ตํานานสมเด็จนเรศวรมหาราชภาค 5

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

  • บทความนี้เขียนเหมือนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และต้องการเขียนใหม่โดยใช้มุมมองที่เป็นกลาง
  • บทความนี้มีเนื้อหาหรือรูปแบบคล้ายตำรา งานวิจัย ข้อเสนอโครงการ หรือลักษณะอื่นที่ไม่เป็นสารานุกรม
  • บทความนี้ต้องการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ การจัดลิงก์ภายใน และอื่น ๆ
  • บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น
  • บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีกำกับบทภาพยนตร์อำนวยการสร้างนักแสดงนำผู้บรรยายกำกับภาพตัดต่อดนตรีประกอบบริษัทผู้สร้างผู้จัดจำหน่ายวันฉายความยาวประเทศภาษาทำเงินก่อนหน้านี้ต่อจากนี้

ใบปิดภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล
คุณากร เศรษฐี

  • พันเอกวันชนะ สวัสดี
  • ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
  • นพชัย ชัยนาม
  • อินทิรา เจริญปุระ
  • นภัสกร มิตรเอม
  • จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
  • ฉัตรชัย เปล่งพานิช
  • เกรซ มหาดำรงค์กุล
  • สรพงษ์ ชาตรี
  • ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
  • พันเอกวินธัย สุวารี
  • ชลัฏ ณ สงขลา
  • ชลิต เฟื่องอารมย์
  • ปวีณา ชารีฟสกุล

มนตรี เจนอักษร
สตานิสลาฟ ดอร์ซิก
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล
เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน

พร้อมมิตร โปรดักชั่น

สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
118 นาที (1.58 ชั่วโมง)
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ภาษาพม่า
ภาษามอญ
201.9 ล้านบาท
ศึกนันทบุเรง
อวสานหงสา
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี เป็นภาพยนตร์ภาคที่ห้าในภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำหนดฉายในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์ทำรายได้ 201.9 ล้านบาท[1]

เนื้อเรื่อง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรงทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชั­ยต่อสมเด็จพระนเรศฯ อย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกั­ลยา เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชพระราชบิดาทราบค­วามก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระ­ราชธิดาและแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำ­ยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้­างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศฯ ทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติค­รองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1)

ข่าวการผลัดแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยารู้ไปถึงพระเจ้านันทบุเรง แห่งกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง สำคัญว่าราชอาณาจักรสยาม หรืออาณาจักรอยุธยาจะไม่เป็นป­กติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้พระราชบุตร พระมังสาม­เกียด หรือ(พระมังกะยอขวาที่ 1) พระมหาอุปราชเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ นำกองทัพทหาร 240,000 นาย (สองแสนสี่หมื่นนาย) มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่ายกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลัง 100,000 นาย (หนึ่งแสนนาย) เดินทางออกจากบ้านป่าโมก อ่างทองไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง ลพบุรี และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย

โดยสมเด็จพระนเรศวรโปรดให้พระราชมนูแต่­งพลเป็นทัพหน้าขึ้นไปลองกำลังข้าศึกถึงหนอง­สาหร่าย ทัพหน้าพระราชมนูปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้­นตะลุมบอน แต่กำลังข้างพระราชมนูน้อยกว่าจึงแตกพ่ายถ­อยลงมาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศฯทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นพระคชสารทรงของสมเด็จพระนเรศฯ นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ และพระคชสารทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระ­ยาปราบไตรจักรต่างตกมัน วิ่งเตลิดแบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญกลางว­งล้อมข้าศึก และหยุดอยู่หน้าช้าง พระมังสามเกียดพระมหาอุปร­าชา พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าพระยาขุนศึก จึงทราบได้ว่าพระคชสารทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพข้าศึก และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้สมพระเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว"

พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสพระคชสารนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมังสามเกียด พระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

นักแสดง[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: รายนามนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

  • พันโทวันชนะ สวัสดี รับบท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 2)
  • ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ รับบท มณีจันทร์ หรือ (เจ้าขรั่วมณีจันทร์)
  • นพชัย ชัยนาม รับบท พระราชมนู
  • อินทิรา เจริญปุระ รับบท เลอขิ่น
  • นภัสกร มิตรเอม รับบท พระมหาอุปราชามังสามเกียด
  • จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ รับบท พระเจ้านันทบุเรง
  • ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบท สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1)
  • เกรซ มหาดำรงค์กุล รับบท พระสุพรรณกัลยา
  • สรพงษ์ ชาตรี รับบท พระมหาเถรคันฉ่อง
  • ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ รับบท ไอ้ขาม
  • พันเอกวินธัย สุวารี รับบท สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • ชลัฏ ณ สงขลา รับบท มังจาปะโร
  • พันโทคมกริช อินทรสุวรรณ รับบท พระศรีถมอรัตน์
  • ปราบต์ปฏล สุวรรณบาง รับบท พระชัยบุรี
  • นาวาอากาศตรีจงเจต วัชรานันท์ รับบท นัดจินหน่อง
  • ครรชิต ขวัญประชา รับบท พระยาพะสิม
  • ชลิต เฟื่องอารมย์ รับบท นรธาเมงสอ
  • ปวีณา ชารีฟสกุล รับบท พระวิสุทธิกษัตรีย์

นักแสดงรับเชิญ[แก้]

  • อคัมย์สิริ สุวรรณศุข รับบท รัตนาวดี (ไม่ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์)
  • ศิรพันธ์ วัฒนจินดา รับบท อังกาบ (ไม่ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์)
  • สีเทา รับบท โหราธิบดีหงสาวดี
  • คมน์ อรรฆเดช รับบท ออกญาท้ายน้ำ
  • ฐากูร การทิพย์ และ ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ รับบท ขุนรามเดชะ

เพลงนำภาพยนตร์[แก้]

  • สมรภูมิสุดท้าย ขับร้อง โดย รังสรรค์ ปัญญาเรือน (สงกรานต์ เดอะวอยซ์) ทำนองและเรียบเรียง โดย สันติ ชัยปรีชา เนื้อร้อง โดย โป โปษยะนุกุล, เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน และวสกร เดชสุธรรม มิวสิควีดีโอ โดย พิบูลย์ เชยอรุณ, หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล

การออกฉายและรายได้[แก้]

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี ออกฉายรอบสื่อมวลชน ในวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และออกฉายเป็นการทั่วไปในวันที่ 29 พฤษภาคม โดยภาพยนตร์ทำรายได้ 4 วันแรก 97 ล้านบาท (นับรายได้เฉพาะโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่) [2]

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 11.00 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้จัดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมฟรีในโรงภาพยนตร์จำนวน 160 โรงทั่วประเทศ หนึ่งคนต่อหนึ่งที่นั่ง และฉายเพียงโรงเดียว รอบเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ถึงขนาดที่บางคนไปยืนรอตั้งแต่เช้าก่อนโรงภาพยนตร์เปิด แต่ที่นั่งเต็ม[3][4] ทำให้ต่อมาได้จัดให้มีการซื้อหนึ่งที่นั่งแถมฟรีอีกหนึ่งที่นั่ง ระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน พ.ศ. 2557[5] ภาพยนตร์ทำรายได้ทั่วประเทศ 201.9 ล้านบาท

เบื้องหลังการถ่ายทำ[แก้]

ฉากเสวยราชย์[แก้]

ในฉากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขึ้นเสวยราชย์และสถาปนามณีจันทร์เป็นพระมเหสี หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลได้ขออนุญาตนำพระมหาพิชัยมงกุฏของจริง (ซึ่งไม่ตรงตามรัชกาล แต่เป็นของตกทอดในสมัยหลัง) จากพิพิธภัณฑ์มาใช้ในการถ่ายทำฉากนี้ด้วย

ฉากยุทธหัตถี[แก้]

ในปี พ.ศ. 2554 เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้องตัดต่อภาพยนตร์ ทำให้ฟิล์มที่ถ่ายทำภาพยนตร์บางส่วน กราฟิกฉากยุทธหัตถี และอุปกรณ์การตัดต่อเสียหายทั้งหมด ทำให้ต้องเริ่มถ่ายทำใหม่ ภาพยนตร์ภาคนี้จึงออกฉายช้ากว่ากำหนด

ข้อแตกต่างระหว่างประวัติศาสตร์กับภาพยนตร์[แก้]

  • ไม่มีหลักฐานใดชี้ชัดว่าพระเจ้านันทบุเรงสูญเสียพระสิริโฉมหลังพ่ายศึกอโยธยา มีเพียงพงศาวดารพม่าบางฉบับที่เป็นส่วนน้อยระบุไว้ว่าพระองค์ทรงประชวรเป็นฝีที่พระพักตร์เท่านั้น[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] เพียงแต่ผู้เขียนบทต้องการให้น้ำหนักถึงเหตุผลที่พระเจ้านันทบุเรงไม่ได้ยกทัพมาตีอโยธยาอีก ซึ่งมักจะส่งพระอุปราชามาแทน
  • ไม่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งพระอัครมเหสีองค์ใด เพียงแต่ผู้เขียนบทได้ให้มณีจันทร์ขึ้นเป็นอัครมเหสีเพื่ออรรถรสของภาพยนตร์
  • ไม่มีหลักฐานที่กล่าวว่าพระพี่นางสุพรรณกัลยาตกเป็นชายาของพระเจ้านันทบุเรง มีแต่เพียงคำบอกเล่าเท่านั้น
  • สงครามพระมหาอุปราชาหลังครองราชย์แท้จริงแล้วมี 2 ครั้ง คือครั้งที่ยกเข้ามาหลังครองราชย์และครั้งสุดท้ายคือศึกยุทธหัตถี
  • พระยาพะสิมในประวัติศาสตร์จริงๆถูกอโยธยาจับตัวได้ตั้งแต่ศึกพระอุปราชาครั้งที่ 1 ในประวัติศาสตร์ไม่น่าจะได้มาร่วมในสงครามยุทธหัตถีอีก

อ้างอิง[แก้]

  1. รายได้หนังประจำสัปดาห์ 24-30 กรกฎาคม 2557
  2. "ยุทธหัตถี เปิดตัวแรง4วันเฉียด100 ล้านบาท". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 4 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
  3. "แห่ดูฟรีแน่นขนัด หนัง'พระนเรศวร' ตามแผนคืนความสุข". ไทยรัฐ. 15 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
  4. "ทั่วไทย! แห่ดู 'พระนเรศวร' หลายคนเซ็ง ตั๋วเกลี้ยงอดชมฟรี". ไทยรัฐ. 15 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
  5. "คืนความสุขอีกรอบ!ซื้อตั๋วพระนเรศวร1แถม1". กรุงเทพธุรกิจ. 19 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี ที่สยามโซน

ผลงานโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

กำกับภาพยนตร์อำนวยการสร้าง

มันมากับความมืด (2514) • เขาชื่อกานต์ (2516) • เทพธิดาโรงแรม (2517) • ความรักครั้งสุดท้าย (2517) • ผมไม่อยากเป็นพันโท (2518) • นางแบบมหาภัย (2518) • เทวดาเดินดิน (2519) • รักคุณเข้าแล้ว (2520) • ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520) • กาม (2521) • อุกาฟ้าเหลือง (2523) • ถ้าเธอยังมีรัก (2524) • มือปืน (2526) • อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527) • ครูสมศรี (2529) • คนเลี้ยงช้าง (2533) • น้องเมีย (2533) • มือปืน 2 สาละวิน (2536) • เฮโรอีน (2537) • เสียดาย (2537) • เสียดาย 2 (2539) • กล่อง (2541) • สุริโยไท (2544) • ความรักครั้งสุดท้าย (2546) • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ประกันหงสา • ประกาศอิสรภาพ • ยุทธนาวี • ศึกนันทบุเรง • ยุทธหัตถี • อวสานหงสา) (2550-2558) พันท้ายนรสิงห์ (2558-2559)

คืนบาป พรหมพิราม (2546) • โหมโรง (2547)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita