให้กว้างไกล  และลึกซึ้งในลำดับต่อๆไป  การเล่นบทบาทสมมติจึงเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกพัฒนาจินตนาการ  และความคิดสร้างสรรค์

          2. ละครสร้างสรรค์พัฒนาทักษะการคิด  การคิดเป็น  ทำเป็น  และการแก้ปัญหาเป็น  เป็นกระบวนการซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ของผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน  ดังนั้น  การสอนกระบวนการคิด  จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้นำกิจกรรมทุกคนต้องเข้าใจ  เนื่องจากกระบวนการของละครสร้างสรรค์นั้น  ต้องอาศัยทักษะในการถามอย่างสร้างสรรค์จากผู้นำกิจกรรม  กระบวนการคิดมักจะเกิดขึ้น  เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมถูกถามด้วยคำถามที่ชวนคิด  ซึ่งเป็นคำถามที่ทำให้เกิดการแสวงหาคำตอบ  กระบวนการคิดในละครสร้างสรรค์เกิดขึ้นอยู่แทบตลอดเวลา  ความซับซ้อนหรือระดับของการคิดนั้น  ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะของคำถาม  ตัวอย่างเช่น  หลังจากที่ผู้นำกิจกรรมเล่นนิทานให้ผู้ร่วมกิจกรรมฟังเรียบร้อยแล้ว  ผู้นำกิจกรรมอาจจะให้ผู้ร่วมกิจกรรมลองคิดหาวิธีการ  ในการนำนิทานมาจัดแสดงเป็นละครภายในเวลาที่กำหนด  หลังจากนั้นอาจมีคำถามที่ชวนคิดที่เกี่ยวกับละครที่แสดงจบไปแล้ว  เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมรู้จักการคิดในหลายลักษณะ  เช่น  คิดคล่อง  คิดหลากหลาย  คิดละเอียด  คิดอย่างมีเหตุผล  คิดถูกทาง  คิดกว้าง  คิดลึกซึ้ง  คิดไกล  เป็นต้น

          3. ละครสร้างสรรค์พัฒนาทักษะของการสื่อสารกับผู้อื่น  กิจกรรมของละครสร้างสรรค์ส่วนใหญ่  เป็นกิจกรรมที่อาศัยทักษะของการเคลื่อนไหว  การพูด  การอ่าน  โดยการกระทำเป็นกลุ่ม  ทุกๆ ขั้นตอนในการวางแผนของกลุ่ม  ทุกคนจะต้องระดมความคิด  ระดมสมอง  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  มีการเสนอความคิดเห็น  สร้างข้อตกลงร่วมกัน  เพื่อนำเสนอออกมาเป็นชิ้นงานที่จะสื่อสารกับทุกคนในห้องกิจกรรม  และภายในกระบวนการแสดงละครสร้างสรรค์นั้น  ผู้สวมบทบาทสมมติก็ต้องตั้งใจฟังตัวละครอื่นๆ  เพื่อที่จะสามารถตอบโต้ด้วยการด้นสดได้

          5. ละครสร้างสรรค์พัฒนาการมองคุณค่าเชิงบวกในตนเอง  เนื่องจากกระบวนการของละครสร้างสรรค์นั้น  ให้โอกาสผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนมีส่วนร่วม  นับตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น  การวางแผน  การมีปฏิสัมพันธ์  และการได้แสดงออกอย่างเป็นตัวของตัวเอง  ภายใต้บรรยากาศที่ปลอดภัยและเป็นกันเอง  ผนวกกับปฏิกิริยาในแง่บวก  คำชื่นชม  การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน  ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตัวเอง  พัฒนาการที่เกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าของตนนั้น  เป็นพื้นฐานสำคัญของความมั่นคงในจิตใจ  และต่อบุคลิกภาพบุคคลผู้นั้น

          6. ละครสร้างสรรค์พัฒนาการรับรู้  และสร้างความเข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงในสังคม  และช่วยให้ตระหนักถึงปัญหาที่มีอยู่ในสังคม  การได้ลองสวมบทบาทเป็นตัวละครต่างๆ  รวมทั้งการได้ชมตัวละครที่มีตัวละครมาปรากฏอยู่อย่างมีชีวิตชีวานั้น  ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมนั้น  มีโอกาสเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกับตัวละคร  บ่อยครั้งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  จำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุผลที่ตัวละครตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  หรือเหตุผลที่ตัวละครแสดงท่าทางลักษณะใดลักษณะหนึ่ง  ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมรู้และเข้าใจในสภาพของตัวละครลึกซึ้งด้วยตนเอง

          7. ละครสร้างสรรค์พัฒนาทักษะในการใช้ร่างกาย  และการใช้ภาษา  เกมส์  และกิจกรรมของละครสร้างสรรค์นั้น  มักจะเป็นแรงจูงใจที่ดี  ซึ่งช่วยให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความต้องการที่จะแสดงออกด้วยร่างกาย  และด้วยการใช้ภาษาที่ถูกต้องชัดเจน  ภายใต้การเล่นบทบาทสมมติที่สนุกสนานและปลอดภัย  เป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้ผู้นำและผู้ร่วมกิจกรรม  ได้มีโอกาสเห็นความสามารถที่มีอยู่ในตัวของผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน

          8. ละครสร้างสรรค์พัฒนาทักษะการอ่าน  กิจกรรมส่วนใหญ่ของละครสร้างสรรค์  มักจะมีจุดเริ่มต้นมาจากนิทาน  คำกลอน  บทกวี  เรื่องสั้น  หรือสารคดี  ฯลฯ  เรื่องราวที่ถูกจินตนาการแล้วกลายมาเป็นละครสร้างสรรค์นั้น  มักจะสร้างความประทับใจที่ดีให้กับผู้ร่วมกิจกรรม  เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมมีประสบการณ์เกี่ยวกับการอ่านที่ดี  ประสบการณ์นั้นก็จะเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้อีกทางหนึ่ง

          9. ละครสร้างสรรค์เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ความเข้าใจในศิลปะของการละคร  ถึงแม้ว่าละครสร้างสรรค์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะฝึกให้ผู้ร่วมกิจกรรมไปเป็นนักแสดง  อีกทั้งบรรยากาศในการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์นั้น  จะแตกต่างจากบรรยากาศในการแสดงละครเวที  ซึ่งละครเวทีจะมุ่งเน้นที่ภาพรวมของการเป็นละคร  แต่ละครสร้างสรรค์มุ่งเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้ร่วมกิจกรรม  แต่การแสดงละครสร้างสรรค์ยังมีลักษณะบางส่วนที่เหมือนกับละครเวที  คือ  ละครสร้างสรรค์เสนอบรรยากาศของการสมมติ  ที่อยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงร่วมกัน  การแสดงละครสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้น  จึงมีลักษณะของ “โลกสมมติ”  ที่ให้ความเชื่ออย่างจริงใจกับผู้ชม  ผู้ที่นั่งชมละครสร้างสรรค์ก็จะได้เรียนรู้บทบาทของการชมที่ดี  บทบาทของการเป็นนักแสดงที่ดี  และเรียนรู้ถึงบทบาทที่ดีด้วย  การเรียนรู้เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานอันสำคัญต่อความเข้าใจในศิลปะของละคร

          10. ละครสร้างสรรค์พัฒนาจิตใจให้ละเอียดอ่อน  และสร้างเสริมจริยธรรมในจิตใจ  การที่ผู้ร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสใช้กิจกรรมต่างๆ ในละครสร้างสรรค์  เพื่อที่จะเข้าใจถึงประสบการณ์จากประสาทสัมผัสทั้ง 5  การใช้จินตนาการทดแทนความรู้สึกของตัวเองด้วยความรู้สึกของผู้อื่น  การทำสมาธิเพื่อการเคลื่อนไหวอันละเอียดอ่อนเหล่านี้  ล้วนแต่เป็นการสร้างความละเอียดอ่อนให้กับจิตใจไปทีละน้อย  และนำไปสู่วุฒิภาวะทางอารมณ์และทางความคิดได้ในที่สุด

          11. ละครสร้างสรรค์เป็นเทคนิคการสอนในศาสตร์อื่นๆ  การเรียนรู้จากละครสร้างสรรค์เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์  จึงนับว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ได้ผลดี  เพราะทำให้ผู้เรียนหรือผู้ร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วม  โดยมีจินตนาการความรู้ความเข้าใจ  และความรู้สึกของตนเป็นศูนย์กลาง  วิธีการเรียนรู้แบบนี้จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ยั่งยืน  ซึ่งครูสามารถนำเอาวิธีการของละครสร้างสรรค์  มาเป็นเทคนิคในการเรียนการสอน  โดยนำหน่วยการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  ไปขยายผลต่อเนื่องเข้าสู่เนื้อหาวิชาอื่นๆ ได้อีกด้วย

     

ขั้นตอนการแสดงละครสร้างสรรค์ มี 6 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

การจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์มีองค์ประกอบ คือ 1) การใช้ประสบการณ์จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 2) การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ 3) การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 4) การใช้ท่าใบ้ 5) การพูดด้นสด 6) การแสดงละครแบบพูดด้นสด

กระบวนการสร้างสรรค์ละครมีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง

องค์ประกอบของละครประกอบด้วย 6 ส่วน โดยเรียงลําดับตามความสําคัญดังนี้ คือ โครงเรื่อง (Plot) ตัวละคร (Character) ความคิด (Thought) ภาษา (Diction) เสียง (Sound) และภาพ (Spectacle) องค์ประกอบ ทั้งหกนี้ครอบคลุมทุกอย่างที่มีอยู่ในละคร ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้อีกแล้ว ไม่ว่าเราจะพูดถึงละครในด้านใด เราก็ สามารถจัดไว้ในองค์ประกอบ ...

ละครสร้างสรรค์หมายถึงอะไร

ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) หมายถึง รูปแบบของละครชนิดหนึ่งที่เกิดจากการด้นสด (Improvisation) การไม่พยายามอวดผู้ชม (Non-Exhibitional) และการใช้กระบวนการเรียนรู้ (Process-Centered) โดยมีผู้นำ (หรือครู) เป็นผู้ช่วยชี้นำให้ผู้ร่วมกิจกรรม (เช่น เด็ก) ได้ใช้จินตนาการเพื่อเล่นบทบาทสมมติเพื่อสะท้อนถึงประสบการณ์ของมนุษย์ ...

ละครสร้างสรรค์มีเรื่องอะไรบ้าง

ละครสร้างสรรค์ คือ ละครนอกรูปแบบที่ไม่ต้องการเวทีสำหรับแสดงและไม่ต้องการผู้ชม เป็นการนำเอาละครมาใช้ประกอบการศึกษาในห้องเรียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กแต่ละคนในชั้นหรือในกลุ่มไปในทางที่ตนถนัด ประเภทของละครสร้างสรรค์แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ละครใบ้ ละครหุ่น ละครปริศนา และการแสดงบทบาทสมมติ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita