การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์คือ

กรุงเทพมหานคร ครองแชมป์อันดับหนึ่งของเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลกติดต่อกัน 4 ปีซ้อนจากการจัดอันดับเมืองที่คนทั่วโลกนิยมท่องเที่ยวมากที่สุด โดย Mastercard Global Destination Cities Index ในปี 2018 ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมไป คือ วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง วัดโพธิ์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่มีคนเดินทางมาเยือนตลอด ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และอังกฤษ หลงใหลกรุงเทพฯ มาก

ตอกย้ำถึงความสำคัญของ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กรุงเทพมหานคร” เมืองหลวงของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงสถาปนาพระนครแห่งใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกเสาเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมืองในวันที่ 21 เมษายน 2325 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และมีการจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 3 วัน 3 คืน ต่อเนื่องจากงานพระราชพิธี บรมราชาภิเษกพร้อมกับงานสมโภชวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง งานครั้งนั้นจัดทั้งในกรุงและนอกกรุง มีมหรสพต่างๆ เป็นงานที่สนุกสนานเอิกเกริก

ย้อนประวัติศาสตร์ไทยได้มีการจัดงานสมโภชพระนครหรือเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งใหญ่ขึ้นมาแล้วถึง 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ครั้งนั้นมีมหรสพทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร   7 วัน 7 คืน ครั้งที่ 3 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี งานฉลองพระนครเป็นเพียงงานรื่นเริงชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไม่มีสิ่งใดดีกว่าสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ถือเป็นสิริมงคลแก่ชาวกรุงเทพฯ ทั้งสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น

และครั้งที่ 4 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในสมัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การฉลองพระนครทุกครั้ง พระมหากษัตริย์พร้อมด้วยพสกนิกร ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม ครั้งนี้ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวัดพระแก้ว คู่กรุงรัตนโกสินทร์ แล้วยังมีพระราชพิธี ตามโบราณราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช  พระราชพิธีสมโภชหลักเมือง และเป็นครั้งแรกที่มีตราสัญลักษณ์เป็นภาพเทวดาสององค์พนมมือไหว้ หันหน้าเข้าหากัน สื่อความหมายว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งชาวเทวดา ที่ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เหนือภาพเทวดา เป็นภาพซุ้มวิมาน สื่อสิ่งก่อสร้างงดงามของกรุงเทพฯ ขณะที่ท้องสนามหลวงครึกครื้นด้วยมหกรรมดนตรีไทย ดนตรีสากล มหรสพพื้นเมือง ประกวดรถบุปผชาติ นอกจากนี้ ชุมชนใต้ร่มพระบารมี จัดงานทั่วบริเวณ

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นอีกครั้ง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ทุกพระองค์ที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความผาสุก กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองศูนย์กลางที่ผสมผสานด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงศิลปวัฒนธรรมที่ลงตัว ทั้งนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชา  สามารถ และพระวิสัยทัศน์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ   นานัปการ ส่งผลให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงและราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขจนถึงทุกวันนี้ ด้วยทุนทางวัฒนธรรม โบราณสถาน สถาปัตยกรรม แหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหารอร่อย และอัธยาศัยไมตรี ทำให้ผู้คนทั่วโลก จะต้องมาเยือนกรุงเทพฯ ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  สมเด็จเจ้าพระ -
ยามหากษัตริย์ศึกภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชาเพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล
เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไข
วิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทย
สืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์
จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการ
สถาปนาราชวงศ์จักรี)

     ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนจะประกอบพิธีปราบดาภิเษก
เป็นกษัตริย์เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน โดยบริเวณที่
ทรงเลือกที่จะสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระ-
นารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนเมื่อได้ทรงชดเชย
ค่าเสียหายให้พอสมควรแล้วทรงให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ตำบลสำเพ็ง แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างรั้วไม้แทน
กำแพงขึ้นและสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2325 ขณะที่พระองค์
ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ” แต่ในสมัยปัจจุบันผู้คนนิยม
เรียกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงสถาปนาตำแหน่ง
วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6
เมษายน พ.ศ.2325 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่ จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวังและราชธานีแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จ
ในปี พ.ศ.2328 ก็โปรดฯให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา
มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกทิตติยวิษณุ
กรรมประสิทธิ์” หรือที่คนยุคปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง (ครั้นในสมัยแผ่นดินพระ
บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมร
รัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิม) และในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตน-
ศาสดาราม) เป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่และเมื่อสร้าง
พระนครเสร็จสมบูรณ์ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามให้
ใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์คืออะไร

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325.

อาณาจักรก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์คืออาณาจักรใด

"สถาปนากรุง" สุโขทัยมาอยุธยา–ธนบุรีสู่รัตนโกสินทร์

ปัจจัยในการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภายหลังสิ้นสุดสมัยธนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีปัจจัย คือ ความเหมาะสมของชัยภูมิ และความต้องการให้ภาพลักษณ์ของราชธานีมีความคล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์กลายเป็นราชธานีที่มีความเข้มแข็ง เป็นเสาหลักให้กับอาณาจักรและ ...

ใครเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์

- มีความเข้าใจเรื่องประวัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita