โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เอกชน หรือ รัฐบาล

    บริการหลัก (Main service) ระดับและขอบเขตบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูงที่มีศักยภาพในการให้การรักษาได้ครบวงจรทุกสาขาวิชา รวมทั้ง เป็นที่รับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่นๆ ให้บริการทั้งประเภทผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยฉุกเฉิน ในทุกสาขาโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรงพยาบาล มีภูมิลำเนาในจังหวัดปทุมธานี อยุธยา กรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางให้บริการผู้ป่วยของศูนย์ความเป็นเลิศต่างๆ เช่น ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์อุบัติเหตุระดับหนึ่ง ศูนย์โรคตา ศูนย์บำบัดทดแทนไตครบวงจร เป็นต้น การดูแลกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยเด็กโรคหืด การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น เป็นสถาบันการเรียนการสอน การวิจัย และฝึกปฏิบัติของนักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ นักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้านทุกสาขา แพทย์ประจำบ้านต่อยอด รวมทั้งนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ อาทิเช่นคณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ ตลอดจนสาขาวิชาอื่น เช่น คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ฯลฯ รวมถึงโรงเรียน และสถาบันต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงาน เป็นสถานพยาบาลปฐมภูมิ สถานพยาบาลประจำ สถานพยาบาลรับส่งต่อภายใต้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสถานพยาบาลของผู้ประกันตนสำนักงานประกันสังคม


โรงพยาบาลรัฐบาล

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ แต่สำหรับโรงพยาบาลในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น

สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ทั้งหมด เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคทรวงอก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นต้น ยกเว้นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวชจะขึ้นตรงกับกรมสุขภาพจิต เช่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันราชานุกูล เป็นต้น

นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ในประเทศไทยยังมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ เช่น สภากาชาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร อีกด้วย โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลรัฐบาลทั้งหมดจะให้บริการประชาชนตามสิทธิการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ประเภทของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ แบ่งตามขีดความสามารถ และประเภทได้ดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย - วิทยาลัยแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super Tertiary Care) ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุด เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่างๆ ในประเทศไทยมีอยู่ 12 แห่ง เรียงตามจำนวนเตียงดังนี้
  • โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก กองทัพบก โดยความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลสวนสุนันทา ภายใต้การกำกับดูแลของวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศูนย์วิจัยและกิจกรรมทางการแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์


โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นสถานพยาบาลในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการบริการทางการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยต่างๆ โดยไม่ได้เป็นสถาบันหลักในการทำการเรียนการสอนของนิสิต และนักศึกษาแพทย์ ซึ่งมีดังนี้

  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ (โรงพยาบาลท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน) มหาวิทยาลัยบูรพา

โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำ “โครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท” เพื่อแก้ไขความขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ในการร่วมผลิตแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงจัดตั้ง“สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สำนักงานนี้มีฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ชื่อย่อว่า “สบพช.”

สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1-3) จะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ (สำนักวิชาแพทยศาสตร์ / วิทยาลัยแพทยศาสตร์) ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ส่วนในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) จะอาศัย โรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลทั่วไป (บางแห่ง) และโรงพยาบาลศูนย์ (บางแห่ง) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งเป็นสถาบันสมทบในการเรียนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาแพทย์ โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก ปัจจุบัน ทาง สบพช. มีการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอนนิสิตนักศึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลอันเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก เหล่านั้น อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลนั้นๆ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ทั่วประเทศ มีจำนวน 41 แห่ง ดังนี้

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี
3 กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง
3 กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ จังหวัดชลบุรี
4 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย จังหวัดชลบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยมหิดล (กลุ่มนักศึกษาแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก)
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
6 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
3 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
2 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

โรงพยาบาลส่วนกลาง
โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลาง จะขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีดังนี้

  • สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จังหวัดนครปฐม
  • โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันโรคผิวหนัง กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันพยาธิวิทยา กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันโรคทรวงอก กรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ

โรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจำภูมิภาคที่มีขีดความสามารถระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีจำนวนเตียงมากกว่า 500 เตียงในประเทศไทยมีอยู่ 26 แห่งจำแนกตามภาคดังต่อไปนี้

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
  • โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
  • โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]
  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
  • โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ภาคตะวันออก

  • โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี
  • โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
  • โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
  • โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม
  • โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ภาคใต้

  • โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา
  • โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง
  • โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

โรงพยาบาลทั่วไป
โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) มีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 74 แห่ง (รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วด้วย)จำแนกตามภาค ดังนี้

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร
  • โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
  • โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
  • โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา
  • โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
  • โรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
  • โรงพยาบาลสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
  • โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
  • โรงพยาบาลศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย
  • โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  • โรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย
  • โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]
  • โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
  • โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร
  • โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย
  • โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม
  • โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย
  • โรงพยาบาลมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
  • โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
  • โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
  • โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ภาคตะวันออก

  • โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี
  • โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
  • โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท
  • โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
  • โรงพยาบาลอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
  • โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
  • โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก
  • โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • โรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  • โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
  • โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี
  • โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
  • โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี
  • โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ภาคใต้

  • โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง
  • โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
  • โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง
  • โรงพยาบาลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
  • โรงพยาบาลกระบี่ จังหวัดกระบี่
  • โรงพยาบาลพังงา จังหวัดพังงา
  • โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล
  • โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา
  • โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
  • โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  • โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
  • โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัด) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง
ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งดังนี้

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย

ภาคตะวันออก

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ภาคใต้

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี จังหวัดปัตตานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา

โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 723 แห่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลเฉพาะทาง
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ
สภากาชาดไทย
เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง

  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีอยู่ทั้งหมด 10 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซึ่งบริหารโดยตรงโดย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินงานจัดหาพื้นที่และเตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลดอนเมือง และโรงพยาบาลคลองสามวา เพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้

  • วชิรพยาบาล
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  • โรงพยาบาลตากสิน
  • โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  • โรงพยาบาลลาดกระบัง
  • โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
  • โรงพยาบาลสิรินธร
  • โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุ บางขุนเทียน

กรมแพทย์ทหารบก กระทรวงกลาโหม

  • โรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา
  • โรงพยาบาลค่ายกาวิละ
  • โรงพยาบาลค่ายขุนเจืองธรรมิกราช
  • โรงพยาบาลค่ายเขตอุดมศักดิ์
  • โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์
  • โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
  • โรงพยาบาลค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
  • โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์
  • โรงพยาบาลค่ายนวมินทราชินี
  • โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
  • โรงพยาบาลค่ายพระยอดเมืองขวาง
  • โรงพยาบาลค่ายพ่อขุนผาเมือง
  • โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก
  • โรงพยาบาลค่ายภาณุรังสี
  • โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช
  • โรงพยาบาลค่ายรามราชนิเวศน์
  • โรงพยาบาลค่ายวชิรปราการ
  • โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ
  • โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต
  • โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒนโยธิน
  • โรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร
  • โรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  • โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
  • โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • โรงพยาบาลค่ายสุรสิงหนาท
  • โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์
  • โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์
  • โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์
  • โรงพยาบาลค่ายอดิศร
  • โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร
  • โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • โรงพยาบาลอานันทมหิดล

กรมแพทย์ทหารเรือ กระทรวงกลาโหม

  • โรงพยาบาลฐานทัพเรือพังงา
  • โรงพยาบาลฐานทัพเรือสงขลา
  • โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ
  • โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ
  • โรงพยาบาลป้อมพระจุลจอมเกล้า
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • โรงพยาบาลสรรพาวุธทหารเรือ
  • โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์

กรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม

  • โรงพยาบาลกองบิน 1
  • โรงพยาบาลกองบิน 2
  • โรงพยาบาลกองบิน 4
  • โรงพยาบาลกองบิน 5
  • โรงพยาบาลกองบิน 7
  • โรงพยาบาลกองบิน 21
  • โรงพยาบาลกองบิน 23
  • โรงพยาบาลกองบิน 41
  • โรงพยาบาลกองบิน 46
  • โรงพยาบาลกองบิน 56
  • โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  • โรงพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลดารารัศมี
  • โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า

การรถไฟแห่งประเทศไทย

  • โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

  • โรงพยาบาลการท่าเรือแห่งประเทศไทย

การไฟฟ้านครหลวง

  • โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง

กระทรวงการคลัง

  • โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ

กระทรวงยุติธรรม

  • ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

อ้างอิง : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธรรมศาสตร์ เป็นเอกชนไหม

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มีประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 ส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558.

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สังกัดอะไร

รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สังกัดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รพ. อื่นๆ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

โรง พยาบาล ธรรมศาสตร์ ของใคร

การจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า "โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ" เริ่มก่อสร้างในสมัย ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากแรงศรัทธาของทายาท ม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ ธนาคารทหารไทย จำกัด มูลนิธิ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita