พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก หมายถึง

สยามรัฐออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2559 12:25 น. สยามรัฐพระเครื่อง

ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขและความเป็นอยู่ที่ดีของปวงประชาราษฎร์ พระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งที่ทรงดำเนินรอยตามสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน คือ การทำนุบำรุงและสืบสานพระบวรพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป “พระผู้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก”

ตั้งแต่โบราณกาล สยามประเทศประกอบด้วยสถาบันหลัก 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ การยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาของชนชาติไทย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขนั้น มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.234 และสืบสานต่อเนื่องมาอย่างมั่นคง พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทุกยุคสมัย ล้วนทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาและทุกๆ ศาสนาในพระราชอาณาจักร ... สืบถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ยังได้ทรงแสดงพระราชปณิธานไว้ใน ‘นิราศท่าดินแดง’ ว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก               ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา     รักษาประชาชนและมนตรี” ล่วงมาถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์  ด้วยทรงได้รับการปลูกฝังจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี  ต่อมาทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองและทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก  หลังจากทรงเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดูแลทุกข์สุขประชาราษฎร์มากว่าสิบปี ... ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2499 พระองค์ทรงแถลงพระราชดำริที่จะบรรพชาอุปสมบทต่อมหาสมาคม อันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และคณะทูตานุทูต ความตอนหนึ่งว่า
“.. โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง  เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยมด้วย  และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระเชษฐาธิราช ก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว  เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำตามความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง อนึ่ง การที่องค์สมเด็จพระสังฆราชหายประชวรมาได้ในคราวประชวรครั้งหลังนี้ ก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่ข้าพเจ้ายิ่งนัก  ได้มาคำนึงว่าถ้าในการอุปสมบทของข้าพเจ้า ได้มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์   แล้วก็จักเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธาเคารพในพระองค์ท่านของข้าพเจ้าได้อย่างเหมาะสมอีกประการหนึ่ง จึงได้ตกลงใจที่จะบรรพชาอุปสมบทในวันที่ 22 เดือนนี้” วันที่ 22  ตุลาคม  พ.ศ.2499 พระองค์เสด็จฯ ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม   โดย สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (มรว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ ทรงได้รับพระสมณนามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” จากนั้นเสด็จฯ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วัน แม้จะเป็นระยะเวลาอันสั้น แต่ทรงแสดงถึงพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ทรงบำเพ็ญพระราชจริยาวัตรดุจพระนวกะทั่วไป  เสด็จฯ ออกทรงรับบาตรจากประชาชน ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด  
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสนทนาธรรมกับพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่เป็นเนืองนิตย์ และทรงทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ขออัญเชิญมาบางส่วนดังนี้ ... นอกเหนือจากที่พระองค์ ทรงสร้างพระพุทธรูป-พระเครื่อง ขึ้น ในโอกาสสำคัญๆ อาทิ พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร., พระพุทธนวราชบพิตร, พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล, พระสมเด็จจิตรลดา, เหรียญพระชัยหลังช้าง ฯลฯ โดยทรงพระราชทานไว้ ณ หน่วยงานของรัฐและวัดวาอารามต่างๆ ตลอดถึงสถานที่สำคัญทั่วประเทศ และเสด็จฯ เป็นประธานหล่อพระพุทธรูป-พระเครื่อง ตามที่พุทธศาสนิกชนกราบบังคมทูลเชิญอีกมากมาย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา สืบทอดงานศิลปวัฒนธรรม และให้พุทธศาสนิกชนได้มีพระพุทธรูปไว้บูชาประจำท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ และมีความร่วมมือร่วมใจสืบทอดพระศาสนาให้แผ่ไพศาลสืบต่อไปแล้ว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมถึงวันสำคัญต่างๆ ของท้องถิ่นหรือชุมชนตามคำกราบบังคมทูลเชิญ ทั้งในส่วนของพระราชพิธีและส่วนพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศลในที่ต่างๆ อีกด้วย ทรงทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์ และสร้างวัดวาอารามในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์หรือเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้ภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติศาสนกิจได้โดยสะดวก ทั้งยังใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชนในทุกๆ ด้าน อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทรงอุปถัมภ์ด้านการคณะสงฆ์ ทรงพระราชทานสมณศักดิ์และตำแหน่งแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้มีความเพียร ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม แตกฉานในพระไตรปิฎก มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส และสร้างคุณูปการต่อพระบวรศาสนาและพุทธศาสนิกชน ทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุและสามเณร ทั้งที่เป็นทางการและส่วนพระองค์ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่สามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค  เมื่อจะอุปสมบทให้เป็น ‘นาคหลวง’ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงมีพระบรมราชโองการให้มีการสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกครบชุด ทั้งฉบับบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย นับเป็นการชำระพระไตรปิฎกในประเทศไทยเป็น “ครั้งที่ 5” หลังตรวจชำระแล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว ได้ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำ ‘พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์’ นับเป็นครั้งแรกของโลกอันเป็นเกียรติประวัติสูงสุด จนไทยได้รับยกย่องให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา โดยองค์การพุทธทั่วโลกได้ลงมติให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งถาวรของสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The Word Fellowship of Buddhists) ตลอดไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น “เอกอัครศาสนูปถัมภก” ในพระบวรพุทธศาสนาโดยแท้ พร้อมกระนั้น พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อทุกๆ ศาสนาในผืนแผ่นดินไทยจนเป็นที่ประจักษ์และเทิดทูลของประชาราษฎร์ทั่วทั้งแผ่นดินขอน้อมฯ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ สัปดาห์พระเครื่อง:โดย รามวัชรประดิษฐ์

ศาสนูปถัมภก อ่านว่าอย่างไร

(สาสะนูปะถำพก, สาดสะนูปะถำพก) น. ผู้ทะนุบำรุงศาสนา, ถ้าใช้แก่พระมหากษัตริย์ เรียกว่า องค์เอกอัคร-ศาสนูปถัมภก.

พระมหากษัตริย์พระองค์ใด ถือว่าเป็นองค์อุปถัมภกของพระพุทธศาสนา่

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น “เอกอัครศาสนูปถัมภก” ในพระบวรพุทธศาสนาโดยแท้ พร้อมกระนั้น พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อทุกๆ ศาสนาในผืนแผ่นดินไทยจนเป็นที่ประจักษ์และเทิดทูลของประชาราษฎร์ทั่วทั้งแผ่นดินขอน้อมฯ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ สัปดาห์พระเครื่อง:โดย ราม ...

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะใช่ไหม

โดยบัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จักต้องเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก กล่าวคือ ท่านเป็นผู้ถือพุทธศาสนาแต่ในทางที่เป็นผู้อุปถัมภ์นั้นก็คือจะต้องทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนา

การที่พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ประชาชนทุกศาสนาทำให้เกิดผลดีอย่างไร

3. พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ทำให้เกิดความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างคนในชาติแม้จะมีศาสนาต่างกัน เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาแม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นพุทธมามกะ จึงก่อให้เกิดพลังความสามัคคีในชาติ ไม่บาดหมางกันด้วยการมีศาสนาต่างกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita