สาเหตุที่ประเทศไทยไม่พัฒนา

หรือกล่าวในทำนองเดียวกันเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญภาวะ “แก่ก่อนรวย” หรือ “ลำบากตอนแก่” เป็นประเทศแรกของโลกการที่เราแก่ลงทุกวันก็นับว่าเป็นเรื่องแย่แล้ว แต่มันจะยิ่งแย่มากขึ้นหากแก่แล้วยังจนอยู่ ซึ่งนี่คือสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ กับการเป็นประเทศกำลังพัฒนา (developing country) ที่ต้องเผชิญปัญหาระดับโลกด้านประชากร ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ประชาชนนิยมมีลูกน้อยลง (baby bust)อ้างอิงข้อมูลซึ่งเปิดเผยเมื่อเดือนก่อนโดยสหประชาชาติ พบว่าอัตราการเกิดของประชากรไทยลดลงมาต่ำสุดในระดับเดียวกันกับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ สองประเทศที่ถือว่าร่ำรวยมหาศาล ขณะที่ปัจจัยด้านอื่นๆของไทยนั้นไม่มีอะไรเหมือนกับสองประเทศนั้นเลยหนึ่งในตัวเลขที่น่าสนใจคือราว 25% ของประชากรชาวไทยจะมีอายุมากกว่า 60 ปีภายในปี 2030 (2573) และคนส่วนใหญ่ในกลุ่ม 25% นี้เป็นคนจน ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ประมาณการไว้ว่าการลดลงของประชากรวัยทำงานอย่างต่อเนื่องจะถ่วงให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลงได้มากถึงเกือบ 1% ในอีก 20 ปีข้างหน้าปัญหาสังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน มักเกิดขึ้นกับประเทศที่ร่ำรวยมากๆ เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลงมักจะสัมพันธ์และสอดคล้องกับรายได้ประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดี จีนเป็นประเทศแรกที่ประสบปัญหานี้จากนโยบายลูกคนเดียวของจีนในอดีต ซึ่งอาจจะทำให้จีนประสบปัญหาการลดลงของประชากรในช่วงปี 2050 ได้ แต่ปัจจุบันก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา ในทางกลับกัน ประเทศไทยกำลังจะเป็นประเทศแรกที่กำลังจะเผชิญปัญหาประชากรแก่ตัวก่อนที่จะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี

นาย Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์ที่ดูแลภาคพื้นอาเซียนของ Maybank Kim Eng Singapore กล่าวว่า “เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้กำลังจะเป็นปัญหาและความท้าทายของประเทศไทยอย่างแน่นอน” และ “ประเทศไทยกำลังติดอยู่ตรงกลางกับดักของประเทศกำลังพัฒนา ที่กำลังเจอปัญหาด้านประชากรเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว”

หลายปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์และรัฐบาลได้คาดการณ์และวางแผนผิดมาโดยตลอด โดยคิดว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรจะเป็นปัญหา ซึ่งแนวคิดนี้อาจจะถูกพิสูจน์แล้วว่าผิดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดของประชากรในทุกประเทศทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ประชากรย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมืองมากขึ้น และประชากรเพศหญิงก็ได้รับการศึกษาและการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นด้วย โดยคิดว่าการมีลูกน้อยลงจะดีต่อครอบครัวและสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่ได้คาดคิดว่าการมีลูกน้อยลงจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้บริโภคที่น้อยลง แรงงานที่น้อยลง คนจ่ายภาษีที่น้อยลง และการมีคนหนุ่มสาวที่จะเลี้ยงดูคนแก่เฒ่าที่น้อยลงด้วย

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization) รวดเร็วมาก และเป็นรองจากจีนเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้อัตราการเกิดของประชากรลดลง แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดที่ประชากรนิยมการมีครอบครัวที่เล็กลง เพราะต้องย้อนกลับไปถึงประมาณปี 1970 ที่ประเทศไทยมีนโยบายต่อต้านความจนด้วยการคุมกำเนิด ผ่านการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยสำหรับการคุมกำเนิด โดยนายมีชัย วีระไวทยะ จนต่อมาได้เรียกขานกันติดปากว่า “ถุงมีชัย”

และตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเกิดของประชากรชาวไทยลดลงจาก 6.6% ต่อปี เหลือเพียง 2.2% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน อัตราการเกิดของประชากรชาวไทยลดลงมาอยู่ที่เพียง 1.5% อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตของประชากรต่ำที่สุดในโลก ต่ำกว่าประเทศจีนที่อยู่ที่ 1.7% และมีอัตราที่ต่ำกว่า 2.1% ซึ่งเป็นอัตราที่จะทำให้จำนวนประชากรคงที่ได้ในระยะยาวด้วย จากอัตราการเกิดของประชากรที่ต่ำเช่นนี้ ทำให้สหประชาชาติคาดการณ์ว่าประชากรราว 70 ล้านคนของไทยในวันนี้จะลดลงเหลือเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น เมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้ หรือภายในปี 2100

“ฉันไม่ต้องการที่จะมีลูกหลายคนถ้าไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่เขาได้” ผู้จัดการฝ่ายบัญชีซึ่งมีอายุ 28 ปี ของบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งในกรุงเทพได้ให้สัมภาษณ์ไว้Shripad Tuljapurkar นักวิเคราะห์ประชากรของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า “ประเทศไทยไม่มีเวลามากนักในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องหาทางเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้ได้มากกว่านี้ มิฉะนั้นจำนวนแรงงานที่น้อยลงจะไม่สามารถเลี้ยงดูผู้แก่ชราและผู้เกษียณอายุได้ โดยตัวเลขจะพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในปี 2030 นี้

ถ้าประเทศไทยไม่สามารถฉวยโอกาสครั้งนี้ได้ ทุกอย่างจะยิ่งดูแย่ไปกว่านี้อีกมาก เขากล่าวเสริม

และปัญหาคือการรัฐประหารถึงสองครั้งนับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมาก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุนี้มากนัก ขณะที่รัฐบาลที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งใหม่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็เป็นรัฐบาลผสมที่ไม่มีเสถียรภาพในการดำเนินการเรื่องนี้สักเท่าไรด้วย

อย่างไรก็ดี แนวทางการแก้ปัญหาทางหนึ่ง คือ การเปิดเสรีคนเข้าเมือง หรือเปิดเสรีการย้ายถิ่นฐานประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศไทยไม่ได้มีทัศนคติหรือค่านิยมที่ไม่ดีต่อเรื่องนี้เหมือนประเทศเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น โดยปัจจุบันแรงงานต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนถึง 10% ของแรงงานในประเทศไทยทั้งหมด และสัดส่วนที่สูงกว่าในบริษัทขนาดใหญ่

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ ประธานกรรมการของ บมจ.ชิโนไทย บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีแรงงานกว่า 10,000 คน ที่กว่า 3,000 คนไม่ใช่คนไทย กล่าวว่า “แรงงานต่างชาติมีความต้องการเข้ามาทำงานอย่างมาก”

และที่ดูแย่ไปกว่านั้น คือประเทศไทยได้กลายเป็นกลุ่มประเทศล้าหลังทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว โดยมีอัตราการเติบโตของจีดีพีที่ลดลงโดยเฉลี่ยในทุกทศวรรศที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 1990 จากระดับเฉลี่ยที่ 5.3% เหลือ 4.3% และเหลือเพียงประมาณ 3 - 4% ในตอนนี้ โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมา จีดีพีไทยเติบโตเพียง 2.8% ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี และด้วยอัตราเงินเฟ้อต่ำเพียงไม่ถึง 1% อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำมากไม่ถึง 2% ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปร่างหน้าตาของเศรษฐกิจไทยเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นในอดีตมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย หรือ ฟิลิปปินส์

การอัดฉีดงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขยิ่งเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆสำหรับประเทศไทย ประเทศซึ่งมีระดับรายได้ต่อหัวประชากรที่ต่ำมากเพียงปีละ 6,362 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือไม่ถึง 200,000 บาท ขณะที่ประเทศที่มีอัตราการเกิดของประชากรต่ำมากเหมือนประเทศไทย เช่น สวิสเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ กลับมีระดับรายได้ต่อหัวประชากรสูงถึงประมาณ 78,816 ดอลล่าร์สหรัฐ (2.44 ล้านบาท) และ 48,580 ดอลล่าร์สหรัฐ (1.5 ล้านบาท) หรือสูงกว่าประเทศไทยถึงราว 7 – 12 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยนั้นเพิ่มขึ้นในอัตรา 12% ต่อปีในระยะ 12 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบัน

ทำไมเศรษฐกิจไทยถึงไม่พัฒนา

ดังนั้น ปัญหาที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่เจริญเติบโต คือ (1) รัฐบาลมาจากเผด็จการ สืบทอดอำนาจ ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงไม่สามารถทำให้ระบบเศรษฐกิจเจริญเติบโตได้ (2) มาตรการทางการเงิน ที่ปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามาก เป็นเบี้ยล่างของนักเก็งกำไรในตลาดเงินและตลาดหุ้น ทำให้เศรษฐกิจไม่เจริญเติบโต ผลิตได้ไม่เต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ ราคา ...

อะไรที่ทำให้ประเทศไม่เจริญ

ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งภายในสูง เช่นสงครามกลางเมืองหรือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ การเมืองที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม การจัดตั้งรัฐบาลมักขึ้นกับกลุ่มคนที่มีอำนาจในสังคม เอดส์เป็นปัญหาสำคัญภายในประเทศ ส่วนใหญ่ประเทศด้อยพัฒนาจะอยู่ในภูมิภาคสะฮาราในทวีปแอฟริกา

ไทยขาดแคลนอะไร

1. การขาดความเชื่อมโยงระว่างความรู้ทางวิชาการที่รับมาจากต่างชาติกับภูมิปัญญาไทย 2. การขาดการพัฒนาความรู้ของเราเอง ที่มีฐานวิถีชีวิตและความรู้ของคนไทยและสังคมไทย 3. เกิดข้อผิดพลาดในการนำความรู้ทางวิชาการ และเทคโนโลยีที่ผลิตขึ้นมาใหม่ไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากร สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้มีผลกระทบเสียหายตามมาอย่างมากมาย

ที่กีดขวางความเจริญของประเทศชาติในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

๑ การศึกษาโดยเฉลี่ยของคนไทยต่ำกว่ามาตรฐาน ๒ การถูกฝึกให้เชื่อฟังผู้นำ ไม่ได้ถูกฝึกให้ใช้สติตนเอง ๓ การขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ๔ ปัญหาหนึ่งที่หยั่งรากลึกในสังคมไทย คือ "สังคมไทยเป็นสังคมพวกพ้อง และมีลักษณะเป็นระบบอุปถัมภ์"

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita