การ สํา ร ว จ พฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ ศ 2564

เผยผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 64 พบคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 8 หมื่นคน ไม่ใช่ 2 ล้านกว่าคนตามที่กล่าวอ้าง 62% รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาอันตรายเท่ากัน อีก 26.7% รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมนำผลสำรวจใช้กำหนดนโยบายควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ผศ.ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่พบว่า ประชากรไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวน 78,742 คน คิดเป็นอัตรา 0.14 % ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวนทั้งหมด 57 ล้านคน เป็นคนที่สูบทุกวัน 40,724 คน และสูบแบบไม่ทุกวัน 38,018 คน  โดยผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า 24,050 คน อายุระหว่าง 15-24 ปี และส่วนใหญ่   อยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง  47,753 คน ขณะที่คนไทยที่รู้จักบุหรี่ไฟฟ้า เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดา 26.7% เชื่อว่าอันตรายน้อยกว่า 11.3% และเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดามีอันตรายเท่ากัน 62.0% ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนและอัตราคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพประชากร ปี 2564 ที่เก็บข้อมูลจากทั้งสิ้น 73,654 ครัวเรือนทั่วประเทศ ครอบคลุมประชากรตัวอย่าง 164,406 คน นับเป็นการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ผศ.ดร.ศรัญญา กล่าวต่อว่า นอกจากสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่แล้ว ยังครอบคลุมพฤติกรรมการดื่มสุรา การกินอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ในการกำหนดนโยบายควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดเรื้อรัง ที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง 4 ปัจจัยที่ทำการสำรวจในครั้งนี้ โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ จำนวนและอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า รวมอยู่ในอัตราและจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วประเทศ ที่เท่ากับ 17.4% และจำนวนคนสูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน

ด้าน ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมาการสำรวจเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีพียงไม่กี่การสำรวจ และล้วนเป็นการสำรวจในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กในประชากรกลุ่มเฉพาะ  ขณะที่เครือข่ายที่รณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่ล่าสุดออกข่าวว่า มีคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ประเมินเกินจริงไปเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ มีหลักฐานชัดเจนว่า เครือข่ายรณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่ายผู้บริโภคนิโคตินนานาชาติ (International Network of Nicotine Consumer Organizations : INNCO) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2016 ก่อนที่บริษัทฟิลลิป มอร์ริส จะวางตลาดบุหรี่ไฟฟ้าชนิดใช้ความร้อนโดยไม่มีการเผาไหม้ยี่ห้อโอคอส ในปี 2017 โดยองค์กรดังกล่าว รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อโลกปลอดควันบุหรี่ (Foundation for a Smoke Free World) ซึ่งตั้งขึ้นและให้ทุนสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ฟิลลิป มอร์ริส ที่ขายทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าไอคอส และกำลังพยายามวิ่งเต้นที่จะให้ยกเลิกกฏหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยผ่านฝ่ายต่างๆ

 “รายงานความคืบหน้าการระบาดของยาสูบระดับโลก ขององค์การอนามัยโลกที่เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่เจาะลึกเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ระบุชัดเจนว่า บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าและเครือข่าย ได้มีการรณรงค์ให้ข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เช่นอันตรายน้อยกว่าและช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ธรรมดา ซึ่งเป็นข้ออ้างที่รายงานองค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานจากฝ่ายที่เป็นกลาง สนับสนุนข้ออ้างของบริษัทบุหรี่และเครือข่ายรณรงค์สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า จึงอยากขอให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้กำหนดนโยบายของประเทศ ใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่มาจากเครือข่ายที่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่ผลิดและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า”        ดร.พญ.เริงฤดี กล่าว

อ้างอิง

WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products: //www.who.int/publications/i/item/9789240032095

Successful countering of tobacco industry efforts to overturn Thailand's ENDS ban: //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33229463/

สำนักงานสถิติฯ เผยผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พ.ศ. 2560

              นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560  จากผลสำรวจ  พบว่า จากจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ 10.7 ล้านคน (ร้อยละ 19.1) แยกเป็นผู้ที่สูบเป็นประจำ 9.4 ล้านคน (ร้อยละ 16.8)  และเป็นผู้ที่สูบนานๆ ครั้ง 1.3 ล้านคน (ร้อยละ 2.3) กลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ 21.9) กลุ่มอายุ 20-24 ปี (ร้อยละ 20.7) กลุ่มอายุ 45-59 ปี (ร้อยละ 19.1) สำหรับกลุ่มผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 14.4 กลุ่มเยาวชน(อายุ 15-19 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำสุด (ร้อยละ 9.7) 
              แนวโน้มการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปลดลงไม่มาก แต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 20.7 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 19.9 ในปี 2558 และร้อยละ 19.1 ในปี 2560 ผู้ชายที่สูบบุหรี่ลดลงมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายลดลง ร้อยละ 40.5 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 39.3 ในปี 2558 และร้อยละ 37.7 ในปี 2560 สำหรับผู้หญิงลดลงจากร้อยละ 2.2 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 1.8 ในปี 2558 และร้อยละ 1.7 ในปี 2560 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก มีผลต่อการเข้าถึงการมีสุขภาวะที่ดีและจำนวนปีการสูญเสียสุขภาวะ อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำเพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อยจาก 17.8 ปี ในปี 2557 เป็น 18 ปี ในปี 2560 พบกับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.nso.go.th นายภุชพงค์ฯ กล่าว

 

*********************************

 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita