ผลกระทบของฝุ่น pm2 5 วิจัย

โดยนางสาวสุปราณี  นาคดิลก  วิศวกรชำนาญการ
กองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
 

          ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทย เกิดปรากฏการณ์ฝุ่นปกคลุมอย่างหนาแน่น โดยแท้จริงแล้วปัญหา ผลกระทบจากฝุ่นได้เกิดขึ้นในทุก ๆ ต้นปี (เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน) และปลายปี (เดือนธันวาคม) ของทุกปี ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศยาวนานกว่า 10-15 ปีโดยจากการตรวจวัดแนวโน้มการเกิดฝุ่น PM2.5 ในช่วง พ.ศ. 2554 – 2561 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถแสดงได้ดังรูปที่ 1 (กรมควบคุม มลพิษ, 2562) และเมื่อปีพ.ศ. 2550 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองบริเวณภาคเหนือเป็นวาระแห่งชาติและในปี พ.ศ. 2562 ได้มีประกาศให้การแก้ปัญหาฝุ่นพิษนี้เป็นวาระแห่งชาติอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน เนื่องจากหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิดขึ้นในปริมาณมากจนถึงขั้นวิกฤต ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นพิษเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เมื่อได้รับฝุ่นพิษเข้าไปกระตุ้นจะมีอาการกำเริบได้รวดเร็วขึ้นด้วย (ขนิษฐา, 2563)

          PM ย่อมาจาก Particulate Matter หรือฝุ่นละออง ที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขนาดคือ PM2.5 หรือฝุ่นละเอียด (fine particle) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของฝุ่นในกระแสอากาศ (aerodynamic diameter) เล็กกว่า 2.5 ไมครอน PM 10 ซึ่งเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 10 ไมครอน และฝุ่นหยาบ (coarse particle) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอน ถึง 25 ไมครอน (ขนิษฐา, 2563) โดยสามารถแสดงได้ดังรูปที่ 2 (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562)

ประเภทของการเกิดฝุ่นละอองในอากาศ (กระทรวงสาธารณสุข, 2558)
          1. ฝุ่นปฐมภูมิ (Primary Emission Particulate Matter) เกิดจากการปล่อยของแหล่งกำเนิดโดยตรง เช่น ฝุ่นจากถนน ฝุ่นเกลือจากทะเล ฝุ่นจากกระแสลม ที่พัดผ่าน ขี้เถ้า เขม่าควันไฟ
          2. ฝุ่นทุติยภูมิ (Secondary Emission Particulate Matter)
              เกิดจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ในบรรยากาศหลังจากที่ฝุ่นถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดได้ระยะหนึ่ง ฝุ่นประเภทนี้อาจเป็นอนุภาคใหม่หรือเป็นอนุภาคเดิมที่มีองค์ประกอบเพิ่มขึ้น สารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ ซัลเฟตไนเตรท และคาร์บอนอินทรีย์ โดยซัลเฟตและไนเตรทในบรรยากาศเกือบทั้งหมด เป็น Secondary Emission โดยมีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นสารเริ่มต้นปฏิกิริยาของฝุ่นทุติยภูมิกล่าวคือ ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ เมื่อถูกปล่อยสู่บรรยากาศจะถูกออกซิไดซ์เป็นกรดซัลฟูริก ทำให้เริ่มจับตัวเป็นฝุ่นขนาดเล็กจาก กระบวนการ Nucleation และเพิ่มขนาดเม็ดฝุ่นจากกระบวนการ Coagulation และ Condensation ปฏิกิริยาต่าง ๆ ทั้งในวัฏภาคก๊าซและในกลุ่มเมฆล้วนเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้ซัลเฟตจับตัวเป็นเม็ดฝุ่นใหม ่ และยังมีส่วนทำให้สารอินทรีย์จับกันเป็นเม็ดฝุ่นใหม่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับของการจับกันเป็นเม็ดฝุ่นใหม่ ได้แก่ ปริมาณของ Precursor สภาพบรรยากาศ และปฏิกริยาของ Precurser กับอนุภาคฝุ่นที่มีอยู่ในกลุ่มเมฆหรือละอองหมอก
              ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดฝุ่นทุติยภูมิเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทำให้เกิดฝุ่นควัน การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จากโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้างการเผาขยะมูลฝอย และการเผาในที่โล่ง PM2.5 สามารถลอยอยู่ในอากาศได้เป็นวันถึงหลายสัปดาห์และลอยไปไกลจากแหล่งกำเนิดได้ถึง 100 – 1,000 กิโลเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับ ปัจจัยที่มีผลต่อระยะทางและเวลา ได้แก่ 1) ความเร็วลม 2) ความกดอากาศ 3) ความชื้น 4) สภาพอากาศ 5) แหล่งก าเนิดฝุ่นละออง และ 6) ขนาดของฝุ่น (ขนิษฐา, 2563)

ผลกระทบจากฝุ่นละอองต่อการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
          การเกิดฝุ่นละอองในขนาดต่าง ๆ ส่งผลกระทบในหลากหลายมิติ เช่น สภาพโดยรวมทั่วไป ด้านเศรษฐกิจ ด้านคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว มลพิษทางอากาศและปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น ยังส่งผลกระทบถึงการเสียโอกาสในการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มีหลายปัจจัย เช่น การเสื่อมสภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ การบดบังเงา สภาพแวดล้อม และภูมิอากาศ เป็นต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นในทุกสถานที่คือ ฝุ่น ฝุ่นที่ตกสะสมอยู่บนผิวหน้า ของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทำให้การส่องผ่านของแสงลดลง ส่งผลกระทบต่อการลดลงของการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ (นิพนธ์, 2555) นอกจากนี้แล้วปัจจัยที่ทำให้การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มีความยั่งยืน มีหลายปัจจัย ได้แก่ ทำเลที่ตั้งโครงการ (Location) เทคโนโลยี (Technology) ความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ (Professional Team) การจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำและมั่นคง (Secured Low Cost Funding) และนโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่องและชัดเจน (Government Policy) ในปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวนี้ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ทำเลที่ตั้งโครงการ (Location) เนื่องจากประสิทธิภาพของการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ ดังนั้น ทำเลที่ตั้งของโครงการควรตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเข้มรังสีแสงอาทิตย์สูงตลอดทั้งปี เพื่อทำให้เกิดผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง (ปิติพีร์, 2560)
          ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานในการส่งพลังงานมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์รังสีอาทิตย์ (solar radiation) ที่ตกกระทบพื้นผิวโลกในระหว่างการส่งผ่านตามชั้นบรรยากาศ จะถูกโมเลกุลของอากาศ ฝุ่นละออง (aerosol) เมฆดูดกลืนและกระเจิง โดยรังสีส่วนที่ตกกระทบพื้นผิวโลก จะเหลือเฉพาะรังสีอัลตราไวโอเลต แสงสว่าง และรังสีอินฟราเรด หรืออยู่ในช่วงความยาวคลื่น 0.3 –3.0 ไมโครเมตร โดยทั่วไปแล้วในชั้นบรรยากาศจะมีฝุ่นละออง จะถูกกระเจิงโดยโมเลกุลของอากาศขึ้นอยู่กับลักษณะของฝุ่น เช่น ฝุ่นละอองที่เกิดจากการสันดาปของเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งมีคาร์บอนดำ (black carbon) เป็นองค์ประกอบ จะดูดกลืนรังสีอาทิตย์ได้ถึง 20% ส่วนฝุ่นละอองจากทะเลทรายจะดูดกลืนรังสีอาทิตย์น้อยกว่า 5% อีกทั้ง รังสีอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงตามวัน เวลา ในรอบปีรวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในบรรยากาศเช่น ปริมาณเมฆ ฝุ่นละออง โอโซน ไอน้ำ (วลัยพร, 2559)
          จากผลการศึกษาในประเทศจีน ได้ทำการเก็บข้อมูลจากสถานีตรวจวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ จำนวน 119 แห่ง ทั่วประเทศจีน เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ถึงปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) สามารถประเมินศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์พบว่า ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ลดลงตลอดระยะเวลา 55 ปีที่ผ่านมา สามารถยกตัวอย่างข้อมูลบางส่วนแสดงได้ดังรูปที่ 3 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการผลิต ไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศจีนลดลงประมาณ 11-15% จากที่ควรจะผลิตได้เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาฝุ่นละออง โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ พื้นที่ในเขตเมืองที่มีการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาฝุ่นหมอกควันรุนแรง (Chris, 2562)

          กองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นหน่วยงานในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในประเภทรังสีรวม (Total or Global Radiation) ซึ่งเป็นผลรวมของรังสีตรงและรังสีกระจายที่ตกกระทบผิวรับแสงในกรณีที่ผิวรับแสงเป็นพื้นเอียงผ่านโครงการพัฒนาเครือข่ายสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปีปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่มีความละเอียดถูกต้อง และสามารถตอบสนองต่อความต้องการในด้านการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย ซึ่งมีสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ จำนวน 38 สถานีกระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อเป็นตัวแทนทางสถิติของข้อมูล (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2564)
          จากผลการตรวจวัดข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์โดยยกตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ สถานี ตรวจวัดศูนย์บริการวิชาการที่ 7 (จังหวัดเชียงใหม่) ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2552 – 2562 มีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ เฉลี่ยที่ 16.89 MJ/m2 -Day โดยภาพรวมแล้วค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์รายปีมีค่าที่เปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจนมากนัก แต่จะพบว่าในปี พ.ศ. 2561 – 2562 มี แนวโน้มลดลงที่ค่าเฉลี่ย 15.42 MJ/m2 -Day ดังรูปที่ 4 และเมื่อพิจารณาปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาตามช่วงฤดูกาล ค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน (ช่วงฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน) และเดือนตุลาคมถึง เดือนธันวาคม (ช่วงฤดูหนาว)จากการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 –2562 ดังรูปที่ 5 จะพบว่า ค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มีค่าลดลงในเดือนมกราคมและเดือนธันวาคม โดยกล่าวได้ว่าฤดูกาลส่งผลต่อค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ปี พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 สูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกอยู่ที่ 212.10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สาเหตุของปัญหาเกิดจากสภาพอากาศแห้งจึงส่งผลทำให้เกิดไฟป่าได้ง่าย ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า ลาว และกัมพูชา) อีกทั้งการเผาในที่โล่ง ได้แก่ การเผาไร่ ขยะ หรือ วัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่ทำการเกษตรในช่วงฤดูกาลของเกษตรกร (ขนิษฐา, 2563) ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลความเข้มรังสี ดวงอาทิตย์ในช่วงปี พ.ศ. 2561 -2562 จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มลดลงตามสถานการณ์การเกิดฝุ่น PM 2.5 อย่างมีนัยสำคัญ

          จากการศึกษางานวิจัยของวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ศึกษาผลกระทบของฝุ่นที่ตกสะสมบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นผลโดยตรงต่อการผลิตไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ภายใต้สภาวะอากาศจริงในช่วงเดือนมกราคม-เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2555 โดยจากการศึกษาพบว่า ปริมาณฝุ่นในการเก็บข้อมูลในระยะเวลา 7  14  30  และ 60 วัน มีปริมาณฝุ่นเฉลี่ย 55  144  260  และ 426 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน พบว่าการส่องผ่านแสงของฝุ่นที่สะสมบนกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ปริมาณฝุ่นส่งผลให้การส่องผ่านแสงลดลง ทำให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดลดลงโดยในระยะเวลา 60 วัน กำลังไฟฟ้าสูงสุดลดลงจาก 85.87 วัตต์ ลดลงเหลือ 82.67 วัตต์ ในระยะ 30 วัน ลดลงเหลือ 77.67 วัตต์ คิดเป็น 2.83% และ 6.03% ตามลำดับ (นิพนธ์, 2555)

แนวทางการแก้ไข
          การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุยังคงเป็นสิ่งจำเป็นของการดำเนินธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้การทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การทำความสะอาด แผงเซลล์แสงอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจากการศึกษางานวิจัย พบว่า ค่าประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้นเป็น 12% หากมีการทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอ โดยผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา วิธีการทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยน้ำร่วมกับเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ไม้ม็อปแบบยางรีดและการใช้น้ำราดบนแผง โดยไม่มีเครื่องมือสำหรับทำความสะอาด พบว่า การใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงเป็นวิธีที่ใช้เวลาในการทำความสะอาดเร็วที่สุดเพียง 0.43 min/m2 แต่เมื่อพิจารณาถึงปริมาณการใช้น้ำจะพบว่า วิธีการใช้ไม้ม็อปแบบยางรีดจะใช้น้ำในการล้างน้อยที่สุดเท่ากับ 0.78 l/m2 ผลจากการศึกษางานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นมาตรการด้านการบำรุงรักษาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในระบบขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสามารถแก้ปัญหาที่พบในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ต่อไปได้ (เกตุวดี, 2561)
          ในสถานการณ์ที ่ฝุ่น PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาลที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนในปัจจุบัน ปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลกระทบในทุกมิติทั้งด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ รวมถึงลดศักยภาพการใช้ในการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานสะอาดด้วยการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการมาตรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐยังถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ตราบใดที่ยังมีการเผาผลาญ เชื้อเพลิง มีการใช้พลังงานต่าง ๆ อย่างเกินความจำเป็น ปัญหาฝุ่นละออง ก็ไม่สามารถหมดไปง่าย ๆ จึงมีแนวทางในการแก้ปัญหาฝุ่นละอองในระยะยาว ดังนี้ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562)
               1. เปลี่ยนน้ำมันรถยนต์จากมาตรฐานยูโร 4 เป็นยูโร 5 และยูโร 6 ในที่สุด และในสถานการณ์นี้ กระทรวงพลังงาน ได้มีการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 เพื่อลดการปล่อย PM2.5 จากการปล่อยควันจากท่อไอเสียรถยนต์ซึ่งผลที่จะได้รับจากมาตรการดังกล่าว คือ B10 จะสามารถลด PM2.5 ได้ 3.5-13% สำหรับ B20 จะสามารถลดได้ 21-23%
               2. จัดทำผังเมืองบูรณาการ โดยการนำประเด็นการลดมลพิษทางอากาศเข้าในกระบวนการการจัดวางผังเมือง
               3. เปลี่ยนรถขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการปรับเปลี่ยนรถขนส่งมวลชนทุกคันทั้งของภาครัฐ และเอกชน ให้เป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า
               4. ส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ โดยจัดให้มีระบบ NMT (Non-Motorized Tran-sportation) ที่ใช้งานได้จริง อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาใช้รถที่ไม่ใช้เครื่องยนต์
               5. จัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม (Eco Tax) เก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อมตามหลักการ “ผู้ก่อมลพิษ เป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle หรือ PPP) ได้แก่ ค่าภาษีมลพิษ (Pollution Tax) ใบอนุญาตปล่อยมลพิษ (Pollution Permits)


เอกสารอ้างอิง
    กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. 2558; 4
    กรมควบคุมมลพิษ. (2562). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. 2562; 21
    กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563). ศักยภาพรังสีรวม (พลังงานแสงอาทิตย์จากการตรวจวัด) [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา www.dede.go.th/more_news.php?cid=126&filename=index. (18 มกราคม 2564)
    เกตุวดี เกตุวดี วงศ์ปน และคณะ. (2561). ผลของการทำความสะอาดโดยใช้น้ำที่มีต่อประสิทธิภาพของแผง เซลล์แสงอาทิตย์. การประชุมเชิงวิชาการ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2561; 76-83 ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2563). แหล่งกำเนิดผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. 2563. Journal of the Association of Researchers Vol. 25 No. 1 January – April 2020; 461-473
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM 2.5. 2563; 1-17
    นิพนธ์ เกตุจ้อย และมรุพงศ์ กอนอยู่. (2555). การศึกษาผลกระทบของฝุ่นบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ต่อการผลิตไฟฟ้า.นิพนธ์ต้นฉบับ ปีที่ 31 ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม.
    ปิติพีร์ รวมเมฆ. (2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยั่งยืน. วารสารนักบริหาร ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2557.
    วลัยพร กล่อมเกลี้ยง. (2559). การพัฒนาแบบจำลองสำหรับคำนวณความเข้มรังสีอาทิตย์จากส่วนต่าง ๆ ของท้องฟ้า ในสภาพท้องฟ้าปราศจากเมฆโดยคำนึงถึงผลของฝุ่นละออง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559), หน้า 12.
    Chris Ogden. ( 2 0 1 9 ) . Air pollution is blocking sunlight and damaging China’s solar potential. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา www.airqualitynews.com/2019/07/10/air-pollution-isblocking-sunlight-and-.... (15 มกราคม 2564)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita