การบริหารเชิงรวมที่ผู้บริหารจะต้องนํามาใช้ในองค์การ หมายถึง

การบริหารจัดการองค์กรใครว่าไม่สำคัญ ที่จริงมันน่าจะอยู่ในหมวดสำคัญที่สุดสำหรับองค์กรทีเดียว เพราะไม่ว่าคุณจะมีตลาด แรงงาน ที่ดิน หรือทุน พร้อมสรรพแค่ไหน แต่หากขาดการบริหารจัดการองค์กรที่ถูกต้องย่อมไม่มีทางดำเนินงานได้ราบรื่น สุดท้ายก็จะต้องสะดุดหรือล้มลงในสักวัน

ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจและนำไปใช้งานให้ถูกว่าการบริหารจัดการองค์กรที่ดีควรเป็นแบบไหน เราจะแนะนำเทคนิคและเทคโนโลยีที่จะทำให้การบริหารจัดการองค์กรสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น

การบริหารจัดการองค์กรเริ่มต้นได้ 5 ขั้นตอน

1. ให้ความสำคัญกับเตรียมตัวและวางแผนล่วงหน้า

การวางแผนเป็นส่วนที่มีไว้กำหนดทิศทางว่าต่อจากนี้จะบริหารจัดการองค์กรไปในทางไหน หากให้เปรียบคงเป็นเหมือนพวงมาลัยหรือหางเสือที่คอยควบคุมเส้นทาง ทำให้ทุกคนในองค์กรรู้สึกว่าที่ตนทำมีเป้าหมาย ทำให้เห็นภาพสิ่งที่ตั้งใจ จนสามารถตั้งเป้าและทุ่มเทกับงานได้เต็มที่

ผู้บริหารควรมีการอธิบายในส่วนนี้คือการกำหนดกิจกรรมหรือสิ่งที่ต้องทำ สร้างแผนงานให้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนและวัตถุประสงค์ในงานแต่ละส่วน ซึ่งที่จริงก็มีอยู่หลายประเภทได้แก่

1.1 การวางแผนในเชิงกลยุทธ์

การวางกลยุทธ์ถือเป็นส่วนสำคัญสุดในการบริหารจัดการองค์กรเพราะเป็นการกำหนดภาพรวมของบริษัท ทั้งด้านบริหาร เป้าหมาย หรือกำหนดขอบเขตกรดำเนินงานต่อจากนี้

ดังนั้นการวางแผนส่วนนี้จึงนับว่าซับซ้อนเป็นพิเศษ นอกจากต้องอาศัยความเข้าใจในองค์กร ยังคำนึงถึงคู่แข่ง ตำแหน่งทางการตลาด โอกาสและอุปสรรคทางธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้โดยมากคนกำหนดแผนงานส่วนนี้จะเป็นระดับผู้บริหารมากกว่า

1.2 การวางแผนในเชิงยุทธวิธี

การวางยุทธวิธีสามารถเรียกได้อีกชื่อว่าการวางแผนไว้ใช้สำหรับการปฏิบัติเป็นหลัก เป็นการวางแผนเพื่อดึงประสิทธิภาพของทรัพยากรออกมาถึงขีดสุด แต่ไม่หลุดกับแผนการเชิงกลยุทธ์ที่กล่าวไป เป็นส่วนที่ถูกออกแบบได้ทั้งจากหัวหน้างานไปจนลูกน้องทีเดียว

หลายบริษัทมีการวางกลยุทธ์และยุทธ์วิธีซ้ำซ้อนกัน หรือมองแค่ด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป อาจทำให้เราเห็นแค่ภาพใหญ่จนละเลยการจัดการในระดับย่อย หรือสั่งการไม่ถูก จนทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายเป็นอย่างมาก

2. วางระเบียบการจัดการในองค์กรให้รัดกุม

การจัดการในที่นี้ คือ การทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็น

  •  การวางแผน 
  • การสร้างความเป็นระเบียบ 
  • การสรรหาบุคลากร  
  • การนำหรือสั่งการ 
  • การทำความเข้าใจกับคนในองค์กร

การจัดการให้ดีคือหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญเป็นการวัดกึ๋นในการบริหารจัดการองค์กร เพราะประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรส่วนใหญ่ จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนก็ขึ้นอยู่กับการจัดการ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้การบริหารจัดการองค์กรที่ดียิ่งจำเป็น หากต้องการให้องค์กรแข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

การจัดการทำได้ในหลายทางขึ้นอยู่กับรูปแบบขึ้นอยู่กับตัวองค์กรเอง ทัศนคติผู้บริหาร รวมถึงวัฒนธรรมภายใน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่จะหล่อหลอม สร้างระเบียบและโครงสร้างภายในบริษัทให้กลายเป็นรูปร่างให้พนักงานปฏิบัติตาม 

3. เอาใจใส่พนักงานให้เป็นรากฐานสำคัญขององค์กร

การทำงานจะเป็นไปได้ด้วยดี ก็ต่อเมื่อพนักงานนำศักยภาพสูงสุดของตัวเองมาใช้งาน จึงจะทำให้การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น ด้วยเหตุนั้นสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือแรงจูงใจในการทำงานและความร่วมมือภายในองค์กร

การที่พนักงานจะมีแรงจูงใจได้ก็ต่อเมื่อพนักงานรักบริษัทและงานที่ทำอยู่ รักในองค์กรที่สังกัด รวมถึงสะดวกใจที่จะทำงานร่วมกับคนในองค์กร ซึ่งส่วนนี้สร้างได้จากการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีส่งเสริมต่อการทำงาน วัฒนธรรมภายในองค์กรที่เหมาะสมทำให้พนักงานไม่เคร่งเครียดจนเกินไป มีกิจกรรมภายในองค์กร รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตัวเอง

เมื่อสามารถสร้างแรงจูงใจได้สำเร็จ ที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือการร่วมมือภายในองค์กร เพราะช่วยให้การทำงานและขับเคลื่อนนโยบาย บริหารจัดการภายในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนั้นบริษัทจึงควรเอาใจใส่ในส่วนนี้เป็นพิเศษ

การสร้างความสัมพันธ์อันดีเพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรราบรื่นทำได้หลายทาง อย่างการสร้างสภาพ

แวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรให้ดีแบบที่กล่าวไป แต่ปัจจัยสำคัญสุดน่าจะเป็นการสื่อสารกันให้เข้าใจ ชัดเจน และแม่นยำ รวมถึงเคารพให้เกียรติ์ซึ่งกันและกัน ยอมรับความเห็นต่าง รับฟังความเห็นของแต่ละฝ่าย ก็ทำให้องค์กรน่าอยู่ได้ไม่ยาก 

4. ใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อมูลคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงรอบตัวและมีความสำคัญยิ่ง ตั้งแต่อดีตเราก็นำข้อมูลที่ได้รับมาจัดการ ปรับใช้ และแก้ไข ทำให้เรารู้ความเป็นไปในปัจจุบันรวมถึงคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดในอนาคต ช่วยในการบริหารจัดการองค์กรได้เป็นอย่างดี

ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจมีได้ตั้งแต่ข้อมูลในภาพรวม อย่างปริมาณพนักงานปัจจุบัน ความพึงพอใจในลูกค้าแต่ละราย ไปจนถึงข้อมูลยิบย่อย เช่นการทำงานภายในแผนกนั้นๆ ส่งผลอะไรกับบริษัทบ้าง ยิ่งฝ่ายบริหารรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ได้ดีและไวมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เราเห็นภาพการบริหารจัดการปัจจุบัน ทำให้มีการแก้ไขได้ไวขึ้นเท่านั้น

ส่วนที่ต้องระวังที่สุดสำหรับข้อมูลก่อนนำไปใช้บริหารจัดการองค์กรคือความถูกต้อง บางครั้งต้องตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับมาว่าตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ใครเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล มีความน่าเชื่อถือเพียงใด หรือถ้าเป็นข้อมูลจากภายนอกยิ่งต้องมีเรื่องให้ตรวจสอบมากขึ้น ดังนั้นจึงควรกลั่นกรองข้อมูลให้ดี แน่ใจว่าตรงกับความเป็นจริงจึงจะนำไปใช้งาน 

5. ปรับตัวตามยุคสมัยด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าร่วม

การปรับตัวให้ทันตามยุคสมัยกลายเป็นสิ่งจำเป็นหากต้องการอยู่รอดในสังคมธุรกิจ ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้เราต้องเรียนรู้จะอยู่กับปัจจุบันเพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงควรมีการจัดการด้านข้อมูลที่ดี ทั้งความเร็ว ความปลอดภัย ครอบคลุมทั้งองค์กร เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าองค์กรในตอนนี้มีอะไรที่จะต้องปรับปรุงบ้าง

Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่มีบทบาทในปัจจุบัน โดยเฉพาะในบริษัทใหญ่ๆ ที่มีปริมาณข้อมูลต่อวันสูงมาก ERP จะคอยเชื่อมโยงระบบย่อยๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการบริษัทในแง่มุมต่างๆ เข้าด้วยกันเก็บและรวบรวมข้อมูลการทำงานของแต่ละภาคส่วน แสดงให้เห็นจุดบกพร่องของแต่ละกระบวนการทำงาน ซึ่งทั้งหมดล้วนมีส่วนช่วยให้การบริหารจัดการองค์กรเป็นไปโดยสะดวกและแม่นยำกว่าเก่า

นอกจาก ERP จะช่วยในการจัดการและเรียบเรียงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดแล้ว ยังมีส่วนช่วยในด้านอื่นอย่างการนำข้อมูลที่ได้มาช่วยในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ดีขึ้น บริหารจัดการภายในองค์กรได้ง่ายขึ้น หรือหากคุณเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ระบบ ERP จะช่วยตอบโจทย์เพราะเป็นระบบที่เหมาะกับโรงงาน ทำให้การดำเนินงานเป็นไปโดยสะดวก ช่วยจัดการและควบคุมการทำงานให้เป็นระเบียบ เพิ่มความสะดวกในการเก็บรวบรวมและเข้าถึงข้อมูล ทำให้การประสานงานแต่ละภาคส่วนเป็นไปอย่างราบรื่น

สรุป

ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลเพียงใด แต่ผู้ที่จะเลือกและประยุกต์ใช้มันได้ดีที่สุดก็เห็นจะไม่พ้นมนุษย์เดินดิน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารควรมองให้ออกคือ “สิ่งใดที่ขาด สิ่งใดที่เกิน และเราจะจัดการมันอย่างไร” ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการช่วยตัดสินใจ ทำให้เรามองเห็นภาพกว้างของการบริหารได้ง่ายขึ้น

เพราะอย่าลืมว่าในการบริหารจัดการองค์กร เราต้องมองทั้งหมด ไม่ว่าจะภายในและภายนอก เล็กน้อยหรือว่าใหญ่โต ก่อนจัดการทรัพยากรของบริษัทที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

หากคุณสนใจระบบ ERP ปรึกษาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เราจะช่วยแนะนำและปรับแต่งระบบให้เข้ากับการทำงานขององค์กรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita