นักเรียน จง บอก ประเภท ของ เพลง ที่ นำ มา รวม ร้อง และ บรรเลง ติดต่อ กัน เป็น ชุด

ประเภทของเพลงไทย

เพลงไทยทุกเพลงที่แต่งขึ้นย่อมมีจุดมุ่งหมายและแนวทางบรรเลงที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น เพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อแสดงความสามารถของผู้บรรเลง หรือเพื่อประกอบในกิจกรรมอื่น ๆ อันได้แก่ ประกอบการแสดงโขน ละคร ลิเก หรือเพื่อต้องการฟังที่สมบูรณ์แบบ และด้วยเหตุนี้คีตกวีจึงพยายามประพันธ์บทเพลงให้มีท่วงทำนองและลีลาของเพลงไปตามจุดมุ่งหมายนั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์อย่างอื่นอันเป็นส่วนปลีกย่อยอีก เช่น การจัดระบบหมวดหมู่ของเพลง หรือเป็นสัญญานัดหมายเพื่อผู้ฟังได้เข้าใจและรู้ในอริยาบทต่าง ๆ ของผู้บรรเลง เป็นต้น อันเป็นเหตุให้เกิดลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงมากมายและยังคงยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เป็นประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
บทเพลงต่างๆ เหล่านี้ ผู้ประพันธ์เพลงก็พยายามปรุงรสของเพลงให้เข้ากับบรรยากาศเหตุการณ์สถานที่และอารมณ์ของผู้ฟัง ซึ่งได้อาศัยหลักจิตวิทยาขั้นสูง ซึ่งคนส่วนมากมักมองข้ามไป แต่เนื่องจากเรามิได้ศึกษาถึงแก่นแท้ของเพลงจึงทำให้เพลงไทยกลายเป็นเพลงด้วอยคุณค่าอย่างน่าเสียดาย ซึ่งที่จริงลักษณะของเพลงต่าง ๆ มักจะมีเรื่องราวต่าง แฝงอยู่เป็นเชิงปริศนาสามารถทำให้เราได้ทราบเรื่องราวที่แฝงอยู่ในเบื้องหลังของเพลงไม่ว่าจะเป็นไปในทางประวัติศาสตร์สังคม วัฒนธรรม หรือ จารีตประเพณี ได้เป็นอย่างดี

เพลงไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เพลงขับร้อง
2.เพลงบรรเลง
เพลงขับร้อง คือเพลงที่ใช้คนร้องประกอบกับดนตรี เรียกว่า "ร้องรับ" หรือ "ร้องส่ง" เนื้อร้องที่ใช้ร้องส่วนใหญ่เอามาจากวรรณคดีต่าง (หรืออาจแต่งใหม่) เพลงขับร้องนี้เป็นการรวมกันระหว่าง ดนตรี กับ ภาษาแบ่งเป็น
1. เพลงเถา
2. เพลงตับ
3. เพลงเกร็ด
เพลงบรรเลงคือเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีเล่นล้วน ๆ ไม่มีการร้อง ทั้งนี้เพื่อต้องการแสดงความวิจิตรพิศดารโดยการจินตนาการ เป็นการเปลี่ยนรสชาติในการฟังที่เป็นนามธรรมขึ้น เหมือนกับการมองภาพ แอปสแตรค" แบ่งเป็น
1. เพลงโหมโรง
2. เพลงหน้าพาทย์
3. เพลงเรื่อง
4. เพลงหางเครื่อง
5. เพลงออกภาษา

เพลงเถา
เพลงเถาคือเพลงที่ร้องหรือบรรเลงติดต่อกันรวดเดียวตั้งแต่ 3 ชั้นถึง 1 ชั้น
3 ชั้น คือ อัตราจังหวะที่ช้ามาก
2 ชั้น คืออัตราจังหวะที่เร็วกว่า 3 ชั้น 1 เท่าตัว
1 ชั้น คืออัตราจังหวะที่เร็วกว่า 2 ชั้น 1 เท่าตัว
เพลงใดที่เป็นเพลงเถา จะมีคำว่า เถา ต่อท้ายชื่อเพลงนั้น ๆ เสมอ เช่น เขมรพวงเถา แสนคำนึงเถา ฯลฯ

เพลงตับ
คือเพลงชุดที่ใช้เพลงหลายเพลงมารวมกัน เพลงตับแบ่งเป็น
1. ตับเรื่อง คือเพลงที่เรียบเรียงขึ้นจากเพลงหลาย ๆ เพลง โดยถือเอาเนื้อร้องของเพลงเป็นหลัก ซึ่งเนื้อร้องของแต่ละเพลงที่นำมาเรียบเรียงแล้วจะได้เป็นเรื่องราวคล้องจองกัน เช่น เพลงตับเรื่องพระยาโคตรกระบอง เพลงตับเรื่องท้าวแสนปม ตับนางลอย ตับพรมมาสตร์ ตับนาคบาศ เป็นต้น
2. ตับเพลง คือเพลงที่มารวมกันโดยยึดเอาทำนองเป็นหลัก ให้ถูกต้องตามหลักของดุริยางค์ศาสตร์ ไม่คำนึงถึงเนื้อเรื่องว่าจะติดต่อเป็นเรื่องราวหรือไม่ก็ตาม เช่นเพลงตับลมพัดชายเขา ตับสมิงทอง ตับมูมริทร์ ตับวิวาห์พระสมุทร์ ตับเพลงตันเพลงฉิ่ง 3 ชั้น เป็นต้น

เพลงเกร็ด
เพลงเกร็ด คือเพลงที่มิได้เรียบเรียงเข้าเป็นชุดต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว หรือเราจะเอาเพลงจากชุดต่าง ๆ มาเป็นเพลงเกร็ดก็ได้ เพลงชนิดนี้มีไว้สำหรับใช้บรรเลงในเวลาสั้น ๆ เพลงเกร็ดส่วนใหญ่มักมีบทร้องที่กินใจ หรือทำนองที่สนุกสนานตื่นเต้น เช่น เพลงพระรามตามกวาง ,จอมทอง, จอมศรี, ฯลฯ
 

เพลงประเภทที่ใช้ดนตรีล้วน เพลงโหมโรง หมายถึง เพลงที่ใช้ประโคมเบิกโรง หรือเพลงที่นำมาเล่นก่อนการแสดงจริง ๆ เพื่อเป็นการป่าวประกาศให้ชาวบ้านได้ทราบว่าที่นี่เขาจะมีงานอะไรกัน นอกจากยังเป็นการอัญเชิญเทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้มาชุมนุมกันในงานนั้น เพื่อเป็นศิริมงคลแก่งานและยังเป็นเพลงสำหรับให้นักร้องได้เทียบเสียงร้องจากเครื่องดนตรีอีกด้วย

 1. เพลงโหมโรง แยกได้ดังนี้
1. โหมโรงปี่พาทย์
2. โหมโรงเทศน์
3. โหมโรงโขนและตัวละคร
4. โหมโรงเสภา
5. โหมโรงมโหรี
6. โหมโรงหุ่นกระบอก
7. โหมโรงหนังใหญ

 2. เพลงหน้าพาทย์เพลงหน้าพาทย์ คือเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยาตัวโขนละคร หรืออัญเชิญพระเจ้า ฤาษี เทวดา และครูบาอาจารย์ให้มาชุมนุมกันในวันไหว้ครู และพิธีที่เป็นมงคล
เพลงหน้าพาทย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เพลงหน้าพาทย์สำหรับแสดงโขนและละคร
2. เพลงหน้าพาทย์สำหรับไหว้ครู

 โหมโรงปี่พาทย์
โหมโรงเช้า ใช้สำหรับโหมโรงในงานที่มีการทำบุญเลี้ยงพระ มี 5 เพลง เรียงลำดับดังนี้
1. สาธุการ
2. เหาะ
3. รัวลาเดียว
4. กลม
5. ชำนาญ (ชำนัน)
โหมโรงเย็น ใช้สำหรับงานที่มีการนิมนต์พระมาสวดเย็น เพลงชุดนี้มี 12 เพลง ตามลำดับดังนี้
1. สาธุการ
2. ตระ
3. รัวสามลา
4. เข้าม่าน
5. ปฐม
6. ลา
7. เสมอ
8. รัวลาเดียว
9. เชิด
10. กลม
11. ชำนาญ
12. กราวใน - ลา

 โหมโรงเทศน์บรรเลงเพื่อให้ทราบว่าที่บ้านนี้หรือวัดนี้จะมีพระธรรมเทศนา เพลงโหมโรงชุดนี้มี 6 เพลงคือ
1. สาธุการ
2. กราวใน
3. เสมอ
4. เชิด
5. ชุบ
6. ลา

 โหมโรงโขนและตัวละครใช้สำหรับบรรเลงเพื่อประกาศให้ชาวบ้านทราบว่าที่นี้จะมีการแสดงโขนหรือละคร และเป็นการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาชุมนุมกันเพื่อเป็นศิริมลคลด้วย การโหมโรงนี้มีทั้งโหมโรงเช้า ตอนกลางวัน และตอนเย็น (หรือค่ำ) แล้วแต่โขนหรือละครจะแสดงตอนไหน เพลงโหมโรงละครและโขนมีดังนี้
 

โหมโรงละครเช้าใช้เพลง
1. ตระ
2. รัวสามลา
3. เข้าม่าน
4. ปฐม
5. ลา
6. เสมอ
7. รัวลาเดียว
8. เชิด
9. กลม
10. ชำนาญ
11. กราวใน - ลา
12. เพลงลา

 โหมโรงละครกลางวันใช้เพลง
1. กราวในสามท่อน
2. เสมอข้ามสมุทร
3. รัวสามลา
4. เชิด
5. ชุบ
6. ลา
7. กระบองกัณ - รัว
8. ตะคุกรุกล้น - รัว ปลูกต้นไม้ - รัว
9. ใช้เพลงเรือ - รัว
10. เหาะเรือ
11. โล้ - รัว
โหมโรงละครเย็น
 
ใช้เพลงเช่นเดียวกันกับโหมโรงละครเช้า โหมโรงโขนเข้าใช้เพลง
1. ตระสารนิบาต - รัว
2. เข้าม่านเที่ยวลา
3. เสมอรัว
4. เชิด
5. กลม
6. ชำนาญ
7. กราวใน
8. ตะคุกรุกล้น - รัว
9. กราวรำ
โหมโรงโขนกลางวันใช้เพลง
1. กราวใน
2. เสมอข้ามสมุทร - รัว
3. เชิด
4. ชุบแล้วลงลา
5. กระบองกัณ - รัว
6. ตะคุกรุกล้น - รัว
7. ใช้เรือ - รัว
8. ปลูกต้นไม้ - รัว
9. คุกพาทย์ - รัว
10. พันพิราพ
11. ตระสารนิบาต - รัว
12. เสียบ 2 เที่ยว
13. เชิด - ปฐม - รัว
14. บาทสกุณีปลายลงกราวนำ
โหมโรงโขนเย็นใช้เพลง
1. ตระสารนิบาต
2. เข้าม่าน 6 เที่ยว - ลา
3. กราวใน
4. เชิด
5. กราวรำ

 โหมโรงเสภา เพลงโหมโรงเสภาใช้ประกอบการขับเสภา โดยบรรเลงสลับกันกับการขับเสภาซึ่งเพลงโหมโรงชุดนี้มี 2 เพลงคือ
1. เพลงรัวประลองเสภา เป็นเพลงสั้น ๆ เพื่ออุ่นเครื่องของนักดนตรีและเพื่อตรวจความเรียบร้อยของเครื่องดนตรี นอกจากนี้เพื่อให้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ ก่อนที่จะฟังเพลงโหมโรงหวาน ๆ ในเพลงต่อไป
2. ตัวเพลงโหมโรงเสภา เป็นเพลงเดี่ยว ๆ เช่น เพลงไอยเรศ สะบัดสะบิ้ง หรืออะไรก็ได้ หรือจะเอา 2 - 3 เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็นชุดสั้น ๆ ก็ได้ ข้อสำคัญเพลงโหมโรงเหล่านี้จะต้องลงท้ายด้วยเพลงลาเสมอ

โหมโรงมโหรี มโหรีเดิมเป็นของผู้หญิง ผู้ชายพึ่งจะมาเล่นมโหรีเมื่อไม่นานมานี้เอง การโหมโรงมโหรีขณะนี้ก็ใช้วิธีเดียวกันกับโหมโรงเสภา ผิดกันแต่ไม่มีเพลงรัวประลองเสภาขึ้นต้นเท่านั้น การโหมโรงมโหรีครั้งก่อนโน้นเข้าใจว่าใช้ "เพลงทะแย" หรือ "เพลงยาว" เป็นเพลงโหมโรงเพียง 2 เพลงเท่านั้น  

โหมโรงหุ่นกระบอก ในการแสดงหุ่นกระบอกนั้น ปี่พาทย์ต้องโหมโรงเป็นชุดเช่นเดียวกับการแสดงอื่น เพลงชุดที่ใช้โหมโรงนี้ก็คือ ชุดโหมโรงเย็นที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง ผิดแต่ว่าเมื่อจบโหมโรงจะลงเพลงลา ซออู้จะต้องบรรเลงเพลงทำนองจีน สำหรับหุ่นกระบอกอีก 1 เพลง แล้วปี่พาทย์จึงตั้งเพลงเสมอ เพื่อดำเนินเรื่องหุ่นกระบอกต่อไป

 โหมโรงหนังใหญ ่ หนังใหญ่เป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ขณะนี้หาคนเชิดยากเต็มทีแล้ว การโหมโรงหนังใหญ่นี้ ก็ใช้เพลงชุดโหมโรงเย็นนั่นเอง แต่ใช้บรรเลงทางกลาง คือใช้ปี่กลางเข้าประกอบเพื่อ ให้เสียงดังจ้าขึ้น เพราะเป็นการแสดงกลางแจ้ง ส่วนเพลงในชุดโหมโรงเย็นซึ่งเอามาใช้โหมโรงหนังใหญ่นั้น ก็ไม่ได้เอามาบรรเลงหมดทุกเพลง คงบรรเลงมาจบเพลงแค่เพลงเสมอเท่านั้น ต่อจากนั้นก็เริ่มดำเนินเรื่องหนังใหญ่ไปเลยทีเดียว

 เพลงหน้าพาทย์


1.
เพลงหน้าพาทย์สำหรับแสดงโขนและละคร เพลงประเภทนี้ใช้บรรเลงประกอบอาอัปกิริยาของตัวโขนและละคร ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวด ๆ ดังนี้เพลงที่เกี่ยวกับการร่ายร่ายเวทมนต์คาถาและแปลงตัว เพลงประเภทนี้ถือว่าเป็นเพลงชั้นสูง เพราะเรื่องของขลังทางไสยศาสตร์ เกี่ยวกับการร่ายเวทย์มนต์แปลงตัว ทำนองเพลงต้ององอาจสง่างามและน่าเกรงขาม เพลงที่ประกอบกิริยาเหล่านี้ได้แก่
1. ตระนิมิตร
2. กระบองตัน
3. ชำนาญ
เพลงที่เกี่ยวกับการแผลงฤทธิ์เดช เพลงที่เกี่ยวกับการแผลงฤทธิ์เดชหรือแสดงอาการโกรธเคืองอย่างน่าเกรงขาม ของผู้ที่มีฤทธิ์เดชคือ
1. รัวสามลา
2. คุกพาทย์
เช่นตอน หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือน ทำนองเพลงจะเร็วและน่าเกรงขาม
เพลงที่เกี่ยวกับการจัดทัพและยกทัพ
1. เพลงปฐม ตัวละครที่รำเพลงปฐมมี 2 ตัวคือ สุครีพ (แม่ทับใหญ่ฝ่ายพระราม) และ มโหทร (แม่ทัพใหญ่ฝ่ายลงกา)
2. เพลงกราวนอก ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลและยกทัพของฝ่ายลิง
3. เพลงกราวใน ใช้บรรเลงประกอบการตรวจพลและยกทัพของฝ่ายยักษ์
เพลงที่เกี่ยวกับการไปมาหรือเดินทาง เพลงประเภทนี้ใช้ประกอบอากัปกิริยา การเดิมเคลื่อนที่ของตัวโขนละคร แบ่งเป็น
1. เพลงเสมอ ใช้ประกอบการเดินไปมาในระยะใกล้ ๆ เพลงเสมอมีดังนี้
เสมอธรรมดา สำหรับตัวแสดงทั่วไป
เสมอเถร ใช้สำหรับ ฤาษี นักพรต
เสมอมาร ใช้สำหรับ พระยายักษ์
เสมอเข้าที่ ใช้สำหรับ ครูบาอาจารย์
เสมอตีนนก (บาทสกุณี) ใช้สำหรับ พระราม พระลักษณ์
เสมอมอญ ใช้สำหรับตัวละครที่แสดงเป็นพวกมอญ
เสมอลาว ใช้สำหรับตัวละครที่แสดงเป็นพวกลาว
เสมอพม่า ใช้สำหรับตัวละครที่แสดงเป็นพวกพม่า
2. เพลงเชิด ใช้ประกอบการเดินทางในระยะไกล การกระโดดไล่ การรบ เพลงประเภทนี้จะมีจังหวะคึกคัก แบ่งเป็น
เชิดธรรมดา สำหรับมนุษย์
เชิดนอก สำหรับ สัตว์ เช่น ลิง
เชิดฉาบ สำหรับ มนุษย์ขณะอยู่กับสัตว์ เช่นตอน พระรามตามกวาง
เชิดฉิ่ง เพลงนี้ไม่ใช้ประกอบกิริยาไปมา แต่ใช้ประกอบในการแสดงถึงที่ลึกลับ
3. เพลงอื่น ๆ
เพลงกลม สำหรับการไปมาของเทวดาชั้นผู้ใหญ่
โคมเวียน สำหรับเทวดาชั้นผู้น้อยและไปเป็นหมู่ ๆ
พระยาเดิน สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
กลองโยน สำหรับขบวนพยุหยาตรา
เพลงฉิ่ง ใช้ชมสวน ชมป่า เก็บดอกไม้
เพลงโล้ ใช้ในการเดินน้ำ เช่นตอน เบญจกายแปลงตัวเป็นนางสีดาลอยน้ำมา
เพลงแผละ ใช้สำหรับการไปมาของสัตว์ปีก เช่น ครุฑ นกใหญ่
เพลงที่เกี่ยวกับการกินและการดื่ม
1. เพลงนั่งกิน สำหรับอัญเชิญครูบาอาจารย์ เพื่อถวายกระยาบวชสังเวย
2. เพลงเซ่นเหล้า ใช้ตอนดื่มสุรา หรือใช้ตอนผี ปีศาจ ออกแสดง (ผีเดินคล้ายคนเมา)


เพลงที่เกี่ยวกับการนอน
1. เพลงตระนอน
2. เพลงตระบรรทมไพร
เพลงที่เกี่ยวกับการอาบน้ำ แต่งตัว
1. เพลงลงสรง (อาบน้ำ)
2. เพลงลงสรงโทน (แต่งตัว)


เพลงที่เกี่ยวกับการแสดงความภูมิใจ
1. เพลงฉุยฉาย
เพลงที่เกี่ยวกับการแสดงการเยาะเย้ยหรือดีใจ เพลงนี้ใช้ตอนเยาะเย้ย ดีใจ เช่นตอนหนุมานได้กล่องหัวใจของทศกัณฐ์ แล้วชูให้ทศกัณฐ์ดู แล้วก็เต้นเยาะเย้ยไปมา ใช้เพลงกราวรำ ประกอบ
เพลงที่เกี่ยวกับการแสดงความโศกเศร้าเสียใจ
เพลงทยอย ใช้ตอนเดินร้องไห้
เพลงโอดสองชั้น ใช้สำหรับความโศกเศร้าของตัวละครที่มีศักดิ์สูง
เพลงโอดชั้นเดียว สำหรับตัวละครทั่วไป
เพลงโอดมอญ สำหรับตัวละครที่แสดงเป็นมอญ
เพลงที่เกี่ยวกับการอัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
เพลงสาธุการ ถือเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์ ใช้ อัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา ครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาชุมนุมในพธี เช่น ในพิธีไหว้ครู เป็นต้น
เพลงตระเชิญ ใช้เชิญเทวดาชั้นผู้ใหญ่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มารวมในพิธี การเชิญแบบนี้อาจใช้เพลง ตระสันนิบาต ตระเทวประสิทธิ์ก็ได้

2. เพลงหน้า พาทย์สำหรับไหว์ครู ู เพลงประเภทนี้ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูดนตรี และไหว้ครูโขนละคร อาจมีท่ารำ หรือไม่มีก็ได้ ส่วนเพลงที่ใช้ไหว้ครูนั้นก็คือ ใช้เพลงหน้าพาทย์โขนละครที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง

 เพลงเรื่องคือ การนำเอาเพลงหลายเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มารวมกันเข้าเพื่อให้สามารถบรรเลงติดต่อกันได้เป็นชุด
เพลงเรื่อง เป็นเพลงบรรเลงล้วนไม่มีร้อง ในเพลงมโหรีนิยมเรียกกันว่า "ตับ" แล้วนิยมเรียกชื่อ โดยนำเอาชื่อของเพลงแรกในกลุ่มมาเป็นชื่อเรื่องเช่น ตับเรื่องนเรศวรชนช้าง ประกอบด้วยเพลง นเรศวรชนช้าง อุปราชขาดคอช้าง พุทรากระแทก เชิงตะกอน นางร่ำและเพลงพระรามเป่าสังข์ เพลงเรื่องทำขวัญ ซึ่งประกอบด้วยเพลงในชุดนี้ 15 เพลง คือ นางนาค, มหาฤกษ์, มหากาล, สังข์เล็ก, มหาชัย, ดอกไม้ไทร, ดอกไม้ไพร, ดอกไม้ร่วง, พัดชา, บ้าบิ่น, คู่บ้าบ่น, ต้นกราวรำ, ดับควันเทียน และ มโนราโอด……เป็นต้น
และยังมีเพลงเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย สุดแต่ใครจะคิดว่าลักษณะใดควรจะรวมกลุ่มด้วยเพลงอะไร และมีชื่ออย่างไร แม้ปัจจุบันก็อาจคิดทำได้ มิได้เป็นของเสียหายอะไร
เพลงเรื่องชุดทำขวัญ ที่สมมุติ กันว่าเทพเจ้าได้มาประสิทธิ์ประสาทพร เพื่อความเป็นมงคลแก่บุคคลนั้น ๆ เพลงต่าง ๆ จึงได้ถูกกำหนดอาการและความหมายที่แตกต่างกันไป เช่น เพลงชุดเรื่องเวียนเทียน มีเพลงต่าง ๆ และมีความหมายดังนี้
1. นางนาค ขอให้มี ศิริมงคลเหมือนดังนางนาค ขึ้นมาก่อกำเนิดวีรบุรุษตามสมัยโบราณ
2. มหาฤกษ์ ถึงฤกษ์อันเป็นมงคลเป็นปฐม
3. มหากาล ถึงเวลาฤกษ์งามยามดีแล้ว
4. มหาชัย ให้ผู้อยู่ในมงคลพิธีเป็นผู้ชนะ คือชนะความดี
5. สังข์เล็ก ให้รับน้ำสังข์จากพระวิษณุกรรม
6. ดอกไม้ไทร ให้ร่มเย็นดังต้นไทร
7. ดอกไม้ไพร ดอกไม้คลี่บานด้วยความสดชื่น
8. ดอกไม้ร่วง เทพบุตร เทพธิดาโปรยดอกไม้
9. พัดชา เป็นการขับกล่อมให้รื่นรมย์
10. บ้าบ่น การพร่ำเรียกขวัญ
11. คู่บ้าบ่น เคียงบ้าบ่น เหมือนข้อ 10
12. มโนราห์โอด ขอรับขวัญ ดังมโนราห์ฟ้อนรำเพื่อจะกลับมาบ้านเมือง
13. ต้นกราวรำ แสดงว่าเริ่มเห็นมีโชคแล้ว
14. กราวรำ เป็นการประสบโชคชัยโดยสมบูรณ์แล้ว
15. ดับควันเทียน เป่าอวยพรให้ผู้อยู่ในพิธีนั้นประสบศิริมลคงทุกประการ
 

เพลงหางเครื่อง
เพลงหางเครื่อง (หรือท้ายเครื่อง) และเพลงลูกบท คือเพลงที่ออกต่อท้ายเพลงใหญ่อีกทีหนึ่ง เช่น เล่นเพลงเขมรโพธิสัตว์ (เถา) จบแล้วก็ออกเพลงชุดเขมรต่าง ๆ คือเพลงใหญ่ ถ้าสำเนียงอะไรก็ออกสำเนียงอย่างนั้น แต่ก็ต้องสัมพันธ์กัน เช่น เพลงใหญ่สนุก เพลงหางเครื่องก็สนุกด้วย เพลงเถาเหมาะที่จะเล่นเพลงหางเครื่องต่อได้ จุดประสงค์ของการเล่นเพลงหางเครื่องก็คือ ยืดเวลาบรรเลงให้คนฟังเต็มอิ่ม นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงความสามารถของผู้เล่น ซึ่งเพลงหางเครื่องเร็วมาก ถ้าต่อเพลงหางเครื่องไม่ชำนาญก็จะล่มได้

 เพลงออกภาษา
เพลงออกภาษา เป็นเพลงชุดเดียวกันกับเพลงท้ายเรื่อง แต่แทนที่จะเอาเพลงพวกนี้ อาจเป็นเพลงเดิมของภาษาจริง ๆ หรือเพลงที่ไทยเราแต่งเลียนสำเนียงภาษาอื่นก็ได้ การจัดนิยมขึ้นต้นด้วย จีน เขมร ตะลุง พม่า แล้วออกภาษาอื่นตามที่จะเห็นสมควร
จุดเด่นของการบรรเลงออกภาษา ก็คือการใช้กลองต่าง ๆ เช่นออกภาษาจีนก็ใช้กลองตุ๊ก ออกแขกก็ใช้กลองแขก ออกฝรั่งก็ใช้กลองมะริกัน ออกพม่าก็ใช้กลองยาว ออกตะลุงก็ใช้โทนหรือทับกับกลองชาตรี ทำให้ฟังคล้ายคลึงกับเพลงเจ้าของภาษาจริงๆ
 

แหล่งอ้างอิง    //5240704.multiply.com/journal/item/4/4

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita