ลดหย่อนภาษี บุตรอายุไม่เกิน

เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ภาครัฐก็ทยอยออกมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีลูกกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “ค่าลดหย่อนบุตร” แต่จะมีรายละเอียดยังไงบ้างนั้น มาดูกัน

เพื่อช่วยลดภาระของคนเป็นพ่อเป็นแม่และกระตุ้นให้คนมีลูกไปในตัว สรรพากรได้ปรับเพิ่มการหักค่าลดหย่อนบุตรเป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่สนใจบุตรเรียนหนังสือหรือไม่ แต่ต้องเป็นบุตรแท้ๆเท่านั้น

แต่ถ้าจะหักลดหย่อนบุตรบุญธรรมด้วย จำนวนบุตรที่จะหักลดหย่อนรวมบุตรชอบด้วยกฎหมายกับบุตรบุญธรรมทั้งหมดห้ามเกิน 3 คน

สรุป คือ ถ้าอยากจะหักลดหย่อนบุตรเยอะๆ เกิน 3 คนต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมด คือ บุตรจริงๆ เท่านั้น แต่ถ้ามีบุตรบุญธรรมแซมเข้ามาแค่เพียงคนเดียว ก็จะหักลดหย่อนรวมทั้งหมดได้เต็มที่ไม่เกิน 3 คน

และตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป สรรพากรเพิ่มค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปจากคนละ 30,000 บาทเป็นคนละ 60,000 บาท และสามารถเอาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการคลอดบุตร เช่น ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรมาหักลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท/ปี

ถ้ามีค่าฝากครรภ์และคลอดคร่อมปี ก็สามารถเอาค่าใช้จ่ายที่เกิดในแต่ละปีมาลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงในปีภาษีนั้น แต่ท้องนั้นจะลดหย่อนรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

สำหรับเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนบุตร คือ

  • บุตรต้องเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่เกิน 20 ปี)
  • ถ้าบุตรอายุเกิน 20 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา หรือ
  • เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
  • บุตรต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นต้องไม่เข้าลักษณะตามมาตรา  42  แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี เช่น ดอกเบี้ยสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ ฯลฯ

แปลว่า ถ้าปีไหน บุตรมีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 ดังกล่าว จะมีเท่าไหร่ก็ได้ พ่อแม่ยังหักลดหย่อนบุตรได้ แต่ถ้าปีไหนบุตรมีเงินได้ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42 เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ เงินปันผล ฯลฯ ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ปีนั้นพ่อแม่ก็หักลดหย่อนบุตรคนนั้นไม่ได้

รู้อย่างนี้ การบริหารเงินให้บุตรมีเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 42 จะดีกว่า นอกจากเงินได้ดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีแล้ว ยังไม่กระทบสิทธิในการหักลดหย่อนบุตรของพ่อและแม่อีกด้วย

เรื่องการหักลดหย่อนบุตรนี้เป็นเรื่องปีใครปีมัน ปีนี้หักลดหย่อนไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าปีต่อๆ ไป หักลดหย่อนไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าปีไหน บุตรมีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ปีนั้นพ่อแม่ก็หักลดหย่อนบุตรไม่ได้ แต่ถ้าปีถัดไปบุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาท ปีนั้นพ่อแม่ก็หักลดหย่อนบุตรได้

มาวางแผนการเงิน เช็กรายการลดหย่อนภาษี 2565 กัน! เข้าสู่ช่วงท้ายปี อีกหนึ่ง to-do list ที่ผู้มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีต้องเตรียมตัวก็คือ การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรุงไทยจึงขอสรุปรายการลดหย่อนภาษีปี 2565 มาให้คุณได้เตรียมตัววางแผนบริหารภาษี เพราะหากบริหารดีๆ คุณจะเสียภาษีน้อยลง และได้รับเงินคืนอีกด้วย


วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. คำนวณด้วยเงินได้สุทธิ*
  2. คำนวณด้วยเงินได้พึงประเมิน (แบบเหมา)

สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้จากเงินเดือน (รายได้ประเภทที่ 1) เป็นหลักมักจะคุ้นเคยและใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้สุทธิ แต่ถ้าคุณมีรายได้ประเภทที่ 2-8 รวมกันถึง 1 ล้านบาท ให้ใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้พึงประเมินด้วยเพื่อเปรียบเทียบกัน วิธีไหนเสียภาษีมากกว่า ให้เสียภาษีด้วยวิธีนั้น

หากใครไม่แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเป็นเงินได้ประเภทไหน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
*ในบทความนี้จะเน้นวิธีคำนวณด้วยเงินได้สุทธิเป็นหลัก


วิธีคำนวณเงินได้สุทธิ

เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่ารายได้จริงๆ ของคุณต้องจ่ายภาษีในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ โดยเงินได้สุทธิแต่ละระดับจะถูกคิดอัตราภาษีที่แตกต่างกันเป็นขั้นบันได ยิ่งมีเงินได้สุทธิมาก ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามไปด้วย

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีสูงสุดแต่ละขั้นภาษีสะสมสูงสุด0 – 150,000 บาทได้รับการยกเว้นภาษี--150,001 – 300,000 บาท5%7,500 บาท7,500 บาท300,001 – 500,000 บาท10%20,000 บาท27,500 บาท500,001 – 750,000 บาท15%37,500 บาท65,000 บาท750,001 – 1,000,000 บาท20%50,000 บาท115,000 บาท1,000,001 – 2,000,000 บาท25%250,000 บาท365,000 บาท2,000,001 – 5,000,000 บาท30%600,000 บาท965,000 บาท5,000,001 บาทขึ้นไป35%ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ965,001 บาทขี้นไป

  • Facebook iconแชร์บทความ
  • Twitter iconทวีต
  • LINE iconส่งไลน์

28 ตุลาคม 2565

หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนบุตร

• ลดหย่อนได้ ไม่เกิน 3 คน และบุตรที่ลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้

• ถ้าบุตรเกิดก่อน ปี 2561 สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ต่อปี

• ถ้าบุตรเกิดหลัง ปี 2561สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท* ต่อปี*แต่ต้องไม่ใช่บุตรคนแรก

บุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อน มีเงื่อนไขใดบ้าง ?

• ต้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้

• เป็นผู้เยาว์ อายุไม่ถึง 20 ปียังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส

• อายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ ชั้นอุดมศึกษา

• ไม่มีเงินได้ และ ต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้

• บุตรที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

• บุตรชอบด้วยกฎหมายลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท

• บุตรบุญธรรม ของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาทแต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน

• ถ้ามีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 3 คนขึ้นไปจะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้

• ถ้ามีบุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถึง 3 คนนำบุตรบุญธรรมมาหักได้ แต่รวมแล้ว ต้องไม่เกิน 3 คน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita