เครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีหลักการ ทำงาน คือ



เชื่อว่าผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ทุกคนน่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าในตลาดปกติทั่วไป ไม่มีเครื่องยนต์ 2 จังหวะแล้ว จะมีแต่รถวิบากที่เป็นรถแข่ง มีระบบเครื่องยนต์อยู่ 2 แบบ คือ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ และเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ซึ่งมีระบบทำงานที่แตกต่างกัน โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงระบบเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะกันว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร อย่ารอช้าไปดูกันเลยดีกว่า
 

ระบบเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เป็นยังไง

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
คือการทำงานของเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การให้อัตราเร่งที่ดี เครื่องแรง และยังถือเป็นระบบเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทั้งประหยัดน้ำมัน ควันน้อยเพราะมีอัตราการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และเสียงไม่ดัง ไม่สร้างมลพิษทางเสียง

 

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีหลักการทำงานอย่างไร

 

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ แบ่งเป็น จังหวะดูด (Suction Stroke) จังหวะอัด (Compression Stroke) จังหวะระเบิด (Power stroke) และจังหวะคาย (Exhaust stroke) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • จังหวะดูด (Suction Stroke) เป็นจังหวะที่ลูกสูบจะเคลื่อนตัวจากบนลงล่าง ซึ่งลิ้นไอดี – ที่ตรงข้ามกับไอเสีย หรือช่องไอดี (Intake Valves) ซึ่งทำหน้าที่เปิดให้อากาศจากท่อไอดีเข้าสู่กระบอกสูบแรงกดที่เกิดขึ้นจากเพลาลูกเบี้ยวส่งต่อมาที่วาล์วไอดีแล้วดูดน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศเข้าไปในกระบอกสูบ เรียกว่า ส่วนผสมไอดี และเมื่อสิ้นสุดจังหวะดูดช่องไอดีก็จะปิด

  • จังหวะอัด (Compression Stroke) ทำงานต่อจากจังหวะดูด เป็นจังหวะที่กระบอกสูบจะเคลื่อนตัวจากด้านล่างกลับขึ้นด้านบนอีกครั้ง ซึ่งทำให้ไอดีในห้องเผาไหม้ ถูกอัดส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันตามการออกแบบเครื่องยนต์จากหลายส่วนจนเหลือหนึ่งส่วน

  • จังหวะระเบิด (Power Stroke) จังหวะนี้หัวเทียนจะจุดระเบิดและเผาไหม้ส่วนผสมไอดีในห้องเผาไหม้ เมื่อเกิดการระเบิดจะเกิดแรงดันในกระบอกสูบซึ่งจะดันให้ลูกสูบเคลื่อนตัวลงไปด้านล่างอีกครั้ง

  • จังหวะคาย (Exhaust) จังหวะสุดท้าย กระบอกสูบที่ถูกดันลงไปอยู่ด้านล่างในจังหวะระเบิดจะเคลื่อนตัวขึ้นสู่ด้านบนอีกครั้งพร้อมการเปิดของวาล์ไอเสียเพื่อระบายไอเสียออกสู่ภายนอกเครื่องยนต์ ต่อไปยังท่อไอเสีย
 
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ 4 จังหวะทำยังไง

 

สำหรับการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตามความเหมาะสม เช่น หากใช้งานรถมอเตอร์ไซค์หนักก็อาจจะต้องคอยตรวจเช็กสภาพน้ำมันเครื่อง ถ้าพบว่ามีลักษณะที่ผิดปกติก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแม้จะยังไม่ถึงระยะเวลาที่กำหนดก็ตาม


การรู้จักและเข้าใจระบบการทำงานต่างๆ ของรถมอเตอร์ไซค์จะทำให้เรารู้ว่าควรจะดูแลรักษามอเตอร์ไซค์ยังไงให้สามารถใช้งานได้นาน และไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่เกิดจากการปล่อยให้รถพังจากความไม่รู้

ทั้งนี้สามารถเข้าไปสอบถามรายละเอียดรถเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ทุกสาขาทั่วประเทศ



กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita