การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระยะแรก เรียกว่า

ความหมายของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

         การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเดิมที่เคยใช้แรงงานคนและสัตว์พลังงานธรรมชาติ หรือเครื่องมือง่าย ๆ ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นใช้เครื่องจักรกลผลิตสินค้าในระบบโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณมาก 

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

• ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จึงเกิดความสนใจที่จะประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม 

• การสำรวจทางทะเลและการแสวงหาอาณานิคม ทำให้มีแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า เป็นการกระตุ้นให้การค้าขยายตัว จึงสนับสนุนให้คิดประดิษฐ์เครื่องจักร 

• ความมั่นคงและเสรีภาพทางการเมืองในยุโรป ทำให้พ่อค้า นายทุน และนักอุตสาหกรรม มีสิทธิมีเสียงในการปกครองประเทศ การอุตสาหกรรมจึงได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้า

 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

        ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2293-2393 โดยเริ่มขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์ในแลงแคชเชียร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสก็อตแลนด์และที่บริเวณภาคตะวันตกของยอร์กเชอร์ (Yorkshire) โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลายเป็นตัวสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการ

ปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2373 เป็นต้นมา แต่นักประวัติศาสตร์กลับเห็นว่าบทบาทของการตลาด ความมั่นคงทางการเมืองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการจัดการที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้นเป็นหัวใจของการขยายตัวอย่างรุนแรงที่แท้จริงของอุตสาหกรรม และในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์ และวัตต์ นอกจากนี้ กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง รวมทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน

 คนแรกที่ใช้คำว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม

        ผู้ใช้วลี “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเบอร์ลินชื่อหลุยส์ Guillaume เมื่อปี พ.ศ. 2342 แต่ผู้ที่นำมาใช้จนเริ่มแพร่หลายเป็นนักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ชื่อ Auguste Blanqui เมื่อปี พ.ศ. 2380 รวมทั้ง ฟรีดริช เองเงิลส์ ในหนังสือเรื่อง “สภาพของชนชั้นกรรมกรในประเทศอังกฤษ” (พ.ศ. 2388) จากนั้นมาก็ได้มีผู้นำวลีนี้มาใช้แพร่หลายเป็นการถาวร

การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระยะแรก

        1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก ประมาณ ค.ศ.1760 เรียกว่า “สมัยแห่งพลังไอน้ำ” เนื่องจากมีการค้นพบพลังไอน้ำและนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทอผ้า 

       ทั้งนี้ เป็นเพราะอังกฤษมีแหล่งถ่านหินและเหล็ก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลใหม่ ๆ ซึ่งนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง     

       2. เครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมที่สำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก มีดังนี้ 

                     (1) อุตสาหกรรมทอผ้า สิ่งประดิษฐ์ในระยะแรก ๆ เป็นเครื่องจักรกลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า เช่น 

                                - เครื่องทอผ้า ที่เรียกว่า “กี่กระตุก” ของ จอห์น เคย์ (John Kay) 

                                - เครื่องปั่นด้าย “สปินนิง มูล” (Spinning Mule) ของแซมมวล ครอมป์ตัน (SamuelCrompton) ปั่นด้ายได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง 

                                - เครื่องทอผ้า ที่เรียกว่า หูกทอผ้า “พาเวอร์ ลูม” (Power Loom) ของเอ็ดมันด์ คาร์ตไรท์ (Edmund Cartwright) ทำให้อุตสาหกรรมทอผ้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว 

                    (2) เครื่องจักรไอน้ำ เป็นผลงานของ เจมส์ วัตต์ (James Watt) นักประดิษฐ์ชาวสก็อต ในปี ค.ศ.1786 เป็นผลให้อุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายของอังกฤษประสบความสำเร็จอย่างงดงาม 

                    (3) อุตสาหกรรมเหล็ก มีการนำเหล็กมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะด้านการคมนาคม เช่น ทำรางรถไฟ ตู้รถสินค้าของรถไฟ ฯลฯ จึงมีผู้เรียกการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงแรกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็ก” (Age  of  Iron)

การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระยะที่สอง 

                1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะที่สอง ประมาณปี ค.ศ.1860-1914 มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง เป็นยุคที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า (ส่วนถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำลดความสำคัญลง) 

                2. อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลที่ทำด้วยเหล็กกล้า (Steel) และอุตสาหกรรมเคมี จึงมีผู้เรียกการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงที่สองนี้ว่า“การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า" (Age  of  Steel )

ความก้าวหน้าและการขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 

                1. การค้นพบวิธีการผลิตเหล็กกล้า ในปี ค.ศ.1856 และการใช้พลังงานใหม่ ๆ แทนที่ ถ่านหิน ได้แก่ พลังงานจากก๊าซ น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า เป็นผลให้อุตสาหกรรมของทวีปยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อเหล็กกล้ามีราคาถูกลงทำให้อุตสาหกรรมหนัก เช่น การต่อเรือ การคมนาคม และการผลิตเครื่องจักรกลต่าง ๆ พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น 

                2. การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีประเทศในภาคพื้นยุโรปหลายประเทศประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเยอรมนีกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าและเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอังกฤษ 

                3. การเกิดประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลก ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 1(ค.ศ.1914-1918) อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก โดยเยอรมนีเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงมากที่สุด จนกระทั้งในปี ค.ศ.1920 จึงเกิดประเทศคู่แข่งสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น 

                4. การเกิดระบบการบริหารและการจัดการทางอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการบริหารงานในระบบโรงงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น มีการแบ่งงานกันทำเป็นฝ่ายหรือแผนก 

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

                1. การเพิ่มของจำนวนประชากร โดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง และความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข 

                2. การขยายตัวของสังคมเมือง เกิดเมืองใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาชุมชนแออัด และเกิดอาชีพใหม่ ๆ หลากหลาย 

                3. การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติการผลิตด้านอุตสาหกรรมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และขยายตลาดระบายสินค้าที่ผลิตจึงเกิดการแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย 

                 4. ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้โลกมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง เช่น มีการนำวัสดุอื่น ๆ มาใช้ผลิตแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น พลาสติก และโลหะที่มีน้ำหนักเบา ระบบใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน เป็นต้น 

ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปต่อสังคมไทย

            การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนสถานที่ประกอบการในครอบครัวมาเป็นโรงงานที่สร้างขึ้นสำหรับการผลิตโดยเฉพาะ และเปลี่ยนจุดประสงค์ของการผลิตจากการผลิตเพื่อนำมาเลี้ยงชีพเป็นการผลิตเพื่อส่งสินค้าออกจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ส่งผลกระทบต่อหลายด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สติปัญญาและวัฒนธรรม 

ผลดีของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 

      เกิดระบบโรงงานเพื่อผลิตสินค้าเพิ่มจำนวนขึ้น เกิดแรงงานเพิ่มขึ้นและมาอยู่รวมกันในเมืองใหญ่ มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น คุณภาพสินค้าและบริการมีคุณภาพขึ้น และมีการนำวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาใช้เพื่อความก้าวหน้าของประเทศเพิ่มขึ้น 

ผลเสียของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 

      ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา เป็นบ่อเกิดของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก เนื่องจากต้องการแหล่งวัตถุดิบและขยายการค้า และมีการแบ่งชนชั้นคือนายทุนที่มั่งคั่งกับลูกจ้างผู้ยากไร้ภายในประเทศ

ความก้าวหน้าของชาติตะวันตกกับผลกระทบต่อ ประเทศไทย 

         อิทธิพลของชาติตะวันตกมีผลกระทบต่อประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ ทรงยินยอมทำสนธิสัญญาบาว์ริง พ.ศ. 2398 กับประเทศอังกฤษ เพื่อแลกเอกราชของประเทศ มีการรับเอาวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามา มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้นหลังการทำสนธิสัญญาบาวริงประเทศไทยต้องยกเลิกพระคลังสินค้าเปลี่ยนเป็นการค้าแบบเสรีดำเนินการโดยเอกชน ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากแบบเลี้ยงตัวเองมาเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า เกิดการเกษตรกรรมเพื่อส่งออกแทนการปลูกเพียงเพื่อบริโภคเท่านั้น 

          การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการที่มีพ่อค้าต่างชาติเข้ามาเปิดร้านค้า การตั้งโรงสีข้าว การทำป่าไม้ โรงไฟฟ้า การเงิน การธนาคาร **มีธนาคารที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แบงก์ และธนาคารอินโดจีน 

** ประเทศไทยได้ตั้งธนาคารเรียกว่า บุคคลัภย์ พ.ศ. 2447 ต่อมาเป็น "แบงก์สยามกัมมาจล" และปัจจุบันเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ **และได้จัดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการจัดการเรื่องเงินรายได้ขึ้น เพื่อความเป็นระเบียบ คือ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ได้จัดตั้งพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น ใน พ.ศ. 2416 เพื่อเก็บผลประโยชน์ซึ่งเป็นรายได้ของแผ่นดินมารวมไว้เป็นที่เดียวกัน **กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกรมพระคลังสินค้ามหาสมบัติ ใน พ.ศ. 2418 ทำให้รายรับ ราย จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างเรียบร้อย 

** ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงตั้งโรงกษาปณ์ขึ้น ใน พ.ศ. 2403 และมีการออกพระราชบัญญัติธนบัตร ใน พ.ศ. ใน พ.ศ. 2451 ประเทศไทยประกาศเทียบค่าเงินไทยเป็นมาตรฐานทองคำ และสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตั้ง "คลังออมสิน" และเปลี่ยนมาเป็น "ธนาคารออมสิน" ใน พ.ศ. 2490 

          การปรับปรุงการเกษตรกรรมและการชลประทาน 

              ออกประกาศงดเก็บค่าหางข้าวสำหรับเกษตรกรผู้ที่หักร้างถางพงและทำนาในปีแรก และจะจัดเก็บในปีที่ 2-4 ไร่ละ หนึ่งเฟื้อง (12 สตางค์) ต่อปี และปีที่ 5 เก็บไร่ละหนึ่งสลึง และสร้างประตูกั้นน้ำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการขุดคลองเพื่อเชื่อมต่อกัน และทำให้มีพื้นที่สำหรับการเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น และสามารถส่งเสริมการปลูกข้าวได้มากขึ้น เพื่อเป็นสินค้าส่งออกของประเทศ

ปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว 

         ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลต้องแก้ไขด้วยการลดและปลดข้าราชการ ยุบหน่วยงาน ลดรายจ่ายในราชสำนัก และเพิ่มภาษีอากรบางประเภท จนเป็นผลทำให้เกิดความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475

นโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎร์ ได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่างโครงการเศรษฐกิจ ถูกวิจารณ์ว่ามีแนวทางนิยมคอมมิวนิสต์ จึงไม่นำมาใช้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 - 2488) ประเทศไทยได้รับความกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจอย่างมาก เกิดภาวะขาดแคลนเครื่องอุปโภคและบริโภค เกิดภาวะเงินเฟ้อเป็นอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจภายใต้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 

         เศรษฐกิจระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังโดยส่วนรวมเป็นอย่างมาก สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายการแก้ไข คือ การให้คนไทยมีงานทำทุกคน และขจัดการครอบงำจากต่างชาติ ส่งเสริมให้คนไทยจับจองที่ดินเป็นของตนเอง และรัฐบาลควบคุมกิจการขนาดใหญ่ เช่น การป่าไม้ เหมืองแร่ . โรงงานฟอกหนัง โรงงานยาสูบ เป็นต้น 

ต่อมาในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจครั้งแรก เรียกว่า "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) 

มุ่งขยายปัจจัยขั้นพื้นฐาน เช่น การไฟฟ้า ประปา คมนาคม ชลประทาน การพัฒนาการอุตสาหกรรม และการลงทุน ขจัดปัญหาการว่างงาน ผลสรุปเป็นที่น่าพอใจ  ปัจจุบันใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita